ทันตอุปกรณ์ รักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง

ราคาเริ่มต้นที่ 12,000.-


ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง
สำหรับรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

Mandibular advancement device (MAD) for treating snoring and obstructive sleep apnea (OSA)

การใส่ทันตอุปกรณ์ คืออีกทางเลือกในการรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การใช้เครื่องมือปรับตำแหน่งขากรรไกร เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น จะทำให้สามารถช่วยลดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

รศ.ทพ.ดร.ชิษณุ แจ้งศิริพันธ์
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมจัดฟันและสาขาทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ

การใส่ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) จะช่วยเปิดทางเดินหายใจบริเวณคอหอยให้กว้างขึ้น ลดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในลำคอซึ่งเป็นสาเหตุของเสียงกรน และยังช่วยลดการอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเครื่องมือนี้จะใส่ในช่องปากขณะนอนหลับ โดยมีการออกแบบให้รองรับกับฟันบนและฟันล่างเฉพาะในแต่ละบุคคล จึงมีขนาดกะทัดรัดสวมใส่สบาย และเมื่อสวมใส่จะช่วยดันขากรรไกรล่างให้ยื่นไปด้านหน้าในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อช่วยเปิดทางหายใจให้โล่งขึ้น

ภาพตัวอย่างทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) ที่ช่วยในการรักษานอนกรน (OSA)
ภาพตัวอย่างทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) ที่ช่วยในการรักษานอนกรน (OSA)

MAD เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีประวัตินอนกรนอย่างเดียว หรือนอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
  • ผู้ที่มีประวัตินอนกรนระดับรุนแรง แต่ไม่สามารถยอมรับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) ได้

ขั้นตอนการทำ MAD

  • ซักประวัติ ทำแบบสอบถาม ตรวจสภาพช่องปาก ถ่ายภาพรังสี พิมพ์ปาก และบันทึกการสบฟัน เพื่อวินิจฉัยโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง
  • หลังรับเครื่องมือและปรับตัวกับ MAD ที่ใส่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะทำนัดตรวจเพื่อประเมินผล และปรับอุปกรณ์
  • ตรวจติดตามอาการต่อเนื่องทุก 6 เดือน และอาจส่งต่อเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจการนอนหลับเพื่อยืนยันผลการรักษาต่อไป
เริ่มต้นเพียง
12,000.-
แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การนอนหลับ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ

Sleep Apnea Syndrome


คุณมีอาการแบบนี้ หรือไม่?
  1. ขับรถหรือเข้าประชุมนานๆ แล้วเผลอหลับ
  2. คนที่บ้านบอกว่านอนกรนเสียงดัง ปวดหัวเหมือนนอนไม่พอ
  3. ตรวจร่างกายแล้ว ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ
ถ้ามีอาการดังกล่าวคุณอาจเป็น โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับโดยไม่รู้ตัว
เรามักเข้าใจผิดกันมานานแล้วว่า คนนอนหลับสนิทต้องมีอาการกรนร่วมด้วย ยิ่งกรนดังก็หมายถึงคนๆ นั้นกำลังนอนหลับฝันดีทีเดียว และคนที่กรนก็มักจะมีรูปร่างที่อ้วนใหญ่ ผู้ที่จมูกอักเสบ โครงหน้าผิดรูป เช่น คางสั้น ลิ้นโต คนที่ทำงานหักโหม นักกีฬา ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทานยานอนหลับ ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ สูบบุหรี่จัด เป็นต้น และพบมากในเพศชายมากกว่า เพศหญิง ซึ่งคนเหล่านี้มักมีอาการง่วงนอนทุกสถานที่ หลับได้ทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นขณะขับรถติดไฟแดงนานๆ ซึ่งอาจประสบอุบัติเหตุได้ หรือขณะ นั่งประชุม นั่งเรียน นั่งอ่านหนังสือ ตื่นเช้าทำให้รู้ไม่สดชื่นเหมือนนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ทั้งๆที่นอนเพียงพอแล้ว เวลากลางวันจึงง่วงนอนมากผิดปกติ อาการนอนกรนเป็นอาการที่บ่งบอกถึงการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน มีความสัมพันธ์โดยตรงกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นภาวะที่มีการอุดกั้นในทางเดินหายใจมาก จนกระทั่งทำให้เกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับพบได้ประมาณร้อยละ 25 ในเพศชาย และร้อยละ 15 ในเพศหญิง ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome”
ความผิดปกติในการนอนกรนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. อาการนอนกรนธรรมดา
ไม่มีอันตรายเพราะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย มีผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้อื่น โดยเฉพาะกับคู่นอน บุคคลอื่นๆ ในครอบครัว เพื่อนบ้าน หรือเพื่อนร่วมงาน เช่น ทำให้ผู้อื่นนอนหลับยากหรืออาจมากจนกระทั่งมีผลกระทบต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลดังกล่าวได้ เช่น อาจทำให้เกิดการหย่าร้างของคู่สามีภรรยา
2. การกรนแบบก่อโรค
มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ทางการแพทย์เรียกว่า “Sleep Apnea Syndrome” ผลกระทบที่สำคัญต่อสุขภาพ คือผู้ที่มีภาวะนี้จะมีอาการง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน มีแนวโน้มที่จะเกิดอุบัติเหตุในท้องถนน และในโรงงานอุตสาหกรรมได้ง่ายมีอัตราเสี่ยงสูงจะเป็นโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาหลายโรค ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคของหลอดเลือดในสมอง ตลอดจนการมีสมรรถภาพทางเพศที่เสื่อมลง !!!
การตรวจสุขภาพการนอนกรน (Sleep test)
เป็นการตรวจสุขภาพที่สำคัญเพื่อวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ เช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ รวมถึงศึกษาพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นขณะนอนหลับด้วย ปัจจุบันจัดว่าเป็นการตรวจสุขภาพมาตรฐานสากล เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคพบบ่อย เช่น ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าโรคหยุดหายใจขณะหลับเป็นต้น ซึ่งแพทย์จะประมวลประวัติ ผลการตรวจร่างกายทาง หู คอ จมูก และตรวจร่างกายโดยรวมแล้วแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep Test เพื่อหาระดับความรุนแรงและอาการของโรคจากระดับความลึกของการนอนหลับ โดยเฉพาะในกรณีที่สงสัยว่าจะมีภาวะการณ์หยุดหายใจร่วมด้วยว่าสมองมีการขาดออกซิเจนมากน้อยเพียงใด ซึ่งในขณะนอนหลับจะมีการบันทึกข้อมูลเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อที่แพทย์จะทำการวิเคราะห์ผล และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นลำดับต่อไป
แนวทางการรักษา
  • นอนตะแคง
  • ลดน้ำหนัก
  • การผ่าตัดตกแต่งทางเดินหายใจส่วนบน
  • เครื่องซีแพพ CPAP (Continuous positive airway pressure) เพื่อช่วยหายใจขณะนอนหลับ
เครื่องซีแพพ CPAP
(Continuous Positive Airway Pressure)
เป็นเครื่องผลิตแรงดันอากาศให้เพียงพอในการเปิดทางเดินหายใจในขณะหายใจเข้า เครื่อง CPAP มีประสิทธิภาพเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ในการรักษาปัญหาการขาดลมหายใจ โดยส่งอากาศเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านทางหน้ากากครอบจมูกหรือปาก ประโยชน์ของเครื่อง CPAP นอกจากขจัดปัญหาการขาดลมหายใจทำให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจน และมีคุณภาพการนอนดีขึ้นยังช่วยลดปัญหาความง่วงนอนช่วงกลางวัน ลดอุบัติเหตุ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน นอกจากนั้นการใช้เครื่อง CPAP ยังลดปัญหาสืบเนื่องในระยะยาวจากการขาดอากาศเป็นระยะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง
โรคเส้นเลือดตีบในสมอง และโรคหัวใจ รวมทั้งโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับ "การนอนกรน"