การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”

Ultrasound screening pregnancy
การตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วย “อัลตร้าซาวด์”
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตร้าซาวด์) ระหว่างการตั้งครรภ์มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะการตรวจที่อายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ เนื่องจากเด็กตัวใหญ่ พอที่จะเห็นอวัยวะที่สำคัญได้เกือบทั้งหมด หากอายุครรภ์มากกว่า 22 สัปดาห์ กระดูกจะเริ่มหนาขึ้นทำให้ตรวจดูอวัยวะภายในได้ยากขึ้น
การอัลตร้าซาวด์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์หรือ “แพทย์ MFM” (Maternal Fetal Medicine) ซึ่งมีความชำนาญสูงในการตรวจอัลตร้าซาวด์ทารกในครรภ์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะเพิ่มโอกาสในการพบความผิดปกติของทารกในครรภ์
การตรวจอัลตร้าซางด์ที่อายุครรภ์ 18-22 สัปอาห์ สามารถตรวจอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง กระดูกสันหลัง หัวใจ ตับ ไต และคัดกรองภาวะดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ได้อีกด้วย รวมถึงการาตรวจดูรกและสายสะดือและปากมดลูก สิ่งผิดปกติบางอย่างอาจไม่สามารถตรวจได้ด้วยอัลตร้าซาวด์ เช่น ปานแดง ปานดำ การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง
Ultrasound Screening Test
ราคา
3,500.-

โปรแกรมและแพ็คเกจ

นมแม่ดีที่สุด

นมแม่ดีที่สุด

ฺBreastfeeding
องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูนิเซฟ แนะนำว่าลูกควรได้กินนมแม่อย่างเดียว ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือน และควรกินต่อเนื่องไปจนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น ควบคู่กับอาหารตามวัยที่เหมาะสม เนื่องจากนมแม่เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับลูกด้วยองค์ประกอบด้านโภชนาการ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สารต่อต้านอนุมูลอิสระ วิตามินและยังมีเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งจากเซลล์จากแม่ รวมถึงแบคทีเรียที่ดีต่อระบบทางเดินอาหารของลูกด้วย เด็กทารกที่เกิดใหม่ยังมีภูมิคุ้มกันที่ไม่สมบูรณ์ น้ำนมแม่เปรียบเสมือนวัคซีนหยดแรกสำหรับเด็ก เพราะมีภูมิคุ้มกันโรคจำนวนมากที่จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย การได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทารกเติบโตได้สมบูรณ์แข็งแรง เหนือสิ่งอื่นใด ขณะที่แม่ให้นมจะต้องโอบกอดลูกไว้ข้างนอก แม่ลูกสบตากัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงเป็นวิธีสร้างสายใยความรักความผูกพันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งระหว่างแม่กับลูก
ประโยชน์นมแม่ วัคซีนหยดแรกสำหรับลูกน้อย
  • สมอง โอกาสเพิ่มระดับ IQ 3.16 จุด ในทารกครบกำหนดและ 5.26 จุด ในทารกเกิดก่อนกำหนด
  • สายตา พัฒนาการมองเห็น สายตาคมชัด
  • หู ลดโอกาสเป็นโรคหูน้ำหนวก
  • ช่องปาก กรามล่างแข็งแรง ฟันเกน้อยลง เมื่อโตขึ้น
  • ไต แข็งแรงขับของเสียน้อยกว่า
  • ผิวพรรณ ลดโอกาสภูมิแพ้ผิวหนัง 42%
  • ระบบทางเดินปัสสาวะ โอกาสติดเชื้อน้อยกว่า
  • ระบบทางเดินอาหาร ลดโอกาสโรคท้องเสียและลำไส้อักเสบน้อยกว่า 64% การย่อยดี แทบไม่มีปัญหาท้องผูก
  • ระบบทางเดินหายใจ โอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ ปอดบวมน้อยกว่า ทารกกินนมผสม 60% และโรคหืด
การเตรียมตัวเพื่อให้นมลูกอย่างมีประสิทธิภาพ
หัวนมที่มีปัญหาควร ได้รับการแนะนำและ หาวิธีแก้ไข ตั้งแต่ช่วงเวลาที่มาฝากครรภ์ ดังเช่นกรณีต่อไปนี้
วิธีแก้ไข
  1. Nipple Rolling โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับด้านข้างของหัวนมที่ติดกับลานนมยืดขึ้นและค้างไว้หรือนวดคลึงเบาๆทำซ้ำ 10 ครั้งวันละ 2 ครั้ง
  2. Hoffmann's Maneuver โดยให้วางหัวแม่มือชิดโคนหัวนม กดนิ้วพร้อมรูดจากฐานหัวนมในทิศทางซ้ายขวาออกเบาๆ เปลี่ยนเป็นวางในทิศบนล่างและดึงออกเบาๆ นับเป็น 1 ครั้ง ควรบริหารข้างละ 30 ครั้งหลังอาบน้ำ จะให้ผลดีในรายหัวนมบุ๋มเล็กน้อย
  3. การใช้ปทุมแก้ว (Breast shells หรือ Breast cups)โดยจะใส่ไว้ใต้ยกทรง ในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เริ่มต้นด้วยใส่วันละ 2-3 ชั่วโมง เมื่อคุ้นเคยแล้วให้ใส่เฉพาะกลางวัน เมื่อคลอดลูกแล้วให้ใส่ก่อนให้นมบุตร 30 นาทีก่อนให้ลูกดูดนม
  4. Syringe Puller โดยดึงลูกสูบขึ้นประมาณ 1/3 ของกระบอกแล้ว นำด้านที่มีปีกมาครอบหัวนมให้สนิทดึงลูกสูบช้าๆจนเห็นหัวนมยื่นยาวออกมา
  5. Nipple Puller ใช้นิ้วมือบีบกระเปาะยางแล้วไปครอบหัวนมปล่อยนิ้วที่บีบกระเปาะเบาๆ
ดูดเร็ว ดูดบ่อย ดูดถูกวิธี
ใหัโดยเริ่มให้ลูกดูดนมโดยเร็วตั้งแต่หลังคลอดภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำนมออกเร็ว การให้ลูกดูดนมบ่อยๆภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังคลอด ลูกควรดูดนม 8-12 ครั้งและต้องให้ลูกดูดนมให้ถูกวิธี คือให้ลูกอมหัวนมให้ถึงลานนม สามารถป้องกันการเกิดนมคัดหรือหัวนมแตกได้
ลูกดูดนมได้ดี ขึ้นอยู่กับท่าอุ้ม
อาหารที่เหมาะสมสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรทานแคลเซียมและธาตุเหล็กเสริม หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเองเพราะยาบางชนิดอาจผ่านเข้าน้ำนมและควรดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
นวดเต้านม ให้ถูกวิธ
เนื่องจากในเต้านมมีเนื้อเยื่อที่มีหลอดเลือด และน้ำเหลืองการนวดจะช่วยหมุนเวียนการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดกระตุ้นให้เนื้อเยื่อคลายตัวและส่งเสริมการระบายน้ำเหลือง ทำให้น้ำนมไหลได้ดี ลดการคัดตึงเต้านม
วิธีช่วยกระตุ้นให้เกิด Milk Ejection Reflex
ขั้นนตอนทั้งหมดควรใช้เวลาประมาณ 20- 30 นาที

  • บีบน้ำนมแต่ละข้างออก 5 - 7 นาที (หรือให้น้ำนมไหลน้อยลง)
  • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
  • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 3 - 5 นาที
  • กระตุ้นโดยการนวด ลูบและเขย่า
  • บีบน้ำนมออกอีกข้างละ 2 - 3 นาที
ข้อเสนอแนะในการให้นมลูก
ตามนโยบายสาธารณะของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • ช่วงวัยแรกเกิดถึง 6 เดือนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
  • ช่วงอายุ 6-12 เดือนให้นมแม่ร่วมกับอาหารทารกตามวัย
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ให้อาหารตามวัย 3 มื้อร่วมกับนมแม่

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ดาวน์ซินโดรม (down syndrome) …รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ...รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

Down Syndrome
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome) กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ (หน้าตาของเด็กดาวน์ จะมีดวงตาทั้ง 2 ข้างเฉียงขึ้น หัวคิ้วด้านใกล้จมูกหนาตัวขึ้น ม่านตามีจุดสีขาว สันจมูกแบน ปากเปิดออก ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก รอยพับของหูมีมากกว่าปกติ รูปร่างจะมีระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง ลักษณะนิ้วและลายมือ ไม่เหมือนเด็กปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เมื่อเติบโตขึ้นก็จะตัวเตี้ยและส่วนใหญ่จะอ้วน) และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก

ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
  • แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
  • แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
  • ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา
  • โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) 
  • ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา  แบ่งเป็น  2 แบบ
    • การตรวจสารเคมี
    • การตรวจ NIPT
การตรวจ ดาวน์ซินโดรของทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยง เกิดภาวะแทรกซ้อน 1 รายจากการตรวจ 200 ราย 
  1. การเจาะน้ำคร่ำ เป็นวิธีการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำนำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ
  2. วิธีการตรวจทำโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์และดูดน้ำคร่ำ (รายละเอียดตามเอกสาร ความรู้เรื่องการเจาะน้ำคร่ำ)
  3. ประโยชน์ของการตรวจเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์หรือโรคทางพันธุกรรมบางโรค (เฉพาะในกรณีที่เป็นข้อบ่งชี้ของการตรวจ)
  4. ข้อจำกัดของการตรวจ
                    - บางครั้งไม่สามารถดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ในน้ำคร่ำอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่สามารถทราบผลการตรวจ
                    - แม้ว่าผลการตรวจจะเป็น “ปกติ” แต่ทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิด หรือมีพัฒนาการช้า จากสาเหตุอื่น
  5. ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่มีความเสี่ยงน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ปวดเกร็งท้องเล็กน้อยหลังการเจาะ แต่บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การแท้งหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดได้ 1 ราย จากการตรวจ 200 ราย การตรวจอาจทำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่มีกลุ่มเลือด Rh negative ซึ่งป้องกันได้ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้รับยาบางชนิด การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา
  • โดยวิธีตรวจจากสารเคมี คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมานานว่า เด็กดาวน์ (ปัญญาอ่อน) เกิดจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เด็กดาวน์จำนวนมากเกิดจากมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี หากสำรวจเด็กดาวน์จำนวน 100 คน จะพบว่า เกิดจากมารดาอายุมากเพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น ที่เหลืออีกร้อยละ 70-75 เกิดจากมารดาที่อายุน้อย แม้ว่ามารดาอายุมากจะมีความเสี่ยงในการเกิดเด็กดาวน์มากกว่า แต่เนื่องจากมารดาอายุมากมีจำนวนน้อย ดังนั้นการตรวจน้ำคร่ำในมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เท่านั้นจะสามารถป้องกันการเกิดเด็กดาวน์ได้เพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น เราสามารถตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์โดยการตรวจเลือดมารดาในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง เพื่อให้ทราบว่า มารดามีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดเด็กดาวน์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจน้ำคร่ำต่อไป หากพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ ก็อาจไม่คุ้มที่จะทำการตรวจน้ำคร่ำ
  • โดยวิธีการตรวจ NIPT
    ความผิดปกติของการมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy) ในโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งการตรวจ NIPT จะประเมินโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของ DNA ซึ่งอยู่ในพลาสมาของมารดาโดยใช้เทคโนโลยี high-throughput DNA sequencing ร่วมกับการใช้ชีวสารสนเทศขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจ NIPT ไม่มีความเสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากทำโดยการเจาะเลือดมารดาเท่านั้น โดยมีอัตราการตรวจพบ และความแม่นยำของผลการตรวจมากกว่าร้อยละ 99
ข้อมูลทั่วไปของการตรวจ NIPT
  • วัตถุประสงค์หลักในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21,18 และ13 ทั้งในครรภ์เดี่ยวและครรภ์แฝด
    สาหรับครรภ์เดี่ยวการตรวจนี้อาจตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Turner Syndrome (XO), ความผิดปกติอื่นๆ ของโครโมโซมเพศ, sub-chromosomal deletion และ duplication ซึ่งจะระบุไว้ในส่วน Additional Finding ข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน แสดงว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูงมาก สามารถตรวจพบความผิดปกติชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 ได้มากกว่าร้อยละ 99 และผลบวกลวงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่การตรวจนี้ถือเป็นเพียงการตรวจกรองเท่านั้น มิได้เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีที่ผลการตรวจกรองผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจโครโมโซมทารกเสมอ และในกรณีที่ผลการตรวจกรองเป็นปกติ ก็ไม่สามารถบอกว่าทารกมีโครโมโซมปกติได้ทั้งหมด

  • การตรวจนี้ หากตรวจขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ อาจมีปริมาณ DNA ของทารกน้อยเกินไป ทำให้เกิดผลลบลวงได้ และการตรวจนี้ไม่สามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องในกรณีดังต่อไปนี้ มารดามีโครโมโซมผิดปกติชนิดต่างๆ เช่น aneuploidy, mosaicism, chromosome microdeletion, microduplication และ multiple pregnancies เป็นต้น หากมารดาได้รับเลือด หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้จาก exogenous DNA

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คลายข้อสงสัย “วัคซีนมะเร็งปากมดลูก”

คลายข้อสงสัย "วัคซีนมะเร็งปากมดลูก"

ถาม HPV คืออะไร และติดต่อได้อย่างไร
ตอบ HPV (Human papillomavirus) เป็นไวรัสตระกูลหนึ่งซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ ช่องคลอด ทวารหนัก และมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ ผู้หญิงและผู้ชายจะติดเชื้อ HPV ชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ โดยผู้หญิงส่วนใหญ่จะเคยได้รับเชื้อ HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต
ถาม การป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก
ตอบ ผู้หญิงควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ HPV ก่อนที่จะเกิดรอยโรคระยะก่อนมะเร็งได้
การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% หนทางเดียวที่จะสามารถป้องกันจากการติดเชื้อ HPV ได้อย่างแน่นอนคือ การงดมีเพศสัมพันธ์ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีวัคซีนมะเร็งปากมดลูก (หรือที่เรียกว่า Human Papillomavirus หรือ HPV วัคซีน) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัส HPV ที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก
ถาม วัคซีนมะเร็งปากมดลูกคืออะไร
ตอบ วัคซีนมะเร็งปากมดลูกหรือวัคซีน HPV เป็นวัคซีนที่ช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก ผลิตจากโปรตีนที่เปลือกหุ้มเชื้อไวรัส ปัจจุบันมีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • ชนิด 2 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Cervarix ป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
  • ชนิด 4 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16 และ 18) มีชื่อการค้าว่า Gardasil ป้องกันมะเร็งปากมดลูก และหูดที่อวัยวะเพศ
  • ชนิด 9 สายพันธุ์ (สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58) มีชื่อการค้าว่า Gardasil 9 โดยสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกและหูดได้ประมาณ 90% รวมทั้งป้องกันมะเร็งทวารหนักได้ประมาณ 80%
ถาม วัคซีน HPV ต้องฉีดกี่เข็ม ป้องกันได้นานเท่าใด
ตอบ วัคซีนจะฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นแขนหรือกล้ามเนื้อสะโพก โดยต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็มกรณี อายุ

  • สำหรับเด็กอายุ 9 -<15 ปี ฉีด 2 เข็มคือ ที่ 0 เดือนและ 6 เดือน
  • สำหรับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15-26 ปี ฉีด 3 เข็มคือ ที่ 0 เดือน 2 เดือนและ 6 เดือน
  • ทั้งนี้วัคซีนจะมีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อหลังฉีดครบ 3 เข็มไปแล้ว 1 เดือน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันโรคได้นานแค่ไหน แต่จากการศึกษาพบว่าระดับภูมิคุ้มกันยังคงสูงต่อเนื่องหลายปีจึงยังไม่ต้องฉีดกระตุ้นซ้ำ
    สำหรับการให้วัคซีน HPV แบบ 2 เข็ม ข้อมูลในปัจจุบันพบว่า น่าจะเพียงพอในผู้หญิงที่อายุยังน้อย โดยแนะนำให้ใช้ในผู้หญิงอายุ 9-15 ปีเท่านั้น โดยสาหรับบุคคลที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำยังคงต้องได้รับวัคซีน 3 เข็ม

    ถาม ใครควรจะฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกบ้าง
    ตอบ ในทางอุดมคติ ควรเริ่มให้วัคซีนตั้งแต่ก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อย่างไรก็ตามในผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อนการได้รับวัคซีนก็ยังพบว่ามีประโยชน์ ตามแนวทางปฏิบัติแล้วคือ

    • แนะนำให้ฉีดในเด็กหญิงอายุ 11-12 ปีทุกราย หรือสามารถเริ่มให้วัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป
    • การให้วัคซีนแนะนำในเด็กหญิงและผู้หญิงอายุ 13-45 ปีที่ไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน โดยจากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงอายุ 9-45 ปีพบว่าวัคซีนสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง

    สำหรับผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรมีการคุยระหว่างแพทย์และผู้รับบริการถึงความเสี่ยงที่ผู้รับบริการอาจเคยได้รับเชื้อ HPV มาก่อนและประโยชน์ที่จะได้รับจากวัคซีน ผู้รับวัคซีนต้องทำความเข้าใจว่า วัคซีนไม่สามารถกาจัดเชื้อไวรัส HPV ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันพบว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการฉีดวัคซีน สำหรับประเทศไทย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ดำเนินโครงการฉีดวัคซีน HPV ฟรีให้กับนักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นวัยเหมาะสมที่สุดในการรับวัคซีนนี้แล้ว โดยเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2560

    ถาม ทำไมวัคซีนมะเร็งปากมดลูกจึงแนะนำให้ใช้ในเด็ก
    ตอบ เนื่องจากวัคซีนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในเด็กหรือผู้หญิงที่ไม่เคยได้รับการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่วัคซีนครอบคลุมมาก่อน ดังนั้นเด็กหญิงและผู้หญิงที่ไม่เคยติดเชื้อเหล่านี้ก็จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีน
    ถาม กลุ่มที่ไม่ควรรับวัคซีน
    ตอบ ไม่ควรฉีดวัคซีนหากยังมีอาการเจ็บป่วยหรือมีประวัติแพ้ยีสต์หรือตั้งครรภ์อยู่
    ถาม ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วจะได้ประโยชน์จากวัคซีนหรือไม่
    ตอบ ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ยังคงได้รับประโยชน์จากการฉีดวัคซีนอยู่ แต่อาจจะน้อยกว่า เนื่องจากผู้หญิงเหล่านี้อาจจะเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว
    Gardasil และ Cervarix จะป้องกัน HPV จำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อ HPV หลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-45 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
    ถาม วัคซีนมีความปลอดภัยหรือไม่
    ตอบ มีการศึกษาว่าวัคซีนมีความปลอดภัยค่อนข้างมาก ไม่พบว่ามีไวรัสที่มีชีวิตเหลืออยู่ในวัคซีน ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังฉีดยาคือ มีแดงและเจ็บบริเวณที่ฉีดยา อาการปวดหัว (คล้ายกับจะเป็นไข้หวัด) ก็พบได้บ่อย อาจพบมีไข้ได้ อาการปวดและมีไข้สามารถบรรเทาโดยการให้ยาได้ แต่ก็คล้ายคลึงกับยาทั่วไปก็คือยังคงต้องเฝ้าระวังความปลอดภัยในการใช้วัคซีนต่อไป
    ถาม มีวัคซีนสาหรับเด็กชายหรือผู้ชายหรือไม่
    ตอบ ขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ผู้ชายก็สามารถฉีดวัคซีน HPV ได้ เพราะแม้จะไม่มีโอกาสเป็นมะเร็งปากมดลูก แต่หากไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีเชื้อ HPV แล้วได้รับเชื้อมา ก็สามารถแพร่เชื้อต่อไปยังคู่นอนคนอื่นได้เช่นกัน ซึ่งในต่างประเทศมีการรณรงค์ให้ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV ทั้งในเพศหญิงและเพศชายบ้างแล้ว เช่น องค์กรควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้เด็กชายอายุ 11-12 ปี ฉีดวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เพื่อป้องกันโรคหูดหงอนไก่และมะเร็งทวารหนัก
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจะมีเพศสัมพันธ์ได้เลยไหม
    ตอบ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ แต่ควรคุมกาเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ เช่น การใส่ถุงยางอนามัย จนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน เพราะความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเกิดขึ้นภายใน 1 เดือน หลังฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม
    ถาม หลังฉีดวัคซีนแล้วจำเป็นต้องตรวจหามะเร็งปากมดลูก (PAP smear) อีกหรือไม่
    ตอบ ปัจจุบันยังคงแนะนำให้ปฏิบัติตามแนวทางตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามปกติ
    ถาม การป้องกันมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีต่างๆ
    ตอบ HPV แพร่กระจายผ่านการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ HPV ทำได้โดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจำกัดจานวนคู่นอน การไม่สูบบุหรี่ก็จะช่วยได้เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกถึงสองเท่า
    ในการค้นหารอยโรคก่อนการเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ผู้หญิงควรตรวจภายในประจำปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติที่อาจเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
    ถาม ถุงยางอนามัยกับการแพร่เชื้อ HPV
    ตอบ การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อ HPV อย่างไรก็ดีเนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของ HPV ได้ทั้งหมด มันจึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกัน HPV ได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อ HPV นั้นควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
    ถาม จะรู้ได้อย่างไรว่ามีการติดเชื้อ HPV
    ตอบ ในคนที่ติดเชื้อ HPV ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการผิดปกติ หนทางเดียวที่จะทราบได้ว่าคุณมีเชื้อ HPV ก็คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก หรือใช้อุปกรณ์สำหรับตรวจด้วยตนเองที่บ้าน การติดเชื้อ HPV ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกไปเป็นรอยโรคก่อนการเป็นมะเร็งหรือมะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV อาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก ซึ่งก็คือความสำคัญว่าทาไมจึงจำเป็นต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    ถาม HPV สามารถรักษาได้หรือไม่
    ตอบ ในปัจจุบันไม่มีการรักษาสำหรับไวรัส แต่มีการรักษาสำหรับการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่เกิดจาก HPV
    สรุป
    คุณผู้หญิงควรตรวจภายในประจาปีและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ซึ่งการตรวจจะทำให้สามารถพบปัญหาก่อนที่จะเกิดโรคในระยะก่อนมะเร็งได้ การติดเชื้อ HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 90% นอกจากนี้ควรไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการผิดปกติ เช่น มีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ช่วงใกล้วัยหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว มีตกขาวกลิ่นเหม็นหรือมีเลือดปน ปวดท้องน้อย หรือ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (HPV)

    อาหารบำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอด

    อาหารบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอด คุณแม่หลายท่านที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะนมแม่คืออาหารที่มีประโยชน์และดีที่สุดสำหรับทารก หากอยากมีน้ำนมไหลออกมามากเพียงพอเพื่อทารกน้อย มาดูกันนะคะว่าคุณแม่ควรกินอาหารประเภทใดบ้าง #โรงพยาบาลบางโพ #คุณแม่มือใหม่ #รักลูก #นมแม่

     

    10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ

    10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ

    1. งด เพศสัมพันธ์
    ช่วง ท้องอ่อนๆ หรือ 3เดือน แรกและช่วงใกล้คลอดหรือ 3 เดือน ท้ายของการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแท้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
    2. งดกินยา ที่มีส่วนผสมของ Vitamin A
    Formของวิตามิน เอ ที่เราต้องระวังคือ Isotretinoin และ Etretinate เพราะเป็นสารที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ X นั่นคือ ยาทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ได้ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ไม่มีรูเปิดทวาร น้ำคั่งในโพรงสมอง โดยisotretinoin มักอยู่ในสูตรยา ของการรักษาสิว เพราะฉะนั้นหากตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์เมื่อไปรับการรักษาสิว และควรหยุดยาหากวางแผนจะตั้งครรภ์ส่วน Etretinate จะเป็นส่วนผสมของยาที่ใช้รักษาโรค Psoriasis หรือสะเก็ดเงิน หากใช้ยาตัวนี้อยู่ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 ปีก่อนตั้งครรภ์
    3. งดการสัมผัสกับ คนที่มีโรคเช่น อีสุกอีใส หัดเยอรมัน
    โดยเฉพาะ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีภูมิมาก่อน เพราะหากติดเชื้อเหล่านี้จะทำให้เด็กพิการได้ เพราะฉะนั้นหากจะไปไหนในที่ชุมชนควรใส่หน้ากาก และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนที่เป็นโรคดังกล่าว
    4. ห้าม x-ray
    หากตั้งครรภ์พบว่า อายุครรภ์ช่วง 10-17 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองของทารกในครรภ์ไวต่อรังสี x-ray โดยปริมาณที่ได้รับรังสีเมื่อถ่ายภาพ x-ray ไม่ควรเกิด 5 rad ดังนั้นกรณีจำเป็นต้อง x-ray ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่เพราะ จะมีเครื่องมือที่ใช้ บังท้อง เพื่อลดการได้รับรังสี อย่างไรก็ตาม ปริมาณรังสีที่ได้รับ เมื่อถ่ายภาพ x-ray ตามอวัยวะต่างๆของร่างกายแตกต่างกัน และส่วนใหญ่ ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อครั้ง น้อยกว่า 5 rad
    5. ห้ามดื่มกาแฟ เกินขนาด
    กาแฟ หรือ caffeine มีฤทธิ์กระตุ้นความดัน และ การเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ ยังสามารถผ่านรก เข้าสูทารกในครรภ์ได้ การดื่มกาแฟหรือสารที่มีกาแฟเป็นองค์ประกอบเช่น ชา โคล่า จึงมีข้อจำกัด คือไม่ควรดื่มกาแฟในขนาดที่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือ 1 แก้วขนาด 12 ออนซ์
    6. ห้ามโดยสารเครื่องบินในช่วงอายุครรภ์ใกล้คลอด
    โดยแต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดต่างกัน ขึ้นกับ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง อายุครรภ์ และโรคประจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน นกแอร์
    • อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ : สายการบินอนุญาตให้เดินทางได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
    • อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ : ผู้โดยสารต้องแสดงใบรับรองแพทย์ที่รับรองว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้
    • อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ : สายการบินปฏิเสธการให้บริการ
    ทั้งนี้ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินช่วงใกล้คลอด หากเกิดการเจ็บครรภ์คลอด จะมีข้อจำกัดในการดูแลรักษา บนเครื่อง และส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
    7. การสัมผัสแมว ต้องระวัง
    โดยเฉพาะการทำความสะอาดมูลแมว มูลแมวมีส่วนประกอบของ Toxoplasmosis ซึ่ง เป็นเชื้อปรสิตชนิดหนึ่งที่มีแมวเป็นพาหะนำโรค เชื่อชนิดนี้สามารถผ่านรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อเกิดโรค Congenital Toxoplasmosis โดยจะมีผลต่อระบบ ประสาท การมอง การได้ยิน ตับม้ามโต ตัวเหลือง หัวโต รกใหญ่
    8. ห้ามอบซาวนา แช่ออนเซ็น
    หนึ่งในปัจจัยเสี่ยง ของการเกิด neural- tube defect หรือภาวะ หลอดประสาทไม่ปิดของทารกในครรภ์ คือการที่หญิงตั้งครรภ์อยู่ในภาวะ hyperthermia คือภาวะที่มีความร้อนสูง เช่นการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า ดังนั้นช่วง3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายทารกกำลังสร้างหลอดประสาทนี้ หญิงตั้งครรภ์ควรงดการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า
    9. ห้าม ดื่มนมวัวทุกวัน
    นมวัวมีโปรตีน เช่น อัลฟา เบต้า เคซีน เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารเหล่านี้จัดเป็นสารแปลกปลอม (antigen) การที่หญิงตั้งครรภ์ ดื่มนมวัวปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายเด็กได้รับ antigen เหล่านี้เยอะ จนร่างกายสร้าง antibody มาต่อต้าน โปรตีนจากนมวัว เมื่อเด็กคลอดมา จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแพ้นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัวดังนั้น ปัจจุบันจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มนมวัวสลับกันนมถั่วเหลือง เพื่อลดการเกิดปัญหาดังกล่าว
    10. ห้ามฉีดวัคซีน ตัวเป็น
    วัคซีนตัวเป็น หรือ live vaccine คือ วัคซีนที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงจนไม่ก่อโรคในร่างกายของเรา แต่สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้ เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส ไข้เหลือง (Yellow Fever) บีซีจี (ป้องกันวัณโรค) โปลิโอชนิดกิน ดังนั้น หากมีแผนการ จะตั้งครรภ์ ควรวางแผนฉีดวัคซีนเหล่านี้ คือ MMR ( หัด หัดเยอรมัน คางทุม) และวัคซีนอีสุกอีใสก่อน เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้ จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์พิการได้
    ส่วนวัคซีนชนิดตัวตาย ( Inactivated Vaccines) สามารถฉีดได้ตามปกติ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ไอกรน ไข้หวัดใหญ่
    อ้างอิง
    www.aafp.org
    (http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/caffeine-during-pregnancy/)

    โปรแกรมและแพ็คเกจ