มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

Breast Cancer
มะเร็งเต้านมปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง มะเร็งเต้านมอาจมีอาการได้หลายแบบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน  ดังนั้นสตรีทั่วไปจึงควรหมั่นคอยสังเกตอาการและตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วมักมีผลการรักษาที่ไม่ดี
ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
    การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง

อาการผิดปกติของเต้านมที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านม
  • เต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ขนาดของเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโตขึ้นข้างเดียว อาจเกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วในเต้านมข้างนั้น ทำให้เต้านมข้างนั้นมีขนาดโตมากกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
    รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน อาจเกิดจากการที่เคยมีการอักเสบของเต้านมมาก่อนแล้วเกิดการดึงรั้ง เต้านมผิดรูป นอกจากนี้อาจเกิดจากก้อนมะเร็งที่เต้านมทำให้รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงได้
  • มีก้อนที่เต้านม
    การคลำเจอก้อนที่เต้านมเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ดังนั้นจึงแนะนำสตรีทั่วไปหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเสมอ
  • มีรอยบุ๋มที่เต้านม
    การมีรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านมในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมทำให้เกิดการดึงรั้งของเอ็นภายในเต้านมที่ยึดระหว่างผิวหนังกับทรวงอก เกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้นที่ผิว
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเต้านม
    การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น อาการบวมแดง มีแผล อาจพบว่าเกิดจากการมีมะเร็งที่เต้านมลุกลามมาที่ผิวหนังทำให้เกิดการบวมแดงหรือบางครั้งอาจมีแผลร่วมด้วยและเป็นแผลที่รักษาไม่หาย  อาการบวมแดงของเต้านมยังอาจเป็นการแสดงของมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเฉพาะที่ซึ่งจะมีการบวมแดงของผิวหนังเต้านมเป็นบริเวณกว้างหรืออาจมีแผลร่วมด้วยก็ได้
  • มีแผลที่บริเวณหัวนม
    แผลที่เกิดที่บริเวณเต้านมหรือฐานหัวนมหรือฐานหัวนมนั้นอาจมีสาเหตุจากมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งเรียกว่า Paget disease of the nipple โดยจะเป็นแผลสีแดงที่บริเวณหัวนม
  • หัวนมบุ๋มเข้าไปในเต้านม
    การมีหัวนมที่บุ๋มเข้าไปในเต้านมโดยที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดและไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งเต้านมที่ลุกลามไปยังหัวนมและทำให้เกิดการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลงไปได้ ซึ่งมักเกิดจากมะเร็งบริเวณใกล้กับหัวนม
  • การมีน้ำออกทางหัวนม
    อาการมีน้ำหรือน้ำนมออกทางหัวนมในผู้ที่ไม่ได้ให้นมบุตร อาจเป็นอาการหนึ่งของมะเร็งเต้านม ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของท่อน้ำนมร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ลักษณะน้ำอาจเป็นสีเหลืองใสหรือเป็นน้ำปนเลือด
  • คลำพบก้อนที่บริเวณที่รักแร้
    นอกจากอาการที่เต้านมแล้ว ในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจตรวจไม่พบก้อนที่เต้านม แต่มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้และคลำพบได้ ซึ่งเกิดจากมะเร็งเต้านมกระจายไป
  • อาการเจ็บเต้านม
    อาการเจ็บเต้านมในบางครั้งอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน ในช่วงใกล้มีประจำเดือนหรืออาจเกิดจากการอักเสบติดเชื้อที่เต้านม แต่ในบางกรณีอาจพบว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านมและอาจพบก้อนที่เต้านมร่วมด้วย โดยมักเจ็บที่บริเวณก้อนที่พบ
ผู้ที่มีอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

หาของขวัญให้คุณพ่อจากไลฟ์สไตล์

หาของขวัญให้คุณพ่อจากไลฟ์สไตล์

สำหรับคุณลูกๆ ทึ่ต้องการหาของขวัญให้คุณพ่อในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นในโอกาส "วันเกิด" หรือ "วันพ่อ" เรามาหาของขวัญที่จะทำให้ท่านปลื้มสุดๆ และตรงกับสไตล์ของท่านกันค่ะ แล้วคุณพ่อของคุณจากไลฟ์สไตล์ไหน สายไหนกันนะ?
  1. คุณพ่อสาย Sports
  2. คุณพ่อสาย Adventure
  3. คุณพ่อสาย Chef
  4. คุณพ่อสาย Entertain
  5. คุณพ่อสาย Beauty
คุณพ่อสาย Sports
หากคุณพ่อเป็นคนชอบเล่นกีฬา และการออกกำลังกาย ท่านจะเป็นคนร่าเริง แจ่มใส มองโลกด้วยทัศนะสุขนิยม ทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่สับสนวุ่นวาย ของขวัญสำหรับคุณพ่อที่ชื่นชอบการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย คุณลูกควรหาเสื้อผ้า คุณภาพ ที่เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย ใส่แล้วรู้สึกสบาย แค่นี้ก็เป็นปลื้มแล้วล่ะค่ะ
คุณพ่อสาย Adventure
คนพ่อนักนิยมธรรมชาติ ชอบท่องเที่ยว ชอบงานศิลปะ จะเป็นคนที่มีความคิดเฉลียวฉลาด ในบางครั้งหมกหมุ่นกับตนเองมากเกินไป หากชอบเที่ยวภูเขา เป็นคนไม่ค่อยคิดมาก ไม่จริงจัง ชอบเที่ยวทะเล นิสัยคล่องแคล่ว ว่องไว อ่อนไหว เอาแต่ใจตนเอง ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ มักเป็นอุปกรณ์การเดินทาง เช่นกระเป๋าเป้ นาฬิกา แว่นกันแดด หรือรองเท้า ออกแบบมาพิเศษ เป็นต้น
คุณพ่อสาย Chef
คุณพ่อนักทำอาหาร จะเป็นคนกินเก่ง มักจะเพลิดเพลินและมุ่งมั่นกับสิ่งที่ตัวเองทำอยู่ จะภูมิใจกับสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำแล้วดี นิสัยซน ไม่ชอบอยู่เฉยๆ อยู่ไม่เป็นที่ และช่างพูดช่างคุย ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ คือ พวกเครื่องครัว อุปกรณ์ดีไซน์ทันสมัยพร้อมฟังก์ชั่นพิเศษ หรือรืออุปกรณ์ครบยกชุดค่ะ
คุณพ่อสาย Entertain
หากคุณพ่อเป็นคนที่ชอบดูหนัง ฟังเพลง เป็นกิจวัตรประจำวันในยามว่าง ท่านจะเป็นคนที่มีความสุขกับตัวเอง ไม่พึ่งพาอาศัยคนอื่นมากนัก รักความสงบ มีสติปัญญาดี มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนที่จริงใจ แต่ค่อนข้างขี้เหงา เป็นคนช่างสะเทือนใจ ของขวัญสำหรับคุณพ่อสายนี้ คงจะหนีไม่พ้นเรื่องอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น สมาร์ททีวี สมาร์ทโฟน สสมาร์ทวอช อุปกรณ์เสริม เท่ๆ ต่างๆ ค่ะ
แต่ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อสายไหน การที่ท่านมีสุขภาพดีอยู่กับเราไปนานนับเป็นสิ่งที่ดีที่สุดโรงพยาบาลบางโพขอร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการตอบแทนความห่วงใยของท่าน .... มอบของขวัญ..... มอบสุขภาพดี เป็นของขวัญวันเกิดคุณพ่อ วันพ่อกันนะคะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

เทศกาลกินเจ คำว่า “เจ” หรือ “ไจ” บนธงอักษรแดง บนพื้นเหลือง มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 เทศกาลกินเจ เป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ ได้ฝึกวินัย ทั้งทางกาย จิต ปัญญา แต่อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร งดน้ำมัน ลดแป้ง กินโปรตีน
  1. ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง แอปเปิ้ลเขียว ผักใบเขียว ช่วยระบบขับถ่ายและระบบลำไส้ทำงานได้ดี
  2. เลือกอาหารประเภท ต้ม ตุ๋น นึ่งและย่าง หลีกเลี่ยงเมนูผัดและทอด เช่น เต้าหู้ทอด เผือกทอด มันทอด เห็ดผัดน้ำมัน
  3. ทานข้าวแป้งแต่พอดี หลีกเลี่ยงเมนูอาหารแปรรูปและเมนูแป้ง เช่น เนื้อเทียมจากแป้ง โปรตีนเกษตร ต่าง ๆ
  4. เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ทดแทนจากเนื้อสัตว์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ธัญพืช ข้าวโพด
  5. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มน้ำหนักตัวและก่อโรคต่าง ๆ ได้
  6. ทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกทานอาหารเมนูชนิดเดิมซ้ำทุกวัน
  7. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
แนะนำเมนูสุขภาพ 3 เมนู ทำได้ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ แคลลอรี่ต่ำ

Credit Picture : Mai Yom Auon 

เห็ดอบวุ้นเส้น = 198 kcal
ส่วนผสม
  1. วุ้นเส้น ไม่ขัดสี
  2. เห็ดชนิดต่างๆ ตามชอบ
  3. ขิงอ่อน
  4. พริกไทย
  5. ซีอิ้วขาว ผสมน้ำอุ่น
  6. น้ำมันรำข้าว
วิธีทำ
  1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันรำข้าว นำขิงอ่อนผัดให้เข้ากัน ตามด้วยเห็ดต่างๆที่เราชอบ และเต้าหู้แข็ง ผัดรวมกัน ให้สุกนิ่ม
  2. ใส่วุ้นเส้นไม่ขัดสี ตามด้วย ซีอิ๋วขาวผสมน้ำ เติมพริกไทย เติมน้ำเปล่า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝารอวุ้นเส้นสุกดี ตักใส่จานนำเสิร์ฟ

Credit Picture : Booky HealthyWorld

ลาบเต้าหู้เส้นบุกใส่เห็ด = 190 Kcal
ส่วนผสม
  1. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
  2. เห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้า
  3. ผักชีฝรั่งและใบสาระแหน่
  4. วุ้นเส้นแบน
  5. พริกป่น
  6. ซีอิ๋วขาว
  7. น้ำมะนาว
  8. น้ำตาล
  9. ข้าวคั่ว
วิธีทำ
  1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ขาวแข็ง มาหั่นเป็นชิ้น และนำไปลวกในน้ำ ตามด้วยลวกเห็ดละวุ้นเส้นต่อ
  2. นำของที่ลวกสุกมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยปรุงรสใส่ซีอิ๋วขาว น้ำมะนาว น้ำตาล พริกป่น ข้าวคั่ว ผสมให้เข้ากัน โรยผักชีฝรั่งและสาระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

Credit Picture : Mai Yom Auon 

หมี่กล้องพันเจ = 193 Kcal
ส่วนผสม
  1. หมี่กล้อง
  2. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
  3. เห็ดเข็มทอง
  4. ต้นทานตะวันอ่อน
  5. งาคั่ว
วิธีทำ
  1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเส้นหมี่กล้องไปลวกให้สุก ตามด้วยย่างเต้าหู้และเห็ดให้สุกพอดี
  2. นำเส้นหมี่กล้อง มาพันกับเต้าหู้และเห็ดที่ย่าง วางด้วยต้นอ่อนตะวัน เพิ่มความหอมด้วยงาคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
การรับประทานเจที่ถูกหลักและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบ ควรรับประทานอาหารเจให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารเจชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ รับประทานเจจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ล้างพิษ รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น/div>

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

Health check for working abroad

ตรวจสุขภาพไปทำงานต่างประเทศ

2,200.-


โรงพยาบาลบางโพ บริการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเพื่อทำงาน ศึกษาต่อหรือแต่งงานในราคาเดียว ตรวจได้ทั้งแบบ ก และ ค เพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน การตรวจได้แก่ โรควัณโรค โรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และโรคแอดส์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขของแต่ประเทศ

บริการตรวจสุขภาพก่อนเดินทางไปต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเพื่อทำงาน ศึกษาต่อหรือแต่งงานนั้นมีความสำคัญ เนื่องจากผลในการพิจารณาคัดกรองบุคคลตามข้อกำหนดของแต่ละประเทศ จึงควรได้รับการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐานจากสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือ โรงพยาบาลบางโพให้บริการด้วยมาตรฐานการรับรองทางห้องปฏิบัติการ ที่ผ่านการรับรองจากสภาเทคนิคการแพทย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย พร้อมบุคลากรทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีมาตรฐาน ให้บริการที่ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 3 อาคาร 2 (One Stop Service)
การตรวจสุขภาพก่อนไปต่างประเทศ เป็นการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่ไม่เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ การตรวจ เช่น โรควัณโรค โรคปอด ไวรัสตับอักเสบบี ซิฟิลิส และโรคแอดส์ ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละเงื่อนไขของแต่ประเทศ ประเทศที่สามารถเข้ารับบริการตรวจมีดังนี้
  • ประเทศเกาหลี
  • ประเทศ ตะวันออกกลาง เช่นคูเวต ดูไบ กาต้า เลบานอน บาห์เรน
  • ประเทศอื่นๆ USA ญี่ปุ่น รัสเซีย ฮ่องกง ยูเครน มาเก๊า ฯลฯ
ยกเว้น ประเทศบรูไน, อิสราเอล, ซาอุดิอาระเบีย, ไต้หวัน
แพ็กเกจ
รายการตวจ
ราคา
แบบ ก.
ตรวจได้ทุกประเทศ ยกเว้นประเทศดังนี้
  • ประเทศบรูไน
  • ประเทศอิสราเอล
  • ประเทศซาอุดิอาระเบีย
  • ประเทศไต้หวัน
  • Physical Examination
    ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
  • Complete Blood Count (CBC)
    ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
  • Urine Examination
    ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
  • Stool Examination with Occult blood
    ตรวจอุจจาระ
  • Chest X-ray
    เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
  • Electrocardiogram (EKG)
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • VDRL
    ตรวจหาเชื้อกามโรค ซิฟิลิส
  • HIV
    ตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์
  • VISION TEST
    ตรวจสายตา
  • HBsAg
    ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • MALARIA
    มาลาเลีย
  • Anti HCV
    ตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • Pregnancy Test
    ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์
2,200.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
แบบ ค.
เฉพาะประเทศเกาหลี
  • Physical Examination
    ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
  • Complete Blood Count (CBC)
    ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
  • Urine Examination
    ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
  • Stool Examination with Occult blood
    ตรวจอุจจาระ
  • Chest X-ray
    เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
  • VDRL
    ตรวจหาเชื้อกามโรค ซิฟิลิส
  • VISION TEST
    ตรวจสายตา
  • Audiometry
    ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
  • HBsAg
    ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • Blood Group / Rh
    ตรวจหาหมู่เลือด
  • MALARIA
    มาลาเลีย
  • Pregnancy Test
    ตรวจปัสสาวะดูการตั้งครรภ์
  • Liver Function Test : SGPT/SGOT
    ตรวจการทำงานของตับ
  • Cholesterol
    ตรวจหาระดับไขมันคอเลสเตอรอล
2,200.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)
แบบ ง.
เฉพาะประเทศญี่ปุ่น
  • Physical Examination
    ตรวจร่างกายโดยแพทย์ เฉพาะทาง
  • Complete Blood Count (CBC)
    ตรวจหาความผิดปกติของเม็ดเลือด
  • Urine Examination
    ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ
  • Stool Examination with Occult blood
    ตรวจอุจจาระ
  • Chest X-ray
    เอกซเรย์ปอดและหัวใจ
  • Electrocardiogram (EKG)
    คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • Audiometry
    ตรวจสมรรถภาพการได้ยิน
  • Liver Function Test : SGPT, SGOT , GGT
    ตรวจการทำงานของตับ
  • Lipid Profile : Triglyceride, HDL, LDL
    ตรวจระดับไขมันในเลือด
  • Fasting Blood Sugar (FBS)
    ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
2,200.-
(รวมค่าแพทย์และค่าบริการ รพ.)

 

เอกสารที่ต้องนำมาเพื่อเข้ารับการตรวจสุขภาพ
  • บัตรประชาชน ตัวจริง ยังไม่หมดอายุ
  • หนังสือเตินทาง (Passport) ตัวจริง ที่มีวันหมดอายุไม่ต่ำกว่า 18 เดือน
  • รูปถ่ายหน้าตรง ขนาด 1.5 -2 นิ้ว 3 รูป
  • เอกสารเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล (ถ้ามี)
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
  • งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 6-8 ชม.สามารถจิบน้ำเปล่าได้
  • พักผ่่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 8 ชม.
  • สำหรับผู้รับบริการที่ต้องใช้แว่นสายตา ให้นำแว่นสายตามาด้วย
  • สุภาพสตรีที่มีประจำเดือนให้เลื่อนวันตรวจ จนกว่าประจำเดือนจะหายเป็นปกติ
  • หากต้องการตรวจสุขภาพตั้งแต่ 20 ท่านขึ้นไป กรุณาติดต่อแผนกสื่อสารการตลาด 09-4495-4010
ให้บริการทุกวัน เวลา 07:00 - 16:00 น.
ณ ศูนย์ตรวจสุขภาพชั้น 3 อาคารศูนย์การแพทย์ (อาคาร 2)
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

การตรวจหาหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ CT Calcium Score

CT Calcium Score
การตรวจหาหินปูนหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Score) เป็นการตรวจปริมาณแคลเซียมที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) ตรวจคัดกรองระดับหินปูนที่เกาะบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เพื่อประเมินภาวะการอุดตันของหลอดเลือด ก่อนที่จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันซึ่งมีโอกาสเสียชีวิตสูง หรือประเมินแนวโน้มโอกาสในการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในอนาคต
ข้อดีของตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • ทำให้ทราบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต
  • ไม่ต้องมีการเตรียมตัว สามารถตรวจได้ทันที ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล
  • ใช้เวลาในการตรวจน้อย ไม่เจ็บตัว
  • ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี
ใครที่ควรเข้ารับการตรวจ CT CALCIUM SCORE
  • บุคคลทั่วไปที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีประวัติสูบบุหรี่
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ไม่ต้องงดน้ำหรืออาหารก่อนรับการตรวจ
  • หลีกเลี่ยงยาที่จะกระตุ้นหัวใจให้ชีพจรเร็วขึ้น
  • งดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ
  • งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดคลุมของโรงพยาบาล
  • ถอดเครื่องประดับรอบคอหรือแผ่นต่างๆ ที่ติดบริเวณหน้าอก

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค

สุขภาพของคนทำงาน ตอน “การป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี”

Tablet with the text Occupational Health and Safety

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและหลักการป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี

ในการดำเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพของคนทำงานที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยหลักการพื้นฐานทางอาชีวเวชศาสตร์ มีแนวคิดหลักที่ว่าคนทำงานสามารถจะเกิดความเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้เกิดจากสาเหตุ 2 ทาง อันได้แก่

  1. สุขภาพส่วนตัวของคนทำงาน (Host)  เช่น โรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว อาหาร ยา การดื่มสุรา สูบบุหรี่ สุขภาพจิตและอารมณ์ส่วนบุคคล ของคนที่ทำงาน เป็นต้น
  2. สิ่งคุกคามจากสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานเข้าไปทำงาน (Hazard) ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) สิ่งคุกคามทางจิตสังคม (Psychosocial Hazard)

(ภาพอ้างอิงจาก: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค)

เมื่อมีสาเหตุ 2 ทางเกิดขึ้นกับคนทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากคนทำงานเอง หรือสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อม หรือทั้งสองสาเหตุ ก็จะทำเกิดการเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้ ดังนั้นเราควรป้องกันการเกิดสาเหตุทั้งสุขภาพส่วนตัวของคนทำงานและสาเหตุจากสิ่งคุกคาม เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน  ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งคุกคามทางสารเคมีซึ่งเป็นสิ่งคุกคามจากการทำงานชนิดหนึ่งที่คนทำงานหากสัมผัสเป็นเวลานานๆโดยไม่มีการป้องกัน ส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลัน หรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritants) สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้นและสารเคมีมี 2 คุณสมบัติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนทำงานที่ไปสัมผัสได้แก่

1.มีคุณสมบัติสิ่งคุกคามอันตราย (Hazard) คือ มีโอกาสที่สารเคมีจะก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพร่างกาย

2.ความเป็นพิษ ( Toxicity) คือ มีศักยภาพของสารเคมีที่เกิดให้เกิดพิษ หรือความเป็นพิษ

ในหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย ถือว่าการที่ไม่รับสัมผัสสารย่อมไม่เกิดอันตราย ( No exposure-No hazard) สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง อาจเป็นสารที่มีอันตรายสูงหรือต่ำก็ได้ขึ้นกับโอกาส และสภาพการใช้สารนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารยาฆ่าแมลงจะสัมพันธ์ต่อการสัมผัสสาร CO ได้สูง เป็นต้น

หลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี

ดังที่กล่าวไว้ว่า “No exposure-No hazard” เป็นหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย แต่ถ้าหากจำเป็นต้องสัมผัสจริงๆ ก็ควรมีการป้องกันให้ดีหรือมีการสัมผัสให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี โดยอะไรที่ควรทำเพื่อลดการบาดเจ็บ ลดอุบัติเหตุ ลดการรับสัมผัสสารเคมี ป้องกันการหกรั่วไหล และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ให้เกิดน้อยที่สุด ทั้งหมดนี้จะอยู่ในหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี 4 ประการสำคัญได้แก่

  1. ป้องกันที่ต้นเหตุ

การลดใช้สารเคมี หรือ การใช้สารเคมีที่มีพิษกว่าทดแทน เมื่อลดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง ก็จะทำให้โอกาสเกิดการเจ็บป่วยหรือรับสัมพิษจากสารเคมีน้อยลง

 

  1. ป้องกันด้วยเครื่องใช้

การปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับงาน ซึ่งจะสามารถลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงได้เป็นอย่างดี เช่น มีระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation) ระบบการทำงานแบบปิด (Close system) การปิดคลุม (Enclosure)

 

ระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation)

ระบบการทำงานแบบปิด (Close system)

  1. ป้องกันด้วยหลักการทำงาน

การทำงานที่ได้มาตรฐาน โดยมีหลักการคือ เพื่อลดเวลาการสัมผัสสารเคมี เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างสารเคมีกับคนทำงาน เพื่อปรับวิธีการให้เหมาะเอื้อต่อความปลอดภัยของคนทำงาน และเพื่อเพิ่มความชำนาณของคนทำงาน เมื่อคนทำงานมีความชำนาณในงานนั้น ก็จะลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วยจากการทำงานได้

  1. ป้องกันด้วยเครื่องมือส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) เช่น ถุงมือ หมวก และรองเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ชนิดและการออกแบบของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขึ้นกับชนิด ปริมาณ ความเข้มข้น และระยะเวลาของสารเคมีที่จะไปสัมผัส ดังนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และศึกษาวิธีการใช้และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้ถูกต้องทุกครั้ง

เมื่อมีหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมีที่เหมาะสมแล้ว ก็ควรมีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีนั่นคือ การประเมินการสัมผัสสารเคมีเป็นระยะ เมื่อเกิดความผิดปกติจากการประเมิน เราก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีและลดโอกาสอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีนั้นได้

การประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้น มีวิธีการประเมินว่า คนทำงานมีการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี (Chemical hazards) มีหลายวิธีดังต่อไปนี้

  1. การซักประวัติสอบถามจากคนทำงานโดยตรง เช่น หาอาการที่ผิดปกติหรือสงสัยว่าน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมี เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจากการทำงาน ผื่นแพ้อักเสบหลังเลิกงาน เป็นต้น
  2. การตรวจร่างกายคนทำงาน เช่น หาภาวะซีด ภาวะตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต ม้ามโต เป็นต้น
  3. การตรวจวัดระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม (Environment monitoring) เพื่อดูว่ามีระดับสารเคมีเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ หากมีระดับสารเคมีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ย่อมส่งผลเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คนทำงานจะได้รับอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีมากขึ้น
  4. การตรวจระดับสารเคมีในร่างกายของคนทำงาน (Biological monitoring) เพื่อดูว่าคนทำงานได้รับสารเคมีที่อยู่ในสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่

หนึ่งในสี่วิธีนี้สามารถใช้มาประเมินร่วมกันได้ โดยวิธีการตรวจระดับสารเคมีในร่างกายคนทำงานเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถบอกได้โดยตรงว่าคนทำงานไปสัมผัสสารเคมีมากหรือน้อย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

Biological marker (Biomarker) คือสารเคมีหรือค่าจากการตรวจใดๆก็ตามที่เราตรวจวัดจากร่างกายของคนทำงาน เพื่อดูว่า คนทำงานได้รับการสัมผัสสารเคมีที่อยู่ในที่ทำงานแล้วหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานทำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้สารตะกั่วในการทำบัคกรี ถ้าต้องการดูว่าคนทำงานมีการสัมผัสตะกั่วมากน้อยเพียงใด ก็สามารถตรวจสารตะกั่วในเลือด นั่นหมายความว่า สารตะกั่วในเลือด เป็นสารตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของตะกั่ว เป็นต้น

ชนิดของ Biomarker มีอยู่ 3 ชนิดได้แก่

  1. Biomarker of exposure หรือ Direct biomarker ตัวสารนั้น หรือ metobolite ของสารนั้น(สารเคมีที่ถูกเปลี่ยนสภาพโดยกระบวนการของร่างกาย) ที่วัดได้ในตัวอย่างชีวภาพของคนทำงาน เช่น ตรวจจากเลือด ปัสสาวะ อากาศที่หายใจ เส้นผล เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นการตรวจสาร Syrene เมื่อเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการทางเคมีในร่างกายจนกลายเป็น mandelic acid ซึ่งถือว่า การตรวจระดับ mandelic acid ในปัสสาวะ เป็นการตรวจ biomarker of exposure ของสาร Syrene เป้นต้น
  2. Biomarker of effect หรือ Indirect biomarker คือ การตรวจผลเปลี่ยนแปลงทางเคมี,ชีวภาพ,สรีรวิทยา หรือในระดับโมเลกุล ที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายเมื่อได้รับสารพิษนั้นๆ เช่น เราทราบว่า การสัมผัส n-hexane จะทำให้เกิดอัมภาพที่เส้นประสาทได้ การตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท(Nerve ConductionVelocety;NCV) เพื่อดูว่าเส้นประสาทเป็นอัมภาพไปหรือไม่ ก็ถือว่าเป็น Biomarker of effect ของสาร n-hexane
  3. Biomarker of susceptibility คือ การวัดระดับความไวรับ (Susceptibility) ในการเจ็บป่วยจากสารเคมีในแต่ละคน การตรวจนี้จะทำให้คาดการณ์ได้ว่า คนทำงานสัมผัสสารเคมีตัวที่พิจรณาแล้ว จะมีโอกาสเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด และเป็นการตรวจตั้งแต่ยังไม่ได้รับการสัมผัส (pre-exposure) และส่วนใหญ่เป็นการตรวจทางพันธุกรรม(genetic tesing) มักใช้ในทางการงานวิจัย ไม่ได้ใช้ในทางเวชปฏิบัติ

ซึ่งในทางเวชปฏิบัติจริงๆจะใช้ biomarker of exposure และ biomarker of effect เท่านั้น และbiomarker ในการหาสาเคมีตัวหนึ่งนั้น อาจมี biomarker of exposure หลายตัวได้ เช่น การตรวจหาสาร toluene มี biomarker ได้แก่ hipuric acid in Urine , Toluene in Urine,Toluene in Blood หรืออีกกรณีหนึ่งคือ สารเคมีหลายตัวก็อาจมี Biomarker of Exposure เป็นตัวเดียวกันได้ เช่น การตรวจหา acetone,isopropyl alcohol มี biomarker ตัวเดียวกันคือ acetone in Urine สำหรับการตรวจ biomarker นั้นทำเพื่อดูว่าคนทำงานมีการสัมผัส (exposure) กับสารเคมีแล้วดูดซึมเข้าไปในร่างกายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด (Biological monitoring) ดังนั้นจึงมักมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าสารเคมีในสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน (Environment monitoring) เสมอ

ในการประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้นควรทำการตรวจวัดทั้งระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงาน(environment monitoring) และระดับสารเคมีในร่างกาย (biological monitoring) ควบคู่ กันไปด้วยเสมอ

เมื่อไหร่จึงควรสั่งตรวจ biomarker

เหตุผลหลัก คือ ตรวจเมื่อต้องการประเมินการสัมผัสสารเคมีในร่างกายคนทำงาน  ส่วนเหตุผลรองลงมา คือ ตรวจเมื่อค่าตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมมีระดับสูงเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือเมื่อมีอาการพิษเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยอิงจากกฎหมายที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับสารเคมีในสถานที่ทำงานของกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ.2552

ในส่วนค่ามาตรฐานของ biomarker จะถูกกำหนดโดยองค์กรACGIH(American Conference of Government Industrial Hygienists) เป็นองค์กรที่กำหนดค่ามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากที่สุด โดยค่าที่กำหนดเรียกว่าค่า BEI ซึ่งแนะนำให้ใช้ค่า BEI ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ประเมินการสัมผัสทางผิวหนัง (Skin absorption) และการกิน (Ingestion)
  • ประเมินขนาดการสัมผัสสะสมในร่างกาย (body burden)
  • คาดคะเนการสัมผัสในอดีต (past exposure) ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลทางอื่น
  • ประเมินการสัมผัสสารเคมีนอกงาน (non-occupational exposure)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของการควบคุมทางวิศวกรรม (engineering control)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Protective equipment)
  • ตรวจสอบวินัยด้านความปลอดภัยในการทำงาน (work practice)

นอกจากยังมีปัจจัยที่มีผลต่อค่า BEI ที่ทำให้เปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำมากเกินความเป็นจริงได้อันได้แก่

  • ความอ้วน-ผอม
  • ระดับเมตาบอลิซึมของแต่ละคน
  • อายุ เพศการตั้งครรภ์ โรคที่เป็นเช่น โรคตับโรคไต
  • อาหารหรือยาที่รับประทาน
  • การสัมผัสสารเคมีนอกงาน
  • วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • วิธีการเก็บตัวอย่าง การรักษาสภาพตัวอย่าง
  • การปนเปื้อนระหว่างเก็บตัวอย่าง

และ BEI ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรระลึกไว้เสมอ คือ biomarker เอาไว้ประเมินการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี ซึ่งถ้าค่าเกินมาตรฐานนั่นแปลว่า คนทำงาน อาจมีการสัมผัสสารเคมีนั้น แต่ไม่ใช่เป็นการตัดตายหรือ cut point เพื่อวินิจฉัยโรคพิษจากสารเคมี  ไม่ได้เอาไว้ทดแทนการตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม และไม่ได้เอาไว้ยืนยันว่าถ้าที่ตรวจวัดได้ต่ำแล้วโรคจะไม่ได้เกิดขึ้น

คำแนะนำเมื่อตรวจพบ Biomarker สูงกว่ามาตรฐาน

  1. พิจรณาตรวจยืนยัน และดูปัจจัยความแปรปรวนต่างๆ
  2. ย้อนกลับไปดูผลตรวจ environment monitoring
  3. ซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่าวงกาย หาอาการพิษ ถ้ามีให้ทำการรักษาโดยแพทย์
  4. ถ้าประเมินแล้วน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมีจริงๆ ให้พิจรณาว่าปัญหาเกิดจากแหล่งใดใน 3 แหล่งได้แก่

หาสาเหตุจากแหล่งกำเนิดของสารเคมี (Source)

หาสาเหตุหนทาง (Pathway) และช่องทางการสัมผัส (Route)

หาสาเหตุและหาวิธีลดการสัมผัสของตัวบุคคลทำงาน (Person)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ biomarker

           แร่ธาตุอื่นๆที่ตรวจ biomarker สามารถตรวจได้ถ้ามีการสัมผัส และมีค่ามาตรฐานที่องค์กร ACGIH-BEI กำหนดไว้ เช่น Cadmium Chromium (VI) Cobalt Fluoride Mercury Uranium เป็นต้น แต่แร่ธาตุที่เป็น Essential elements มีอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถส่งตรวจ biomarker ได้เพราะไม่มีค่ามาตรฐานให้แปลผลและพบได้ในร่างกายคนทั่วไปอยู่แล้ว เช่น Copper Chromium (III) Iron Magnesium Selenium Zinc เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยเรื่องการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพว่าจะตรวจตัวไหนบ้างไม่ต้องตรวจตัวไหนบ้าง สามารถปรึกษากับแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อจะได้รับคำแนะนำและการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพที่ถูกต้อง

 

ข้อมูลโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย
โรงพยาบาลบางโพ

 

 

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพคนเมือง #สุขภาพคนทำงาน
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital #ศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย

เหตุผลที่คุณต้องตรวจสุขภาพ

เหตุผลที่คุณต้องตรวจสุขภาพ

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพเช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็นเพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใดเพื่อจะได้รักษา ป้องกันหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดีตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ต้องตรวจเมื่อไหร่ ตรวจอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
การตรวจสุขภาพนั้นต้องตรวจทุกๆ ปีเพราะระบบการทำงานของร่างกายบางอย่างเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นเช่น ระบบประสาทและสมอง ระบบย่อยอาหาร ความเสื่อมของกระดูก สายตา ผิวหนัง เป็นต้น
การตรวจสุขภาพที่ดีต้องเหมาะสมกับเพศ อายุ และความเสี่ยงนั้น โดยปกติจะมีการจัดเป็นกลุ่มอายุ เพศ ในชุดแพคเกจ ทำให้ราคาประหยัด ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะกับตัวเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นการประเมินภาวะโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนเป็นพื้นฐานของโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ
  2. การวัดความดันโลหิต เพื่อดูเสี่ยง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอัมพาต
  3. การเอกซเรย์ทรวงอก Chest-x-ray เพื่อดูว่ามีก้อนหรือจุดผิดปกติในปอดหรือไม่ และดูขนาดของหัวใจ สำหรับคนที่เป็นวัณโรค มะเร็ง หรือหัวใจผิดปกติ อาจจะไม่สามารถตรวจพบอาการผิดปกติได้จากภายนอก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครื่องมือตรวจพิเศษโดยการเอกซเรย์ปอด หรือทรวงอก ซึ่งจะปรากฏอาการผิดปกติทางฟิล์มเอกซเรย์ ทำให้แพทย์สามารถสามารถวินิจฉัยโรคและหาทางบาบัดรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป สำหรับมะเร็งปอด การตรวจเอ็กซเรย์ปอดบางครั้งก็ไม่สามารถบอกได้อย่างละเอียด
  4. การเจาะเลือดเพื่อตรวจค่าต่างๆ เช่น
    • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC) คือ การตรวจปริมาณ และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย
    • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucose เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด Hemoglobin A1C การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด Total Cholesterol เป็นการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง
      • HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดีทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
      • LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดีทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
      • Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
    • การตรวจวัดระดับยูริกในเลือด Uric Acid ระดับยูริกในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐาน สาเหตุของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต
    • การตรวจการทำงานของไต Blood Urea Nitrogen (BUN) วัดระดับปริมาณของเสีย Creatinine ที่ร่างกาย ปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากมีโรคไตจะมี Creatintine สูง
    • การตรวจการทำงานของตับ SGOT เป็นเอนไซม์ที่พบในตับ ไต กล้ามเนื้อ หัวใจ SGPT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ พบน้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ ตับอ่อน เมื่อตับเกิดโรค มีการทำลายหรือการอักเสบของตับ จะทำให้มีการหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตรวจพบมีระดับสูงขึ้นกว่า
    • การตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจานวนมากที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี โรคนี้สามารถนาไปสู่มะเร็งตับได้ คนที่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบนี้จะมีโอกาสเป็นได้ยากกว่าผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันการตรวจหาภูมิคุ้มกันดังกล่าวด้วยการตรวจ HbsAG และ HbsAB หากไม่พบภูมิคุ้มกัน ท่านก็สมควรฉีดวัคซีนป้องกันเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบขึ้นมา
    • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ที่สะสมอยู่ในเลือด
  5. การตรวจปัสสาวะ Urine Examination ตรวจเพื่อดูการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรด-ด่าง และการตรวจหาสารต่างๆที่จะปนมาในปัสสาวะ เป็นการตรวจหาไข่ขาว เม็ดเลือดและน้าตาล ซึ่งอาจพบการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่ว โรคเบาหวาน โรคตับและโรคไต เช่น ถ้ามีน้าตาลในปัสสาวะ แสดงว่าผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวาน หากพบเม็ดเลือดแดง อาจแสดงว่ามีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ หากพบเม็ดเลือดขาวอาจแสดงว่า อาจมีอาการของโรคไตอักเสบ หรือการติดเชื้อ
  6. การตรวจอุจจาระ Stool Occult Blood การตรวจคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรก หากพบว่ามีเลือดปนใน อุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างไร
  • งดอาหารก่อนมารับการตรวจสุขภาพ 8 - 10 ชั่วโมง (น้ำเปล่าและยาประจำตัว สามารถรับประทานได้)
  • ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนมารับการตรวจ 24 - 48 ชั่วโมง
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ
  • หากสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งพยาบาล ก่อนรับการตรวจ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเกินจากปกติ
  • หากรับประทานยาประจำ หรืออาหารเสริมบางชนิดอยู่ ควรแจ้ง แพทย์ก่อนตรวจสุขภาพ เพราะยาและอาหารเสริมบางชนิด มีผลต่อผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ หรือ ผลการตรวจอุจจาระ

โปรแกรมและแพ็คเกจ