โปรแกรมลดปวดด้วย Shockwave

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shockwave Therapy


ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ)

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shockwave Therapy

Shockwave Therapy
คลื่นกระแทก (Shockwave) ทางเลือกสำหรับผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง หลักการทำงานของเครื่อง Shockwave จะส่งคลื่นกระแทกที่ลึกและมีความถี่เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวด เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารมาลดอาการปวดในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ)
Shockwave ช่วยรักษาอาการอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดทางการแพทย์ นิยมใช้เทคโนโลยี Shockwave Therapy เพื่อรักษาอาการ 3 อาการหลักคือ
  1. อาการออฟฟิศซินโดรม
    อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขนขา ปวดกราม ต้นคอ ปวดข้อมือ ฝ่ามือ ไมเกรน อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave ปวดคอ บ่า ไหล่
  2. อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
    อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก อาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าในนักกีฬากระโดดสูง อาการปวดข้อไหล่ อาการปวดส้นเท้า อาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง อาการปวดข้อศอกด้านนอก
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จุดเจ็บได้รับการผ่อนคลาย สลายหินปูนในเส้นเอ็น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรก (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไป 1- 2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดอยู่ที่ 2-5 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
โปรแกรม Shockwave Therapy ลดปวดเรื้อรัง ด้วย Shockwave
อัตราค่าบริการ Shockwave
รายการ
จำนวน
ราคา
A
1,000 shot
800.-
B
1,500 shot
1,200.-
C
2,000 shot
1,600.-
D
2,500 shot
2,000.-
E
3,000 shot
2,400.-
เงื่อนไขการเข้ารับบริการ
  • ราคาแพ็กเกจรวมค่าประเมินอาการโดยนักกายภาพบำบัด
  • ราคาแพ็กเกจไม่รวมค่าตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ ในการเข้ารับบริการครั้งแรก
  • กรุณาใช้บริการภายใน 90 วัน นับจากวันที่ซื้อ แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
  • ขอสงวนสิทธิ์ใช้เฉพาะผู้ที่ชำระเงินเท่านั้น และไม่สามารถคืนเงินได
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วันนี้ - 31 พฤษภาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

รักษาอาการปวดเรื้อรัง Shock Wave Therapy

การรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shock Wave Therapy

Shock Wave Therapy
Shock Wave Therapy รักษาอาการปวดเรื้อรัง
คลื่นกระแทก (Shock Wave) เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงในการใช้รักษาคนไข้ที่มีอาการปวดระยะเรื้อรังที่ผ่านการรักษาต่างๆ มาแล้ว แต่ยังไม่ดีขึ้น โดยจะมีกระบวนการของการรักษาโดยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและลดอาการอักเสบได้ดี เครื่อง Shock Wave จะส่งคลื่นกระแทกได้ลึกและมีความถี่เข้าไปในบริเวณที่มีอาการปวดเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารมาลดอาการปวดในบริเวณกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีปัญหา จากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ทำให้ช่วยลดปวดได้สามารถเห็นผลได้ทันทีหลังรักษา (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) การใช้เครื่อง Shock Wave จึงเป็นทางเลือกในการรักษา
Shock Wave ช่วยรักษาอาการอะไรบ้าง
ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดทางการแพทย์ นิยมใช้เทคโนโลยี Shock Wave Therapy เพื่อรักษาอาการ 3 อาการหลักคือ
  1. อาการออฟฟิศซินโดรม
    อาการออฟฟิศซินโดรมเกิดจากการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ขาดการลุกออกจากที่นั่งเพื่อยืดเส้นยืดสายรวมถึงนั่งในท่าที่ผิดสรีระจะก่อให้เกิดอาการ ปวดหลัง ปวดคอ บ่า ไหล่ ปวดข้อมือปวดหลัง ปวดเอว ปวดแขนขา ปวดกราม ต้นคอ ปวดข้อมือ ฝ่ามือ ไมเกรน อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วย Shockwave ปวดคอ บ่า ไหล่
  2. อาการเส้นเอ็นอักเสบ
    อาการเส้นเอ็นอักเสบเกิดจากการใช้งานซ้ำที่ทำให้เกิดความเครียดต่อเส้นเอ็น อาการเส้นเอ็นอักเสบ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นหัวไหล่อักเสบจากหินปูนเกาะ เอ็นเข่าอักเสบ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ เอ็นร้อยหวายอักเสบ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ
  3. อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
    อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังเกิดจากการใช้มัดกล้ามเนื้อผิดท่าทางซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนเกิดความผิดปกติในการหดตัว อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น พังผืดทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา อาการปวดร้าวบริเวณสะบัก อาการเอ็นอักเสบเรื้อรัง อาการปวดข้อเข่าในนักกีฬากระโดดสูง อาการปวดข้อไหล่ อาการปวดส้นเท้า อาการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณสันหน้าแข้ง อาการปวดข้อศอกด้านนอก
นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ยับยั้งกระบวนการอักเสบ ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จุดเจ็บได้รับการผ่อนคลาย สลายหินปูนในเส้นเอ็น กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ จนเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่
ข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shock Wave
  • ห้ามรักษาเด็ก
  • ห้ามรักษาหญิงตั้งครรภ์
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • ห้ามรักษาคนไข้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพอง
  • ห้ามรักษาบริเวณที่เป็นเนื้องอก
  • ห้ามรักษาบริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท
ผลที่ได้จากการรักษาและระยะในเวลาการรักษา
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงเกือบ 50% หรือบางรายหายปวดหลังทำการรักษาในครั้งแรก (ในกรณีที่เป็นในระดับความรุนแรงเล็กน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ) จากนั้นควรเว้นระยะห่างการรักษาครั้งถัดไป 1- 2 สัปดาห์ เพื่อให้เวลาร่างกายซ่อมแซมการอักเสบเรื้อรังที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ โดยจำนวนครั้งในการรักษาทั้งหมดอยู่ที่ 2-5 ครั้งแล้วแต่ความรุนแรงของอาการ
ภาวะที่ควรงดโปรแกรมการรักษากายภาพบำบัด ได้แก่
  • หลังการรักษาด้วยการฝังเข็ม ฉีดยา
  • การผ่าตัดต้อหรือเลนส์ตาภายใน 1 เดือน
  • หลังทำเลเซอร์ดวงตา
  • หลังการอุดฟัน ถอนฟัน
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีอาการท้องเสีย อ่อนเพลีย
  • มีอาการเวียนศีรษะ อาเจียน
  • มีไข้ เป็นหวัด ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก
  • มีสัญญาณชีพผิดปกติ ดังนี้
    • ความดันโลหิต มากกว่า 160/100 mmHg หรือ น้อยกว่า 90/50 mmHg
    • อัตราการเต้นหัวใจ มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที หรือน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
    • มีไข้หรืออุณหภูมิร่างกาย มากกว่า 37.5 องศา
อ้างอิง:

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย - ทางเลือกใหม่ ลดปวดเรื้อรัง – ออฟฟิศซินโดรม ด้วย Shock Wave
มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก - เครื่องมือพิเศษ / การให้บริการพิเศษ
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ - รู้จัก Shockwave การรักษาด้วยคลื่นกระแทก บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.วีรยา กิ่งประทุม

พญ.วีรยา กิ่งประทุม
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.วีรยา กิ่งประทุม

WEERAYA GINGPRATUM, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู
    Physical Medicine and Rehabilitation 

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 17:00-20:00
SAT 13:00-17:00

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น
เวชศาสตร์ฟื้นฟู

พญ.สุพัฒนา ฉัตรร่มเย็น

SUPATTANA-CHATROMYEN, M.D.
Specialty
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟู

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตรแพทยเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 16:00-19:00

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง จากการทำงาน

อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อหลังตึงหรือมีอาการหลังแข็ง ตั้งแต่ล่างต่อชายโครงไปจนถึงส่วนล่างของแก้มก้น อาจมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาร่วมด้วย บางรายปวดจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ พบได้บ่อยในวัยทำงานและผู้สูงอายุ รวมถึงลักษณะงานที่ทำให้ปวดหลังได้แก่ คนที่ต้องทำงานประเภทแบกหาม ยกของหนักงานที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การยกของที่อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม งานที่ก้มๆ เงยๆ หรือบิดเอวเป็นประจำเป็นระยะเวลานาน คนที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือนั่งกับพื้นเป็นประจำ เช่น ขับรถ เป็นต้น
อาการปวดหลังสามารถแบ่งตามระยะเวลาได้ 3 ประเภท ได้แก่
  1. อาการปวดหลังแบบเฉียบพลัน (Acute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องน้อยกว่า 6 สัปดาห์
  2. อาการปวดหลังกึ่งเฉียบพลัน (Subacute low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 6 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 3 เดือน
  3. อาการปวดหลังเรื้อรัง (Chronic low back pain) คือ อาการปวดหลังอย่างต่อเนื่องมากกว่า 3 เดือน
การบาดเจ็บต่อโครงสร้างและเนื้อเยื่อต่าง ๆ บริเวณบั้นเอวเกิดขึ้นได้ 2 กรณี
  1. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่มากผิดปกติ ต่อโครงสร้างที่ผิดปกติ เช่น จากการถูกรถชน จากการถูกของแข็งมากระแทก
  2. การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทำที่ปกติ แต่โครงสร้างที่เริ่มเสื่อมทรุดโทรมหรือโครงสร้างส่วนนั้นยังไม่พร้อมรับแรงกระทำนั้นๆ เช่น กล้ามเนื้อและเอ็นที่ยังไม่ได้รับการอบอุ่นและยืดหยุ่นที่เพียงพอ
แล้วได้รับแรงกระชากทันที มีผลทำให้เกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็นได้ เช่น กรณีของกล้ามเนื้อเอวเคล็ดจากการทำงาน (back strain)
อาการปวดหลังจากการทำงาน
  1. กลุ่มอาการปวดหลังเฉียบพลัน เกิดจากการก้มยกของหรือการบิดเอวที่ผิดจังหวะ จะมีอาการปวดแบบกระจายบริเวณเอวส่วนล่าง หรือบริเวณแก้มก้นอาจร้าวไปบริเวณ ต้นขา แต่ไม่ถึงหัวเข่า และจะปวดมากขึ้นเมื่อเคลื่อนไหว หากได้พักหรือเคลื่อนไหวน้อยลงอาการปวดจะทุเลา
  2. กลุ่มอาการปวดร้าวไปที่ขา มีอาการคล้ายกับกลุ่มแรกแต่มีอาการปวดร้าวบริเวณน่องและปลายเท้า ซึ่งการปวดร้าวขึ้นกับรากประสาทที่เกี่ยวข้องอาการอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ อาการปวดตามแนวรากประสาท ซึ่งแสดงออกโดยผลตรวจด้วยการโยกขาที่เหยียดตรงในขณะที่ผู้ป่วยนอนให้ผลบวก อาจพบการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และอาการชาผิวหนังที่เลี้ยงด้วยรากประสาทที่เกี่ยวข้องตลอดจนอาการลดลงของปฏิกิริยา reflex หรืออาจมีอาการผิดปกติด้านการขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ ซึ่งเกิดจากการกดทับของรากประสาทกระเบนเหน็บหลายเส้น
  3. กลุ่มอาการปวดล้าบริเวณน่องขณะเดินและผู้ป่วยต้องหยุดเดินหลังจากเดินได้ระยะทางหนึ่ง กลุ่มนี้มักเกิดจากการตีบแคบของโพรงรากประสาท และความเสื่อมของกระดูกสันหลัง
การวินิจฉัยโรค
  1. ประวัติการทำงาน ลักษณะงานหรือท่าทางการทำงานที่มีกิจกรรมซ้ำในท่าเดิมต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น พนักงานออฟฟิศ นั่งทำงานทั้งวัน ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือ พนักงานที่ยกของหนักเป็นประจำ มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการปวดหลัง หรือการใช้ท่าทางในการยกของที่ผิด, อุบัติเหตุจากการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น พลัดตกหกล้ม การตกจากที่สูง
  2. การตรวจวินิจฉัยทางรังสี (Radiographic Investigation)
    ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างไม่มีความจำเป็นที่ต้องรับการตรวจภาพถ่ายทางรังสีทุกราย โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งมีอาการมาไม่นานและไม่รุนแรง ซึ่งภาพถ่ายทางรังสีแต่ละชนิดจะให้ข้อมูลและประโยชน์กับผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างต่างกันไป เช่น

    • Plain radiograph การ x-ray ธรรมดา เป็นขั้นแรกที่ควรส่งตรวจเนื่องจากสะดวกและราคาถูก สามารถให้ข้อมูลได้พอสมควร โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่มีลักษณะผิดรูปต่าง ๆ แต่ไม่สามารถดูความผิดปกติของหมอนรองกระดูก เส้นประสาทและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue)
    • Computerized Tomography (CT Scan) ภาพถ่ายทางรังสีด้วยวิธี CT Scan ใช้ดูโครงสร้างของกระดูกคล้ายกับการดู Plain film แต่มีความละเอียดกว่ามาก และมีการตัดภาพของแต่ละส่วนในระนาบต่าง ๆ ทำให้เห็นพยาธิสภาพของกระดูกได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามข้อเสียของ CT Scan คือไม่สามารถดูเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรวมถึงหมอนรองกระดูก
    • Resonance Imaging (MRI) การถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยการ x-ray คลื่นสนามแม่เหล็ก เป็นการส่งตรวจที่ให้ความละเอียดสูงสุดและสามารถให้มุมมองภายในของกระดูกสันหลังในทุกระนาบ สามารถดูได้ทั้งหมอนรองกระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก น้ำไขสันหลัง รวมทั้งสามารถบอกพยาธิสภาพได้ เช่น มีการอักเสบ หนอง เลือด เป็นต้น ดังนั้นการตรวจ MRI จึงเป็นการตรวจที่ดีที่สุดในการค้นหาความผิดปกติและช่วยวินิจฉัยโรคที่อยู่บริเวณกระดูกสันหลัง
การักษาและฟื้นฟูอาการปวดหลังส่วนล่าง


เมื่อปวดหลังส่วนล่างมีอาการรุนแรงหรือเป็นเรื้อรัง ควรเข้าไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุ และทำการรักษาต่อไป โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำทางเลือกที่เหมาะสมกับอาการและข้อจำกัดของคนไข้แต่ละคน เพื่อให้ได้การรักษาที่ตรงจุด สำหรับวิธีการรักษาก็จะมีตั้งแต่การใช้ยา และการรักษาโดยเวชศาสตร์ฟื้นฟู

  1. ยา การใช้ยากลุ่มบรรเทาอาการปวด ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดความปวดเส้นประสาทจะถูกจัดให้ตามความเหมาะสม และตามโรคที่คนไข้เป็น แพทย์จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับตัวโรคและข้อควรระวังในการใช้ยา
  2. กายภาพบำบัด มุ่งเน้นการดูแลรักษา แก้ไขความเจ็บปวดฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง ทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้สะดวกมากขึ้น สำหรับผู้ที่ปวดหลังส่วนล่าง ที่จะออกแบบโปรแกรมให้กับผู้ป่วยแต่ละคนโดยเฉพาะ ซึ่งมีหลายวิธีด้วยกันดังนี้
    • การประคบแผ่นร้อน
    • การลดปวดโดยใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น PMS, High Power Laser, Ultrasound และอื่น ๆ
    • การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
    • Manual technique และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย ปรับท่าทางให้ถูกต้อง
  3. การฉีดยาเข้าโพรงประสาท เพื่อลดการอักเสบของระบบประสาทเส้นนั้น ๆ
  4. การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างด้วยการผ่าตัดเป็นวิธีการรักษาขั้นสุดท้ายที่แพทย์จะแนะนำ เมื่อการรักษารูปแบบอื่นๆ ไม่ได้ผล
การป้องกัน
ปัญหาปวดหลังส่วนล่าง ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต ดังนั้น จึงเป็นโรคที่สามารถลดความเสี่ยงและป้องกันได้ เพียงแค่ต้องมีการดูแลตัวเองให้เป็นอย่างดี และเหมาะสม ดังนี้
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • ออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อหลังและแกนกลางลำตัวแข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เช่น การยกของหนักมากๆ และการยกให้ถูกวิธี
  • ไม่อยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ หากต้องนั่งทำงานทั้งวันควรเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง และหมั่นยืดเหยียดกล้ามเนื้อหลังและขา

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (NCV and needle EMG)

คือ การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า เพื่อการวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ประกอบด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (เรียกย่อว่า EMG หรือ Electromyography) และการตรวจความเร็วการนำสัญญาณประสาท (เรียกย่อว่า NCV หรือ Nerve conduction velocity)
ใช้ตรวจเพื่อการวินิจฉัยและบอกความรุนแรงในผู้ป่วยที่มีอาการสงสัย
  • โรคของไขสันหลังส่วนที่เรียกว่า Anterior horn cell เช่นโรค ALS
  • โรคของรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (์Neuromuscular junction) เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis : MG)
  • โรคของรากประสาทเช่น รากประสารทถูกกดทับ (Nerve root compression) จากกระดูกคอหรือหลังเสื่อม หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่น โรคเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบเรื้อรังหรือฉับพลัน ทำให้มีอาการชามือชาเท้า, โรคเส้นประสาทพิการแต่กำเนิด
  • โรคของกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ เป็นต้น
  • โรคเส้นประสาทคู่ที่ 7 อักเสบ (Bell’s palsy)
นอกจากนี้การตรวจ EMG, NCV ยังสามารถใช้ติดตามผลการรักษา และการฟื้นตัวของเส้นประสาทได้ด้วย
ข้อห้ามในการทำ EMG, NCV
โดยทั่วไปไม่มีข้อห้าม ไม่มีอันตราย มีผลข้างเคียงจากการตรวจน้อยมาก ตรวจได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่มีข้อจำกัดคือ
  • ผู้ป่วยที่แขน ขาบวม จะทำให้เข็มที่สอดเข้าไปไม่ถึงตำแหน่งชั้นกล้ามเนื้อ แต่จะไปอยู่ในเนื้อเยื่อที่บวมแทน จึงส่งผลให้ผลการตรวจผิดพลาด
  • ผู้ป่วยมีปัญหาเลือดออกง่าย เพราะอาจมีเลือดออกมากจากรอยที่สอดใส่เข็มตรวจ
  • มีการติดเชื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะการสอดใส่เข็มตรวจ อาจทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายได้
  • มีแผล หรือ ก้อนเนื้อบริเวณที่ตรวจ เพราะจะทำให้การแปลผลตรวจผิดพลาดได้
  • ผู้ป่วยไม่ให้ความร่วมมือ หรือ ไม่รู้สึกตัว จะตรวจไม่ได้ และ/หรือจะทำให้แปลผลตรวจผิดพลาดได้สูง
การเตรียมตัวล่วงหน้าก่อนตรวจ
โดยทั่วไปไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร หรือหยุดยาที่ทาน ยกเว้นกรณีทานยาละลายลิ่มเลือด และ/หรือ มีภาวะเลือดหยุดยาก และ/หรือ ทานยารักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง Myasthenia Gravis เช่นเดียวกับการตรวจในโรคอื่นๆคือ ผู้ป่วยต้องแจ้งแพทย์ พยาบาล ถึงโรคประจำตัว และยาที่ใช้อยู่ ผู้ป่วยควรแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย ถอด ใส่ ได้ง่าย รวมทั้งรองเท้าด้วย และไม่ควรใส่เครื่องประดับต่างๆมาในวันตรวจ
หลังตรวจต้องดูแลตัวเองอย่างไร
หลังตรวจ ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ ไม่มีผลข้างเคียง กลับบ้านได้เลย ใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ถ้ามีอาการผิดปกติ ซึ่งพบน้อยมากๆเช่น บริเวณที่ตรวจ บวม แดง หรือเลือดออกไม่หยุด ควรกลับมาพบแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ