ตรวจคัดกรองความเสี่ยงหลอดเลือดสมอง

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงหลอดเลือดสมอง

MRI and MRA Brain Screening

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงหลอดเลือดสมอง : 10,100.-

MRI and MRA Brain Screening


ตรวจสุขภาพ 13 รายการ

ผู้ที่มีความเสี่ยงโรค
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคหัวใจ อายุที่มากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บุหรี่ แอลกอฮอล์ โคเคน แอมเฟตามีน การดำเนินชีวิต ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกาย

ตรวจคัดกรองความเสี่ยงหลอดเลือดสมอง

MRI and MRA Brain Screening
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ ทำให้สมองขาดเลือดและออกซิเจน ไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้เซลล์สมองค่อย ๆ ตายลง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • ไขมันในเลือดสูง
  • ความอ้วน
  • โรคหัวใจ
  • อายุที่มากขึ้น
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • บุหรี่
  • แอลกอฮอล์
  • โคเคน
  • แอมเฟตามีน
  • การดำเนินชีวิต
  • ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่หรือออกกำลังกาย
สามารถตรวจได้โดย การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) หรือ การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI Scan) การตรวจ CT Scan จะช่วยวินิจฉัยแยกโรคสมองขาดเลือดกับโรคเลือดออกในสมองได้ โดยที่ใช้เวลาในการทำน้อยกว่า MRI Scan ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็ว ส่วนการตรวจ MRI Scan จะมีความไวในการตรวจสมองขาดเลือดในระยะแรกๆ มากกว่าการทำ CT Scan และสามารถช่วยวินิจฉัยแยกโรคสมองขาดเลือดกับโรคเลือดออกในสมองได้เช่นกัน
การคัดกอรงความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสิ่งจำเป็น เพื่อสำรวจความผิดปกติ หรือมีความบกพร่องของสมอง เพื่อจะได้รักษา ป้องกัน หรือ ผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดี ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โปรแกรมตรวจคัดกรองความเสี่ยงหลอดเลือดสมอง
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยอายุรแพทย์ระบบประสาทและสมอง
Physical Examination
ตรวจวัดความดันโลหิต, ชีพจร
BP, Pulse
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
CBC
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด
FBS
ตรวจหาระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
HbA1C
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ
SGPT
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต
Creatinine
ตรวจหาระดับไขมันในเลือด
Cholesterol
ตรวจหาระดับไขมันในเลือด
Triglyceride
ตรวจหาระดับไขมันชนิดดีในเลือด
HDL
ตรวจหาระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด
LDL
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
Electrocardiogram (EKG)
ตรวจหลอดเลือดสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
MRI and MRA Brain Screening
10,100.-
เงื่อนไขการใช้บริการ
  • รวมค่าแพทย์และค่่าบริการ
  • กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 10 - 12 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจ
วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย
อายุรแพทย์

นพ.ดุษฏี จรัญวรากรชัย

DUTSADEE CHARUNVARAKORNCHAI, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรม
    Internal Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 1 คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
  • วุฒิบัตรอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุเกล้า
ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 17:00 - 20:00

มะเร็งลำไส้ใหญ่…….ภัยร้ายใกล้ตัว

มะเร็งลำไส้ใหญ่.......ภัยร้ายใกล้ตัว

Colorectal Cancer
มะเร็งลำไส้ใหญ่
ในประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 4 และเป็นชนิดของมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอันดับ 5 โดยหากนับรวมประชากรทั่วโลกมะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตผู้คนถึงปีละ 500,000 คนหรือคิดเป็นนาทีละ 1 คน ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเป็นโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี โดยเฉพาะหากรักษาในช่วงมะเร็งระยะต้นคือระยะที่ 1 จะมีการหายขาดจากโรคได้ถึง 74% อย่างไรก็ตามเหตุที่จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีผู้ป่วยมีอาการแล้ว ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มักจะเข้าสู่ระยะท้ายแล้ว ซึ่งอัตราการหายขาดจากการรักษาก็จะลดลงเป็นอย่างมากคือเหลือเพียง 6% เท่านั้น ดังนั้นการพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
ในปัจจุบันแนวทางการรักษาต่างๆทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและเอเชียนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม นอกจากนี้ผู้ที่ญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องตรวจเร็วกว่าเดิมอีก 10 ปี คือตั้งแต่อายุ 40 ปี สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองนั้นในปัจจุบันมีหลายวิธีได้แก่ การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถเห็นสภาพความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด และสามารถตัดติ่งเนื้อซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคตได้ นอกจากนั้นจากหลักฐานทางการแพทย์พบว่าการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 53%
โดยสรุป มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มต้น ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้แก่
  1. มีอาการที่อาจบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร
    อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง
  2. อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยในกรณีที่มีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจพิจารณาตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปี

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นพ.ก้องเกียรติ เลิศพิพัฒน์มงคล

นพ.ก้องเกียรติ เลิศพิพัฒน์มงคล
อายุรแพทย์

นพ.ก้องเกียรติ เลิศพิพัฒน์มงคล

KONGKIAT LERTPIPATMONGKON, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต(พ.บ.)(เกียรตินิยมอันดับ 2) วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและชิรพยาบาล
  • วว. อายุรกรรมทั่วไป
  • ประธานองค์กรแพทย์/ ประธานคณะกรรมการควบคุมการติดเชื้อภายในร.พ, ร.พชุนยอม จ.แม่ฮ่องสอน

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 07:00 - 15:00
TUE 07:00 - 15:00
WED 07:00 -20:00
THU 07:00 - 15:00
FRI 07:00 - 20:00