PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

PM 2.5 ฝุ่นละอองเล็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

จากการที่กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ พื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ตรวจพบค่าระหว่าง 51-75 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มก./ลบ.ม.) โดยค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน 50 มก./ลบ.ม. คุณภาพอากาศอยู่ในระดับ คุณภาพปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ ที่ตรวจพบค่าเกินมาตรฐาน จะเห็นได้ว่ามีพบการเพิ่มขึ้นของมลพิษทางอากาศโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองและแหล่งอุตสาหกรรม  มลพิษทางอากาศมักจะพบในรูปของฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ เป็นภัยเงียบที่สะสมในร่างกายไปเรื่อยๆหากได้รับการสัมผัสเป็นเวลานานๆ

ฝุ่นละออง หรือ อนุภาค หรือ PM (Particulate Matter) จะล่องลอยอยู่ในอากาศ มักอยู่ในรูปฝุ่นควัน เขม่าควัน ละอองของเหลว และสามารถลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน บางอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ก็จะสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเช่น ควันจากการสูบบุหรี่ บางอนุภาคมีขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าต้องส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ถึงจะมองเห็นได้  โดยพบว่าหากขนาดของฝุ่นหรืออนุภาคเล็กลงจะมีผลทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพได้ทั้งในระยะเฉียบพลันและระยะยาว ซึ่งอนุภาคฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 10 ไมครอนลงมา (PM10) จะก่อให้เกิดการสะสมภายในระบบทางเดินหายใจ และอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอนลง (PM2.5) ตัวอนุภาคจะสามารถลงเข้าไปสะสมที่บริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างได้ เมื่อมีการสูดดมเข้าไปก็จะเพิ่มความเสี่ยงในโรคทางเดินหายใจได้สูง นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถแทรกซึมเข้าไปในกระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรัง  ข้อมูลจากสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐอเมริกากล่าวว่า หากคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมอง หากได้รับสูดดมฝุ่นควัน PM2.5 เข้าไปเพียงเวลาไม่นาน ตัวฝุ่นจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจวาย เส้นเลือดในสมองตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เพิ่มอัตราการเสียชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงกำหนดให้ PM 2.5 เป็น 1 ในสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

แหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 แหล่งหลักคือ แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่

  1. การเผาในที่โล่งซึ่งพบว่าสามารถปล่อย PM2.5 ได้มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี พบจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว
  2. การคมนาคมซึ่งสามารถปล่อย PM2.5 ประมาณ 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก็สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจนและซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  3. การผลิตไฟฟ้าซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 31,793 ตันต่อปี อุตสาหกรรมการผลิตซึ่งปล่อย PM2.5 ประมาณ 65,140 ตันต่อปี เกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมี  และเกิดจากการรวมตัวของก๊าซอื่นๆในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และออกไซด์ของไนโตรเจน รวมทั้งมีสารปรอท แคดเมียม อาร์เซนิก หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกคาร์บอน ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

  • หน้ากากชนิด N95  เป็นหน้ากากที่ได้มาตรฐานและได้รับการยอมรับว่าสามารถป้องกันเชื้อโรคได้ดีที่สุด เพราะป้องกันได้ทั้งฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กถึง 3 ไมครอน เหมาะสำหรับป้องกันมลพิษ ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างที่พบเห็นกันทุกวันนี้ ควันพิษ ไอเสียรถยนต์ และไอระเหยของสารเคมีต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

  • หน้ากากอนามัยแบบเยื่อกระดาษ 3 ชั้น หน้ากากชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นแบบที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย เป็นหน้ากากที่เหมาะสำหรับป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรคจากการไอหรือจาป้องกันผู้สวมใส่จากเชื้อโรคจำพวกเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อราได้ แต่หากเป็นเชื้อไวรัสซึ่งมีอนุภาคเล็กระดับไมครอนอาจจะไม่สามารถป้องกันได้ จึงไม่เพียงพอหากต้องการป้องกันฝุ่นพิษ

  • หน้ากากผ้า เป็นหน้ากากคล้ายแบบเยื่อกระดาษ เน้นการป้องกันการกระจายของน้ำมูกหรือน้ำลายจากการไอจาม แต่อาจไม่สามารถกรองเชื้อโรคที่มีขนาดเล็กมากๆ ได้ สามารถป้องกัฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไป แต่ฝุ่นละอองที่พบในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กกว่า 5 ไมครอนจึงไม่สามารถป้องกันได้

ในส่วนวิธีการป้องกันมีวิธีตั้งแต่การควบคุมแหล่งกำเนิดของฝุ่นควัน ได้แก่ การควบคุมจากแหล่งกำเนิดโดยติดตั้งเครื่องดักฝุ่นประสิทธิภาพสูงร้อยละ 99-99.8 และติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศรอบโรงไฟฟ้าและชุมชน การปลูกต้นไม้ดักจับฝุ่นควัน การตรวจเช็คระบบเผาไหม้เครื่องยนต์ การควบคุมไม่ให้ฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การฉีดน้ำล้างถนน การหลีกเลี่ยง กิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะในวันที่มีค่า PM2.5  สูงเกินมาตรฐาน  และการป้องกันส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากาก ซึ่งสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 ทำให้ทุกคนต้องใส่  “หน้ากากอนามัย” หรือ "หน้ากากผ้า" ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว  โดยหน้ากากที่หาซื้อได้ถตามท้องตลาด มีประสิทธิภาพในการป้องกันฝุ่น PM2.5 ต่างกันดังนี้

บทความโดย
นายแพทย์ณัฐพงศ์ วิบูลย์ศิริชัย
อายุรแพทย์ โรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤต

คาถาอายุยืน live longer

Live longer คาถา อายุยืน

คาถานี้ มีดีสำหรับผู้ทำตาม เพียงปฏิบัติตามวันละ 1 ครั้ง  แล้วดื่มน้ำให้ครบวันละ 1.5 ลิตร
ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จะเกิดมงคลแก่ตนเอง จะทำให้ทำมาหากินคล่อง
มีทรัพย์ราศจากโรค มีอายุยืน ไม่แก่ง่าย มีสุขภาพแข็ง  และเป็นอานิสงค์กับผู้พบเห็น และผู้ที่ปฏิบัติตาม
.....เพราะสุขภาพดี ชีวิตยืนยาว ไม่มีขายค่ะ เริ่มทำตั้งแต่วันนี้นะคะ.....

กินดี

เพิ่มขยับ

หลับสบาย

ผ่อนคลาย

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

ทำอย่างไรห่างไกล โรคเบาหวาน / ไขมัน / ความดัน(สำหรับพระสงฆ์)

โรคเบาหวาน โรคไขมันและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่มีความสัมพันธ์กับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต

โรคเบาหวาน

โรคไขมัน

Title
Title
Description

โรคความดันโลหิตสูง

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ CT scan

CT SCAN เอกซเรย์คอมพิวเตอร์  (Computer Tomography) เป็นเครื่องมือทางรังสีที่ใช้วินิจฉัยประเมินลักษณะทางกายวิภาคของอวัยวะต่างๆ และในด้านการทำงาน โดยใช้รังสีเอ็กซเรย์ บางกรณีอาจมีการฉีดสารทึบรังสี (Contrast Media) เพื่อดูการทำงานของเนื้อเยื่อ และลักษณะของหลอดเลือด ข้อดีในการตรวจคือใช้เวลาในการตรวจน้อย สามารถแสดงภาพได้ในมุมมองต่างๆ รวมถึงภาพ 3 มิติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      การตรวจที่ส่งตรวจได้แก่

  • สมอง ศีรษะ และ ลำคอ
  • หัวใจ ปอด และทรวงอก
  • อวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ไต ม้าม ตับอ่อน ลำไส้ มดลูก รังไข่
  • กระดูกสันหลัง และกระดูกรยางค์
  • ระบบหลอดเลือด

ใช้เวลาในการตรวจ เพียง 10-30 นาที แล้วแต่แพทย์สั่ง

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. งดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ 4-6 ชั่วโมง ในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี
  2. หากผู้ป่วยมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ กรุณารีบแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนการนัดหรือการตรวจทันที
  • สตรีตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้สารทึบรังสี
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติแพ้อาหารทะเล
  • ผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด  เป็นต้น

3. ผู้ป่วยต้องมีผลตรวจเลือดเพื่อดูการทำงานของไต (Creatinine) ก่อนการตรวจในกรณีต้องฉีดสารทึบรังสี

สอบถามและปรึกษาได้ที่
แผนกรังสีวิทยา 02 587 0144 ต่อ 1250
คลินิกอายุรกรรม ระบบประสาทและสมอง 02 587 0144 ต่อ 2200

ฝุ่นควัน ภัยที่ต้องระวัง

วิธีการป้องกันฝุ่นควัน ส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากากอนามัย “หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นสินค้าขายดีขึ้นมาทันที กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน โดยมีวิธีเลือกหน้ากากอนามัยดังนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ สถานพยาบาล และ ร้านขายยาทั่วไป

บทความโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบางโพ

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพ
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

 

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

อีกเพียงไม่กี่วันเทศกาลตรุษจีนก็จะมาถึง แน่นอนว่าภาพการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง การจุดธูปและการจุดประทัดเป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่เราเห็นกันจนชินตา แต่ท่ามกลางวิกฤติมลภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5ตลอดเดือนที่ผ่านมา จะดีกว่าไหมถ้าเราจะหยุดซ้ำเติมสถานการณ์…ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้?

การเผากระดาษเงินกระดาษทอง และการจุดธูป แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 แต่ทราบหรือไม่ว่าควันจากการเผาไหม้เหล่านี้มีอันตรายร้ายแรงพอๆกับควันบุหรี่ นอกจากจะมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายแล้ว ยังมีก๊าซพิษที่ระคายเคืองทางเดินหายใจอีกหลายชนิด แถมยังมีโลหะหนักและสารก่อมะเร็งอีกด้วย  โรงพยาบาลบางโพจึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ร่วมรณรงค์การงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน งดการเผากระดาษเงินกระดาษทอง งดการจุดธูปครั้งละมากๆ หากจำเป็นให้เลือกใช้ธูปขนาดสั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้สถานการณ์มลภาวะทางอากาศในปัจจุบันทุเลาเบาบางลง

นอกจากนี้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • เด็กเล็ก
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควัน หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

 

 

ด้วยความห่วงใย…จากโรงพยาบาลบางโพ

พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ (กุมารแพทย์)

สุขภาพของคนทำงาน ตอน “การป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี”

Tablet with the text Occupational Health and Safety

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและหลักการป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี

ในการดำเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพของคนทำงานที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยหลักการพื้นฐานทางอาชีวเวชศาสตร์ มีแนวคิดหลักที่ว่าคนทำงานสามารถจะเกิดความเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้เกิดจากสาเหตุ 2 ทาง อันได้แก่

  1. สุขภาพส่วนตัวของคนทำงาน (Host)  เช่น โรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว อาหาร ยา การดื่มสุรา สูบบุหรี่ สุขภาพจิตและอารมณ์ส่วนบุคคล ของคนที่ทำงาน เป็นต้น
  2. สิ่งคุกคามจากสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานเข้าไปทำงาน (Hazard) ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) สิ่งคุกคามทางจิตสังคม (Psychosocial Hazard)

(ภาพอ้างอิงจาก: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค)

เมื่อมีสาเหตุ 2 ทางเกิดขึ้นกับคนทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากคนทำงานเอง หรือสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อม หรือทั้งสองสาเหตุ ก็จะทำเกิดการเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้ ดังนั้นเราควรป้องกันการเกิดสาเหตุทั้งสุขภาพส่วนตัวของคนทำงานและสาเหตุจากสิ่งคุกคาม เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน  ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งคุกคามทางสารเคมีซึ่งเป็นสิ่งคุกคามจากการทำงานชนิดหนึ่งที่คนทำงานหากสัมผัสเป็นเวลานานๆโดยไม่มีการป้องกัน ส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลัน หรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritants) สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้นและสารเคมีมี 2 คุณสมบัติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนทำงานที่ไปสัมผัสได้แก่

1.มีคุณสมบัติสิ่งคุกคามอันตราย (Hazard) คือ มีโอกาสที่สารเคมีจะก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพร่างกาย

2.ความเป็นพิษ ( Toxicity) คือ มีศักยภาพของสารเคมีที่เกิดให้เกิดพิษ หรือความเป็นพิษ

ในหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย ถือว่าการที่ไม่รับสัมผัสสารย่อมไม่เกิดอันตราย ( No exposure-No hazard) สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง อาจเป็นสารที่มีอันตรายสูงหรือต่ำก็ได้ขึ้นกับโอกาส และสภาพการใช้สารนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารยาฆ่าแมลงจะสัมพันธ์ต่อการสัมผัสสาร CO ได้สูง เป็นต้น

หลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี

ดังที่กล่าวไว้ว่า “No exposure-No hazard” เป็นหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย แต่ถ้าหากจำเป็นต้องสัมผัสจริงๆ ก็ควรมีการป้องกันให้ดีหรือมีการสัมผัสให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี โดยอะไรที่ควรทำเพื่อลดการบาดเจ็บ ลดอุบัติเหตุ ลดการรับสัมผัสสารเคมี ป้องกันการหกรั่วไหล และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ให้เกิดน้อยที่สุด ทั้งหมดนี้จะอยู่ในหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี 4 ประการสำคัญได้แก่

  1. ป้องกันที่ต้นเหตุ

การลดใช้สารเคมี หรือ การใช้สารเคมีที่มีพิษกว่าทดแทน เมื่อลดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง ก็จะทำให้โอกาสเกิดการเจ็บป่วยหรือรับสัมพิษจากสารเคมีน้อยลง

 

  1. ป้องกันด้วยเครื่องใช้

การปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับงาน ซึ่งจะสามารถลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงได้เป็นอย่างดี เช่น มีระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation) ระบบการทำงานแบบปิด (Close system) การปิดคลุม (Enclosure)

 

ระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation)

ระบบการทำงานแบบปิด (Close system)

  1. ป้องกันด้วยหลักการทำงาน

การทำงานที่ได้มาตรฐาน โดยมีหลักการคือ เพื่อลดเวลาการสัมผัสสารเคมี เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างสารเคมีกับคนทำงาน เพื่อปรับวิธีการให้เหมาะเอื้อต่อความปลอดภัยของคนทำงาน และเพื่อเพิ่มความชำนาณของคนทำงาน เมื่อคนทำงานมีความชำนาณในงานนั้น ก็จะลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วยจากการทำงานได้

  1. ป้องกันด้วยเครื่องมือส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) เช่น ถุงมือ หมวก และรองเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ชนิดและการออกแบบของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขึ้นกับชนิด ปริมาณ ความเข้มข้น และระยะเวลาของสารเคมีที่จะไปสัมผัส ดังนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และศึกษาวิธีการใช้และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้ถูกต้องทุกครั้ง

เมื่อมีหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมีที่เหมาะสมแล้ว ก็ควรมีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีนั่นคือ การประเมินการสัมผัสสารเคมีเป็นระยะ เมื่อเกิดความผิดปกติจากการประเมิน เราก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีและลดโอกาสอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีนั้นได้

การประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้น มีวิธีการประเมินว่า คนทำงานมีการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี (Chemical hazards) มีหลายวิธีดังต่อไปนี้

  1. การซักประวัติสอบถามจากคนทำงานโดยตรง เช่น หาอาการที่ผิดปกติหรือสงสัยว่าน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมี เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจากการทำงาน ผื่นแพ้อักเสบหลังเลิกงาน เป็นต้น
  2. การตรวจร่างกายคนทำงาน เช่น หาภาวะซีด ภาวะตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต ม้ามโต เป็นต้น
  3. การตรวจวัดระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม (Environment monitoring) เพื่อดูว่ามีระดับสารเคมีเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ หากมีระดับสารเคมีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ย่อมส่งผลเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คนทำงานจะได้รับอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีมากขึ้น
  4. การตรวจระดับสารเคมีในร่างกายของคนทำงาน (Biological monitoring) เพื่อดูว่าคนทำงานได้รับสารเคมีที่อยู่ในสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่

หนึ่งในสี่วิธีนี้สามารถใช้มาประเมินร่วมกันได้ โดยวิธีการตรวจระดับสารเคมีในร่างกายคนทำงานเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถบอกได้โดยตรงว่าคนทำงานไปสัมผัสสารเคมีมากหรือน้อย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

Biological marker (Biomarker) คือสารเคมีหรือค่าจากการตรวจใดๆก็ตามที่เราตรวจวัดจากร่างกายของคนทำงาน เพื่อดูว่า คนทำงานได้รับการสัมผัสสารเคมีที่อยู่ในที่ทำงานแล้วหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานทำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้สารตะกั่วในการทำบัคกรี ถ้าต้องการดูว่าคนทำงานมีการสัมผัสตะกั่วมากน้อยเพียงใด ก็สามารถตรวจสารตะกั่วในเลือด นั่นหมายความว่า สารตะกั่วในเลือด เป็นสารตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของตะกั่ว เป็นต้น

ชนิดของ Biomarker มีอยู่ 3 ชนิดได้แก่

  1. Biomarker of exposure หรือ Direct biomarker ตัวสารนั้น หรือ metobolite ของสารนั้น(สารเคมีที่ถูกเปลี่ยนสภาพโดยกระบวนการของร่างกาย) ที่วัดได้ในตัวอย่างชีวภาพของคนทำงาน เช่น ตรวจจากเลือด ปัสสาวะ อากาศที่หายใจ เส้นผล เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นการตรวจสาร Syrene เมื่อเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการทางเคมีในร่างกายจนกลายเป็น mandelic acid ซึ่งถือว่า การตรวจระดับ mandelic acid ในปัสสาวะ เป็นการตรวจ biomarker of exposure ของสาร Syrene เป้นต้น
  2. Biomarker of effect หรือ Indirect biomarker คือ การตรวจผลเปลี่ยนแปลงทางเคมี,ชีวภาพ,สรีรวิทยา หรือในระดับโมเลกุล ที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายเมื่อได้รับสารพิษนั้นๆ เช่น เราทราบว่า การสัมผัส n-hexane จะทำให้เกิดอัมภาพที่เส้นประสาทได้ การตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท(Nerve ConductionVelocety;NCV) เพื่อดูว่าเส้นประสาทเป็นอัมภาพไปหรือไม่ ก็ถือว่าเป็น Biomarker of effect ของสาร n-hexane
  3. Biomarker of susceptibility คือ การวัดระดับความไวรับ (Susceptibility) ในการเจ็บป่วยจากสารเคมีในแต่ละคน การตรวจนี้จะทำให้คาดการณ์ได้ว่า คนทำงานสัมผัสสารเคมีตัวที่พิจรณาแล้ว จะมีโอกาสเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด และเป็นการตรวจตั้งแต่ยังไม่ได้รับการสัมผัส (pre-exposure) และส่วนใหญ่เป็นการตรวจทางพันธุกรรม(genetic tesing) มักใช้ในทางการงานวิจัย ไม่ได้ใช้ในทางเวชปฏิบัติ

ซึ่งในทางเวชปฏิบัติจริงๆจะใช้ biomarker of exposure และ biomarker of effect เท่านั้น และbiomarker ในการหาสาเคมีตัวหนึ่งนั้น อาจมี biomarker of exposure หลายตัวได้ เช่น การตรวจหาสาร toluene มี biomarker ได้แก่ hipuric acid in Urine , Toluene in Urine,Toluene in Blood หรืออีกกรณีหนึ่งคือ สารเคมีหลายตัวก็อาจมี Biomarker of Exposure เป็นตัวเดียวกันได้ เช่น การตรวจหา acetone,isopropyl alcohol มี biomarker ตัวเดียวกันคือ acetone in Urine สำหรับการตรวจ biomarker นั้นทำเพื่อดูว่าคนทำงานมีการสัมผัส (exposure) กับสารเคมีแล้วดูดซึมเข้าไปในร่างกายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด (Biological monitoring) ดังนั้นจึงมักมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าสารเคมีในสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน (Environment monitoring) เสมอ

ในการประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้นควรทำการตรวจวัดทั้งระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงาน(environment monitoring) และระดับสารเคมีในร่างกาย (biological monitoring) ควบคู่ กันไปด้วยเสมอ

เมื่อไหร่จึงควรสั่งตรวจ biomarker

เหตุผลหลัก คือ ตรวจเมื่อต้องการประเมินการสัมผัสสารเคมีในร่างกายคนทำงาน  ส่วนเหตุผลรองลงมา คือ ตรวจเมื่อค่าตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมมีระดับสูงเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือเมื่อมีอาการพิษเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยอิงจากกฎหมายที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับสารเคมีในสถานที่ทำงานของกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ.2552

ในส่วนค่ามาตรฐานของ biomarker จะถูกกำหนดโดยองค์กรACGIH(American Conference of Government Industrial Hygienists) เป็นองค์กรที่กำหนดค่ามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากที่สุด โดยค่าที่กำหนดเรียกว่าค่า BEI ซึ่งแนะนำให้ใช้ค่า BEI ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ประเมินการสัมผัสทางผิวหนัง (Skin absorption) และการกิน (Ingestion)
  • ประเมินขนาดการสัมผัสสะสมในร่างกาย (body burden)
  • คาดคะเนการสัมผัสในอดีต (past exposure) ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลทางอื่น
  • ประเมินการสัมผัสสารเคมีนอกงาน (non-occupational exposure)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของการควบคุมทางวิศวกรรม (engineering control)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Protective equipment)
  • ตรวจสอบวินัยด้านความปลอดภัยในการทำงาน (work practice)

นอกจากยังมีปัจจัยที่มีผลต่อค่า BEI ที่ทำให้เปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำมากเกินความเป็นจริงได้อันได้แก่

  • ความอ้วน-ผอม
  • ระดับเมตาบอลิซึมของแต่ละคน
  • อายุ เพศการตั้งครรภ์ โรคที่เป็นเช่น โรคตับโรคไต
  • อาหารหรือยาที่รับประทาน
  • การสัมผัสสารเคมีนอกงาน
  • วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • วิธีการเก็บตัวอย่าง การรักษาสภาพตัวอย่าง
  • การปนเปื้อนระหว่างเก็บตัวอย่าง

และ BEI ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรระลึกไว้เสมอ คือ biomarker เอาไว้ประเมินการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี ซึ่งถ้าค่าเกินมาตรฐานนั่นแปลว่า คนทำงาน อาจมีการสัมผัสสารเคมีนั้น แต่ไม่ใช่เป็นการตัดตายหรือ cut point เพื่อวินิจฉัยโรคพิษจากสารเคมี  ไม่ได้เอาไว้ทดแทนการตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม และไม่ได้เอาไว้ยืนยันว่าถ้าที่ตรวจวัดได้ต่ำแล้วโรคจะไม่ได้เกิดขึ้น

คำแนะนำเมื่อตรวจพบ Biomarker สูงกว่ามาตรฐาน

  1. พิจรณาตรวจยืนยัน และดูปัจจัยความแปรปรวนต่างๆ
  2. ย้อนกลับไปดูผลตรวจ environment monitoring
  3. ซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่าวงกาย หาอาการพิษ ถ้ามีให้ทำการรักษาโดยแพทย์
  4. ถ้าประเมินแล้วน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมีจริงๆ ให้พิจรณาว่าปัญหาเกิดจากแหล่งใดใน 3 แหล่งได้แก่

หาสาเหตุจากแหล่งกำเนิดของสารเคมี (Source)

หาสาเหตุหนทาง (Pathway) และช่องทางการสัมผัส (Route)

หาสาเหตุและหาวิธีลดการสัมผัสของตัวบุคคลทำงาน (Person)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ biomarker

           แร่ธาตุอื่นๆที่ตรวจ biomarker สามารถตรวจได้ถ้ามีการสัมผัส และมีค่ามาตรฐานที่องค์กร ACGIH-BEI กำหนดไว้ เช่น Cadmium Chromium (VI) Cobalt Fluoride Mercury Uranium เป็นต้น แต่แร่ธาตุที่เป็น Essential elements มีอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถส่งตรวจ biomarker ได้เพราะไม่มีค่ามาตรฐานให้แปลผลและพบได้ในร่างกายคนทั่วไปอยู่แล้ว เช่น Copper Chromium (III) Iron Magnesium Selenium Zinc เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยเรื่องการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพว่าจะตรวจตัวไหนบ้างไม่ต้องตรวจตัวไหนบ้าง สามารถปรึกษากับแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อจะได้รับคำแนะนำและการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพที่ถูกต้อง

 

ข้อมูลโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย
โรงพยาบาลบางโพ

 

 

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพคนเมือง #สุขภาพคนทำงาน
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital #ศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย

เหตุผลที่คุณต้องตรวจสุขภาพ

เหตุผลที่คุณต้องตรวจสุขภาพ

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพเช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็นเพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใดเพื่อจะได้รักษา ป้องกันหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดีตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ต้องตรวจเมื่อไหร่ ตรวจอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
การตรวจสุขภาพนั้นต้องตรวจทุกๆ ปีเพราะระบบการทำงานของร่างกายบางอย่างเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นเช่น ระบบประสาทและสมอง ระบบย่อยอาหาร ความเสื่อมของกระดูก สายตา ผิวหนัง เป็นต้น
การตรวจสุขภาพที่ดีต้องเหมาะสมกับเพศ อายุ และความเสี่ยงนั้น โดยปกติจะมีการจัดเป็นกลุ่มอายุ เพศ ในชุดแพคเกจ ทำให้ราคาประหยัด ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะกับตัวเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นการประเมินภาวะโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนเป็นพื้นฐานของโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ
  2. การวัดความดันโลหิต เพื่อดูเสี่ยง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอัมพาต
  3. การเอกซเรย์ทรวงอก Chest-x-ray เพื่อดูว่ามีก้อนหรือจุดผิดปกติในปอดหรือไม่ และดูขนาดของหัวใจ สำหรับคนที่เป็นวัณโรค มะเร็ง หรือหัวใจผิดปกติ อาจจะไม่สามารถตรวจพบอาการผิดปกติได้จากภายนอก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครื่องมือตรวจพิเศษโดยการเอกซเรย์ปอด หรือทรวงอก ซึ่งจะปรากฏอาการผิดปกติทางฟิล์มเอกซเรย์ ทำให้แพทย์สามารถสามารถวินิจฉัยโรคและหาทางบาบัดรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป สำหรับมะเร็งปอด การตรวจเอ็กซเรย์ปอดบางครั้งก็ไม่สามารถบอกได้อย่างละเอียด
  4. การเจาะเลือดเพื่อตรวจค่าต่างๆ เช่น
    • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC) คือ การตรวจปริมาณ และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย
    • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucose เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด Hemoglobin A1C การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด Total Cholesterol เป็นการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง
      • HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดีทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
      • LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดีทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
      • Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
    • การตรวจวัดระดับยูริกในเลือด Uric Acid ระดับยูริกในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐาน สาเหตุของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต
    • การตรวจการทำงานของไต Blood Urea Nitrogen (BUN) วัดระดับปริมาณของเสีย Creatinine ที่ร่างกาย ปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากมีโรคไตจะมี Creatintine สูง
    • การตรวจการทำงานของตับ SGOT เป็นเอนไซม์ที่พบในตับ ไต กล้ามเนื้อ หัวใจ SGPT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ พบน้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ ตับอ่อน เมื่อตับเกิดโรค มีการทำลายหรือการอักเสบของตับ จะทำให้มีการหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตรวจพบมีระดับสูงขึ้นกว่า
    • การตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจานวนมากที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี โรคนี้สามารถนาไปสู่มะเร็งตับได้ คนที่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบนี้จะมีโอกาสเป็นได้ยากกว่าผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันการตรวจหาภูมิคุ้มกันดังกล่าวด้วยการตรวจ HbsAG และ HbsAB หากไม่พบภูมิคุ้มกัน ท่านก็สมควรฉีดวัคซีนป้องกันเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบขึ้นมา
    • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ที่สะสมอยู่ในเลือด
  5. การตรวจปัสสาวะ Urine Examination ตรวจเพื่อดูการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรด-ด่าง และการตรวจหาสารต่างๆที่จะปนมาในปัสสาวะ เป็นการตรวจหาไข่ขาว เม็ดเลือดและน้าตาล ซึ่งอาจพบการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่ว โรคเบาหวาน โรคตับและโรคไต เช่น ถ้ามีน้าตาลในปัสสาวะ แสดงว่าผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวาน หากพบเม็ดเลือดแดง อาจแสดงว่ามีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ หากพบเม็ดเลือดขาวอาจแสดงว่า อาจมีอาการของโรคไตอักเสบ หรือการติดเชื้อ
  6. การตรวจอุจจาระ Stool Occult Blood การตรวจคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรก หากพบว่ามีเลือดปนใน อุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด

การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างไร
  • งดอาหารก่อนมารับการตรวจสุขภาพ 8 - 10 ชั่วโมง (น้ำเปล่าและยาประจำตัว สามารถรับประทานได้)
  • ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนมารับการตรวจ 24 - 48 ชั่วโมง
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ
  • หากสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งพยาบาล ก่อนรับการตรวจ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเกินจากปกติ
  • หากรับประทานยาประจำ หรืออาหารเสริมบางชนิดอยู่ ควรแจ้ง แพทย์ก่อนตรวจสุขภาพ เพราะยาและอาหารเสริมบางชนิด มีผลต่อผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ หรือ ผลการตรวจอุจจาระ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วัคซีนป้องกันไวรัส RSV

วัคซีนป้องกันไวรัส R […]

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส่ใจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพ ใส […]