โปรแกรมคัดกรองหัวใจและหลอดเลือด

โปรแกรมคัดกรองหัวใจและหลอดเลือด

Heart and blood vessel screening program

โปรแกรมคัดกรองหัวใจและหลอดเลือด

Heart and Blood Vessel Screening Program

ราคาสุดพิเศษ 2,690.- รายการตรวจ 16 รายการ


"เพราะหัวใจ มีดวงเดียว" ให้โรงพยาบาลบางโพ เป็นผู้ช่วยดูแลสุขภาพของคุณและครอบครัวที่คุณรัก

โปรแกรมคัดกรองหัวใจและหลอดเลือด

Heart and Blood Vessel Screening Program
"Check กันหน่อย..คุณเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแค่ไหน"
กับโปรแกรมคัดกรองหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด (Heart Disease) กลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น โรคหัวใจเป็น โรคเรื้อรังร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนไทย และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ รวมถึงขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร โดยผู้ป่วยมักจะเริ่มรู้ตัวเมื่ออาการของโรคหัวใจเข้าสู่ระยะรุนแรง เช่น แน่นหน้าอกอย่างรุนแรง ปวดร้าวไปยังหัวไหล่ แขนหรือกรามด้านซ้าย รู้สึกจุกแน่นที่บริเวณกลางอกหรือลิ้นปี่ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหัวใจควรได้รับการดูแลเรื่องการบริโภคอาหารและการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆ แทรกซ้อนได้
"เพราะหัวใจ มีดวงเดียว" ให้เราเป็นผู้ช่วยดูแลสุขภาพของคุณและคนที่รัก
ตรวจ 16 รายการ เพียง 2,690.-
  • ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ Physical Examination
  • ตรวจวัดความดันโลหิต,ชีพจร BP, Pulse
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG
  • ตรวจเอกซเรย์ปอดดิจิตอล Chest X-ray
  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด CBC
  • ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด FBS
  • ตรวจหาระดับน้ำตาลสะสมในเลือด HbA1C
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ SGPT
  • ตรวจสมรรถภาพการทำงานของไต Creatinine
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Cholesterol
  • ตรวจหาระดับไขมันในเลือด Triglyceride
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดดีในเลือด HDL
  • ตรวจหาระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด LDL
  • ตรวจความสมบูรณ์ของปัสสาวะ UA
  • ตรวจระดับฮอร์โมนไธรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
  • ตรวจหาไลโพโปรตีน สารบ่งชี้ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด Lipoprotein a
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพ
  • งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ 6 - 8 ชั่วโมง (จิบน้ำเปล่าได้)
  • ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนเข้ารับการตรวจ 24 - 48 ชั่วโมง
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเกินจากปกติ
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ หากอดนอนจะทำให้ผลการตรวจผิดปกติ โดยเฉพาะความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ อุณหภูมิของร่างกาย อาจทำให้แพทย์ไม่สามารถประเมินได้ว่ามีความผิดปกติจริงหรือไม่
  • หากสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งพยาบาล ก่อนรับการตรวจ
  • สำหรับสุภาพสตรี ไม่ควรตรวจในช่วงที่มีประจำเดือน ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 7 วัน เพราะอาจมีผลต่อการแปรผล
  • หากรับประทานยาประจำ หรืออาหารเสริมบางชนิดอยู่ ควรแจ้ง แพทย์ก่อนตรวจสุขภาพ เพราะยาและอาหารเสริมบางชนิด มีผลต่อผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ หรือ ผลการตรวจอุจจาระ
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
  • ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • กรณีซื้อผ่าน online กรุณาใช้บริการภายในวันเวลาที่กำหนด 31 ธันวาคม 2567
  • กรุณานัดหมายก่อนเข้ารับบริการล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 วัน ที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ โทร. 02-587-0144 ต่อ 2300 หรือ @line : @bangpohospital
  • ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมการส่งเสริมการขายอื่นๆ การเรียกเก็บจากบริษัทคู่สัญญา บริษัทประกันฯ รวมถึงส่วนลดอื่นๆได้
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนด เงื่อนไข ราคา และอื่นๆ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจเป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่คาดคิด การหายใจและการไหลเวียนของเลือดหยุดลงทันที ภายในไม่กี่วินาที ผู้ป่วยจะหมดสติและเสียชีวิต
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในผู้ที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีและมีอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้นพบได้น้อย โดยพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากเกิดจากโรคหัวใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทางพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตกะทันหันระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การแข่งขันกีฬา แต่การเสียชีวิตกะทันหันก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ขณะที่พักหลับ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพบได้บ่อยเพียงใดในวัยรุ่น
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของนักกีฬาวัยรุ่น ในแต่ละปีมีนักกีฬาวัยรุ่นประมาณ 1 ใน 50,000-100,000 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การเต้นของหัวใจที่เร็วมากทำให้ห้องหัวใจด้านล่างบีบตัวอย่างรวดเร็วและไม่ประสานกัน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะที่หัวใจทำงานหนักเกินไปหรือมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
โรคที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น ได้แก่:
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะทางพันธุกรรมนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น การหนาขึ้นนี้ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยาก
  • กลุ่มอาการ QT ยาวแต่กำเนิด ภาวะนี้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ นำมาซึ่งอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุและการเสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะในคนอายุน้อย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา และกลุ่มอาการวูล์ฟ-พาร์กินสัน-ไวท์
  • การถูกกระแทกที่หน้าอกอย่างรุนแรง การบาดเจ็บที่หน้าอกจากของแข็งซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุด เต้นเฉียบพลัน เรียกว่า commotio cordis ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดขึ้นในนักกีฬาที่ถูกอุปกรณ์กีฬา หรือผู้เล่นคนอื่นกระแทกเข้าที่หน้าอกอย่างแรง
การเสียชีวิตกะทันหันในวัยรุ่นสามารถป้องกันได้หรือไม่
  1. ควรเล่นกีฬาในศูนย์กีฬามาตรฐานที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หากมีอาการหรือภาวะดังกล่าวข้างต้น
  2. แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาโรคหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
ใครควรได้รับการตรวจคัดกรอง
ผู้ที่มีอาการหรือภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
  1. เป็นลม/หมดสติ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย
  2. เจ็บหน้าอก
  3. มีประวัติครอบครัวเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล
อายุรแพทย์โรคหัวใจ

พญ.จุฑาทิพย์ งามวิเศษชัยกุล

Juthathip Nyamvisetchaikul, M.D.
Specialty
  • อายุรกรรมโรคหัวใจ
    Cardiovascular Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศิริราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
WED 09:00 - 15:00 สัปดาห์ที่ 1,3,5

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค