โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

Man Health Check Up

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย : 4,900.-


โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย และรักษาภาวะชายวัยทอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศองคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่เต็มที่ สาเหตุจากปัญหาสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้โดยไม่รู้ตัว

โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย

ดูแลสุขภาพคุณผู้ชาย โดยแพทย์เฉพาะทาง
โปรแกรมตรวจสุขภาพเพศชาย ดูแลสุขภาพคุณผู้ชาย โดยแพทย์เฉพาะทาง พร้อมรักษาภาวะชายวัยทอง ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศองคชาติไม่แข็งตัว หรือแข็งตัวไม่เต็มที่ สาเหตุจากปัญหาสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ความเครียด ความวิตกกังวล มีผลทำให้เกิดการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้โดยไม่รู้ตัว
โรงพยาบาลบางโพ ร่วมส่งเสริมให้คุณมีสุขภาพดี
ตรวจ 12 รายการ เพียง 4,900.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ Physical Examination
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
  • ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด FBS
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Cholesterol
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Triglyceride
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดดีในเลือด HDL
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด LDL
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต BUN
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต Creatinine
  • ตรวจหาระดับเกลือแร่ในเลือด (Electrolyte)
  • ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (PSA)
  • ตรวจระดับฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone)

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพสำหรับเพศชาย ด้วยเครื่อง Shock Wave

การรักษาด้วยเครื่อง Shock Wave เป็นการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศสำหรับคุณผู้ชาย โดยส่งคลื่นกระแทกผ่านชั้นผิวหนังลงไปถึงบริเวณเอ็นและกล้ามเนื้อลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ เส้นเอ็น ไม่ต้องพี่งยา ไม่เจ็บ และไม่มีผลข้างเคียง จำนวนครั้งและความถี่ในการรักษาของแต่ละคนขึ้นอยู่กับแพทย์และความรุนแรงของโรค แล้วความสุขของชีวิตคู่จะกลับมาอีกครั้ง


Shock Wave
แพ็คเกจเสริม
จำนวนครั้ง
ราคา
Shock Wave
1 ครั้ง
8,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
Shock Wave
3 ครั้ง
22,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
Shock Wave
6 ครั้ง
39,000.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.
วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รู้ทัน ป้องกัน โรคกระดูกพรุน

รู้ทัน ป้องกัน โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน
คือ โรคที่กระดูกบางมาก หรือผุพรุนจากการเสื่อมสลายของ มวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการหักหรือพิการได้ง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือและกระดูกสะโพก อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หลังค่อม การหายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยหอบ เอ็นอักเสบและข้อกระดูกเสื่อม เดินไม่ได้เป็นภาระต่อคนรอบข้าง การผ่าตัดต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โดยปกติในวัยเด็กร่างกายจะมีขบวนการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายจนมีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุด เมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะมีการเสื่อมสลายของกระดูกอย่างต่อเนื่องมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วมากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า
ดังนั้นจึงควรมีการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน พบแพทย์เพื่อประเมิน ป้องกันหรือรักษาให้กระดูกมีสุขภาพที่ดีต่อไป
อาการแสดง
โรคกระดูกพรุนเป็น “ภัยเงียบ” ที่เกิดได้กับทุกคน โดยไม่มี อาการใดๆ จะทราบว่ามีกระดูกพรุนก็เมื่อมีการหักทรุดของกระดูก แล้ว เช่น อาการปวดหลัง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกสะโพกหัก เพียงแค่ล้มแล้วลุกเดินไม่ได้ เป็นต้น
ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
  1. สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
  2. ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกสะโพกหัก
  4. เคยมีประวัติกระดูกหัก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี และจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำ
  5. รูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
  6. ขาดสารอาหารแคลเซียมและวิตามินดี
  7. ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น นอนรักษาตัวนานหรือใส่เฝือกนานๆ
  8. สูบบุหรี่
  9. ชอบดื่มสุรา น้ำอัดลม ชา กาแฟ ยาชูกำลัง
  10. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ ยารักษาโรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ ยายับยั้งการตกไข่ในโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น
การป้องกันตัวเองให้ลดความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกพรุน
  1. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือรับประทานแคลเซี่ยม เสริมและวิตามินดี เช่น นม เนยแข็ง โยเกิร์ต ผักใบเขียว ปลาเล็กๆที่รับประทานทั้งตัว กุ้งแห้ง งาดำ เห็ดหอม เต้าหู้ เป็นต้น
  2. เสริมวิตามิน K2 ในผู้สูงอายุ
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอแบบลงน้ำหนักอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เช่น การวิ่งเหยาะๆ การเดินเร็ว เต้นรำ หรือ ออกกำลังกายแบบแรงต้านโดยใช้การดึงยางยืดหรือยกน้ำหนัก และการรำมวยจีน เพื่อฝึกการทรงตัว ป้องกันการหกล้มลดอุบัติการณ์ ของกระดูกหักได้
  4. รับแสงแดด นาน 20 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน
  5. งดสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ชา กาแฟ น้ำอัดลม
  6. ตระหนักถึงภัยของโรคกระดูกพรุน ปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัจจัยเสี่ยง
  7. ตรวจประเมินภาวะโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันและรักษาตั้งแต่ ระยะแรกเริ่ม
การตรวจประเมินภาวะโรคกระดูกพรุน
  1. การตรวจมวลกระดูก หรือความหนาแน่นของกระดูก ด้วยเครื่อง DEXA (Dual Energy X-rays Absorptiometry) ที่บริเวณข้อสะโพก กระดูกสันหลังช่วงเอว เพื่อการวินิจฉัย
  2. การเจาะเลือด (Bone Turnover Markers) ใข้ดูอัตราการสลาย และการสร้างมวลกระดูก เพื่อประเมินและ ติดตามผลการรักษา
การรักษาโรคกระดูกพรุน
  1. ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่หลีกเลี่ยงได้
  2. การใช้ยา
    • แคลเซียมเสริมและวิตามินดี
    • ยาต้านการสลายกระดูก
    • ยาเพิ่มการสร้างมวลกระดูก

    การใช้ยาจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เพราะต้องมีการเลือกใช้และปรับขนาดยาให้เหมาะสมเฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย และควรมีการติดตามการรรักษาเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง

  3. ควบคุมและรักษาโรคประจำตัวต่างๆ เช่น เบาหวาน ไธรอยด์
  4. ป้องกันการหกล้มเพราะเสี่ยงต่อกระดูกหักง่าย
    • การปรับสภาพแวดล้อม ไม่ให้พื้นลื่นหรือเปียกน้ำ และควรมียางกันลื่นเวลาอาบน้ำ ไม่วางของเกะกะทางเดินและ ขั้นบันได ไม่ใส่ถุงเท้าเดินจะลื่นง่าย ถ้าบ้านมีพรมควรให้พรมตึงเรียบ ใช้ไม้เท้าหรืออุปกรณ์ช่วยเดิน ใส่รองเท้าที่พื้นไม่ลื่น หลีกเลี่ยง การเดินบนพื้นที่ไม่เรียบและลื่น
    • พบจักษุแพทย์ ตรวจรักษาโรคทางสายตาที่ผิดปกติ เพื่อการมองเห็นชัดเจน
    • ยาเพิ่มการสร้างมวลกระดูก

โปรแกรมและแพ็คเกจ