Checklist…โรคฮิตวัยซน

Checklist...โรคฮิตวัยซน

Childhood Hits Disease
 
Checklist…โรคฮิตวัยซน
ลูกเป็นดั่งดวงใจจองพ่อและแม่ ลูกในช่วงวัยทารกถึงวัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เพราะระบบภูมิต้านทานและอวัยวะในร่างกายของเด็ก ๆ นั้นเปราะบางไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง ไข้ชัก เป็นต้น คุณแม่คุณพ่อจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ และหากพบอาการผิดปกติ ให้พบกุมารแพทย์ทันที

Checklist…โรคฮิตวัยซน

เลื่อนซ้าย ขวา เพื่อดูข้อมูล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก จากเชื้อไวรัสโรต้า

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก จากเชื้อไวรัสโรต้า

Rotarix : หยอด 2 ครั้ง : 2,190.-

Rotateq : หยอด 3 ครั้ง : 2,500.-


ลูกคือคนสำคัญของพ่อ แม่
เราจึงเลือกการป้องกันที่แท้จริง
และครอบคลุม

โรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วงหรือท้องเดินเป็นปัญหาความเจ็บป่วยที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กโดยเฉพาะช่วงอากาศเย็นๆแบบนี้จะมีเด็กป่วยท้องเสียกันเป็นจำนวนมากทำให้เด็กป่วยเสียคุณภาพชีวิต พ่อแม่เสียเวลาต้องมาเฝ้าดูแล และยังระบาดไปถึงคนในครอบครัวรวมทั้งผู้ใหญ่ด้วย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจึงขอเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับเรื่องท้องเสียมาให้รู้จักกันเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง
โรคท้องเสียเกิดจากอะไร
โรคท้องเสียที่พบในเด็กมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัสรองลงมาคือการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อปรสิตอาหารเป็นพิษจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนในอาหารหรือสารพิษที่สร้างขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้แล้วท้องเสียยังอาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิด ชาวบ้านอาจบอกว่า เด็กท้องเสียเพราะเด็กยืดตัว แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่
ไวรัสโรต้า สำคัญอย่างไร
จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทยและทั่วโลกพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 ของโรคท้องเสียในเด็กเกิดจากเชื้อไวรัสเช่นไวรัสโรต้า เอ็นเตอโรไวรัสโนโรไวรัสอะดีโนไวรัสรวมทั้งไวรัสอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหวัดก็อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียได้ทั้งหมดนี้ไวรัสตัวที่สำคัญคือไวรัสโรต้า เนื่องจากเป็นไวรัสที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้รุนแรงมากที่สุด ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าไวรัสตัวอื่นๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กจะรุนแรงมากกว่าเด็กโตประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กที่ท้องเสียรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า เด็กที่เคยท้องเสียจากไวรัสโรต้า อาจเป็นซ้ำได้เพราะไวรัสโรต้านี้มีหลายสายพันธุ์ แต่อาการมักไม่หนักเท่ากับการเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ ไวรัสโรต้ายังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้เร็วกว่าเพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานกว่า เป็นเวลาหลายชั่วโมงโดยเฉพาะช่วงที่อากาศเย็น และผู้ป่วยเหล่านี้สามารถขับถ่ายเชื้อได้ในปริมาณมากหลายล้านตัว เป็นเวลานานเป็นสัปดาห์แต่เชื้อเพียง 10 ตัวก็ก่อนโรคได้แล้ว แม้ว่าไวรัสโรต้ามักเกิดปัญหาในเด็กแต่ก็อาจก่อปัญหาในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้และอาจมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน
  • ไวรัสโรต้าเป็นเชื้อไวรัส ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงที่รุนแรงในเด็กทารกและเด็กเล็ก
  • ไวรัสนี้ระบาดได้ตลอดทั้งปีและพบมากขึ้นในช่วงอากาศเย็น ฤดูหนาว
  • ไวรัสโรต้าติดต่อกันได้ง่ายเข้าสู่ปากโดยการรับประทานอาหารและน้ำ หรือปนเปื้อนมากับมือ จากการสัมผัสสิ่งของ เครื่องใช้ หรือของเล่นต่างๆ
  • ไวรัสนี้สามารถมีชีวิตอยู่บนมือและสิ่งแวดล้อมได้นานจึงเกิดการแพร่กระจายและระบาดได้ง่าย
  • ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโรต้าชนิดรับประทานมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงเด็กเล็กควรได้รับการหยอดวัคซีนก่อนอายุ 4 เดือน

โรต้า 1 สายพันธุ์

หยอด 2 ครั้ง : 2,190.-

อายุ 2 และ 4 เดือน
ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล

โรต้า 5 สายพันธุ์

หยอด 3 ครั้ง 2,500.-

อายุ 2,4 และ 6 เดือน
ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
วัคซีนทั้งสองชนิด สามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้เมื่ออายุ 6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 สัปดาห์
ขนาดและวิธีใช้
  1. ให้กิน ถ้าเป็น Rotarix ให้ 2 ครั้ง แนะนำตอนอายุ 2, 4 เดือน สำหรับ Rotateq ให้ 3 ครั้ง แนะนำให้ตอนอายุ 2, 4, 6 เดือน (วัคซีนทั้ง 2 ชนิดสามารถเริ่มให้ครั้งแรกได้เมื่ออายุ  6-15 สัปดาห์ และครั้งสุดท้ายอายุไม่เกิน 8 เดือน แต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 4 สัปดาห์)
  2. ควรให้วัคซีนชนิดเดียวกันจนครบ หากจำเป็นต้องใช้วัคซีนต่างชนิดกันในแต่ละครั้ง หรือไม่ทราบชนิดของวัคซีนที่ได้รับในครั้งก่อน ต้องให้วัคซีนทั้งหมด 3 ครั้ง
  3. สามารถให้วัคซีนโรต้าร่วมกับวัคซีนโปลิโอชนิดกินได้
  4. ห้ามใช้วัคซีนนี้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง Severv combined immune deficiency (SCID) และในเด็กที่มีประวัติลำไส้กลืนกัน
วันนี้ -31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease
 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง
อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน
การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน
การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคยอดฮิตในเด็กที่มาพร้อมหน้าหนาว

โรคยอดฮิตในเด็กที่มาพร้อมหน้าหนาว

1. ไข้หวัด

  1. พบได้ทุกฤดู แต่ฤดูหนาวจะเป็นได้ง่ายและบ่อยขึ้นกว่า 2 เท่า
  2. ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ติดต่อจากการสูดละอองฝอยจากการไอจาม
  3. อาการ ไอ จาม น้ำมูกใส คัดจมูก ไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตามตัว
  4. รักษา นอนพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ กินยาตามอาการ สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
  5. ป้องกัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือบ่อยๆ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
2. ไข้หวัดใหญ่

  1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
  2. อาการเหมือนไข้หวัดแต่รุนแรงกว่า ได้แก่ ไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะรุนแรง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ อาเจียน ถ่ายเหลว
  3. รักษา ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับยาฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ กินยาตามอาการ เช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนมากๆ
  4. ป้องกัน กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ควรได้รับวัคซีนไข้หวัด ใหญ่ทุกปี ไม่คลุกคลีหรือใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
3. โรคปอดบวม

  1. เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ถุงลมปอด จนเกิดการอักเสบเป็นหนอง
  2. อาการ ไข้สูง ไอมีเสมหะมาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก มักเกิดหลังไข้หวัดเรื้อรัง หรือในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด
  3. รักษา ควรพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ให้สารน้ำที่เพียงพอ ให้ยาตามอาการ เช็ดตัวลดไข้ อาจพ่นยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ
  4. ป้องกัน  เมื่อเริ่มเป็นไข้หวัดให้รีบรักษา ดื่มน้ำมากๆ  ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนป้องกันปอดบวม ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดควรใช้ยาควบคุมอาการสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
4. โรคหัด

  1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด มักพบมากในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน
  2. อาการคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ น้ำมูกไหล ตาแดง ไอแห้งๆ หลังมีไข้3-4วัน มีผื่นแดงขั้นที่หลังใบหู ใบหน้า ลาม มายังลำตัว แขนขา อาจพบตุ่มที่กระพุ้งแก้มและฟันกราม หลังผื่นขึ้น2-3วันไข้จะเริ่มลง แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น หูชั้นกลางอักสบ ปอดบวม สมองอักเสบ ถ่ายเหลว
  3. รักษา กินยาลดไข้ รักษาตามอาการ ไปพบแพทย์ตามนัด
  4. ป้องกัน  เด็กควรได้รับวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากเชื้อสามารถติดได้ง่าย
  5. ทางการหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการไปในที่มีคนพลุกพล่าน หมั่นล้างมือบ่อยๆ
5. โรคอีสุกอีใส

  1. เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส มักพบในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน  ติดต่อทางการสัมผัสตุ่มน้ำโดยตรงหรือทางการหายใจ
  2. อาการ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นแดงขึ้นทีใบหน้าและลำตัว ต่อมาเป็นตุ่มน้ำใส อาจเป็นตุ่มหนอง แตกและตกสะเก็ด ใช้เวลารวม 7-10 วัน
  3. รักษา รักษาตามอาการ กินยาลดไข้ งดการแกะเกาตุ่มเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ยกเว้นมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม
  4. ป้องกัน ในผู้ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
6. โรคอุจจาระร่วง

  1. โรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรต้าไวรัส มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
  2. อาการ ถ่ายเหลว ก้นแดง อาเจียน กินได้น้อย ไข้สูง อ่อนเพลีย
  3. รักษา ให้จิบน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนการเสียน้ำ เปลี่ยนอาหารและนมให้ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลแลดโตส หากกินไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด
  4. ป้องกัน หมั่นล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ทำความสะอาดสถานที่และของเล่นบ่อยๆ ในเด็กก่อนอายุ 4 เดือนมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าชนิดหยอดซึ่งลดโอกาสการเกิดโรคอุจาระร่วงรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]