ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]


- รับเพิ่ม โปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา เมื่อซื้อโปรแกรมตรวจชุดใดก็ได้

ชุดตรวจสุขภาพ SML Care [Free gift]

ชุดตรวจสุขภาพที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็น เพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติ หรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใด เพื่อจะได้รักษา ป้องกัน หรือ ผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดี ตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
รายการ
S Care
สำหรับช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี
(20 รายการ)
M Care
สำหรับช่วงอายุ 30 - 40 ปี
L Care
สำหรับช่วงอายุมากกว่า 40 ปี
ชาย
(22 รายการ)
หญิง
(24 รายการ)
ชาย
(33 รายการ)
หญิง
(34 รายการ)
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ Physical Examination
ความสมบูรณ์ของเลือด CBC
ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
HbA1C
ตรวจการทำงานของตับ SGPT
SGOT
Alkaline Phosphatase
Bilirubin (Total Bilirubin, Direct Bilirubin)
Total Protein (Albumin, Globulin)
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี HBsAg
ตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับบี HBsAb
ตรวจการทำงานของไตและกรวยไต BUN
Creatinine
eGFR
ตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์ TSH and Free T4
ตรวจระดับกรดยูริก (โรคเก๊าท์) Uric Acid
ตรวจไขมันในเลือด Cholesterol
Triglyceride
HDL
LDL
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP for Liver Cancer
ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA for GI Cancer
ตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก PSA for Prostate Cancer
ตรวจปัสสวะ Urine Examination
ตรวจอุจจาระ Stool Examination with Occult blood
ตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก Bone Density (lumbar, hip)
ตรวจสมรรถภาพการไหลเวียนของระบบเส้นเลือด Ankle Brachial Index (ABI)
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ Chest X-ray
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (EKG)
ตรวจหัวใจด้วยการวิ่งสายพานหรืออัลตราซาวด์ Exercise Stress Test or Echocardiogram
ตรวจอัลตราซาวด์อวัยวะช่องท้อง Ultrasound Whole Abdomen
ตรวจมะเร็งปากมดลูก Liquid Pap Smear
ตรวจแมมโมแกรมมะเร็งเต้านมและอัลตราซาวด์ Mammogram and Breast Ultrasound
การหาดัชนีมวลกาย Body Mass Index
อาหาร/สมุดตรวจสุขภาพ Bangpo Snack Bag / Health Check-Up Report
ราคาปกติ 4,490.- 7,940.- 12,450.- 19,510.- 22,270.-
ราคาแพ็คเกจ 2,900.- 5,500.- 8,200.- 13,300.- 15,800.-
รับฟรี ชุดตรวจสุขภาพดวงตา
(โปรแกรม 1 หรือ 2 ตามดุลพินิจของแพทย์)
เมื่อซื้อโปรแกรมตรวจชุดใดก็ได้
กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการตรวจสุขภาพ
หมายเหตุ
  1. รับโปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา 1 หรือ 2 ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์
  2. กรณีตรวจสุขภาพดวงตาโปรแกรม 2 แนะนำให้พาญาติมาด้วยเพื่อความปลอดภัยและไม่แนะนำให้ขับขี่ยานพาหนะกลับด้วยตนเอง
  3. ราคาดังกล่าวรวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
ความเหมาะสมแต่ละช่วงอายุ
โปรแกรมตรวจสุขภาพ
ความเหมาะสม
S Care
สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า  30 ปี หรือวัยทำงาน
M Care
สำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 30 - 40 ปี  หรือ วัยทำงานและผู้ใหญ่ที่ต้องการตรวจละเอียดมากขึ้น
L Care
สำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า  40  ปีขึ้นไป หรือผู้ที่เตรียมสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ
รายละเอียดโปรแกรมตรวจสุขภาพดวงตา
รายการตรวจสุขภาพดวงตา
Program 1
7 รายการ
Program 2
8 รายการ
ตรวจตาโดยจักษุแพทย์
Eye Examination
ตรวจวัดความดันโลหิต ชีพจร น้ำหนัก ส่วนสูง
ตรวจสุขภาพสายตา การมองเห็น
Visual Acuity: VA
ตรวจความดันลูกตา
Tonometer
ตรวจตาด้วย Slit Lamp
ตรวจวัดสายตา สั้น ยาว ด้วยเครื่องอัตโนมัติ
Autorefractor
คัดกรองตาบอดสี
Ishihara’s Test
ขยายม่านตา ดูจอประสาทตา
หมายเหตุ : แนะนำให้พาญาติมาด้วยเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง และไม่แนะนำให้ขับขี่ยานพาหนะกลับด้วยตนเอง
ราคาแพ็คเกจ
900.-
1,299.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
หมายเหตุ
  1. ราคารวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
  2. เพื่อความสะดวกในการรับบริการโปรดนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 วัน
  3. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้าบริเวณดวงตา เช่น ติดขนตาปลอม ใช้อายไลน์เนอร์เขียนขอบตา
  4. หากท่านสวมแว่นตา มียาหยอดตา หรือยาที่ใช้เป็นประจำ กรุณานำมาด้วย
  5. แจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัว ประวัติการรักษาโรคต่างๆ และยารักษาโรคทุกชนิดที่กำลังใช้อยู่ เพราะอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสายตา หรือสุขภาพตา
  6. หากมีการขยายม่านตา ไม่ควรขับรถมาเอง โดยควรเตรียมแว่นกันแดดหรือหมวกปีกกว้างมาใส่ตอนกลับ เพราะหลังขยายม่านตาจะมีอาการพร่ามัว สู้แสงลำบาก
วันนี้ - 31 มกราคม 2568
สามารถใช้ได้ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคไอกรน Pertussis

โรคไอกรน

Pertussis
โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคน ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นระยะจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ในพื้นที่ที่มีความ ครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำ จะมีการระบาดได้ง่าย เช่น ในช่วงกลางปี 2567 มีการระบาดต่อเนื่องในภาคใต้เนื่องจากความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำมาก
การติดต่อ
การติดต่อของโรคเกิดผ่านละอองฝอยไอหรือจามจากผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจาก
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
อาการและอาการแสดง อาการของโรคไอกรนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะอาการหวัด ผู้ป่วยจะมีอาการ มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ แยกยากจากไข้หวัดทั่วไป
  2. ระยะไอรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดต่อกันเป็นชุด ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงวูบ บางรายอาจมีอาเจียน เขียวและหยุดหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย เด็กเล็ก
  3. ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอและอาเจียนทุเลาลง หายไปใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอได้นานหลายสัปดาห์โดยรวมระยะของโรคทั้งหมดหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนที่อาจพบในวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด ไอจน
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การให้วัคซีนป้องกันไอกรน
วัคซีนป้องกันไอกรน มีทั้งชนิดวัคซีนเดี่ยวและชนิดวัคซีนรวมกับคอตีบและบาดทะยัก เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับวัคซีนที่แนะนําตามอายุให้ครบถ้วน ได้แก่
  1. อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรรับวัคซีนให้ครบ โดยเป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และอาจรวมวัคซีน ป้องกันเชื้ออื่นๆ ในเด็กเล็กด้วย เช่น DTP-HB-Hib จำนวน 5 โด๊ส ที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี
  2. วัยรุ่น 10-12 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สูตรเด็กโตและผู้ใหญ่ (Tdap/TdaP) กระตุ้น 1 โด๊ส หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นต่อด้วย ด้วยวัคซีน dT/Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
  3. ผู้ใหญ่ หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม Tdap/TdaP กระตุ้น 1 โด๊ส จากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม dT/Tdap/TdaP กระตุ้น ประมาณทุก 10 ปี แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุลงท้ายด้วยเลข “0” เช่นที่อายุ 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 ปี
  4. หญิงตั้งครรภ์ แนะนําให้วัคซีนป้องกันไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
  5. ในกรณีที่มีเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ในครอบครัว ควรให้ทุกคนในบ้านได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน ตามที่แนะนําในข้างต้นให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังทารก (Cocooning)
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

นพ.เหรียญชัย นามมนตรี

นพ.เหรียญชัย นามมนตรี
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

นพ.เหรียญชัย นามมนตรี

RIANCHAI NAMMONTREE , M.D.
Specialty
  • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วุฒิบัตรศัลยศาตร์ออร์โอปิดิกส์ สถาบันราชวิถี กรมการแพทย์

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 13:00 - 16:00

นพ.เลอสรรพ์ ลือสุทธิวิบูลย์

นพ.เลอสรรพ์ ลือสุทธิวิบูลย์
อายุรแพทย์โรคไต

นพ.เลอสรรพ์ ลือสุทธิวิบูลย์

LERSAN LUESUTTHIVIBOON, M.D.
Specialty
  • อายุรแพทย์โรคไต Nephrology

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตร สาขาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตรสาขาอายุรศาสตร์โรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 10:00 - 12:00

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น

การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในนักกีฬาวัยรุ่น
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจเป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหันซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่คาดคิด การหายใจและการไหลเวียนของเลือดหยุดลงทันที ภายในไม่กี่วินาที ผู้ป่วยจะหมดสติและเสียชีวิต
การเสียชีวิตกะทันหันจากโรคหัวใจในผู้ที่ดูเหมือนมีสุขภาพดีและมีอายุต่ำกว่า 35 ปีนั้นพบได้น้อย โดยพบได้บ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากเกิดจากโรคหัวใจที่ไม่ได้รับการวินิจฉัย เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทางพันธุกรรม ซึ่งอาจทำให้คนหนุ่มสาวเสียชีวิตกะทันหันระหว่างทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรง เช่น การแข่งขันกีฬา แต่การเสียชีวิตกะทันหันก็อาจเกิดขึ้นได้แม้ขณะที่พักหลับ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพบได้บ่อยเพียงใดในวัยรุ่น
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคหัวใจ อย่างไรก็ตามภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของนักกีฬาวัยรุ่น ในแต่ละปีมีนักกีฬาวัยรุ่นประมาณ 1 ใน 50,000-100,000 คน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
อะไรเป็นสาเหตุของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น
การเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจมักทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน การเต้นของหัวใจที่เร็วมากทำให้ห้องหัวใจด้านล่างบีบตัวอย่างรวดเร็วและไม่ประสานกัน หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะเป็นอันตรายถึงชีวิต ภาวะที่หัวใจทำงานหนักเกินไปหรือมีการทำลายเนื้อเยื่อหัวใจอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
โรคที่อาจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น ได้แก่:
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติ ภาวะทางพันธุกรรมนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในวัยรุ่น การหนาขึ้นนี้ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ยาก
  • กลุ่มอาการ QT ยาวแต่กำเนิด ภาวะนี้อาจทำให้หัวใจเต้นเร็วและผิดจังหวะ นำมาซึ่งอาการเป็นลมโดยไม่ทราบสาเหตุและการเสียชีวิตกะทันหัน โดยเฉพาะในคนอายุน้อย
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอื่นๆ เช่น กลุ่มอาการบรูกาดา และกลุ่มอาการวูล์ฟ-พาร์กินสัน-ไวท์
  • การถูกกระแทกที่หน้าอกอย่างรุนแรง การบาดเจ็บที่หน้าอกจากของแข็งซึ่งทำให้เกิดการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุด เต้นเฉียบพลัน เรียกว่า commotio cordis ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอาจเกิดขึ้นในนักกีฬาที่ถูกอุปกรณ์กีฬา หรือผู้เล่นคนอื่นกระแทกเข้าที่หน้าอกอย่างแรง
การเสียชีวิตกะทันหันในวัยรุ่นสามารถป้องกันได้หรือไม่
  1. ควรเล่นกีฬาในศูนย์กีฬามาตรฐานที่มีเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ (AED) เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน หากมีอาการหรือภาวะดังกล่าวข้างต้น
  2. แนะนำให้เข้ารับการตรวจคัดกรองที่แผนกอายุรกรรมเฉพาะทางโรคหัวใจ เพื่อตรวจหาโรคหัวใจที่อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้
ใครควรได้รับการตรวจคัดกรอง
ผู้ที่มีอาการหรือภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
  1. เป็นลม/หมดสติ โดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นระหว่างทำกิจกรรมหรือออกกำลังกาย
  2. เจ็บหน้าอก
  3. มีประวัติครอบครัวเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.ภัสสร โชคสมนึก

พญ.ภัคทิพา ภัทรโกศล
อายุรกรรมโรคเลือด

พญ.ภัสสร โชคสมนึก

PHATSORN CHOKSOMNUK, M.D.
Specialty
  • อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตร์บัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์
  • วุฒิบัตร อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วว.อายุรศาสตร์โลหิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหววิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 09:00 - 12:00

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือ 50 – 59 ปี ที่มีโรคร่วม

9,500.-

รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
  • ป้องกันการติดเชื้อ RSV 82.6%
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส
  • ลดความเสี่ยงการรักษาในโรงพยาบาล ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
    • โรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมจากไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

RSV Vaccine
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
วัคซีนป้องกันไวรัส RSV
สำหรับผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป หรือ 50 - 59 ปี ที่มีโรคร่วม
  • ป้องกันการติดเชื้อ RSV 82.6%
  • กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างแอนติบอดี ที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัส
  • ลดความเสี่ยงการรักษาในโรงพยาบาล ลดการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
    • โรคหลอดลมอักเสบและโรคปอดบวมจากไวรัส RSV
คำแนะนำในการฉีด
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  • ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่นๆ
  • ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV ไวรัส วายร้าย ในผู้สูงวัย ป้องกันด้วยวัคซีน

RSV Vaccine
การติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus)
RSV เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของโรคหลอดลมอักเสบ (Bronchiolitis) และปอดบวม (Pneumonia) โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง และผู้ที่มีโรคหัวใจหรือปอด โดยสามารถแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ เช่น น้ำมูก น้ำลาย และผ่านละอองฝอยที่เกิดจากการไอหรือจาม
โดยอาการจะคล้ายไข้หวัด เช่น ไอ มีไข้ น้ำมูกไหล เจ็บคอ คัดจมูก อาจมีอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง อาจเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ปอดบวม ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัส RSV ได้ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ ถ้ามีอาการรุนแรงอาจด้วยการใช้ยาขยายหลอดลมหรือให้ออกซิเจน รวมถึงเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
การป้องกันการติดเชื้อ โดยการปฏิบัติเหมือนการป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ เช่น การล้างมือบ่อยๆ การสวมหน้ากากอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีอาการหวัด การฉีดวัคซีน RSV สำหรับกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ
วัคซีน RSV
ในอดีต RSV เป็นไวรัสที่ไม่มีวัคซีนในการป้องกัน แต่ในปัจจุบัน มีการวิจัยพัฒนาวัคซีน RSV ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ.2023 องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้อนุมัติวัคซีน RSV ตัวแรกสำหรับผู้สูงอายุและสตรีมีครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวัคซีนเพิ่มเติมและการศึกษาทางคลินิกที่กำลังดำเนินการเพื่อสร้างวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับกลุ่มประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ RSV
ปัจจุบันในโรงพยาบาลบางโพมีวัคซีนที่เป็น Adjuvanted monovalent RSV vaccine (Arexvy) เป็นทางเลือกสำหรับผู้ต้องการรับวัคซีน RSV โดยข้อมูลในปัจจุบันแนะนำให้ฉีดเข้ากล้าม 1 เข็ม โดยไม่ต้องมีการฉีดกระตุ้น
ข้อบ่งชี้
  • ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีอายุ 50-59 ปี แต่มีโรคร่วมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง
ประสิทธิภาพ
  1. ลดอัตราการติดเชื้อ RSV ที่มีอาการได้ 82.6%
  2. ลดอัตราการเกิดโรคหลอดลมอักเสบและปอดบวมได้ 94.6%
  3. ลดความรุนแรงของอาการในผู้ที่ติดเชื้อ และลดการรักษาในโรงพยาบาล
  4. ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงทั่วไปที่พบได้บ่อยหลังจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ และมีไข้เล็กน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นอาการที่ไม่รุนแรงและมักจะหายไปภายในไม่กี่วัน
ข้อห้ามและข้อควรระวัง
ผู้ที่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ของการรับวัคซีน
  1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้ยาหรือวัคซีนอื่น ๆ หรืออย่างรุนแรงต่อส่วนประกอบใด ๆ ของวัคซีน
  2. ผู้ที่ป่วยหนักหรือมีไข้สูงควรเลื่อนการรับวัคซีนจนกว่าจะหายดี
  3. ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือได้รับการรักษาด้วยยาที่กดระบบภูมิคุ้มกัน
  4. หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
การดูแลหลังการรับวัคซีน
  • ควรติดตามอาการของตัวเอง หากมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น หายใจลำบาก บวมที่หน้าและคอ หรือลมพิษ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
  • ควรพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
สรุป
วัคซีนมีข้อห้ามและข้อควรระวังบางประการที่ผู้รับวัคซีนควรทราบ การปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการสุขภาพก่อนการรับวัคซีนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการรับวัคซีนเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ดูแลระบบทางเดินอาหารด้วยโปรแกรม “ส่องกล้อง อุ่นใจ”

ดูแลระบบทางเดินอาหารด้วยโปรแกรม "ส่องกล้อง อุ่นใจ"

โปรแกรมส่องกล้อง หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น

โปรแกรมส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

โปรแกรส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่


จุกเสียด แน่นท้อง ท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลด

โปรแกรมคัดกรอง “ ส่องกล้อง อุ่นใจ ” (ไม่พักค้างคืน)

ส่องกล้อง หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น
EGD/GASTROSCOPY
11,500.-
18,000.-
ให้ยานอนหลับโดยวิสัญญีแพทย์
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่
COLONOSCOPY
16,500.-
24,500.-
ให้ยานอนหลับโดยวิสัญญีแพทย์
ส่องกล้องกระเพาะอาหาร และลำไส้ใหญ่
EGD+COLONOSCOPY
25,500.-
32,500.-
ให้ยานอนหลับโดยวิสัญญีแพทย์
เงื่อนไขการใช้บริการ
  • เป็นโปรแกรมแบบผู้ป่วยนอก รวม ค่าแพทย์ ค่ายา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำหัตถการในห้องผ่าตัด ไม่รวมค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
    1. การตัดชิ้นเนื้อ
    2. การส่งตรวจชิ้นเนื้อ
    3. การรักษาภาวะเลือดออก
    4. ค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวก่อนทำหัตถการ (ยา/เวชภัณฑ์/Lab/X-ray/ค่าแพทย์และอื่นๆที่นอกเหนือจากการทำหัตถการในห้องผ่าตัด)
    5. ยาที่ไม่เกี่ยวข้องกับหัตถการ
    6. เวชภัณฑ์และยากลับบ้าน
  • โปรแกรมนี้ใช้เพื่อการตรวจวินิจฉัยและการตรวจสุขภาพประจำปีเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อการรักษา
  • ปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับผู้ที่มีสิทธิ์เบิกประกันชีวิต/ประกันสุขภาพ
วันนี้ - 31 มกราคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

บุหรี่ไฟฟ้า

บุหรี่ไฟฟ้า

31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก
บุหรี่ไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนทั่วโลกรู้จักมากขึ้นและมีการใช้มากในปัจจุบันรวมถึงในประเทศไทย ซึ่งนับวันบุหรี่ไฟฟ้าจะเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงาน เยาวชน และกลุ่มนักเรียน เนื่องจากมีการหาชื้อได้ง่าย ประกอบกับสื่อ Social ในปัจจุบันที่รวดเร็ว ง่ายต่อการเข้าถึง ซึ่งแม้ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพ และผิดกฎหมายแล้วก็ตาม
บุหรี่ไฟฟ้า (Electric cigarette) เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบชนิดใหม่ สูบด้วยการใช้อุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ สารนิโคตินเหลว ที่สกัดจากใบยาสูบในบุหรี่ไฟฟ้าจะระเหยด้วยความร้อนจากไฟฟ้าเข้าสู่ร่างกาย โดยไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป เมื่อสูบน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าจะถูกทำให้สารเคมีกลายเป็นละอองไอ เป็นอันตรายต่อผู้สูบและคนรอบข้าง ซึ่งน้ำยาในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วย
  • สารนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีผลเสียต่อสุขภาพ หลายระบบ
  • สารประกอบอันตราย นิกเกิล ดีบุก ตะกั่ว สารหนู ฟอร์มัลดีไฮด์ เบนซีน ซึ่งอาจก่อมะเร็ง
  • โพรพิลีนไกลคอล ระคายเคืองตา ทางเดินหายใจ ทำให้ไอ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน
  • กลีเซอรีน เมื่อผสมกับโพรพิลีนไกลคอล ยิ่งทำให้ไอ หลอดลมตีบ หอบเหนื่อย
  • สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
  • สารปรุงแต่งกลิ่น รส และอื่น ๆ บางตัวอาจทำให้ปอดอักเสบรุนแรง อาทิ วิตามินอี อะซิเตท
โทษของบุหรี่ไฟฟ้า มีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป จำนวน 20 มวน และสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กกว่า pm 2.5 คือประมาณ 1.0 ไมครอน ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้ามีขนาดเล็กกว่าบุหรี่ธรรมดาจึงถูกสูดเข้าไปในปอดได้ลึกกว่า จับเนื้อเยื่อปอดและดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ยากที่ร่างกายจะขับออกมาได้หมด
  • ระบบการหายใจ เกิดการระคายเคือง ไอ เหนื่อยง่าย ทำให้โรคหืดและภูมิแพ้กำเริบ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ โรคมะเร็งปอด
  • ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิต
  • ระบบประสาทและสมอง เซลล์สมองถูกทำลาย อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ส่งผลถึงการพัฒนาของระบบประสาทและสมอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ สมาธิ ทำให้ความจำ การคิดวิเคราะห์ เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง การควบคุมอารมณ์ และเสี่ยงมีภาวะโรคซึมเศร้า ซึ่งปกติสมองจะพัฒนา เต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี เพิ่มความเสี่ยงการติดยาเสพติดอื่น ๆ
  • ระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อนและอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง
  • ผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่ไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า “บุหรี่มือสาม” อาจเกิดอาการผิวหนังอักเสบ
บุหรี่ไฟฟ้ากับอาการที่ควรไปพบแพทย์
  • อาการไข้ หนาวสั่น
  • ไอ เหนื่อยง่าย
  • หายใจลำบาก หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สะดวก
  • แน่นหน้าอก
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
  • หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้น ผู้ที่มีโรคที่เกี่ยวกับปอดอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคหืด หรือปอดอุดกั้นเรื้อรัง
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 องค์การอนามัยโลกได้เผยแพร่เอกสารแนวทางใหม่ 2 ฉบับ ได้แก่ “คู่มือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” และ “ชุดเครื่องมือสำหรับโรงเรียนปลอดนิโคตินและยาสูบ” เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของเด็กนักเรียนก่อนจะเปิดเทอมในหลายประเทศ
4 วิธีในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปราศจากนิโคตินและยาสูบสำหรับเยาวชน
  • ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบในบริเวณโรงเรียน
  • ห้ามขายผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ห้ามโฆษณาทั้งทางตรงและทางอ้อมและห้ามส่งเสริมผลิตภัณฑ์นิโคตินและยาสูบใกล้โรงเรียน
  • ปฏิเสธการสนับสนุนหรือการมีส่วนร่วมกับอุตสาหกรรมยาสูบและนิโคติน
ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้ามุ่งเป้าไปที่เด็กผ่านสื่อโซเชียลมีเดียและผู้ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากบนสื่อเหล่านั้น บุหรี่ไฟฟ้ามีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รสชาติ บุหรี่ไฟฟ้าบางส่วนใช้ตัวการ์ตูนและมีดีไซน์เก๋ไก๋ดึงดูดใจคนรุ่นใหม่ สถิติการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยพบว่าอัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในเด็กนั้นสูงเกินกว่าผู้ใหญ่ในหลายประเทศ” ดังนั้น ผู้ปกครองและโรงเรียน ควรหมั่นสอดส่องดูแล ควรเฝ้าระวังพฤติกรรมของเด็กอย่างใกล้ชิด พูดคุย เปิดใจรับฟัง รวมถึงเตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า สร้างความผูกพันและเป็นตัวอย่างที่ดี สร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ภายในบ้านและไปในสถานที่ปลอดบุหรี่
ที่มา:

กรมการแพทย์ โดยสถาบันโรคทรวงอก - บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายพิษร้ายต่อสุขภาพ
มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ - อันตรายจากบุหรี่
กรมประชาสัมพันธ์ - “สูบบุหรี่ไฟฟ้า” อันตราย เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบรุนแรง
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - บุหรี่ไฟฟ้า อันตราย..แม้ไร้ควัน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

โรคสุดฮิตคุกคามชีวิตคนทำงาน ที่ควรระวัง

วัยทำงาน
วัยทำงาน คือ ช่วงอายุ 18-59 ปี กลุ่มคนเหล่านี้จะให้เวลากับการทำงาน 1 ใน 3 ของแต่ละวันคือ ประมาณ 8 ชั่วโมงต่อวัน วัยนี้หลายคนทำงานหนัก เนื่องจากภาระงานติดพันหรือด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ทำให้ต้องทำงานเกินเวลา ส่งผลให้ไม่มีเวลาที่จะดูแลสุขภาพของตนเองอย่างเหมาะสม พักผ่อนน้อย กินอาหารไม่มีประโยชน์ และขาดการออกกำลังกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ดังนั้นการดูแลสร้างเสริมสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โรควัยทำงาน หมายถึง สภาวะที่เกิดขึ้นจากการทำงานอย่างต่อเนื่องนานๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องนั่งหรือยืนอยู่เป็นเวลานานๆ หรือทำงานที่ต้องใช้แรงงานหนัก ซึ่งหลายประเภท โดยอาการและผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจขึ้นอยู่กับลักษณะของงานและวิถีชีวิตของแต่ละบุคคล ดังนี้
  1. อาการปวดเรื้อรัง
    ออฟฟิศซินโดรม โรคที่เกิดจากการนั่งทำงานท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ในร่างกาย เช่น ปวดหลัง ปวดข้อ ปวดคอ รวมถึงอาการเจ็บปวดจากการใช้กล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น อ่อนเพลีย อ่อนแรง คลื่นไส้ หรือหมดแรงงาน
  2. อาการสำหรับสุขภาพจิต
    ความเครียดสะสม วิตกแห่งอารมณ์ ภาวะซึมเศร้า สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการทำงาน อาจเกิดจากความเครียดในการทำงาน รวมถึงความกดดันในเรื่องต่างๆ ด้านจิตใจหรือความเปลี่ยนแปลงบางอย่างที่มีผลต่อจิตใจอย่างรุนแรง ก็ทำให้มีแนวโน้มที่จะเกิดอาการซึมเศร้าได้ง่าย
  3. อาการที่เกิดกับสายตาและการมองเห็น
    หรือใช้สายตามองจอคอมพิวเตอร์นานๆ ทำให้มีผลต่อดวงตา แสบตา ไม่สบายตา เกิดอาการระคายเคืองตา เจ็บตา ตาพร่าจากการจ้องมองที่ไม่ค่อยกระพริบตา เป็นผลให้มีอาการตาแห้ง
  4. อาการทางสมอง
    ไมเกรน บ้านหมุน สมองเสื่อม อัลไซเมอร์ เป็นโรคใกล้ตัวคนวัยทำงาน มีความเครียดเป็นสาเหตุหลัก เนื่องจากสมองเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมการทำงานของร่างกายทุกส่วน เมื่อระบบประสาทและสมองมีปัญหา ก็จะส่งผลต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายด้วยเช่นกัน มักมีอาการตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง การคิด การทำ การพูด การทรงตัวผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะทำให้พิการได้
  5. อาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
    กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ
    โรคที่เกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ผลระยะยาวของโรคนี้ อาจนำพาไปสู่การเกิดมะเร็งได้
  6. อาการเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
    กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคที่เกิดจากการอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เนื่องจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิง
จากรายงานสุขภาพคนไทย 2566 พบว่าคนไทยวัยทำงานมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพดังนี้
  1. การสูบบุหรี่
    • 1 ใน 5 คนวัยทำงาน สูบบุหรี่ทุกวัน
    • กลุ่มลูกจ้างเอกชน และผู้ทำงานส่วนตัว มีอัตราการสูบบุหรี่ทุกวันสูงที่สุด
    • การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งปอด โรคถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  2. การบริโภคแอลกอฮอล์
    • 1 ใน 4 คนวัยทำงาน ดื่มแอลกอฮอล์ทุกสัปดาห์
    • กลุ่มนายจ้าง ดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันสูงที่สุด
    • การดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคตับ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง
  3. การบริโภคอาหาร
    • คนวัยทำงาน กินอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม สูง
    • แหล่งอาหารหลักมาจากแป้งขัดขาว น้ำตาล และไขมันอิ่มตัว
    • การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  4. กิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • คนวัยทำงาน กว่า 80% มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ
    • ขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การไม่ออกกำลังกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคกระดูกพรุน
การรักษาและการป้องกัน
การรักษาโรควัยทำงานมักเน้นการป้องกันและการบริหารจัดการอาการ รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานและการพักผ่อน การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพที่ดี เช่น การฝึกหัดการทำงานโดยไม่กดดันตัวเองมากเกินไป การนั่งหรือยืนในท่าที่ถูกต้อง เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย การควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน และการดูแลสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและเพื่อรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและการบริหารจัดการอาการอาจประกอบด้วยวิธีต่อไปนี้
  1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
    • ให้ความสำคัญกับการใช้ท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน เช่น การนั่งหรือยืนในท่าที่สมบูรณ์แบบ เพื่อลดการกดทับบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
    • มีการพักผ่อนที่เพียงพอระหว่างการทำงาน เพื่อให้ร่างกายมีโอกาสในการฟื้นตัว
    • ป้องกันการทำงานนานเกินไปโดยการแบ่งงานหรือการใช้ช่วงเวลาพักที่เหมาะสม กรณีใช้คอมพิวเตอร์ให้หลับตาทุก 10 นาทีต่อการทำงาน 1 ชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาทีต่อการทำงานต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง
  2. การออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพ
    • มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและรักษาสุขภาพของร่างกาย
    • ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รักษาการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการเพียงพอ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารไม่สุขภาพ อาหารเสริมที่ไม่จำเป็น
  3. การบริหารจัดการสุขภาพจิต
    • ให้ตัวเองเวลาในการพักผ่อนและทำกิจกรรมที่ช่วยในการผ่อนคลาย เช่น การทำโยคะ การฝึกสติ หรือการอ่านหนังสือ
    • พูดคุยกับคนที่ไว้วางใจหรือคนที่สามารถให้การสนับสนุนที่ดีต่อสุขภาพจิต
    • หากมีปัญหาทางจิตใจที่รุนแรง ควรพบประสบการณ์อาจารย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อคำปรึกษาและการรักษา
  4. การใช้เครื่องมือช่วย
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยลดการบริโภคแรงงาน และลดการทำงานที่ต้องใช้แรงมาก เช่น รถเข็นของหนัก เก้าอี้ที่สามารถปรับระดับได้ เป็นต้น
    • ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการป้องกันอันตรายในการทำงาน เช่น หูฟังป้องกันเสียงดัง หรือหน้ากากป้องกันฝุ่น
    • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ ควรจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ในที่ที่มีแสงสว่างพอเหมาะ โดยเฉพาะจอภาพ แป้นพิมพ์ และที่วางเอกสาร เป็นต้น จะช่วยให้สบายตา หรืออาจใช้หลอดไฟโซเดียมเพื่อให้แสงสว่าง ใช้แผ่นกรองแสงเพื่อลดแสงจ้าและแสงสะท้อน จะช่วยลดความล้าของสายตาลงได้
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการใช้เครื่องมือช่วยนี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรควัยทำงานและช่วยให้ร่างกายและจิตใจมีสุขภาพดีในระยะยาว

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคพาร์กินสัน PARKINSON’S DISEASE

โรคพาร์กินสัน

PARKINSON’S DISEASE
11 เมษายนเป็นวันโรคพาร์กินสันโลก (World Parkinson’s Disease Day) โรคทางสมองพบแพทย์เร็ว ช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้
โรคพาร์กินสัน (PARKINSON’S DISEASE)
โรคพาร์กินสัน หรือ โรคสั่นสันนิบาต เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้ "โดพามีน" สารสื่อประสาทในสมองซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตายและลดจำนวนลง ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยเกิดอาการสั่น โรคความเสื่อมของระบบประสาท พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 1.5 เท่า เกิดจากสารเคมีในสมองที่เรียกว่าโดปามีน (Dopamine) ลดลง เพราะมีความเสื่อมตายของเซลล์ในสมอง สารโดปามีนมีความสำคัญในการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เมื่อสารโดปามีนลดลงจึงเกิดความผิดปกติในการเคลื่อนไหว เช่น มีอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เดินซอย แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้าและสูญเสียการทรงตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและทวีความรุนแรงขึ้นอย่างช้าๆ ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่หากได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยชะลออาการของโรคและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
อาการ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
  1. กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms)
  2. กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
กลุ่มอาการผิดปกติของการเคลื่อนไหว (Motor symptoms) มักเป็นอาการแรกเริ่มของผู้ป่วยพาร์กินสัน
  1. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) ผู้ป่วยจะเดินช้า เริ่มก้าวลำบาก เมื่อก้าวเดินแล้วจะซอยเท้าถี่ๆ ก้าวเท้าตามปกติไม่ค่อยได้
  2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity) เป็นอาการแข็งเกร็งที่เกิดกับแขนหรือขาข้างที่มีอาการสั่น ทำให้เคลื่อนไหวได้ช้า เขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือที่เขียนจะเล็กลงและชิดติดกัน
  3. มีการสูญเสียการทำงานของมือ การเคลื่อนไหวแขนจะน้อย เช่น เวลาเดินจะไม่แกว่งแขน และกล้ามเนื้อใบหน้าไม่มีการเคลื่อนไหวทำให้ดูหน้าตาย ไม่แสดงอารมณ์ที่ใบหน้า
  4. สูญเสียการทรงตัว โดยเฉพาะเวลาเดินจะทรงตัวไม่ได้ ผู้ป่วยจะโน้มตัวไปข้างหน้า ขาดความสมดุลในการทรงตัว ทำให้ผู้ป่วยหกล้มได้ง่าย
กลุ่มอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (Non-Motor symptoms)
เช่น อาการหลงลืม ขี้กังวล เหนื่อยล้าง่าย เหงื่อออกมาก ท้องผูก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคพาร์กินสันจากประวัติ อาการ และจากการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่น การตรวจภาพของสมองด้วย MRI (Magnetic resonance imaging) หรือตรวจด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง เช่น เครื่อง SPECT (Single-photon emission computed tomography) หรือเครื่อง PET (Positron emission tomography) เป็นต้น
การรักษา
  1. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง เป้าหมายการรักษาคือการควบคุมอาการต่างๆ โดยการเพิ่มสารโดปามีน เข้าไปในสมอง ด้วยการให้รับประทานยาที่มีผลเพิ่มสารโดปามีน เช่น ลีโวโดปา (levodopa) ในบางรายแพทย์อาจจะพิจารณาการผ่าตัดสมอง
  2. รับประทานอาหารที่เหมาะสมให้ครบ 5 หมู่ แต่ระวังไม่ควรรับประทานอาหารโปรตีนมากเกินไป เพราะจะทำให้การดูดซึมของยาลีโวโดปาลดลง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ เพื่อลดอาการท้องผูก เมื่อมีปัญหาการกลืนต้องปรับเป็นอาหารอ่อน ให้กินทีละน้อยแต่บ่อยขึ้น
  3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การเคลื่อนไหวดีขึ้น ช่วยในการทรงตัว ช่วยให้การทำกิจวัตรประจำวันดีขึ้น โดยรับการแนะนำและฝึกฝนจากนักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีรายงานการรำไทเก็ก ช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน เคลื่อนไหวและทรงตัวได้ดีขึ้น และการร้องเพลงประสานเสียงยังช่วยให้ผู้ป่วยพูดได้คล่องขึ้นแก้ปัญหาการพูดติดขัดได้
  4. การปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้สะดวกมากขึ้น เช่น การมีราวให้มือจับเวลาเคลื่อนไหว เพื่อป้องกันการหกล้ม ภายในบริเวณบ้านควรมีแสงสว่างที่เพียงพอ ระวังอย่าให้พื้นภายในบ้านเปียกชื้น ควรมีแผ่นยางกันลื่น ห้องน้ำควรมีโถชักโครก เป็นต้น
ผู้ป่วยพาร์กินสัน ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถ้าติดตามการรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ รับประทานยาตรงตามที่แพทย์สั่ง รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยงที่จะทำให้หกล้ม ทำงานอดิเรกที่ชอบได้ เช่น การวาดรูป จะเป็นการช่วยฝึกการเคลื่อนไหวของมือ และทำให้เกิดความเพลิดเพลินได้
หากคุณสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะการรักษาแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ผลการรักษาดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ