นพ.ณัฐพล ลู่ชัยชนะ

นพ.ณัฐพล ลู่ชัยชนะ
ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ

นพ.ณัฐพล ลู่ชัยชนะ

NUTTAPHON LUCHAICHANA, M.D.
Specialty
  • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา Urology Surgery

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ทั่วไป คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
SAT 13:00 - 17:00 (เสาร์ที่ 2, 4)

นพ.อธิเชฐ แสวงเจริญ

นพ.อธิเชฐ แสวงเจริญ
ศัลยแพทย์ ทางเดินปัสสาวะ
ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยาขั้นสูง และปลูกถ่ายไต

นพ.อธิเชฐ แสวงเจริญ

ATICHET SAWAENGCHAROEN, M.D.
Specialty
  • ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ
  • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยาขั้นสูง และปลูกถ่ายไต

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พบ.) ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพทย์เฉพาะทาง สาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • แพทย์เฉพาะทาง อนุสาขาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยาขั้นสูง และปลูกถ่ายไต จากคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
TUE 17:00 - 20:00
SAT 13:00 - 17:00 เสาร์ที่ 1, 3, 5

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

ปวดชามือ นิ้วมือจากเส้นประสาทมีเดียนถูกกดบริเวณข้อมือ

CARPAL TUNNEL SYNDROME (CTS)
อาการปวดมือและชาตามนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บางรายปวดชาร้าวไปถึงข้อศอก บางครั้งจะมีอาการเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือลำบาก หรือหยิบจับของไม่ถนัด รู้สึกนิ้วมืออ่อนแรง ถ้าสะบัดมือจะรู้สึกอาการปวดชาน้อยลง บางรายรู้สึกปวดชามือตอนกลางคืน หรือตื่นนอน
สาเหตุ
เกิดจากใช้มือ ข้อมือทำงานเยอะ และเป็นเวลานาน ทำให้ผังพืดที่อยู่เหนือเส้นประสาทมีเดียนหนาตัว และอักเสบ กดรัดเส้นประสาทเมเดียน ทำให้ชาและปวดมือ เช่น การหิ้วของหนัก การตอกตะปู การพรวนดิน การรีดผ้าซักผ้า การใช้งานคอมพิวเตอร์ การขับมอเตอร์ไซด์ และการทำอาหาร เป็นต้น
การรักษา มีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  1. การพักมือ หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือ และกิจกรรมดังกล่าวข้างต้น และอาจใส่ที่ดามข้อมือ เพื่อลดอาการ
  2. การรับประทานยากลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
  3. การฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบและลดบวมของผังพืด
  4. การผ่าตัดเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในรายที่มีอาการเป็นมากหรือเป็นมานานเพื่อตัดพังผืดที่หนาตัว และกดทับเส้นประสาทมีเดียน เป็นการผ่าตัดเล็กไม่ต้องนอนพักโรงพยาบาล ไม่ต้องดมยาสลบ แผลผ่าตัดประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่บนรอยฝ่ามือ พักฟื้นประมาณ 10-14 วัน หลังตัดไหม สามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

มะเร็งเต้านม รู้ก่อน รักษาได้

Breast Cancer
มะเร็งเต้านมปัจจุบันพบมากเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทยการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง มะเร็งเต้านมอาจมีอาการได้หลายแบบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน  ดังนั้นสตรีทั่วไปจึงควรหมั่นคอยสังเกตอาการและตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่นแล้วมักมีผลการรักษาที่ไม่ดี
ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม

  • ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  • ผู้หญิงที่ประจำเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  • ตรวจพบมะเร็งเต้านมได้ตั้งแต่ระยะต้นๆ และได้รับการรักษาก่อนที่จะมีการลุกลามหรือกระจายไปยังอวัยวะอื่น
    การรักษาอย่างถูกต้องสามารถมีโอกาสหายขาดได้สูง

อาการผิดปกติของเต้านมที่อาจเกิดจากมะเร็งเต้านม
  • เต้านมโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
    ขนาดของเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะโตขึ้นข้างเดียว อาจเกิดจากการที่มีก้อนเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมที่โตขึ้นอย่างรวดเร็วในเต้านมข้างนั้น ทำให้เต้านมข้างนั้นมีขนาดโตมากกว่าอีกข้างหนึ่ง
  • รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป
    รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อน อาจเกิดจากการที่เคยมีการอักเสบของเต้านมมาก่อนแล้วเกิดการดึงรั้ง เต้านมผิดรูป นอกจากนี้อาจเกิดจากก้อนมะเร็งที่เต้านมทำให้รูปร่างของเต้านมเปลี่ยนแปลงได้
  • มีก้อนที่เต้านม
    การคลำเจอก้อนที่เต้านมเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ดังนั้นจึงแนะนำสตรีทั่วไปหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวเองเสมอ
  • มีรอยบุ๋มที่เต้านม
    การมีรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านมในผู้ที่ไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจเกิดจากมะเร็งเต้านมทำให้เกิดการดึงรั้งของเอ็นภายในเต้านมที่ยึดระหว่างผิวหนังกับทรวงอก เกิดเป็นรอยบุ๋มขึ้นที่ผิว
  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังเต้านม
    การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น อาการบวมแดง มีแผล อาจพบว่าเกิดจากการมีมะเร็งที่เต้านมลุกลามมาที่ผิวหนังทำให้เกิดการบวมแดงหรือบางครั้งอาจมีแผลร่วมด้วยและเป็นแผลที่รักษาไม่หาย  อาการบวมแดงของเต้านมยังอาจเป็นการแสดงของมะเร็งเต้านมชนิดลุกลามเฉพาะที่ซึ่งจะมีการบวมแดงของผิวหนังเต้านมเป็นบริเวณกว้างหรืออาจมีแผลร่วมด้วยก็ได้
  • มีแผลที่บริเวณหัวนม
    แผลที่เกิดที่บริเวณเต้านมหรือฐานหัวนมหรือฐานหัวนมนั้นอาจมีสาเหตุจากมะเร็งเต้านมชนิดหนึ่งเรียกว่า Paget disease of the nipple โดยจะเป็นแผลสีแดงที่บริเวณหัวนม
  • หัวนมบุ๋มเข้าไปในเต้านม
    การมีหัวนมที่บุ๋มเข้าไปในเต้านมโดยที่ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิดและไม่เคยได้รับการผ่าตัดที่เต้านมมาก่อน อาจมีสาเหตุมาจากมะเร็งเต้านมที่ลุกลามไปยังหัวนมและทำให้เกิดการดึงรั้งจนหัวนมบุ๋มลงไปได้ ซึ่งมักเกิดจากมะเร็งบริเวณใกล้กับหัวนม
  • การมีน้ำออกทางหัวนม
    อาการมีน้ำหรือน้ำนมออกทางหัวนมในผู้ที่ไม่ได้ให้นมบุตร อาจเป็นอาการหนึ่งของมะเร็งเต้านม ซึ่งมักสัมพันธ์กับความผิดปกติของท่อน้ำนมร่วมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ ลักษณะน้ำอาจเป็นสีเหลืองใสหรือเป็นน้ำปนเลือด
  • คลำพบก้อนที่บริเวณที่รักแร้
    นอกจากอาการที่เต้านมแล้ว ในบางครั้งมะเร็งเต้านมอาจตรวจไม่พบก้อนที่เต้านม แต่มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้และคลำพบได้ ซึ่งเกิดจากมะเร็งเต้านมกระจายไป
  • อาการเจ็บเต้านม
    อาการเจ็บเต้านมในบางครั้งอาจสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับรอบเดือน ในช่วงใกล้มีประจำเดือนหรืออาจเกิดจากการอักเสบติดเชื้อที่เต้านม แต่ในบางกรณีอาจพบว่าเป็นอาการของมะเร็งเต้านมและอาจพบก้อนที่เต้านมร่วมด้วย โดยมักเจ็บที่บริเวณก้อนที่พบ
ผู้ที่มีอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม จึงแนะนำว่าควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

พญ.สุภัทศิณี เกษรพิกุล

พญ.สุภัทศิณี เกษรพิกุล
ศัลยศาสตร์ทั่วไป

พญ.สุภัทศิณี เกษรพิกุล

SUPATSINEE KESORNPIKUL, M.D.
Specialty
  • ศัลยศาสตร์ทั่วไป
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) 
    คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตขั้นสูงวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก
    มหาวิทยาลัยมหิดล 
  • ประกาศนียบัตร ศัลยแพทย์ทั่วไป
    คณะแพทยศาสตร์ศิริราชศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 08:00 - 13:00
TUE 08:00 - 16:00
WED 08:00 - 16:00
THU 08:00 - 16:00
FRI 08:00 - 13:00
SUN 16:00 - 20:00

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก Trigger Finger

รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

อาการ
อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

 

การรักษาโรคนิ้วล็อก

การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

ถ้าอาการรุนแรงมาก

  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
  • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา

การเล่นกีฬาต่างๆ ถือเป็นกิจกรรมยอดฮิตในปัจจุบัน โดยเฉพาะการวิ่งมาราธอน การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายที่เป็นประโยชน์กับสุขภาพค่ะ แต่เราควรรู้และดูแลป้องกันตัวเองไม่ให้เกิดการบาดเจ็บกับร่างกายนะคะ

การบาดเจ็บที่เกิดจากการเล่นกีฬา เกิดจากอะไร?
และการดูแลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นทำอย่างไร?

พลโท นพ.ดุษฏี ทัตตานนท์
ศัลยแพทย์โรคกระดูกและข้อ
เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์และการกีฬา โรงพยาบาลบางโพ

#Bangpohospital #แบ่งกันฟัง