โรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อก

Adult trigger digits
โรคนิ้วล็อก คือ ภาวะเส้นเอ็นถูกกดทับบริเวณนิ้วมือ เกิดจากปลายหุ้มเอ็น A1 pulley มีความหนาคล้ายปลอกคอสีขาวล้อมรอบเส้นเอ็น เป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวด และความผิดปกติของนิ้วที่พบมากที่สุด เกิดในเพศหญิงมากว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มักพบที่นิ้วนางและนิ้วกลางของมือที่ถนัดมากเป็นอันดับแรก (1) ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มความรุนแรงของโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคข้ออักเสบต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติประมาณ 2 เท่า (2)
อาการของโรคนิ้วล็อค
จะมีแค่อาการปวดบริเวณโคนนิ้วด้านหน้าเป็นอาการเริ่มต้น ต่อมาจะเริ่มแสดงอาการนิ้วล็อคและดีดออก ซึ่งในช่วงแรกจะยังดีดเองได้ หรือท้ายที่สุดอาจจะไม่สามารถดีดออกได้ หรือล็อคค้างไปเลย ซึ่งถ้าหากทิ้งไว้นานๆ อาจจะมีข้อติดตามมา จนต้องผ่าตัดเลาะพังผืด เพื่อแก้ไขภาวะนี้ได้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
สามารถทำได้โดยการแนะนำผู้ป่วยให้ปรับท่าทางและลักษระการใช้มือในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการกำมือแน่นๆ ถือของหนักๆ กายภาพบำบัดโดยการเหยียดนิ้วออก ให้ยารับประทานหรือฉีดยากลุ่ม NSAIDs และการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยร้อยละ 45 ถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะหายได้จากการฉีดยา (3) ข้อเสียของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าปลอกหุ้มเอ็น คือ อาจทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น หลังผ่าตัดเลาะปลอกหุ้มเอ็นออก (Open trigger finger release) (4) รวมถึงมีรายงานเส้นเอ็นเปื่อยยุ่ยและขาดเองตามมาได้ แม้ว่าจะพบไม่บ่อยก็ตาม (5)
การผ่าตัดเพื่อเลาะปลอกหุ้มเอ็น
เป็นหัตถการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ผู้ป่วยผ่านการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาแล้ว ยังไม่ประสบผลสำเร็จ อัตราการประสบผลสำเร็จของการผ่าตัดอยู่ที่ร้อยละ 90 ถึง 100 และพบภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เส้นเลือด เส้นประสาทขาดและนิ้วล็อคคงค้างได้ร้อยละ 5 ถึง 12 (6,7) และหลังจากผ่าตัดอาจจะมีอาการปวดข้อนิ้วมือต่อไปอีก 8 ถึง 12 สัปดาห์ (8) ปัจจัยเสี่ยงของอาการที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการก่อนการผ่าตัด ระยะเวลาของข้อที่ติดก่อนการผ่าตัดและลักษณะเส้นเอ็นที่ฉีดชาดบางส่วนซึ่งพบขณะผ่าตัด จึงแนะนำว่าหากจำเป็นต้องการผ่าตัด
null

รูปที่ 1 แสดงการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยใช้วิธี intrasheath Technique

null

รูปที่ 2 ภาพแสดงปลอกหุ้มเอ็นที่กดทับเส้นเอ็น ซึ่งเห็นได้จากการผ่าตัด

Bibliography
  1. Lunsford D, Valdes K. Hengy S. Conservative management of trigger finger: A systematic review. J Hand Ther. 2019;32(2):2 2-2.
  2. Kuczmarski AS, Harris AP, Gil JA, Weiss AC. Management of Diabetic Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(2):150-3.
  3. Leow MQH, Hay ASR, Ng SL, Choudhury MM, Li H, McGrouther DA, et al. A randomized controlled trial comparing ketorolac and triamcinolone injections in adults with trigger digits. J Hand Surg Eur Vol. 20 8,43(9):936-41.
  4. Lutsky KF, Lucenti L, Banner L. Matzon J, Beredjiklian PK. The Effect of Intraoperative Corticosteroid Injections on the Risk of Surgical Sile Infections for Hand Procedures. J Hand Surg Am. 2019;44(10):840-5 e5.
  5. Filzgerald BT, Holmeister EP, Fan RA, Thompson MA Delayed flexor digitorum superficialis and profundus ruptures in a trigger finger after a steroid injection: a case report. J Hand Surg Am. 2005;30(3):479-82.
  6. Bruijnzeel H, Neuhaus V, Fostvedt S, Jupiter JB, Mudgal CS, Ring DC. Adverse events of open A1 pulley release for idiopathic trigger finger. J Hand Surg Am. 2012;37(8):1650-6.
  7. Everding NG, Bishop GB, Belyea CM, Soong MC. Risk factors for complications of open trigger finger release. Hand (NY). 2015;10(2):297-300
  8. Baek JH, Chung DW, Lee JH. Factors Causing Prolonged Postoperative Symptoms Despite Absence of Complications Aller A1 Pulley Release lor Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(4):338 е1-еб.
    2

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

Lactose-free Diet
แลคโตส (Lactose)
เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ย่อยโดยเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในลำไส้เล็ก
หากมีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตสจะทำให้มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง ท้องอืด
เมื่อรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส เช่น ผู้ป่วยที่ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสโรต้า เป็นต้น
คำแนะนำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ นมวัว/นมแพะ รวมถึงนมผง นมข้นหวาน นมข้นจืด ชีส โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีมที่มีนมผสม
และสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ดังตารางต่อไปนี้
ชนิด
รับประทานได้
ควรหลีกเลี่ยง
เครื่องดื่ม
  • นมผงสูตร Lactose free
  • นม UHT หรือ พาสเจอไรซ์ที่ระบุว่า Lactose free
    เช่น M-milk, Meiji, ไทยเดนมาร์ก เป็นต้น
  • นมถั่วเหลือง (สูตรเจ)
  • น้ำหวาน เช่น น้ำเก๊กฮวย
  • น้ำผลไม้
  • นมอัลมอนด์, น้ำนมข้าว
  • ชา, กาแฟที่ไม่ผสมนม
  • นมสด ทั้งในรูปแบบนมผง นม UHT
  • นมพาสเจอไรซ์
  • นมเปรี้ยว
  • เครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีนมผสม
    เช่น โอวัลติน โกโก้ กาแฟ 3-in-1 เป็นต้น
  • นมถั่วเหลืองบางสูตรที่มีส่วนผสมของนมผง
อาหารหลัก
  • ข้าวทุกชนิด
  • ก๋วยเตี๋ยวและพาสต้า
  • ขนมปังแผ่น
  • ผักและเนื้อสัตว์
  • ชีส เนย เนยแข็ง
  • ซุปข้น เช่น ซุปเห็ด ซุปข้าวโพด
  • ขนมปังที่มีนมผสม
    เช่น ขนมปังสูตรฮอกไกโด หรือที่มีไส้คัสตาร์ด
อาหารหวาน/ของว่าง
  • ผลไม้ แยมผลไม้
  • ขนมไทย
    เช่น เฉาก๊วย ฝอยทอง
  • ถั่วและธัญพืชทุกชนิด
  • เค้ก ครีม คัสตาร์ด
  • ไอศกรีมที่มีนมหรือครีม วิปครีม
  • โยเกิร์ต
หมายเหตุ
  • อาหารอื่นๆ ควรดูฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อดูว่ามีนมส่วนประกอบหรือไม่
  • เด็กทารกที่รับประทานนมแม่สามารถให้ต่อได้ไม่เป็นข้อห้าม
  • แนะนำหยุดอาหารปราศจากแลคโตสเมื่อแพทย์สั่ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล
Obstetrics and Gynecology

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล

ON-ANYA PHIANPHITTHAYAKUL, M.D.
Specialty
  • Obstetrics and Gynecology

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
THU 09:00 - 13:00 คลินิกสุขภาพสตรี
SAT 09:00 - 14:00 ศูนยNตรวจสุขภาพ

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล
จุลยศาสตร์และศัลยกรรมทางมือ

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล

VANASIRI KUPTNIRATSAIKUL, MD.
Specialty
  • จุลยศาสตร์และศัลยกรรมทางมือ
    Hand Orthopedic & Microsurgery

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร (พบ.) แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์  ศิริราชพยาบาล
  • วุฒิบัตรสาขาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • ประกาศนียบัตร ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขาศัลยกรรมทางมือและจุลยศัลยกรรม คณะแพทย์ศาสต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SAT 14:00 - 17:00

โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน Bone Care

โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน

BONE CARE PROGRAM

BONE CARE 1 : 2,800.-

BONE CARE 2 : 1,600.-


ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุน
ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุนจากการเสื่อมสลายของมวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการหักหรือพิการได้ง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือและกระดูกสะโพก อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หลังค่อม การหายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยหอบ เอ็นอักเสบและข้อกระดูกเสื่อม เดินไม่ได้เป็นภาระต่อคนรอบข้าง การผ่าตัดต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โดยปกติในวัยเด็กร่างกายจะมีขบวนการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายจนมีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุด เมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะมีการเสื่อมสลายของกระดูกอย่างต่อเนื่องมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วมากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า
ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน
  1. สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
  2. ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกสะโพกหัก
  4. เคยมีประวัติกระดูกหัก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี และจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำ
  5. รูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
  6. ขาดสารอาหารแคลเซียมและวิตามินดี
  7. ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น นอนรักษาตัวนานหรือใส่เฝือกนานๆ
  8. สูบบุหรี่
  9. ชอบดื่มสุรา น้ำอัดลม ชา กาแฟ ยาชูกำลัง
  10. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ ยารักษาโรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ ยายับยั้งการตกไข่ในโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน และพบแพทย์เพื่อประเมิน ป้องกันหรือรักษาให้กระดูกมีสุขภาพที่ดี
รายการตรวจ
BONE CARE 1
BONE CARE 2
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
Physical Examination
ตรวจระดับวิตามินดี
Vitamin D Total
ตรวจระดับแคลเซียม
Calcium
ตรวจมวลกระดูกสันหลังและสะโพก
Bone density 2 Parts (Lumbar, hip)
2,800
1,600

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV testing

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

Benefit of HPV testing
ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) คืออะไร
ตอบ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่ม สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ/ช่องคลอด/ทวารหนัก หรือมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ คือ สายพันธุ์ 6 และ 11

โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งกลุ่มข้างต้นได้

ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) ส่งผลต่อเราอย่างไร
ตอบ เชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องทวารหนักได้ร้อยละ 90 จากการรายงานพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุสูงสุดอันดับที่ 4 ของมะเร็งในสตรี โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดหรือความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกแบบ 90:70:90 คือ ครอบคลุมการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีร้อยละ 90 ครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 70 และรักษามะเร็งปากมดลูกระยะก่อนมะเร็งได้ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยแนะนำให้เพิ่มความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วยตนเอง (HPV self-collection) จะสามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นจนถึงร้อยละ 70 ตามเป้าหมาย

ถาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุคปัจจุบัน
ตอบ องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

  1. การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA/mRNA testing, HPV Nucleic Acid Amplification Tests: NAATs)
  2. การตรวจคัดกรองด้วยน้ำส้มสายชูและดูด้วยตาเปล่า (Visual inspection: VIA)
  3. การตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูก (Pap smear/ liquid-based cytology)
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบปฐมภูมิ (Primary HPV testing) หรือการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี มีความไวและความจำเพาะที่สูงในการตรวจหารอยโรคตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่อายุมากกว่า 25 ปี
สำหรับประเทศไทยมีรายงานการเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30-60 เท่านั้น โดยใช้การคัดกรองด้วยเซลล์วิทยา และการตรวจคัดกรองด้วยน้ำสมสายชู และการดูด้วยตาเปล่า (VIA) เป็นหลัก
โดยสาเหตุที่ทำให้การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีอัตราต่ำเกิดจากทัศนคติว่าตนเองไม่มีความเสี่ยงของโรค ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความกลัวหรือรู้สึกเขินอายจากการตรวจภายใน

ถาม ประโยชน์ของการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (Primary HPV testing)
ตอบจากปัจจุบันมี งานวิจัยจำนวนมากพบว่าการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (primary HPV testing) มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยา (cervical cytology) ในการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติการณ์ และการเสียชีวิตของสตรีจากมะเร็งปากมดลูกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวีหากพบผลปกติ สามารถตรวจติดตามทุก 5 ปี จึงพบว่ามีความคุ้มทุนมากกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยาที่ต้องตรวจติดตาม ทุก 3 ปี

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

Baby Delivery Package

Baby Delivery Package

Normal Delivery Package
: 34,900 Baht

Ceasarean Section Delivery Package
: 46,900 Bath


Single room - Recovery period 3 days 2 nights
Package Includes :
  • Doctors’ fees: obstetrician, pediatrician, and specialized medical team
  • Medical equipment, medical supplies, and medication required for delivery
  • Vaccinations, laboratory testing, and screening
    • Tuberculosis vaccine (BCG), 1st dose of Hepatitis B vaccine, and Vitamin K
    • Blood type test (ABO grouping, Rh typing, Direct Coombs test)
    • Screening for phenylketonuria (PKU) and thyroid stimulating hormone (TSH)
    • Newborn hearing screening
    • Pulse oximetry screening for congenital heart defects
    • Screening for neonatal hyperbilirubinemia
  • Private recovery room, including meals and nursing service
  • Inpatient care: 3 days 2 nights
  • Complimentary Bangpo Membership for special discounts
  • Footprint and first picture of the baby
  • Breastfeeding pillow and gift set
  • Birth Certificate Service
Terms and Conditions
  • Package does not include pain medication, epidural block.
  • Package does not include take-home medications, personal expenses, additional medical supplies.
  • Package may not be suitable for all women, based on the current health conditions of the mother and/or child.
    For further details, please contact the Obstetrics-Gynecology (OB/GYN) Clinic.
  • A VIP recovery room is available for an additional 2,000 Baht a night.
  • All prices are subject to change without prior notice.
Single room - Recovery period 4 days 3 nights
Package Includes :
  • Doctors’ fees: obstetrician, pediatrician, and specialized medical team
  • Medical equipment, medical supplies, and medication required for delivery
  • Vaccinations, laboratory testing, and screenings
    • Tuberculosis vaccine (BCG), 1st dose of Hepatitis B vaccine, and Vitamin K
    • Blood type test (ABO grouping, Rh typing, Direct Coombs test)
    • Screening for phenylketonuria (PKU) and thyroid stimulating hormone (TSH)
    • Newborn hearing screening
    • Pulse oximetry screening for congenital heart defects
    • Screening for neonatal hyperbilirubinemia
  • Spinal block anesthesia
  • Private recovery room, including meals and nursing service
  • Inpatient care: 4 days 3 nights
  • Complimentary Bangpo Membership for special discounts
  • Footprint and first picture of the baby
  • Breastfeeding pillow and gift set
  • Birth Certificate Service
Terms and Conditions
  • Package does not include sterilization, appendectomy surgery or other procedures.
  • If needed, local anesthesia is additional 8,000 Baht. Sterilization is an additional 5,000 Baht.
    Appendectomy surgery is additional 10,000 Baht.
  • Package does not include take-home medications, personal expenses, additional medical supplies.
  • Package may not be suitable for all women, based on the current health conditions of the mother and/or child.
    For further details, please contact the Obstetrics-Gynecology (OB/GYN) Clinic.
  • A VIP recovery room is available for an additional 2,000 Baht a night.
  • All prices are subject to change without prior notice.
Single room for package
Now - 31 December 2024

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD

ตรวจโรคติดต่อทางเพศส […]

พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ

พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ
รังสีวิทยาวินิจฉัย อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท

พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ

Nateeya Khuhiran M.D
Specialty
  • รังสีวิทยาวินิจฉัย อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตร รังสีวิทยาวินิจฉัย กองรังสีกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตร อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 08:00 - 12:00
TUE 08:00 - 12:00
WED 08:00 - 12:00
THU 08:00 - 12:00
FRI 08:00 - 12:00

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจเป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่คาดคิด การหายใจและการไหลเวียนของเลือดหยุดลงทันที ภายในไม่กี่วินาที ผู้ป่วยจะหมดสติและเสียชีวิต
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในผู้ที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีและมีอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้นพบได้น้อย โดยพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากเกิดจากโรคหัวใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทางพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตกะทันหันระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การแข่งขันกีฬา แต่การเสียชีวิตกะทันหันก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ขณะที่พักหลับ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพบได้บ่อยเพียงใดในวัยรุ่น
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของนักกีฬาวัยรุ่น ในแต่ละปีมีนักกีฬาวัยรุ่นประมาณ 1 ใน 50,000-100,000 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การเต้นของหัวใจที่เร็วมากทำให้ห้องหัวใจด้านล่างบีบตัวอย่างรวดเร็วและไม่ประสานกัน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะที่หัวใจทำงานหนักเกินไปหรือมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
โรคที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น ได้แก่:
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะทางพันธุกรรมนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น การหนาขึ้นนี้ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยาก
  • กลุ่มอาการ QT ยาวแต่กำเนิด ภาวะนี้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ นำมาซึ่งอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุและการเสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะในคนอายุน้อย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา และกลุ่มอาการวูล์ฟ-พาร์กินสัน-ไวท์
  • การถูกกระแทกที่หน้าอกอย่างรุนแรง การบาดเจ็บที่หน้าอกจากของแข็งซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุด เต้นเฉียบพลัน เรียกว่า commotio cordis ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดขึ้นในนักกีฬาที่ถูกอุปกรณ์กีฬา หรือผู้เล่นคนอื่นกระแทกเข้าที่หน้าอกอย่างแรง
การเสียชีวิตกะทันหันในวัยรุ่นสามารถป้องกันได้หรือไม่
  1. ควรเล่นกีฬาในศูนย์กีฬามาตรฐานที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หากมีอาการหรือภาวะดังกล่าวข้างต้น
  2. แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาโรคหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
ใครควรได้รับการตรวจคัดกรอง
ผู้ที่มีอาการหรือภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
  1. เป็นลม/หมดสติ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย
  2. เจ็บหน้าอก
  3. มีประวัติครอบครัวเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือ 50 – 59 ปี ที่มีโรคร่วม

9,500.-

รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
  • ป้องกันการติดเชื้อ RSV 82.6%
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส
  • ลดความเสี่ยงการรักษาในโรงพยาบาล ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
    • โรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมจากไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

RSV Vaccine
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
วัคซีนป้องกันไวรัส RSV
สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือ 50 - 59 ปี ที่มีโรคร่วม
  • ป้องกันการติดเชื้อ RSV 82.6%
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส
  • ลดความเสี่ยงการรักษาในโรงพยาบาล ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
    • โรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมจากไวรัส RSV
คำแนะนำในการฉีด
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่นๆ
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV Vaccine
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) และปอดบวม (Pneumonia) โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคหัวใจหรือปอด โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม
โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัส RSV ได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมหรือให้ออกซิเจน รวมถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
การป้องกันการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติเหมือนการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด การฉีดวัคซีน RSV สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ
วัคซีน RSV
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
ข้อบ่งชี้
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีอายุ 50-59 ปี แต่มีโรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ประสิทธิภาพ
  1. ลดอัตราการติดเชื้อ RSV ที่มีอาการได้ 82.6%
  2. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบและปอดบวมได้ 94.6%
  3. ลดความรุนแรงของอาการในผู้ที่ติดเชื้อ และลดการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้บ่อยหลังจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีไข้เล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่น ๆ หรืออย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  2. ผู้ที่ป่วยหนักหรือมีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนจนกว่าจะหายดี
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
  4. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
การดูแลหลังการรับวัคซีน
  • ควรติดตามอาการของตัวเอง หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวมที่หน้าและคอ หรือลมพิษ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
สรุป
วัคซีนมีข้อห้ามและข้อควรระวังบางประการที่ผู้รับวัคซีนควรทราบ การปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการสุขภาพก่อนการรับวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.เฌอริน ป้อมสูง

ผศ.นพ.ณภัทรพงศ์ ธำรงสกุลศิริ
โรคผิวหนัง

พญ.เฌอริน ป้อมสูง

CHERRIN POMSOONG
Specialty
  • โรคผิวหนัง

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • ตจวิทยา (ผิวหนัง) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
TUE 17:00 - 20:00 อังคารที่ 2, 3