นพ.ประพันธ์ วงศ์รุ่งโรจน์

นพ.ประพันธ์ วงศ์รุ่งโรจน์
ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

นพ.ประพันธ์ วงศ์รุ่งโรจน์

PRAPHAN WONGRUNGROJ, M.D.
Specialty
  • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)  คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
THU 09.00-12.00 น.
17.00-20.00 น.
(สัปดาห์ที่ 2)
(สัปดาห์ที่ 1,3,5)

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
  3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
  1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
  2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
อาการปวดหลังจากการทำงาน
  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโรค
  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
  2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
    ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

    • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
    • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
    • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

  1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
  2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
    • การประคบแผ่นร้อน
    • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
  3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
  • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน

โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (HNP)

Herniated Nucleus Pulposus
อาการปวดหลังบริเวณหลังส่วนล่างเป็นอาการที่พบได้บ่อย สาเหตุอย่างหนึ่งคือ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นสาเหตุของการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่พบได้บ่อยที่สุดทั่วโลก
อาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งของเส้นประสาทที่ถูกกด โดยมีอาการหลักๆ ดังนี้
  • ปวดร้าวตามเส้นประสาท
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • ชาตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
  • อ่อนแรงตามเส้นประสาทที่ถูกกดทับ
  • งอตัวลำบาก งอหลังได้ไม่สุด
  • ปวดเมื่อทำกิจกรรม เช่น ออกแรง ไอ จาม
  • ปวดมากเวลานั่ง
85-90% ของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทที่มีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการจะทุเลาเองใน 6-12 สัปดาห์โดยไม่ต้องผ่าตัด ในผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติม
ควรส่งตรวจทางรังสีเพิ่มเติมเมื่อสงสัยว่าอาจมีอื่นโรคร่วม
อาการที่พึงระวัง ได้แก่
  • มีไข้
  • อายุมากกว่า 50 ปี
  • มีประวัติอุบัติเหตุนำมาก่อน
  • มีอาการปวดตอนกลางคืนหรือขณะพัก
  • น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ
  • ตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาทที่เป็นมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • มีอาการชารอบทวารหนัก (saddle anesthesia)
  • มีประวัติป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือกระดูกพรุน
  • หรืออาการไม่ดีขึ้นหลังจากการรักษาแล้วไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์
การส่งตรวจเพิ่มเติมจะประกอบไปด้วยภาพเอกซเรย์กระดูกสันหลังบริเวณเอว โดยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomographic, CT scan) หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging, MRI) แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย
ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของผู้ป่วยหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทข้อที่ 4 ต่อ 5
การรักษา
เนื่องจากอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างมักหายได้เองใน 6-8 สัปดาห์ ดังนั้นการรักษาขั้นแรกสุด คือการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ยกเว้นในผู้ป่วยบางรายที่ตรวจพบการบกพร่องของระบบประสาทที่มากขึ้น หรือสงสัยภาวะจากโรคกลุ่ม Cauda Equina ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้สำหรับการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
เป็นการรักษาที่แนะนำเป็นอันดับแรกในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยพักการใช้งานหลัง ให้ความรู้เกี่ยวกับตัวโรค สอนวิธีการออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแผ่นหลัง และสั่งยาบรรเทาอาการปวด หรือสั่งการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด
หากอาการปวดยังเป็นอยู่นานมากกว่า 6 สัปดาห์ แม้จะได้รับการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว อาจพิจารณาการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าในช่องไขสันหลัง เพื่อบรรเทาอาการปวดจากเส้นประสาทในระยะสั้น (ช่วยบรรเทาอาการได้เฉลี่ยประมาณ 2-4 สัปดาห์ขึ้นกับบุคคล)
การรักษาด้วยการผ่าตัด
การรักษาด้วยการผ่าตัดแนะนำให้ทำในผู้ป่วยที่อาการป่วยรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และไม่ตอบต่อการรักษาโดยไม่ผ่าตัด
วิธีการผ่าตัดแบ่งออกหลักๆได้ 2 ประเภท ได้แก่
  1. การเปิดแผลแบบมาตรฐาน (Open Approach) โดยการเปิดแผลเข้าไปตัดหมอนรองกระดูก
  2. การเปิดแผลแบบบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อน้อย (Minimal Invasive Approach) เป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง (Tube Access) เป็นการผ่าตัดที่ใช้ระยะเวลาผ่าตัดน้อย เสียเลือดน้อย บาดแผลมีขนาดเล็ก แผลหายไว
สรุป
ภาวะหมอนรองกระดูกเคลื่อนนั้นพบได้ค่อนข้างบ่อย พบได้ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาด้วยอาการปวดหลัง ร้าวลงขา ก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังตามมาอีกมาก ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังเรื้อรังหรือมีอาการที่พึงระวังร่วมด้วย ควรมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการ แพทย์จะพิจารณาว่าต้องส่งตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อเลือกวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยต่อไป
นอกจากเรื่องกระดูกสันหลังแล้ว การดูแลใส่ใจสุขภาพในแง่อื่นให้ครบถ้วนก็เป็นเรื่องที่สำคัญ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดกรองโรคที่เกิดขึ้นได้แม้ว่าจะยังไม่มีอาการเจ็บป่วย

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, กระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ

นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

PANUPONG CHATAREEYAGUL, M.D.
Specialty
  • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ Orthopedic, Spine Surgery , General Surgery

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 17:00 - 20:00
SUN 08:00 - 12:00

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก Trigger Finger

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

อาการ
อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

 

การรักษาโรคนิ้วล็อก

การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

ถ้าอาการรุนแรงมาก

  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
  • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนที่เต้านม (Excision)

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนเนื […]

คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะการวิ่งมาราธอน การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพค่ะ แต่เราควรรู้และดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บกับร่างกายนะคะ

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา เกิดจากอะไร?
และการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นทำอย่างไร?

พลโท นพ.ดุษฏี ทัตตานนท์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลบางโพ

#Bangpohospital #แบ่งกันฟัง