โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับคุณ :

โปรแกรม Light Office เริ่มต้นเพียง 4,750.-

โปรแกรม Hard Office เริ่มต้นเพียง 5,750.-


ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานในออฟฟิศ ต้องนั่งทำงานตลอดเวลาเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ หรือ ปวดร้าวขึ้นศีรษะแสดงว่าคุณกำลังประสบปัญหา
“ออฟฟิศซินโดรม”

โปรแกรมลดอาการ ออฟฟิศ ซินโดรม

Office Syndrome   
ออฟฟิศซินโดรม
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ทำงานในออฟฟิศ ต้องนั่งทำงานตลอดเวลาเคลื่อนไหวร่างกายน้อย และอยู่ในสภาพแวดล้อมการทำงาน
ที่ไม่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ หรือ
ปวดร้าวขึ้นศีรษะแสดงว่าคุณกำลังประสบปัญหา “ออฟฟิศซินโดรม”
โปรแกรม Light Office
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก และเวียนศีรษะมาก
  • High power laser 10 นาที
  • Ultrasound 14 นาที
  • Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  • Hotpack ประคบร้อน
โปรแกรม Hard Office
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึงรั้งหนักคอ บ่า สะบักอย่างมาก
  • PMS 15 นาที
  • Ultrasound 14 นาที
  • Stretching ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  • Hotpack ประคบร้อน
รายการ
Course 3 ครั้ง
Course 5 ครั้ง
โปรแกรม Light Office
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดคอ บ่า สะบัก และเวียนศีรษะมาก
4,750.-
ปกติ 5,100.-
7,650.-
ปกติ 8,500.-
โปรแกรม Hard Office
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการตึงรั้งหนักคอ บ่า สะบักอย่างมาก
5,750.-
ปกติ 6,150.-
9,250.-
ปกติ 10,250.-
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
  • ราคาแพ็กเกจรวมค่าประเมินอาการโดยนักกายภาพบำบัดและค่าบริการโรงพยาบาล
  • ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในการเข้ารับบริการครั้งแรก
  • กรุณาใช้บริการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ซื้อ
    แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
  • ขอสงวนสิทธิ์ใช้เฉพาะผู้ที่ชำระเงินเท่านั้น และไม่สามารถคืนเงินได
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก

Peripheral Magnetic Stimulation
การบำบัดรักษาอาการทางเส้นประสาท ด้วยเครื่องกระตุ้นสนามแม่เหล็ก
Peripherl Magnetic Stimulation (PMS)
เทคโนโลยี PMS หรือ Peripheral Magnetic Stimulation คือ เครื่องกระตุ้นระบบประสาทด้วยการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทางการแพทย์ที่เรียกว่า Electromagnetic เพื่อบำบัดรักษาอาการปวด เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อ โรคเอ็นอักเสบ โรคปวดข้อต่อ และอาการชาจากเส้นประสาทได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคลื่นไฟฟ้าจะสามารถกระตุ้นทะลุผ่านเสื้อผ้าโดยไม่ต้องสัมผัสผิว ลงไปถึงเนื้อเยื่อและกระดูกได้ลึกประมาณ 10 ซม. คลื่นจาก PMS จะส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ไปกระตุ้นที่เส้นประสาทโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการ Depolarization กระตุ้นเนื้อเยื่อบริเวณที่ปวดทำให้เกิดการไหลเวียนของโลหิตบริเวณกล้ามเนื้อดียิ่งขึ้น ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะโดยรอบ รู้สึกผ่อนคลายในขณะรักษา รวมถึงส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กกระตุ้นแขน ขา บริเวณที่เคลื่อนไหวไม่ได้ ให้ส่งสัญญาณไปที่สมอง และให้สมองส่วนที่ยังทำงานได้มีการฟื้นตัว แล้วส่งสัญญาณกลับลงมาทำให้แขนขาขยับได้มากขึ้น ในส่วนของการบำบัดรักษาอาการเจ็บปวด การกระตุ้นเส้นประสาทจะทำให้เกิดการส่งสัญญาณที่ช่วยยับยั้งอาการปวดได้ สามารถรักษาได้ทั้งปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง และยังเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมเสริมของเนื้อเยื่อด้วย
 
กลุ่มโรคที่รักษาด้วยเครื่อง PMS
  1. กลุ่มอัมพฤกษ์ อัมพาต ซึ่งเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก (Stroke), เกิดจากการบาดเจ็บในสมอง (Traumatic Brain Injury), เกิดจากการบาดเจ็บของไขสันหลัง (Spinal Cord Injury) หน้าเบี้ยวครึ่งซีก (Bell'spalsy) กลุ่มนี้จะเป็นลุ่มใหญ่ที่จะสามารถใช้เครื่องกระตุ้นแม่เหล็กมาบำบัดรักษาจะช่วย ลดอาการเกร็งในผู้ป่วย อัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้อาการฟื้นตัวของอาการอัมพฤกษ์ อัมพาตดีขึ้น
  2. กลุ่มโรคกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง คือกลุ่มโรคที่เกี่ยวกับแนวไขสันหลังโดยตรง การเสื่อมของกระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก หรือการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูก ที่มีผลต่อเส้นประสาทจากไขสันหลังหรือการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะสามารถรักษากลุ่มปวดนี้ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าเครื่องมืออื่น เนื่องจากการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กจะสามารถกระตุ้นลึกลงไปจนถึงรากประสาทได้
  3. กลุ่มปวดต่าง ๆ หรือ ออฟฟิศซินโดรม การบำบัดอาการปวด อาการเคล็ดคัดยอก การบาดเจ็บหรืออาการปวดเรื้อรังจากกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืดหรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของตัวเส้นประสาทโดยตรง เช่น อาการปวดบริเวณคอ บ่า ข้อศอก แขน มือ เอว หลัง สะโพก ขา เข่า หรือข้อเท้า และหากทำอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำจะทำให้อาการปวดค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปในที่สุด
  4. กลุ่มอาการชา หรือ ผู้ที่มีอาการชาจากปลายประสาทหรือการกดทับเส้นประสาท คือกลุ่มปลายประสาทอักเสบ โดยส่วนใหญ่พบได้ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าอาการชามือ ชาเท้าจะดีขึ้น 50-100% ในแต่ละครั้งที่รักษา
  5. ช่วยบำบัดรักษาฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา นักกีฬาที่ได้รับบาดเจ็บจากการฝึกซ้อม หรือระหว่างแข่งขัน
การบำบัดรักษา
  1. ลดปวด ลดอาการชา ได้เป็นอย่างดี หลังการรักษา
  2. สามารถเพิ่มกำลัง และกระตุ้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากอัมพาต
  3. เร่งการฟื้นตัวของเส้นประสาทที่บาดเจ็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บาดเจ็บเส้นประสาท มือตก เท้าตก แขนขาอ่อนแรง อาการที่เกิดจากกดทับรากประสาทที่คอ และเอวจากโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนหรือเสื่อม
  4. เร่งการฟื้นตัวจากเส้นประสาทที่มีพฤติกรรมผิดเพี้ยน เช่น อาการเหน็บชา ปวดแปร๊บหลังการบาดเจ็บเส้นประสาท อาการปวดเรื้อรังจากโรคทางกล้ามเนื้อกระดูกทุกชนิด
  5. เวลาการบำบัดรักษารักษาสั้นมาก ต่อ 1จุดการรักษา
  6. ถ้าบำบัดรักษาต่อเนื่อง สามารถลดจำนวนการรักษาได้
  7. สามารถบำบัดรักษาได้ผลในทุกระยะของการดำเนินโรค คือ ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง
  8. กลไกการรักษาเป็นการกระตุ้นให้มีการซ่อมสร้างของเนื้อเยื่อ ไม่ใช่เพียงการแก้อาการเท่านั้น
ข้อควรระวัง/ข้อแนะนำหลังการรักษา
  1. กล้ามเนื้อมีโอกาสระบมหรือเป็นตะคริวได้ 2-3 วันหลังรับการรักษา
  2. มีโอกาสเกิดความร้อนได้หากไม่ระมัดระวัง โดยเฉพาะความร้อนที่เกิดกับตัวโลหะที่วางอยู่ภายนอกร่างกาย เช่น หัวเข็มขัด หัวคอยล์เหรียญที่อยู่บนกางเกงยีนส์ เป็นต้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วย […]

โปรแกรม Office Syndrome ออฟฟิศ ซินโดรม

เลือกโปรแกรมที่เหมาะ […]

ฝังเข็มรักษาโรค

การฝังเข็ม (Acupunct […]