กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

Carpal Tunnel Syndrome
กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นภาวะที่เกิดจากการบีบรัดเส้นประสาทมีเดียนที่ข้อมือ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการชา ปวด หรืออ่อนแรงบริเวณนิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สาเหตุของภาวะนี้มักเกิดจากการใช้ข้อมือที่ซ้ำๆ หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและหยิบจับไม่ถนัดได้
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือแบบไม่ผ่าตัด
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือเบื้องต้นรวมถึงการใช้วิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น
    การใส่เฝือกอ่อน เพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
    การใช้ยาต้านการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
    การทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อมือ
นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อมือ เช่น การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อมือถูกใช้งานหนักเกินไป ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการนี้ หากรักษาไปช่วงหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น การผ่าตัดเลาะพังผืดบริเวณข้อมือก็จะช่วยแก้ไขสาเหตุของโรคได้ และป้องกันมืออ่อนแรงในอนาคต
การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
Endoscopic Carpal Tunnel Release
การผ่าตัดแบบเดิมเป็นการผ่าตัดแบบเปิด แผลจะมีขนาดใหญ่และกลับมาใช้งานมือได้ช้า การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้องเป็นวิธีการรักษาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือในขั้นรุนแรง หรือเมื่อการรักษาแบบอนุรักษ์ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ การผ่าตัดนี้ทำโดยการใช้กล้องส่องผ่านเข้าไปที่ข้อมือแล้วตัดพังผืดที่กดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทสามารถทำงานได้ดีขึ้น วิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว และมีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อดีของการผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
  • แผลผ่าตัดเล็ก
  • ฟื้นตัวได้เร็ว
  • มีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
null

รูปที่ 1 คำอธิบายใต้ภาพ

null

รูปที่ 2 คำอธิบายใต้ภาพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

CARPAL TUNNEL SYNDROME (CTS)
อาการปวดมือและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางรายปวดชาร้าวไปถึงข้อศอก บางครั้งจะมีอาการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือลำบาก หรือหยิบจับของไม่ถนัด รู้สึกนิ้วมืออ่อนแรง ถ้าสะบัดมือจะรู้สึกอาการปวดชาน้อยลง บางรายรู้สึกปวดชามือตอนกลางคืน หรือตื่นนอน
สาเหตุ
เกิดจากใช้มือ ข้อมือทำงานเยอะ และเป็นเวลานาน ทำให้ผังพืดที่อยู่เหนือเส้นประสาทมีเดียนหนาตัว และอักเสบ กดรัดเส้นประสาทเมเดียน ทำให้ชาและปวดมือ เช่น การหิ้วของหนัก การตอกตะปู การพรวนดิน การรีดผ้าซักผ้า การใช้งานคอมพิวเตอร์ การขับมอเตอร์ไซด์ และการทำอาหาร เป็นต้น
การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  1. การพักมือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือ และกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และอาจใส่ที่ดามข้อมือ เพื่อลดอาการ
  2. การรับประทานยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  3. การฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบและลดบวมของผังพืด
  4. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในรายที่มีอาการเป็นมากหรือเป็นมานานเพื่อตัดพังผืดที่หนาตัว และกดทับเส้นประสาทมีเดียน เป็นการผ่าตัดเล็กไม่ต้องนอนพักโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ แผลผ่าตัดประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่บนรอยฝ่ามือ พักฟื้นประมาณ 10-14 วัน หลังตัดไหม สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ