ปักหมุด ที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง

ปักหมุดที่เที่ยววันเด็ก 2567 รอบกรุง
“วันเด็ก” เป็นวันสำคัญของเด็กๆ และคุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัว เพราะนอกจากเด็กๆ จะได้สนุกสนาน สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการแล้ว คุณพ่อคุณแม่ยังได้ย้อนวันเวลาเป็นเด็กอีกครั้ง ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 13 มกราคม ซึ่ง นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบคำขวัญวันเด็ก 2567 ว่า "มองโลกกว้าง คิดสร้างสรรค์ เคารพความแตกต่าง ร่วมกันสร้างประชาธิปไตย"
วันเด็กทุกๆ ปี ทั้งราชการและเอกชนหลายๆ แห่งจะมีการจัดกิจกรรมสนุกๆ สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการ รวมถึงรับของแจกมากมาย เพื่อส่งมอบความสุขควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี แล้วกิจกรรมหรือการเล่นแบบไหนเสริมพัฒนาการด้านใด แลมีที่ไหนบ้าง เราปักหมุดมาให้แล้วค่ะ
  • กิจกรรมการระบายสี การวาดรูป ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
  • กิจกรรมการอ่าน การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ สร้างจินตนาการ สร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ที่ดีที่สุด
  • กิจกรรมการปีนป่าย รวมถึงการปั่นจักรยาน เด็กชอบที่จะปีนป่าย จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกาย
  • กิจกรรมการทำอาหาร หรือ กิจกรรมเลียนแบบอาชีพต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกายและสังคม กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นพากเพียร จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ โดยตั้งแต่กระบวนความคิด การวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน และการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing)
null
กิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก"
วุฒิสภา สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) พบกับกิจกรรม "NASAPA Land ดินแดนผู้พิทักษ์โลก" เตรียมกับกับกิจกรรมสุดว้าว ได้แก่
  • กิจกรรม DIY Workshop แต่งตัวให้กระต่ายสุดน่ารัก
  • ทำความรู้จักสัปปายะสภาสถาน
  • เรียนรู้วิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • เยี่ยมชมห้องประชุมวุฒิสภา
  • ตอบคำถามลุ้นรับรางวัลมากมาย
null
กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร)
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 1 (จตุจักร) ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. สามารถลงทะเบียนได้ที่
ช่องทางลงทะเบียน
  1. On-site : สามารถลงทะเบียน ณ จุดลงทะเบียนได้ที่หน้างาน ตั้งแต่เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป
  2. On-line : สามารถลงทะเบียนผ่าน Google Forms ได้ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2567 (เริ่มลงทะเบียน 10.00 น. เป็นต้นไป ) ถึง 7 มกราคม 2567 (สิ้นสุดการลงทะเบียน 16.00 น.) ลงทะเบียนที่นี่ : ฟอร์มลงทะเบียน
ที่มา : กิจกรรม "รักษาสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/bkkchildrensmuseum
null
กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สภากาชาดไทย
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ บริเวณโถงอาคารสิรินทรานุสรณ์ 60 ปี สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ ภายในงานพบกิจกรรมจากพี่ๆ หน่วยงานภายในสภากาชาดไทย พร้อมของแจกของรางวัลพิเศษมากมาย
ที่มา : กิจกรรม "เด็กไทยหัวใจ Volunteer"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/ThaiRedCrossSociety

null
ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 จัดขึ้นในวันที่ 12-13 มกราคม 2567 ที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ถนนโยธี วันที่ 12-14 มกราคม 2567 ที่ ศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ชั้น 5 กรุงเทพฯ และวันที่ 13 มกราคม 2567 ที่องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี นอกจากนี้ ยังกระจายความสนุกไปทั่วประเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏอีก 16 แห่ง และวิทยาลัยชุมชนกว่า 20 แห่ง พร้อมด้วยหน่วยงานตามภูมิภาคต่าง ๆ ยกทัพความสนุกรวมกว่า 46 แห่งทั่วประเทศ
กิจกรรมในงานครอบคลุมทุกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับมัธยมศึกษา กิจกรรมในงานเน้นให้ผู้เข้าร่วมได้ลงมือทำจริง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและปลูกฝังให้เด็ก ๆ และเยาวชนมีความสนใจในวิทยาศาสตร์
ที่มา: ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2567
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/scienceavenue
null
กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันที่ 13 มกราคม 2567 พบกับความสนุกสนานในงานวันเด็กแห่งชาติ “เมล็ดพันธุ์ของพระราชา” สนุกกับเกมและกิจกรรม Walk rally วิถีเกษตร พร้อมตะลุยภารกิจพิชิต 20 ฐานการเรียนรู้ อาทิ จักรยานสูบน้ำ ปลูกผักกลับบ้าน ต่อวงจรโซลาร์เซลล์ ตามล่าหาเมล็ดพันธุ์ นาปาเป้า หนูน้อยจ่ายตลาด คีบเมล็ดพันธุ์ พลังงานเท้าเหยียบ และกิจกรรมมากมายพร้อมลุ้นรับของรางวัล ภายในงานพบกับประธานบริษัทตัวจิ๋ว กว่า 50 ร้านค้า ในตลาดค้าขายชาวฟันน้ำนม พร้อมอิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่มมากมาย พลาดไม่ได้กับชม ช้อป สินค้าผลผลิตปลอดภัยจากร้านค้าเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ กว่า 100 ร้าน วันที่ 13 – 14 มกราคม 67 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี
ที่มา: กิจจกรรม "เมล็ดพันธุ์ของพระราชา"
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/WisdomKingMuseum
null
Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
TK Park
เชิญร่วมงานวันเด็ก 2567 วันที่ 13 มกราคม ณ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภายในพบกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น
  • เกมสร้างสรรค์ตะลุยแดนอาหารไทย มาเติมอาหารสมอง ลุ้นรางวัลพิเศษมากมายจากผู้ใหญ่ใจดี
  • ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตะลุยแดนอาหารไทยกันได้กับสื่อสาระท้องถิ่นจาก TK Park บนแอป TK Read
  • เพลิดเพลินกับการแสดงและบูธกิจกรรมจากผู้ใหญ่ใจดีที่มาเติมพลังความสนุกให้เด็กๆ
  • พิเศษ ! เฉพาะวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2567 น้อง ๆ ที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี พร้อมผู้ปกครอง 1 ท่าน เข้าฟรี
ที่มา: Foodventure ตะลุยแดนอาหารไทย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ facebook: facebook/tkparkclub

ดาวน์ซินโดรม (down syndrome) …รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) ...รู้ก่อนได้ เพื่อเตรียมพร้อมการดูแล

Down Syndrome
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม ( Down syndrome) กลุ่มอาการดาวน์เป็นภาวะโครโมโซมผิดปกติ และเป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการมีโครโมโซม 21 เกินมาทั้งอันหรือบางส่วน ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีพัฒนาการล่าช้า มีใบหน้าเป็นลักษณะเฉพาะ (หน้าตาของเด็กดาวน์ จะมีดวงตาทั้ง 2 ข้างเฉียงขึ้น หัวคิ้วด้านใกล้จมูกหนาตัวขึ้น ม่านตามีจุดสีขาว สันจมูกแบน ปากเปิดออก ลิ้นมักจะจุกอยู่ที่ปาก หูมีขนาดเล็ก รอยพับของหูมีมากกว่าปกติ รูปร่างจะมีระยะห่างระหว่างหัวนมใกล้กว่าเด็กทั่วไป มือสั้นและกว้าง ลักษณะนิ้วและลายมือ ไม่เหมือนเด็กปกติ ศีรษะเล็ก กะโหลกศีรษะด้านหลังแบน เมื่อเติบโตขึ้นก็จะตัวเตี้ยและส่วนใหญ่จะอ้วน) และมีความพิการทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง ระดับเชาวน์ปัญญาโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอยู่ประมาณ 50 เทียบเท่ากับเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ดีระดับสติปัญญาของผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันได้มาก

ใครที่เสี่ยงตั้งครรภ์ทารกดาวน์ซินโดรม
  • แม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมาก ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมสูงถึง 1 ใน 250 และยิ่งอายุของแม่มากเท่าไหร่ ความเสี่ยงก็จะยิ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ตอนอายุต่ำกว่า 30 ปี จะมีความเสี่ยงไม่มากนัก
  • แม่ที่เคยคลอดบุตรคนก่อนเป็นดาวน์ซินโดรม หากตั้งท้องครั้งต่อไป ก็มีโอกาสที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมได้เช่นกัน
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น พี่น้อง หรือญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
  • ผลตรวจอัลตราซาวน์พบลักษณะที่บ่งชี้ว่าเป็นดาวน์ซินโดรม เช่น ทารกมีขาสั้น ลิ้นโตกว่าปกติ
คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา
  • โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis) 
  • ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา  แบ่งเป็น  2 แบบ
    • การตรวจสารเคมี
    • การตรวจ NIPT
การตรวจ ดาวน์ซินโดรของทารกในครรภ์ โดยการเจาะน้ำคร่ำ (Amniocentesis)
เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุด แต่ก็มีความเสี่ยง เกิดภาวะแทรกซ้อน 1 รายจากการตรวจ 200 ราย 
  1. การเจาะน้ำคร่ำ เป็นวิธีการเจาะเข้าไปในถุงน้ำที่ห่อหุ้มตัวทารกและดูดน้ำคร่ำนำมาตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมอื่นๆ
  2. วิธีการตรวจทำโดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะผ่านหน้าท้องของสตรีตั้งครรภ์และดูดน้ำคร่ำ (รายละเอียดตามเอกสาร ความรู้เรื่องการเจาะน้ำคร่ำ)
  3. ประโยชน์ของการตรวจเพื่อตรวจโครโมโซมของทารกในครรภ์หรือโรคทางพันธุกรรมบางโรค (เฉพาะในกรณีที่เป็นข้อบ่งชี้ของการตรวจ)
  4. ข้อจำกัดของการตรวจ
                    - บางครั้งไม่สามารถดูดน้ำคร่ำมาตรวจได้หรือการเพาะเลี้ยงเซลล์ในน้ำคร่ำอาจไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ไม่สามารถทราบผลการตรวจ
                    - แม้ว่าผลการตรวจจะเป็น “ปกติ” แต่ทารกอาจมีความพิการแต่กำเนิด หรือมีพัฒนาการช้า จากสาเหตุอื่น
  5. ภาวะแทรกซ้อน โดยทั่วไปการเจาะน้ำคร่ำเป็นวิธีการตรวจที่มีความเสี่ยงน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ ปวดเกร็งท้องเล็กน้อยหลังการเจาะ แต่บางครั้งอาจเกิดการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ การแท้งหรือเจ็บครรภ์ก่อนกำหนดได้ 1 ราย จากการตรวจ 200 ราย การตรวจอาจทำให้เกิดการสร้างภูมิต้านทานในผู้ที่มีกลุ่มเลือด Rh negative ซึ่งป้องกันได้ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ได้รับยาบางชนิด การตั้งครรภ์ที่ผิดปกติ เช่น ครรภ์แฝด อาจมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
ตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์จากการตรวจเลือดมารดา
  • โดยวิธีตรวจจากสารเคมี คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดกันมานานว่า เด็กดาวน์ (ปัญญาอ่อน) เกิดจากมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว เด็กดาวน์จำนวนมากเกิดจากมารดาที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี หากสำรวจเด็กดาวน์จำนวน 100 คน จะพบว่า เกิดจากมารดาอายุมากเพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น ที่เหลืออีกร้อยละ 70-75 เกิดจากมารดาที่อายุน้อย แม้ว่ามารดาอายุมากจะมีความเสี่ยงในการเกิดเด็กดาวน์มากกว่า แต่เนื่องจากมารดาอายุมากมีจำนวนน้อย ดังนั้นการตรวจน้ำคร่ำในมารดาที่มีอายุมากกว่า 35 ปี เท่านั้นจะสามารถป้องกันการเกิดเด็กดาวน์ได้เพียงร้อยละ 25-30 เท่านั้น เราสามารถตรวจคัดกรองทารกกลุ่มดาวน์โดยการตรวจเลือดมารดาในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สอง เพื่อให้ทราบว่า มารดามีความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดเด็กดาวน์ หากพบว่ามีความเสี่ยงสูง แพทย์จะแนะนำให้ทำการตรวจน้ำคร่ำต่อไป หากพบว่ามีความเสี่ยงต่ำ ก็อาจไม่คุ้มที่จะทำการตรวจน้ำคร่ำ
  • โดยวิธีการตรวจ NIPT
    ความผิดปกติของการมีโครโมโซมเกินมา 1 แท่ง (Trisomy) ในโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อย ซึ่งการตรวจ NIPT จะประเมินโอกาสเสี่ยงที่ทารกจะมีโครโมโซมผิดปกติ โดยการตรวจวิเคราะห์ปริมาณของ DNA ซึ่งอยู่ในพลาสมาของมารดาโดยใช้เทคโนโลยี high-throughput DNA sequencing ร่วมกับการใช้ชีวสารสนเทศขั้นสูงในการวิเคราะห์ข้อมูล และการตรวจ NIPT ไม่มีความเสี่ยงอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากทำโดยการเจาะเลือดมารดาเท่านั้น โดยมีอัตราการตรวจพบ และความแม่นยำของผลการตรวจมากกว่าร้อยละ 99
ข้อมูลทั่วไปของการตรวจ NIPT
  • วัตถุประสงค์หลักในการตรวจความผิดปกติของโครโมโซมชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21,18 และ13 ทั้งในครรภ์เดี่ยวและครรภ์แฝด
    สาหรับครรภ์เดี่ยวการตรวจนี้อาจตรวจพบความผิดปกติของโครโมโซมชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น Turner Syndrome (XO), ความผิดปกติอื่นๆ ของโครโมโซมเพศ, sub-chromosomal deletion และ duplication ซึ่งจะระบุไว้ในส่วน Additional Finding ข้อมูลจากผลการศึกษาวิจัยในปัจจุบัน แสดงว่าการตรวจ NIPT มีความแม่นยำสูงมาก สามารถตรวจพบความผิดปกติชนิด Trisomy ของโครโมโซมชุดที่ 21, 18 และ 13 ได้มากกว่าร้อยละ 99 และผลบวกลวงน้อยกว่าร้อยละ 1 แต่การตรวจนี้ถือเป็นเพียงการตรวจกรองเท่านั้น มิได้เป็นการตรวจเพื่อการวินิจฉัย กรณีที่ผลการตรวจกรองผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันโดยการตรวจโครโมโซมทารกเสมอ และในกรณีที่ผลการตรวจกรองเป็นปกติ ก็ไม่สามารถบอกว่าทารกมีโครโมโซมปกติได้ทั้งหมด

  • การตรวจนี้ หากตรวจขณะอายุครรภ์น้อยกว่า 10 สัปดาห์ อาจมีปริมาณ DNA ของทารกน้อยเกินไป ทำให้เกิดผลลบลวงได้ และการตรวจนี้ไม่สามารถแปลผลได้อย่างถูกต้องในกรณีดังต่อไปนี้ มารดามีโครโมโซมผิดปกติชนิดต่างๆ เช่น aneuploidy, mosaicism, chromosome microdeletion, microduplication และ multiple pregnancies เป็นต้น หากมารดาได้รับเลือด หรือ การปลูกถ่ายอวัยวะ หรือ การรักษาด้วยเซลล์ต้นกำเนิด อาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้จาก exogenous DNA

โปรแกรมและแพ็คเกจ

วันเด็กปี 2023 พาน้องเที่ยวที่ไหนดี

วันเด็กปีนี้ พาน้องเที่ยวที่ไหนดี

Children’s Day
ใกล้ถึง “วันเด็ก” วันสำคัญของเด็กๆ แล้วนะคะ ปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Children’s Day เด็กดี วิถีไทย” เพื่อส่งความสุขควบคู่กับการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ และลงมือปฏิบัติผ่านกิจกรรมที่เสริมสร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดี ตามคำขวัญวันเด็กประจำปี 2566 คือ “รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่ความดี” คุณพ่อคุณแม่หลายท่านรอคอยที่จะพาน้องไปทำกิจกรรมสนุกๆ สร้างจินตนาการและเสริมพัฒนาการรวมถึงรับของแจกตามพื้นที่มีการจัดงานวันเด็ก มาดูกันหน่อยวา่าการเล่นแบบไหนเสริมพัฒนาการด้านใด แล้วมีที่ไหนบ้างนะที่จัดกิจกรรมมาดูกันค่ะ
  • กิจกรรมการระบายสี การวาดรูป ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อมือทั้งมัดเล็กและมัดใหญ่ (Motor skill) และเป็นการฝึกการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตา
  • กิจกรรมการอ่าน การฝึกทักษะด้านภาษา การฝึกการมองภาพและการรู้จักสิ่งต่างๆ สร้างจินตนาการ สร้างความอบอุ่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกน้อยด้วย เป็นกิจกรรมกระตุ้น พัฒนาการเด็ก ที่ดีที่สุด
  • กิจกรรมการปีนป่าย รวมถึงการปั่นจักรยาน เด็กชอบที่จะปีนป่าย จะชอบสำรวจสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่ท้าทาย เป็นการพัฒนากล้ามเนื้อหลักๆของร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อแขนขาและยังช่วยฝึกทักษะการสร้างสมดุลของร่างกาย
  • กิจกรรมการทำอาหาร หรือ กิจกรรมเลียนแบบอาชีพต่างๆ ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการด้านร่างกายและสังคม กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นพากเพียร จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ โดยตั้งแต่กระบวนความคิด การวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน และการแก้ปัญหา เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ( Learning by doing )
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กระทรวงศึกษาธิการ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ในวันที่ 14 มกราคมนี้ บริเวณพื้นที่โดยรอบและภายในกระทรวงศึกษาธิการ
กิจกรรมฉลองวันเด็กแห่งชาติปีนี้ ได้รับความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนมากมายมาร่วมสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็กและเยาวชน และร่วมมอบความสุขแจกของขวัญ และมีกิจกรรมการแสดงบนเวที อาทิ การแสดงดนตรีของศิลปินชื่อดัง ร่วมเล่นเกมกับดาราศิลปิน การประกวดหนูน้อยแห่งวังจันทรเกษม ตอน ผ้าไทยใส่ให้สนุก เพื่อส่งเสริมสืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน
อ้างอิง : https://www.facebook.com/wwwmoegoth/
ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
จัดที่ ณ หน้าตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร สนุก ตื่นตาตื่นใจไปกับกิจกรรมมากมาย พร้อมรับของรางวัล ฟรีตลอดงาน
พบกับ
  • การแสดงทางท้องฟ้าจำลอง
  • การแสดงทางวิทยาศาสตร์ (Science Show)
  • เวทีหนูน้อยคนเก่ง
  • ฯลฯ
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ สนุกสนาน Walk Rally วิถีเกษตร วันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 8.00-15.00 น.
เรียนรู้พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา และตื่นตา ตื่นใจ ไปกันภาพแอนิเมชั่น 3 มิติ อิ่มอร่อยกับอาหารและเครื่องดื่ม จากผลผลิตการเกษตรมากมาย
อ้างอิง : www.facebook.com/WisdomKingMuseum
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร พร้อมจัดงานวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566 ระหว่างวันที่ 6-22 ม.ค. ที่พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ศูนย์เยาวชน และห้องสมุด
ปีนี้เน้นกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและเยาวชนรวมถึงปลูกฝังสร้างเสริมนิสัยรักการอ่านเพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ นำไปพัฒนาตนเอง รวมถึงแจกอาหารและขนมให้เด็กๆ ด้วย
อ้างอิง : www.facebook.com/bkkchildrensmuseum
กองทัพอากาศ
งานวันเด็กปีนี้ ของกองทัพอากาศ เตรียมตัวพบกับความตื่นเต้นเร้าใจของการแสดงภาคอากาศ​ เพื่อการแสดงการบินอย่างเต็มที่ และความปลอดภัยสูงสุด​ จัดที่โรงเรียนการบิน​ กำแพงแสน​ แล้วพบกันวันเสาร์ที่​ ​14 ม.ค.66 นี้
รอติดตามตารางการแสดง และตารางรถรับส่งได้ต่อไป
อ้างอิง : https://www.facebook.com/RTAFpage/
กองทัพบก Royal Thai Army
กองทัพบก จัดในวันเสารที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 08.00 – 16.00 น.ณ กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ (สนามเป้า)
กิจกรรมน่าสนใจในงาน ได้แก่ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ, การจัดแสดงยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก,นิทรรศการเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาทางทหาร, การแสดงดนตรีของวงดุริยางค์กองทัพบกและน้องๆจากโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์, การแสดงหุ่นละครเล็ก
พบปะศิลปินดารา น้องแดนไทย​ พี่คิดตี้​ พี่ต้าห์อู๋-พิทยา แซ่ฉั่ว สมาชิกวง LAZ1 วง​ Berry​ Berry​และ​ K.J.​ good​ boy​ ร่วมเล่นเกมส์ชิงรางวัลและรับของรางวัลมากมาย
แสดงหลักฐานการตรวจ ATK อย่างน้อย 12 ชั่วโมง ก่อนเข้างานด้วยนะจ้ะ …
? ในส่วนภูมิภาค มีการจัดกิจกรรมวันเด็กในพื้นที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน

อ้างอิง : https://www.facebook.com/armyprcenter/
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี
เตรียมตัวให้พร้อม!! “ถนนสายวิทยาศาสตร์ รับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2566” สนุกกับกิจกรรมเติมเต็มความสุขและความคิดสร้างสรรค์ให้กับคุณหนู ๆ มากมาย ‼
วันที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 8.30-17.00 น. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) คลองห้า ปทุมธานี
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ร่วมกับ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) ผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้ามหานคร (รถไฟฟ้า MRT) มอบความสุขให้เด็กๆ ด้วยการโดยสารรถไฟฟ้า ฟรี 2 สาย ได้แก่ MRT สายสีน้ำเงิน และ MRT สายสีม่วง ในวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และมีความสูงไม่เกิน 140 ซม. เพียงแสดงตัวที่ห้องออกบัตรโดยสารทุกสถานีเพื่อรับคูปองโดยสารรถไฟฟ้าฟรี และขอเชิญชวนน้องๆ ร่วมกิจกรรม “MRT ส่งความสุขรับวันเด็ก” ณ มิวเซียมสยาม พบกับกิจกรรมที่น่าสนใจ พร้อมรับของขวัญของรางวัลอีกมากมาย สามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ไปยังสถานีสนามไชย ทางออก 1 ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น.
สถาบันอุทยานการเรียนรู้ TK Park
TK Park เปิดพื้นที่ให้เด็กๆ มา “ปล่อยพลังไทย ตามใจคิด(ส์)” ที่ชั้น 8 สนุกกับเกมสร้างสรรค์จาก TK Park ที่ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้หลากหลายเรื่องราวไทยๆ ที่มีเอกลักษณ์ ทั้งวัฒนธรรม อาหาร ศิลปะการต่อสู้ เพื่อปลดปล่อยพลังความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับของเด็กๆ ขับเคลื่อน Soft Power ไทยต่อไปในอนาคต พร้อมรับกล่องสุ่มลุ้นรางวัลพิเศษมากมายจากผู้ใหญ่ใจดีกลับไปเติมพลังที่บ้าน และเพลิดเพลินกับการแสดงของเยาวชนที่จะมาปล่อยพลังคิด(ส์) พบกันวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566 เวลา 10.00 – 17.00 น. อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
พิเศษ!!! เด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน 14 ปี ที่แต่งชุดไทยมาร่วมงาน รับคูปองสมัครสมาชิกและต่ออายุสมาชิก TK Park ฟรี ที่จุดลงทะเบียน”
คุณพ่อคุณแม่จะพาน้องๆ ไปเที่ยวที่ไหนก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรระวังตลอดเวลา คือ อย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย พกแอลกอฮอล์ล้างมือไว้ใช้ตลอดเวลา หลังจากเกลับถึงบ้านก็ชำระร่างกายให้สะอาดด้วยนะคะ หากมีอาการปกติ เช่น ไอ จาม มีไข้ ให้สังเกตและเผ้าอย่างใกล้ชิดนะคะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

Checklist…โรคฮิตวัยซน

Checklist...โรคฮิตวัยซน

Childhood Hits Disease
 
Checklist…โรคฮิตวัยซน
ลูกเป็นดั่งดวงใจจองพ่อและแม่ ลูกในช่วงวัยทารกถึงวัยเด็ก เป็นช่วงวัยที่ต้องการ การเอาใจใส่ดูแลอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพ เพราะระบบภูมิต้านทานและอวัยวะในร่างกายของเด็ก ๆ นั้นเปราะบางไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ดังนั้นในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงหรือช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคมือเท้าปาก โรคอุจจาระร่วง ไข้ชัก เป็นต้น คุณแม่คุณพ่อจึงต้องดูแลเป็นพิเศษ และหากพบอาการผิดปกติ ให้พบกุมารแพทย์ทันที

Checklist…โรคฮิตวัยซน

เลื่อนซ้าย ขวา เพื่อดูข้อมูล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

Child's delayed language or speech development
ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งหน้าตั้งตารอคอย เวลาลูกเรียกหาเราคงจะยิ้มหน้าบานไม่หุบเลย แต่ เอ๊ะ! ทำไมลูกเรายังไม่เรียก “พ่อ” “แม่” ซักที อย่างนี้ผิดปกติรึเปล่านะ? เราไปหาคำตอบกันค่ะว่าลูกพูดช้าแบบไหนต้องรีบใส่ใจพามาหาหมอ
ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ ?
ช่วงอายุ
ข้อควรสังเกต
แรกเกิด – 4 เดือน
ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี
อายุ 5 - 7 เดือน
ส่งเสียงน้อย หรือไม่ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู
อายุ 8 - 12 เดือน
ไม่หันหาเสียง ไม่ทำเลียนเสียงพยัญชนะอื่นนอกจาก “อ”
อายุ 15 เดือน
ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 คำ
อายุ 18 เดือน
ไม่เข้าใจหรือทำตามคำสั่งอย่างง่าย ไม่พูดคำที่มีความหมาย 3 คำ
อายุ 2 ปี
ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องกัน พูดคำศัพท์ได้รวมน้อยกว่า 50 คำ
อายุ 2 ปีครึ่ง
ไม่พูดเป็นวลียาว 3-4 คำ ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
อายุ 3 ปี
ไม่พูดเป็นประโยคสมบูรณ์ คนอื่นฟังภาษาที่เด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
อายุ 4 ปี
เล่าเรื่องสั้นๆไม่ได้ คนอื่นยังฟังภาษาที่เด็กพูดได้ไม่เข้าใจเกินร้อยละ 25
ถ้าลูกรักเข้าข่ายเฝ้าระวังข้างต้นแล้วละก็ อย่ารอช้ารีบพามาพบกุมารแพทย์เพื่อได้รับการตรวจพัฒนาการ ตรวจการได้ยิน และกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถติดตามดูพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการด้านอื่นๆของลูกด้วยตัวเองได้จากหนังสือคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ที่ได้รับแจกจากโรงพยาบาล หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QR codeนี้เลยค่ะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

Hand-Foot-and-Mouth Disease
             โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กและในที่อยู่รวมกันอย่างแออัดจะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้ มักระบาดในฤดูฝน แต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่นที่ผิวหนัง ทั้งสัมผัสโดยตรงและสัมผัสเชื้อทางอ้อม
             โรคมือ เท้า ปากเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจาก Enterovirus 71 อาจพบโรครุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น
การแพร่ระบาด และการติดต่อ
การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายใน ช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่น ที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วยและเกิดจากการ ไอจามรดกันโดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย และการติดเชื้อจากอุจจาระ
อาการของโรค
อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ เจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ทำให้ไม่กินอาหาร  หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆ ที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำใส ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก 1-2 วันจะเกิดผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า แขนขา และก้น ผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน ขาและก้น
อาการที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย
  1. มีไข้สูงนานเกิน 2 วัน
  2. อาเจียนมาก
  3. ซึม
  4. มือกระตุกคล้ายผวา
  5. เดินเซ ตากระตุก
  6. เจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
  7. หายใจหอบเหนื่อย
ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบพาบุตรหลานพบแพทย์ทันที
การรักษา
โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ในรายมีแผลที่ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆรสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ

ปัจจุบันมีวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสเชื้อเอนเตอร์โรไวรัส 71 หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี 71 ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อโรคมือ เท้า ปากรุนแรง โดยสามารถ

  1. ฉีดได้ในช่วงอายุ 6 เดือน - 5 ปี 11 เดือน
  2. ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน
  3. เด็กที่หายจากโรคมือ เท้า ปาก ประมาณ 1 เดือน
  4. เด็กที่ได้รับวัคซีนอื่นๆ ต้องเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มวัคซีนชนิดใหม่
การป้องกัน / การควบคุมโรค
โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
  • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
  • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร แยกของใช้ส่วนตัว
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
  • หลีกเลี่ยงที่มีคนมากและแออัด ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่น ลูกบิด โทรศัพท์
  • ไม่เล่นของเล่นร่วมกับผู้ป่วย คือ ต้องแยกผู้ป่วย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็กต้องดำเนินการ ดังนี้
  1. ปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว (ประมาณ 5 – 7 วัน)
  2. ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณห้องนํ้า ห้องส้วม สระว่ายนํ้า ครัว โรงอาหารบริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ทำความสะอาดก่อน แล้ว ตามด้วยน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้าง เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
  3. ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
  4. หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

ไข้ชักคืออะไร
โรคไข้ชัก (Febrile seizure หรือ Febrile convulsion) หมายถึง การชักที่พบกับไข้สูง เกิดในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ความผิดปกติของ
เกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชัก โดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
ใครมีความด้วยเป็นโรคไข้ชักบ้าง
  1. อายุที่พบบ่อย คือระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
  2. มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป (โดยเฉพาะใน 1-2 วันแรกของการมีไข้)
  3. มีประวัติไข้ชักในครอบครัว (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
การรักษา
ภาวะไข้ชักส่วนใหญ่สามารถหยุดชักเองได้ และป้องกันไม่ให้ชักซ้ำโดยลดไข้ ถ้าการชักไม่หยุดเองใน 3-5 นาทีแพทย์จะพิจารณาให้ยาไดอะซีแปม (Diaizepam) เพื่อหยุดชักในเบื้องต้น โดยอาจใช้การฉีดหรือสวนทางทวารหนัก
ในระยะยาวเนื่องจากไม่พบความผิดปกติทางสมองจากไข้ชักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชักในระยะยาว เว้นแต่เป็นผู้ป่วยที่ชักซ้ำหลายครั้งรวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง แพทย์อาจพิจารณาให้ยากันชักช่วงที่มีไข้
อันตราย
  • โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชัก
  • ถ้าเป็นไข้ชักไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำและไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชักพบว่า ไม่มีผลกับสมอง ระดับสติปัญญา พัฒนาการและพฤติกรรมในอนาคต
  • โอกาสเป็นโรคลมชักเท่าเด็กทั่วไป
  • ยกเว้น ถ้ามีไข้ชักหลายครั้ง ร่วมกับเป็นอายุ 12 เดือนและมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักก่อนอายุ 25 ปี ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาเพื่อช่วยลดระยะเวลาของไข้
เกิดไข้ชักซ้ำได้หรือไม่
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 50
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 30
  • ไข้ชักมาแล้ว 2 ครั้งมีโอกาสชักครั้งที่ 3 ร้อยละ 50
การป้องกันการชักซ้ำ
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง สามารถป้องกันการเกิดไข้ชักได้โดยรีบลดอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ซึ่งต้องทำลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
  • ให้ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ให้ขนาดที่พอเหมาะกับน้ำหนักตัวเด็กทันทีที่ทราบว่าไข้ขึ้น และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
  • ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
  • เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
  • ควรระมัดระวังการให้ยาลดไข้สูง ในกลุ่มไอบูโพรเฟนหรือยาแอสไพริน ในกรณีที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยชัก
แม้จะรับประทานยาลดไข้และเช็ดตัว บางครั้งยังเกิดอาการชัก ถ้าเด็กมีอาการชัก เกร็ง หรือกระตุก ให้ปฏิบัติดังนี้
  • พ่อแม่และผู้ปกครองที่พบต้องตั้งสติ อย่าตกใจ
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • ควรจับเด็กให้นอนตะแคงบนเตียงหรือพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจป้องกันการสำลักและระมัดระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก เพราะอาจทำให้เด็ก แขนหักหรือหัวไหล่หลุด
  • ถ้ามีลูกยางแดงให้ดูดน้ำลาย เสมหะออกจากปาก หลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว เอาปากประกบปากเด็กแล้วเป่าลมช่วยหายใจ
  • ถ้ามีเศษอาหารในปาก ให้ล้วงเศษอาหารออกจากช่องปากเพื่อป้องกันภาวะอุดตันในทางเดินหายใจ ระหว่างมีอาการชัก
  • หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามเอาช้อน นิ้วมือของแข็งงัดปากเด็ก เพราะอาจทำให้เยื่อบุช่องปากฉีกขาด ฟันหักขากรรไกรหัก และอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย
  • เด็กมักหยุดชักได้เอง
  • เช็ดตัวลดไข้
  • ให้ยาลดไข้ทันที ที่รู้สึกตัว
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม่

เปิดเทอมกับชีวิตวิถีใหม

Back to School new normal style

ใกล้เปิดเทอมแล้วจ้า แต่เปิดเทอมรอบนี้ไม่ธรรมดา เพราะเป็นปีที่มีโรคระบาดใหม่อย่าง COVID-19 ระบาดตั้งแต่ช่วงต้นปี แม้ว่าสถานการณ์ในประเทศไทยจะควบคุมได้ดีแต่ก็ต้องไม่ประมาท ใช้ชีวิตตามวิถีปกติใหม่ เด็กๆก็ต้องปรับตัวเช่นกัน คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมตัวลูกๆอย่างไรบ้าง เราไปดูกันเลย

  1. เกาะติดสถานการณ์ : คอยติดตามสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 อยู่เสมอ จะได้ทราบมาตรการจากทางการ และสอนให้ลูกรู้จักโรค COVID-19 อย่างถูกต้อง
  2. คัดกรอง : สังเกตอาการป่วยของลูก ถ้ามีอาการไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่รู้รสหรือกลิ่น ให้รีบแจ้งทางโรงเรียนทันทีและให้หยุดเรียนไว้ก่อน (ปัจจุบันขาดเรียนหรือกักตัวเด็กก็สามารถตามบทเรียนได้หลายช่องทาง ไม่ต้องกลัวตามเพื่อนไม่ทัน)
  3. หน้ากากอนามัยและของใช้ส่วนตัว : สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี และเตรียมของใช้ส่วนตัวไปใช้ที่โรงเรียนแทนการใช้ของส่วนกลาง เช่น ช้อนส้อม แก้วน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดมือ เป็นต้น
  4. ล้างมือบ่อยๆ : สอนลูกให้หลีกเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสใบหน้า ขยี้ตา หรือแคะจมูก ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยง
    ที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย และให้ล้างมือทุกครั้งที่จับบริเวณที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได และก่อนรับประทานอาหาร โดยล้างมือด้วยน้ำกับสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้น 70% ขึ้นไปอย่างน้อยนาน 20 วินาที (ร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์ 2 รอบ) และหลังกลับจากโรงเรียนให้รีบอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  5. เว้นระยะห่าง : หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดและเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1-2 เมตร ในการทำกิจกรรมระหว่างเรียน ช่วงพัก และหลังเลิกเรียน เช่น นั่งกินอาหาร ออกกำลังกาย เข้าแถวต่อคิว เป็นต้น
  6. ทำความสะอาด : ปลูกฝังให้หมั่นทำความสะอาดบริเวณที่สัมผัสบ่อยๆ และบริเวณที่ใช้ทำกิจกรรม รวมถึงอุปกรณ์การเรียน เช่น กระเป๋านักเรียน ผู้ปกครองอาจเตรียมแอลกอฮอล์สเปรย์สำหรับทำความสะอาดติดตัวไปโรงเรียนด้วยถ้าทำได้
  7. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง : เตรียมร่างกายลูกให้แข็งแรง กินอาหารครบ 5 หมู่ ที่สุก สะอาด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าลืมเพิ่มพลังด้วยอาหารมื้อเช้าก่อนเข้าเรียน (แนะนำให้รับประทานอาหารเช้าจากบ้าน หากจำเป็นต้องรับประทานที่โรงเรียนแนะนำให้จัดเตรียมเป็น Box set จากบ้านแทนการซื้อที่โรงเรียน)
  8. ความเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องน่าอับอาย : สอนลูกเสมอว่าไม่มีใครอยากป่วย ไม่ควรล้อเลียนความผิดปกติหรืออาการไม่สบายของเพื่อน เนื่องจากอาจจะทำให้เกิดความหวาดกลัวเกินเหตุ หรือเกิดการแบ่งแยก กีดกัน หรือตีตราในหมู่นักเรียน ควรแสดงความเห็นอกเห็นใจ
    ถ้าทำได้ตามนี้ ลูกๆก็จะมีเกราะป้องกันโรค COVID-19 พร้อมสำหรับเปิดเทอม เชื่อว่าไม่ยากเกินไปสำหรับทุกครอบครัว และอย่าลืมป้องกันโรคอื่นๆที่ขอให้ทุกท่านสุขภาพดี
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์

กุมารแพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลบางโพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

ระวังภัย ต้องใส่ใจยามปิดเทอม (การจมน้ำ)

“จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กช่วงปิดเทอมพบว่า
มีสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุดในทุกปี”

• ดูแลเด็กไม่ให้เล่นใกล้แหล่งน้ำ
• ถ้าเล่นน้ำต้องอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด
• จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย รั่วกันบ่อน้ำ ไม่ทิ้งถังน้ำ กาละมังน้ำ เพราะเด็กเล็กจมได้
• สอนเด็กเอาตัวรอดโดยการลอยตัว
• ย้ำกับเด็กเสมอว่า ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำโดยเด็ดขาด แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน ตะโกน โยน ยื่น
• ปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15.2 นอกจากนั้น เป็นการช่วยเหลือด้วยการจับเด็กอุ้มพาดบ่ากระโดดหรือกระแทก หรือเขย่าเพื่อเอาน้ำออก ซึ่งเป็นวิธีการ ปฐมพยาบาลที่ผิด **เรียนรู้BLS
• การจมน้ำจะแบ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กโต อายุระหว่าง 5-6 ปี จะจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง สระว่ายน้ำ ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้จงใจไปเล่นน้ำแต่ไปวิ่งเล่นบริเวณ
ใกล้แหล่งน้ำเกิดพลัดตกและจมน้ำเสียชีวิต สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ปล่อย คิดว่าลูกดูแลตัวเองได้ สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 1-4 ขวบ จะจมน้ำเสียชีวิตใกล้บ้าน เช่น บ้านอยู่ติดแหล่งน้ำ
• วิธีป้องกัน พ่อแม่ควรตระหนักในความเสี่ยง ถ้าเป็นกลุ่มเด็กโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-7 ขวบ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าไว้ว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสามารถว่ายน้ำได้ โดยสอนทักษะให้เขาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ซึ่งทางโรงเรียนควรมีส่วนร่วมช่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เรียนรู้ด้านความเสี่ยง การประเมินแหล่งน้ำว่าเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือผู้อื่นจาก การจมน้ำ สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอย่าลืมว่าเด็ก 5 ขวบ สามารถวิ่งเล่นนอกบ้านได้แล้ว หรือถ้าต่ำกว่า 5 ขวบ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรทำรั้วกั้นรวมทั้งหาคนดูแลที่ไว้ใจได้

คําแนะนํา
• 1. สํารวจแหล่งน้ำเสี่ยงรอบบ้าน ข้างบ้าน และในชุมชน (แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ คลอง ฯลฯ)
• 2. จัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น – ปักป้ายเตือน บอกถึงระดับความลึกของน้ำ หรือบอกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว (แหล่งน้ำ ที่เคยมีเด็กจมน้ำ) หรือสร้างรั้ว หรือฝังกลบหลุม/บ่อที่ไม่ได้ใช้ – จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก
• 3. สอดส่องดูแลและแจ้งเตือนภัยในชุมชน เช่น ประกาศเตือนผ่านเสียงตามสายในชุมชน คอยตักเตือน เมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลําพัง
• 4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
• 5. สอนให้เด็กรู้จักใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้ที่หาได้ง่าย เพื่อช่วยตนเองหรือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุ และนำติดตัว ไปด้วยหากต้องเดินทางไปใกล้แหล่งน้ำ
• 6. สอนให้เด็กรู้จักใช้ชูชีพเมื่อต้องโดยสารเรือ
• 7. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กตลอดเวลา เด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มองเห็น และสามารถเข้าถึง และคว้าถึงได้
• 8. ชุมชน/ท้องถิ่น/สถานศึกษา ควรจัดให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปได้เรียนวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การลอยตัวในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว และรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
• 9. เน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” โดยการตะโกนเรียกผู้ใหญ่ หรือใช้อุปกรณ์โยนหรือยื่นให้ผู้ประสบภัย

RSV ภัยร้ายของลูกรัก

ไวรัส RSV ภัยร้ายของลูกรัก

RSV Virus

ไวรัส RSV (RSV Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัย แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ จะให้คำแนะนำ และการป้องกันโรคนี้ค่ะ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโรค RSV โดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอ การรักษขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หายได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำหคัญ หากมีอาการแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease

 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง

อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน

การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน

การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ