ระวังภัย ต้องใส่ใจยามปิดเทอม (การจมน้ำ)
“จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กช่วงปิดเทอมพบว่า
มีสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุดในทุกปี”
• ดูแลเด็กไม่ให้เล่นใกล้แหล่งน้ำ
• ถ้าเล่นน้ำต้องอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด
• จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย รั่วกันบ่อน้ำ ไม่ทิ้งถังน้ำ กาละมังน้ำ เพราะเด็กเล็กจมได้
• สอนเด็กเอาตัวรอดโดยการลอยตัว
• ย้ำกับเด็กเสมอว่า ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำโดยเด็ดขาด แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน ตะโกน โยน ยื่น
• ปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15.2 นอกจากนั้น เป็นการช่วยเหลือด้วยการจับเด็กอุ้มพาดบ่ากระโดดหรือกระแทก หรือเขย่าเพื่อเอาน้ำออก ซึ่งเป็นวิธีการ ปฐมพยาบาลที่ผิด **เรียนรู้BLS
• การจมน้ำจะแบ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กโต อายุระหว่าง 5-6 ปี จะจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง สระว่ายน้ำ ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้จงใจไปเล่นน้ำแต่ไปวิ่งเล่นบริเวณ
ใกล้แหล่งน้ำเกิดพลัดตกและจมน้ำเสียชีวิต สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ปล่อย คิดว่าลูกดูแลตัวเองได้ สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 1-4 ขวบ จะจมน้ำเสียชีวิตใกล้บ้าน เช่น บ้านอยู่ติดแหล่งน้ำ
• วิธีป้องกัน พ่อแม่ควรตระหนักในความเสี่ยง ถ้าเป็นกลุ่มเด็กโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-7 ขวบ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าไว้ว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสามารถว่ายน้ำได้ โดยสอนทักษะให้เขาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ซึ่งทางโรงเรียนควรมีส่วนร่วมช่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เรียนรู้ด้านความเสี่ยง การประเมินแหล่งน้ำว่าเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือผู้อื่นจาก การจมน้ำ สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอย่าลืมว่าเด็ก 5 ขวบ สามารถวิ่งเล่นนอกบ้านได้แล้ว หรือถ้าต่ำกว่า 5 ขวบ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรทำรั้วกั้นรวมทั้งหาคนดูแลที่ไว้ใจได้
คําแนะนํา
• 1. สํารวจแหล่งน้ำเสี่ยงรอบบ้าน ข้างบ้าน และในชุมชน (แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ คลอง ฯลฯ)
• 2. จัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น – ปักป้ายเตือน บอกถึงระดับความลึกของน้ำ หรือบอกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว (แหล่งน้ำ ที่เคยมีเด็กจมน้ำ) หรือสร้างรั้ว หรือฝังกลบหลุม/บ่อที่ไม่ได้ใช้ – จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก
• 3. สอดส่องดูแลและแจ้งเตือนภัยในชุมชน เช่น ประกาศเตือนผ่านเสียงตามสายในชุมชน คอยตักเตือน เมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลําพัง
• 4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
• 5. สอนให้เด็กรู้จักใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้ที่หาได้ง่าย เพื่อช่วยตนเองหรือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุ และนำติดตัว ไปด้วยหากต้องเดินทางไปใกล้แหล่งน้ำ
• 6. สอนให้เด็กรู้จักใช้ชูชีพเมื่อต้องโดยสารเรือ
• 7. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กตลอดเวลา เด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มองเห็น และสามารถเข้าถึง และคว้าถึงได้
• 8. ชุมชน/ท้องถิ่น/สถานศึกษา ควรจัดให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปได้เรียนวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การลอยตัวในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว และรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
• 9. เน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” โดยการตะโกนเรียกผู้ใหญ่ หรือใช้อุปกรณ์โยนหรือยื่นให้ผู้ประสบภัย
โรค G6PD
โรค G6PD คืออะไร
จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากยาหรือสารเคมีบางชนิด และทำให้เซลล์ต่างๆในร่ายกาย รวมทั้งทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
การขาดเอ็นไซม์ G6PD
G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด “ภาวะเม็ดเลือดแดง” แตกได้ง่ายขึ้นเนื่องจากปัจจัยดังนี้
ปัจจัยเลี่ยง
- การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ
- การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD
อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
เมื่อได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ที่พบบ่อยคือ
- เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
- ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ ปวดหลัง และต่อมาอาจมีมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง ซีดและปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโค้ก
- เหนื่อย อ่อนเพลีย
ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ถั่วปากอ้า
- พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
- ไวน์แดง
- บลูเบอร์รี่
- การบูรและพิมเสน
- โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
- สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม
สารเคมี
- ลูกเหม็น
- สารหนู
- สาร Toluidine Blue (สารช่วยวินิจฉัย)
ยา
- กลุ่มลดความดันโลหิต
- ยารักษาโรคพาร์กินสัน
- ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
- ยารักษาโรคเก๊าท์
- ยาฮอร์โมน
- ยารักษาโรคมาลาเรีย
- ยาเคมีบำบัด
- ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
- ยาต้านพิษ
- ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
- วิตามิน
ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้
การปฏิบัติตัว
- แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
- เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยารับประทานเอง
- เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
- หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
- เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนครอบครัว
วันเด็กปีนี้ พาน้องเที่ยวที่ไหนดี
อีก 2 วันก็จะถึงวันเด็กแห่งชาติ ที่เด็กๆ และผู้ใหญ่บางท่านรอคอย ค่ะ เพราะนอกจากน้องๆ จะได้สนุกสนานกันแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็มีความสุขไปด้วย หลายพื้นที่มีการจัดงานโดยเน้น ความสุข สนุก และเสริมสร้างพัฒนาการของน้องๆ การเล่นแบบไหนเสริมพัฒนาการด้านใดเรามาดูกันค่ะ
– กิจกรรมการระบายสี การวาดรูป ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
– กิจกรรมการอ่าน การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ สร้างจินตนาการ สร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ที่ดีที่สุด
– กิจกรรมการปีนป่าย รวมถึงการปั่นจักรยาน เด็กชอบที่จะปีนป่าย จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกาย
– กิจกรรมการทำอาหาร หรือ กิจกรรมเลียนแบบอาชีพต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกายและสังคม กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นพากเพียร จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ โดยตั้งแต่กระบวนความคิด การวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน และการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ( Learning by doing )
วันนี้ Admin จึงขอแนะนำ สถานที่จัดวันเด็ก มาให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปสนุกกันค่ะ
ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.
วันเด็กปีนี้ ชวนน้องๆ ออกมาเล่นให้สนุกสุดเหวี่ยง!! ไปกับเกมแสนสนุกตลอดทั้งวัน เช่น – ระเบิดบอลระบายสี – ปีนเขาหรรษา – บันไดงูยักษ์ – ลอดช่องอุปสรรค – พิเศษ..สอยดาวลุ้นของรางวัลมากมาย!! เพลิดเพลินกับการแสดงบนเวทีของพี่น้องผองเพื่อน ในวันที่ 12 มกราคม 2562 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.30 น ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาะวะ สสส.
มิวเซียมสยาม
พบกับกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ตอน “ผจญภัยในห้องครัว” รับความรู้ เกมจาก 5 เมนูอาหารไทย เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องอาหารไทยเมนูต่างๆ ประกอบด้วยเมนู ต้มยำกุ้ง ส้มตำ แกงเขียวหวาน บัวลอย และไข่เจียว โดยกุ๊กตัวน้อยจะต้องช่วยกันออกตามหาวัตถุดิบจากทั้ง 5 เมนู ในรูปแบบฐาน อาทิ ฐานฟาร์ม ฐานตลาด ฐานสวนผัก ฐานสวนผลไม้ กิจกรรมตอบคำภามในห้องนิทรรศการ (ห้องไทยชิม) พร้อมของรางวัลพิเศษอีกมากมาย ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. ณ มิวเซียมสยาม ถนน สนามไชย แขวง พระบรมมหาราชวัง เขต พระนคร
พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย (Thai Red Cross Museum)
กาชาดสร้างความสุขให้เด็กไทย ในงานวันเด็กแห่งชาติ 2562 เชิญชวนเด็กและเยาวชน เข้าร่วมกิจกรรมงานวันเด็กแห่งชาติ ภายในงานมีกิจกรรมจากหน่วยงานต่างๆ ของสภากาชาดไทย ร่วมให้ความสนุกและความรู้มากมาย อาทิ กิจกรรม “เรียนรู้…สนุก KID กับพิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย” กิจกรรม “Paper dolls” และ “เกมบันไดงู” ย กิจกรรม “กาชาดร่วมใจ สร้างอนาคตสดใส เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” จัดกิจกรรมความรู้ เกม สนุก ๆ ตามฐานต่าง ๆ เช่น ความรู้เรื่องเครื่องหมายกาชาด ฯลฯ จัดกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการช่วยชีวิตเบื้องต้น ให้บริการตรวจเช็คฟันและอุดเคลือบร่องฟันด้วยรถทันตกรรมเคลื่อนที่ และเข้าชมสวนงู ฟรี และชมการแสดงจับงูในเวลา 11.00 และ 14.30 น.
ตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. ณ พิพิธภัณฑ์สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 “จตุจักร”
พบกับกิจกรรมและของรางวัลมากมาย ร่วมเล่นเกมส์ตอบปัญหาชิงรางวัล ลุ้นรับโชคกับ Lucky Draw และร่วมชมการแสดงความสามารถของเด็กๆ ได้ที่ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
Bacc หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ตอน “คิด(ส์) หลาก หลาย: Everybody is Unique” น้องๆจะได้ชมผลงานศิลปะจากศิลปินชื่อดังจากทั่วโลก กว่า 40 ชิ้น จากนิทรรศการ Bangkok Art Biennale 2018 ที่นำเสนอเรื่องราวความสุขผ่านมุมมอง วิธีคิด และวัฒนธรรมที่หลากหลาย และปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ไปกับฐานกิจกรรมที่รอตอนรับน้องๆ ตั้งแต่ชั้น L จนถึงชั้น 9 ทั้งฐานนิทานคุณหนูฐานกราฟฟิตี้คิดส์ฐานจากนิทรรศการBangkok Art Biennale และอีกมากมายได้ทั้งความสนุกและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
เวลา 10.00น.-16.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
มูลนิธิเอสซีจี
กิจกรรม มหัศจรรย์หนังสือภาพ – เทศกาลนิทานในสวน ปีที่ 14 ชวนท่องไปในสวนนิทาน เปิดประสบการณ์การอ่าน เปิดโลกแห่งจินตนาการ เสริมสร้างพัฒนาการที่ดีให้ลูกรัก ใน ‘เทศกาลนิทานในสวนกรุงเทพฯ เพื่อเปิดพื้นที่ให้คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองได้พาลูกหลานมานั่งฟังนิทาน อ่านหนังสือ พร้อมทำกิจกรรมแสนสนุกภายใต้บรรยากาศร่มรื่นยามเย็น ภายในงานพบกับกิจกรรมที่เหมาะกับทุกคนในครอบครัวที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับลูกน้อยอย่างรอบด้าน เวลา 16.00 – 18.00 น. ณ สวนสาธารณะใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism :CHT)
ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
(Congenital Hypothyroidism :CHT)
เกิดจากภาวะบกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งมักเรียกว่า “โรคเอ๋อ”
ความสำคัญ
การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ ซึ่งหลั่งจากต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด จะมีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและเซลล์ของระบบประสาท ดังนั้นภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ยังมาส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของระบบประสาท การทำงานของระบบต่างๆของร่างกายและการพัฒนาทางร่างกาย อาการแสดงของโรคจะไม่เห็นเมื่อแรกคลอดแต่มักแสดงอาการเด่นชัดขึ้น เมื่ออายุมากกว่า 3 เดือนอาการของโรคเบื้องต้นคือ ทารกจะท้องผูกบ่อย, ตัวเหลืองนาน,สะดือจุ่น,ผิวแห้ง,ร้องไห้
งอแงและหลับบ่อยไม่สดใสร่าเริง ฯลฯ
สาเหตุ
การเป็นโรคนี้ในเด็กทารกแรกเกิด เป็นเพราะมีความผิดปกติของต่อมฮอร์โมนและการขาดสารไอโอดีนของมารดา ในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะผิดปกตินี้หากเด็กทารกได้รับการรักษา
[ก่อนอายุ 3เดือนเด็กจะมีสติปัญญาปกติ หากได้รับการรักษาช้ากว่านั้น ร้อยละ 80 ของเด็กจะปัญญาอ่อน มีความพิการทางระบบประสาท]
อาการแสดง
จะสังเกตเห็นทารกได้ในเดือนที่ 3 หลังคลอด โดยในช่วง 3 ขวบแรก จะเป็นช่วงที่สำคัญ
ทางด้านการเจริญเติบโต – เด็กจะเติบโตช้า ดั้งจมูกแบน ขาสั้นมากกว่าอายุจริง
ทางด้านระบบประสาท – เด็กจะมีอาการซึม เชื่องช้า
กล้ามเนื้อ – เด็กจะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น
ระบบหายใจ – เด็กจะเสียงแหบเป็นหวัดบ่อยๆ
หัวใจและหลอดเลือด – เด็กจะตัวเย็นผิวเป็นวงลาย ตัวเขียว หัวใจอาจจะโต
ผิวหนัง – ผิวแห้ง ผมแห้งเปราะ ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า
ระบบเลือด – ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก, วิตามิน B12 ลดลง
ระบบต่อมไร้ท่อ – ในอนาคตส่งผลต่อความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มีระดูมากกว่าปกติ
[ แนวทางในการวินิจฉัยและรักษาอย่าช้าไม่ควรเกินอายุ 2 สัปดาห์ เนื่องจากพัฒนาการของร่างกายและสมองอาจล่าช้ากว่าเด็กทั่วไปและก่อให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้]
การวินิจฉัยภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
เมื่อเด็กแรกเกิด ทางโรงพยาบาลจะตรวจคัดกรองหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ คือระดับของ TSH ในเบื้องต้น เมื่อพบค่าผิดปกติของระดับ TSH มากกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิยูนิตต่อลิตร ต้องติดตามเด็กมาเจาะซีรั่มเพื่อตรวจยืนยันระดับ TSH ระดับ T4 หรือ Free T4 ซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ทั้งหมด ร่วมด้วย หากพบว่ามีความผิดปกติจริง ต้องได้รับการรักษาทันทีปัญหาที่สำคัญคือความผิดปกติเหล่านี้ไม่มี อาการแสดงให้เห็น จนกว่าเด็กทารกจะมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป การป้อง กันที่ดีที่สุดคือ “การเจาะเลือด” หรือ
“คัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด (Neonatal Screening)”โดยทันที
การรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด
ใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน (L-thyroxin) ซึ่ง ประหยัด ปลอดภัย และระยะเวลาในการรักษา จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงสาเหตุของโรคภายใต้การดูแลของแพทย์
[เป็นโรคที่ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด รีบพาเด็กมาตรวจเลือดซ้ำที่โรงพยาบาลโทรตาม]
ถ้ารักษาทันเด็กจะไม่มีอาการปัญญาอ่อนหรือประสาทสมองพิการ แต่ถ้า 3 เดือนผ่านไป เด็กยังไม่ได้รับการรักษาอาการของโรคเอ๋อ จะชัดเจนขึ้น คือ เด็กจะมีเสียงแหบ, ลิ้นโต,หน้าบวม, ผมและขนคิ้วบาง, สะดือจุ่น, ผิวเย็นแห้ง, ตัวสั้น มีพัฒนาการช้า
You must be logged in to post a comment.