เพราะความรักและกำลังใจ จากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

เพราะความรัก และกำลังใจจากบุคคลที่รัก ทำให้ห่างไกลโรคซึมเศร้า

มนุษย์ทุกคน ล้วนต้องการความรัก ความเข้าใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานการดำเนินชีวิตและทำภารกิจในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรักจากบุคคลที่รัก การโอบกอด ด้วยท่าทีอบอุ่น ห่วงใย ให้ความรักและกำลังใจ รวมถึงเข้าใจ เปิดใจพร้อมรับฟังความรู้สึกจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยลดปัญหาอาการของโรคบางชนิด เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) และปัจจุบันในสังคมยุคเทคโนโลยีก้าวไกล สังคมโลกโซเชียลไร้พรมแดน ตัวเราก็อาจเป็นทั้งคนทำลาย หรือเป็นเหยื่อกับการกระทำของบุคคลที่ไม่รู้จัก ก็อาจส่งผลกระทบในการเกิดโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน ดังนั้นก่อนลงมือแชร์ กดไลค์ หรือแสดงความคิดเห็นใดๆ ที่จะทำให้บุคคลอื่นรู้สึกด้อยค่า ย่ำแย่ อับอาย เสื่อมเสีย ควรคิดก่อนเพราะเมื่อทำไปแล้ว แม้จะถูกลบแต่ก็ยังฝังในจิตใจของผู้ถูกกระทำเสมอ

โรคซึมเศร้าเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ส่งผลเสียกับการดำเนินชีวิตของตนเองและบุคคลรอบข้าง เพื่อป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดภาวะซึมเศร้า เรามีวิธีสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ชิด ง่ายๆ ดังนี้
  • มีปัญหาด้านการนอน เช่น หลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ หรือนอนมากผิดปกติ
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ภายใน 1 เดือน
  • อาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง
  • ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
  • การทำงานแย่ลง ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขาดงานบ่อย
  • ลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ จิตใจเหม่อลอยบ่อย
  • รู้สึกเบื่อ เศร้า ท้อแท้ หดหู่ สะเทือนใจง่าย
  • คิดมาก หรือไม่สู้ปัญหา
  • รู้สึกตนเองไร้ค่า
  • ร้องไห้บ่อย อ่อนไหว ไม่แจ่มใส
  • หมดความสนใจต่อโลกภายนอก ไม่คิดอยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป
  • หากผื่นลมพิษมีปัจจัยกระตุ้น ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นนั้นๆ
การรักษาทำได้หลายวิธี เช่น
  1. การใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เนื่องจากโรคซึมเศร้ามีสาเหตุเกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองเสียสมดุล การให้ยาต้านเศร้า เพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยควรทานยาจนดีขึ้นและทานต่ออีกอย่างน้อย 6-12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
  2. การรักษาทางจิตใจ นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีในการลดอาการซึมเศร้าวิธีหนึ่ง การรักษาด้วยจิตบำบัดมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การรักษาแบบปรับความคิดและพฤติกรรม การรักษาแบบปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม การรักษาจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจของตนเองจนหันมาสู่โรคซึมเศร้า
  3. การรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นสมอง TMS ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีภาวะเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง การรักษาด้วย dTMS (deep Transcranial Magnetic Stimulation) เป็นการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากระตุ้นสมองในจุดที่มีผลต่อโรค เพื่อปรับสมดุลการทำงานของสมองให้เข้าสู่ภาวะปกติและช่วยลดอาการซึมเศร้า โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง มีผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยา หรือรับประทานยาเกินหนึ่งปีแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น
ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมค่อนข้างมาก อาจเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือเป็นอย่างเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัจจัย เช่น มีเหตุการณ์มากระทบรุนแรงมากน้อยเพียงใด หากพบว่าตนเองมีอาการข้างต้นมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและให้การดูแลรักษาต่อไป การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาการของโรคก็จะทุเลาลงและกลับมาใช้ชีวิตได้เป็นปกติ
ดังนั้นความรักและกำลังใจจากบุคคลที่รักหรือคนรอบข้าง จึงเป็นการป้องกัน “โรคซึมเศร้า” ที่ดีที่สุด และสำหรับเด็กๆ ในสังคมปัจจุบัน เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อมมีส่วนสำคัญกับเด็กมาก พ่อแม่ต้องเลี้ยงลูก 3 ด้าน คือ 1. ทางร่างกาย คือรักษาสุขภาพให้แข็งแรง 2. ทางจิตใจ คือรักษาจิตใจให้เข้มแข็ง รู้จักรักตัวเอง 3. ส่งเสริมให้เด็กมีความรู้ ความคิด รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี คุณพ่อคุณแม่ทำได้โดยสื่อสารด้วยหัวใจ 3 ขั้นตอน คือ เปิดใจ เข้าใจ รับฟัง แล้วบุคคลที่รัก จะห่างไกลจากโรคซึมเศร้า
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)

Transcranial Magnetic Stimulation
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (TMS)
กระตุ้นสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Transcranial Magnetic Stimulation) นวัตกรรมในการฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีภาวะอ่อนแรง ชา หรือกล้ามเนื้อเกร็งทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถใช้ในการฟื้นฟูและรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคซึมเศร้า ปวดศีรษะ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์กินสัน และอาการปวดชาจากเส้นประสาท
การรักษาด้วย TMS ปลอดภัยแค่ไหนมีผลข้างเคียงหรือไม่?
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจำกัดที่แคบมาก เพียง 1-3 เซนติเมตรจากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ผู้ป่วยบางรายดังต่อไปนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโลหะที่เหนี่ยวนาแม่เหล็กบริเวณศีรษะหรือพื้นที่รักษาในระยะ 30 เซนติเมตร เช่น Sutures, Clips, coils,Magnetic Dental Implants or Insulin Pumps
  • ผู้ป่วยที่มีเครื่องมือทางการรักษาเป็นระบบดิจิตอลต่างๆ เช่น Pacemakers, Implantable Cardioverter Defibrillators,Vagus Nerve Stimulators [VNS] and Wearable Cardioverter Defibrillators [WCD’s])
  • ผู้ป่วยที่มีประวัติชักหรือภาวะชักที่ไม่สามารถควบคุมได้
  • ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องระบายน้ำในโพรงสมอง
  • ผู้ป่วยที่มีอวัยวะเทียมที่เป็นโลหะที่เพิ่งใส่มาไม่นาน
  • สตรีมีครรภ์
ผู้ป่วยส่วนมากจะไม่พบอาการข้างเคียงภายหลังการรักษา ผลข้างเคียงที่สาคัญแต่พบได้น้อยมากคือ อาการชัก ซึ่งพบได้ประมาณ 0.02-0.2% ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือง่วงนอนภายหลังการกระตุ้น บางรายพบอาการปวดัีรษะหรือระคายเคืองบริเวณที่ถูกกระตุ้นได้เล็กน้อย แต่อาการเหล่านี้จะอยู่เพียง 1-2 ชั่วโมงหลังทำ หากผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบาย สามารถทานยาลดปวดพาราเซตามอลได้
การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลานานเท่าไหร่?
ระยะเวลาในการรักษาต่อครั้งอยู่ที่ 30-60 นาที ความถี่ในการรักษาประมาณ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วแต่อาการและโรคของผู้ป่วยแต่ละราย
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
แพคเกจ Stroke
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 2,500.-
5 ครั้ง 12,250.-
10 ครั้ง 24,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
อัตราการเข้ารับการรักษาโรคซึมเศร้า ปวดไมเกรน นอนไม่หลับ ย้ำคิดย้ำทำ และอื่นๆ
แพคเกจ Depression
รายการ
ราคา
1 ครั้ง 1,800.-
5 ครั้ง 8,750.-
10 ครั้ง 17,000.-
รวมค่าแพทย์แล้ว (ยังไม่รวมค่าบริการโรงพยาบาล)
กรุณานัดหมายล่วงหน้า เพื่อวางแผนในการรักษาให้ดีที่สุด โปรดนำประวัติการรักษาและหนังสือส่งตัวจากแพทย์ประจำมาด้วย
ลงเทะเบียนนัดหมาย พยาบาลจะติดต่อกลับเพื่อสอบถามข้อมูล
วันนี้ -31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ