ทันตอุปกรณ์ รักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (OSA)

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง

ราคาเริ่มต้นที่ 12,000.-


ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง
สำหรับรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

Mandibular advancement device (MAD) for treating snoring and obstructive sleep apnea (OSA)

การใส่ทันตอุปกรณ์ คืออีกทางเลือกในการรักษานอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การใช้เครื่องมือปรับตำแหน่งขากรรไกร เพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจเปิดกว้างขึ้น จะทำให้สามารถช่วยลดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้

รศ.ทพ.ดร.ชิษณุ แจ้งศิริพันธ์
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมจัดฟันและสาขาทันตเวชศาสตร์การนอนหลับ

การใส่ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) จะช่วยเปิดทางเดินหายใจบริเวณคอหอยให้กว้างขึ้น ลดการสั่นสะเทือนของเนื้อเยื่อในลำคอซึ่งเป็นสาเหตุของเสียงกรน และยังช่วยลดการอุดกั้นทางเดินหายใจในผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเครื่องมือนี้จะใส่ในช่องปากขณะนอนหลับ โดยมีการออกแบบให้รองรับกับฟันบนและฟันล่างเฉพาะในแต่ละบุคคล จึงมีขนาดกะทัดรัดสวมใส่สบาย และเมื่อสวมใส่จะช่วยดันขากรรไกรล่างให้ยื่นไปด้านหน้าในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อช่วยเปิดทางหายใจให้โล่งขึ้น

ภาพตัวอย่างทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) ที่ช่วยในการรักษานอนกรน (OSA)
ภาพตัวอย่างทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่าง (MAD) ที่ช่วยในการรักษานอนกรน (OSA)

MAD เหมาะกับใคร?

  • ผู้ที่มีประวัตินอนกรนอย่างเดียว หรือนอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
  • ผู้ที่มีประวัตินอนกรนระดับรุนแรง แต่ไม่สามารถยอมรับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) ได้

ขั้นตอนการทำ MAD

  • ซักประวัติ ทำแบบสอบถาม ตรวจสภาพช่องปาก ถ่ายภาพรังสี พิมพ์ปาก และบันทึกการสบฟัน เพื่อวินิจฉัยโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง
  • หลังรับเครื่องมือและปรับตัวกับ MAD ที่ใส่เป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะทำนัดตรวจเพื่อประเมินผล และปรับอุปกรณ์
  • ตรวจติดตามอาการต่อเนื่องทุก 6 เดือน และอาจส่งต่อเพื่อให้แพทย์ทำการตรวจการนอนหลับเพื่อยืนยันผลการรักษาต่อไป
เริ่มต้นเพียง
12,000.-
แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การนอนหลับ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

Mandibular advancement device (MAD and obstructive sleep apnea (OSA)
ทันตอุปกรณ์ยื่นขากรรไกรล่างสำหรับรักษานอนกรนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
Mandibular advancement device (MAD) for treating snoring and obstructive sleep apnea (OSA)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(Sleep Apnea) คือ ความผิดปกติของการนอนหลับที่มีการหยุดและเริ่มต้นการหายใจซ้ำ ๆ กันเป็นวงจร สังเกตได้จากการกรนเสียงดังและอาการอ่อนเพลีย แม้ว่าจะได้นอนอย่างเพียงพอ โดย Obstructive Sleep Apnea(OSA) คือ ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการคลายตัวของกล้ามเนื้อคอ ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงหรืออุดตัน ส่งผลให้อากาศไม่สามารถเข้าสู่ปอดได้
ปัจจัยเสี่ยง
    ปัจจัยเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
ผลกระทบของ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับแบบอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea หรือ OSA)
  • ลดระดับออกซิเจนในเลือด (Hypoxia)
  • เพิ่มระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (Hypercapnia)
  • สะดุ้งตื่นจากการนอนหลับ
  • อดนอน อ่อนเพลียง่าย เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคในระบบไหลเวียนโลหิต
MAD เหมาะกับใคร
Mandibular Advancement Device หรือ MAD ให้ผลการรักษาได้ดีในผู้ป่วยที่นอนกรนอย่างเดียว หรือ นอนกรนร่วมกับหยุดหายใจขณะหลับระดับรุนแรงน้อยถึงปานกลาง (ค่าดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่วน้อยกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง) หรือในรายที่ระดับรุนแรง แต่ผู้ป่วยไม่สามารถยอมรับการใช้เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกได้
ภาพการใส่ทันตอุปกรณ์ สำหรับการนอนกรน

Mandibular Advancement Device (MAD)
ทำงานโดยการดึงขากรรไกรล่าง และลิ้นมาด้านหน้าเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับการไหลของอากาศบริเวณด้านหลังลำคอ โดย MAD ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฟันบนและส่วนฟันล่าง ซึ่งอาจจะเชื่อมต่อกันด้วยสกรู บานพับ หรือยางยืดที่ปรับได้ อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยดึงขากรรไกรล่างไปด้านหน้าเพื่อช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น
ขั้นตอนการทำ MAD
  1. ซักประวัติ และทำแบบสอบถามการนอนหลับ
  2. ตรวจวินิจฉัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. ตรวจสภาพช่องปากและการสบฟันอย่างละเอียด
  4. ถ่ายภาพรังสี Lateral cephalogram และ Orthopantomogram
  5. พิมพ์ฟันหรือสแกนช่องปากและบันทึกการสบฟัน
  6. ผู้ป่วยได้รับ MAD เพื่อใส่ขณะนอนหลับ
  7. หลังผู้ป่วยปรับตัวกับเครื่องมือประมาณ 2 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดเพื่อตรวจประเมินผล และปรับอุปกรณ์
  8. หลังจากผู้ป่วยใช้ MAD ที่ปรับระดับความยื่นจนทันตแพทย์เห็นว่าเหมาะสม จะส่งต่อให้แพทย์ทำการตรวจการนอนหลับเพื่อยืนยันผลการรักษา
  9. นัดติดตามอาการต่อเนื่องกับทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
ลักษณะของ MAD
  • ทันตอุปกรณ์ประเภทนี้สามารถปรับขากรรไกรล่างให้ยื่นไปข้างหน้าทีละน้อย ช่วยเปิดทางเดินหายใจได้ในระยะที่เหมาะสมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • เครื่องมือประเภทนี้เป็นอุปกรณ์เฉพาะบุคคล ทันตแพทย์จึงต้องพิมพ์ฟัน หรือ สแกนช่องปากผู้ป่วย เพื่อผลิตเครื่องมือที่พอดีกับปากและฟันของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและมีความสบายขณะสวมใส่ไม่หลุดง่ายในขณะหลับ
  • นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ พกพาสะดวกขณะเดินทางไม่ต้องใช้ไฟฟ้า และไม่มีหน้ากากครอบหรือคาดที่ใบหน้า
  • ปัจจุบันมีการออกแบบเครื่องมือได้หลายลักษณะ ซึ่งทันตแพทย์จะทำการพิจารณาและพูดคุยกับผู้ป่วยเพื่อเลือกแบบที่เหมาะสม

ลักษณะของ MAD

วิธีการดูแลเครื่องมือการทำความสะอาด
  • ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มกับน้ำสบู่อ่อนขัดทำความสะอาดเมื่อถอดเครื่องมือตอนตื่นนอนทุกเช้าก่อนจะล้างด้วยน้ำเปล่า
  • ไม่ใช้ยาสีฟันหริอสารขัดฟันปลอมมาใช้ทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้พื้นผิวของเครื่องมือเสียหายได้
  • หลังทำความสะอาดเครื่องมือแล้ว ให้เก็บเครื่องมือในที่อากาศเย็นและแห้ง หลีกเลี่ยงการเก็บในที่ร้อนและมีสารเคมี
ผลข้างเคียงของการใส่เครื่องมือ
การจัดการกับผลข้างเคียง
  • การเปลี่ยนแปลงการสบฟัน
    • การบริหารด้วยการใช้ท่าม้วนลิ้นแตะเพดานปาก
      1. นำปลายลิ้นแตะเบาๆที่กลางเพดานปาก โดยไม่เกร็งลิ้น และริมฝีปาก
      2. อ้าปากช้าๆ จนสุด โดยที่ปลายลิ้นยังคงแตะที่กลางเพดานปาก อ้าปากค้างไว้ 5 วินาที
      3. หุบปากช้าๆ เข้าสู่ท่าพัก โดยที่ฟันบนล่างไม่แตะกัน ลิ้นและริมฝีปากผ่อนคลายพัก 5 วินาที
      4. ทำวันละ 5 รอบต่อวัน รอบละ 15 ครั้ง
    • กัดฟันบนยาง Occlusion trainer โดยค่อยเลื่อนๆ จากการกัดบนฟันกรามด้านขวาไปจนถึงด้านซ้าย
    • กัดบน Morning occlusal guide หลังถอด MAD ในตอนเช้าเพื่อช่วยให้ขากรรไกร และการสบฟัน กลับเข้าสู่ตำแหน่งเดิม
moring occlusal guide
  • ปวดกล้ามเนื้อ & เสียงผิดปกติที่ข้อต่อขากรรไกร
    • บริหารขากรรไกรล่างโดยออกแรงต้านนิ้วมือที่ออกแรงดันทั้งแนวดิ่งและแนวราบ
    • รักษาอาการแบบประคับประคอง เช่น ประคบอุ่น พักผ่อน การนวด และทานยาแก้ปวด
  • น้ำลายไหลมาก
    • เมื่อเวลาผ่านไปร่างกายจะปรับตัวได้ดีขึ้น
  • ภาวะปากแห้ง
    • หลีกเลี่ยงอาหารหรือสิ่งที่ทำให้ปากแห้ง
    • ปรับเครื่องมือเพื่อให้ริมฝีปากปิดได้สนิทขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.เสาวนีย์ แสงอรุณ

พญ.เสาวนีย์ แสงอรุณ
กุมารแพทย์ทั่วไป

พญ.เสาวนีย์ แสงอรุณ

Saowanee sangaroon.MD
Specialty
  • กุมารแพทย์ทั่วไป

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร (พบ.) แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
  • วุฒิบัตรกุมารแพทย์  คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
MON 11:00 - 17:00
TUE 08:00 - 17:00
WED 07:00 - 15:00
THU 12:00 - 20:00
FRI 08:00 - 16:00
SAT 08:00 - 17:00 (เสาร์ที่ 2, 4)
SUN 10:00 - 15:00

แพคเกจ พักกายใจ พักโควิด

ward for covid

หมดห่วง : โควิด (ward for covid)

พักกาย พักใจ ป้องกันการแพร่เชื้อโควิด ให้คนที่คุณรัก
พักที่โรงพยาบาลบลางโพ

ward for covid

ให้บริการห้องพักรักษาผู้ป่วยโควิด สำหรับครอบครัวและคนที่คุณรักปลอดภัยและอุ่นใจ เลือกพักที่โรงพยาบาลบางโพ ด้วยมาตรฐานการให้บริการและวิชาชีพ และการรักษาของแพทย์และพยาบาลเจ้าหน้าที่
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

>

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พญ.นันทนัช หรูตระกูล

พญ.นันทนัช หรูตระกูล
ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน, Pediatric allergist and immunologist

พญ.นันทนัช หรูตระกูล

Nuntanut Rutrakool
Specialty
  • กุมารแพทย์
  • โรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร (พบ.) แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิริราช มหิดล
  • วุฒิบัตร กุมารเวชศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร อนุสาขากุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 08:00 - 13:00
TUE 08:00 - 20:00
FRI 08:00 - 17:00
SAT 08:00 - 12:00

พญ.ปัทมา พรวรากรณ์

พญ.ปัทมา พรวรากรณ์
วิสัญญีแพทย์

พญ.ปัทมา พรวรากรณ์

Pattama Pornwaragorn
Specialty
  • วิสัญญีแพทย์

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร (พบ.) แพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหิดล  สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 06:00 - 18:00
TUE 06:00 - 18:00
THU 06:00 - 18:00
FRI 06:00 - 18:00

ผศ.ดร.นพ.พีรยุทธ เฟื่องฟุ้ง

ผศ.ดร.นพ.พีรยุทธ เฟื่องฟุ้ง
นิติเวชศาสตร์

ผศ.ดร.นพ. พีรยุทธ เฟื่องฟุ้ง

Assist. Prof. Dr. Peerayuht Phuangphung
Specialty
  • นิติเวชศาสตร์ Forensic Medicine

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร  แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยม) คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปริญญาบัตร ทางนิติศาสตร์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (วิชาเอกนิติเวชศาสตร์)
  • วุฒิบัตร สาขานิติเวชศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล
    • Ph.D. (Toxicology) University of Glasgow, UK
      M.Sc. (Forensic Toxicology) (Distinction) University of Glasgow, UK

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา หมายเหตุ
    MON 18:00 - 20:00

    นพ.ธีรเศรษฐ์ บัณฑุชัย

    นพ.ธีรเศรษฐ์ บัณฑุชัย
    ศัลยกรรมกระดูกและช้อ / เวชศาสตร์การกีฬา

    นพ.ธีรเศรษฐ์ บัณฑุชัย

    THEERASET BANTUCHAI, MD
    Specialty
    • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ 
    • เวชศาสตร์การกีฬา และการผ่าตัดส่องกล้อง (Sport medicine)

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ 2) คณะแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • วุฒิบัตร สาขาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์  วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 
    • อนุมัติบัตร สาขาเวชศาสตร์การกีฬา คณะแพทย์ศาสตร์  วิทยาลัยแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    MON 07:00 - 17:00
    TUE 07:00 - 12:00
    WED 07:00 - 15:00
    FRI 07:00 - 20:00
    SUN 12:00 - 16:00

    นพ.ชุมพล สุรพันธ์ไพโรจน์

    นพ.ชุมพล สุรพันธ์ไพโรจน์
    จิตแพทย์

    นพ.ชุมพล สุรพันธ์ไพโรจน์

    CHUMPOL SURAPHANPHAIROJ.M.D
    Specialty
    • จิตเวชศาสตร์
      จิตเวชทั่วไปในผู้ป่วยผู้ใหญ่ (General Psychiatry)

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยมอันดับ 1) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   
    • วุฒิบัตรสาขาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    TUE 17:00 - 20:00

    ภาพถ่ายรังสีพานอรามิกทางทันตกรรม

    ภาพถ่ายรังสีพานอรามิกทางทันตกรรม

    DENTAL PANORAMIC FILM
    ภาพถ่ายรังสีพานอรามิกทางทันตกรรม ( Orthopantomogram / Dental Panoramic Film / OPG) คือภาพถ่ายรังสีชนิดนอกช่องปากชนิดหนึ่งที่สามารถแสดงให้เห็นภาพรวมของขากรรไกรบนและล่าง ฟันทุกซี่ โพรงไซนัส โพรงจมูก ข้อต่อขากรรไกร และกะโหลกศีรษะบางส่วนในภาพเดียวกัน
    ใช้เวลาในการถ่ายภาพรังสีน้อยมาก และไม่จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์ใดๆ พิเศษ ทำให้เป็นการถ่ายภาพรังสีที่ไม่เจ็บและได้รายละเอียดที่เป็นประโยชน์หลายประการในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาทางทันตกรรม
    ภาพถ่ายรังสีพานอรามิก จึงเป็นภาพถ่ายรังสีที่ทันตแพทย์นิยมใช้เพื่อคัดกรองรอยโรคต่างๆโดยเฉพาะกระดูกขากรรไกร โพรงไซนัส และฟัน รวมถึงมักถูกใช้เป็นส่วนหนึ่งในการวินิจฉัย และวางแผนการรักษาทางทันตกรรมสาขาต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะทันตกรรมจัดฟัน
    ประโยชน์ของภาพรังสีพานอรามิกที่มักถูกใช้ในทางทันตกรรม มีดังต่อไปนี้
    1. ใช้ในการวางแผนการรักษาทันตกรรมสาขาต่างๆ เช่น การวางแผนการจัดฟัน ใช้เพื่อการเตรียมช่องปากก่อนการทำฟันปลอม หรือการฝังรากฟันเทียม ใช้ประเมินสภาวะของกระดูกและเนื้อเยื่อปริทันต์ที่รองรับฟัน ในการวินิจฉัยโรคเหงือกและการรักษาทางทันตกรรมปริทันตวิทยา ใช้เพื่อระบุตำแหน่งฟันคุดหรือฟันฝัง รวมถึงความสัมพันธ์ของฟันเหล่านั้นกับโครงสร้างสำคัญข้างเคียง เช่นโพรงไซนัส หรือเส้นประสาทเพื่อวางแผนการผ่าตัดฟันคุด ฟันฝัง หรือการผ่าตัดบริเวณขากรรไกรและใบหน้าในงานทันตศัลยกรรม เป็นต้น
    2. ใช้ตรวจคัดกรองความผิดปกติ หรือพยาธิสภาพที่ขากรรไกร ฟันทุกซี่ โพรงไซนัส โพรงจมูก ข้อต่อขากรรไกร และกะโหลกศีรษะบางส่วน เช่น การตรวจคัดกรองมะเร็ง เนื้องอก ถุงน้ำ บริเวณดังกล่าว การตรวจหารอยแตกร้าวของขากรรไกรจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
    3. ใช้ร่วมกับการตรวจทางคลินิก หรือภาพรังสีอื่นๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคทางทันตกรรมที่แม่นยำ

    โรคตาแห้ง “โรคตายอดฮิตของคนหน้าคอมฯ”

    โรคตาแห้ง "โรคตายอดฮิตของคนหน้าคอมฯ"

    Dry eye
    โรคตาแห้ง "โรคตายอดฮิตของคนหน้าคอมฯ"
    จากสภาวะการใช้ชีวิตของคนทำงานยุคปัจจุบัน ที่ใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต มือถือ รวมถึงการใส่คอนแทคเลนส์ในการทำงานประจำวัน และต้องเจอสภาพอากาศแห้ง แปรเปลี่ยนไปมาอย่างรวดเร็ว ทั้งการปะทะลมหรือแสงแดดเป็นประจำ รวมถึงการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดผลกระทบจนเกิดอาการตาแห้ง
    สาเหตุของโรคตาแห้ง
    โรคตาแห้ง สามารถแบ่งสาเหตุได้ดังนี้ คือ
    1. การผลิตน้ำตาลดลง สาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายหรือภาวะความเจ็บป่วยบางอย่าง เช่น โรคภูมิแพ้ที่ตา โรคโชเกร็น (Sjogren's syndrome) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) โรคลูปัส (Systemic Lupus Erythematosus: SLE) โรคของต่อมไทรอยด์ การขาดวิตามิน การใช้ยาบางประเภท เช่น ยาลดความดันโลหิต ยารักษาสิว ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคพาร์กินสัน หลังผ่าตัดดวงตา เช่น หลังการผ่าตัดต้อกระจก หรือหลังทำ เลสิก การใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานาน หรือเคยทำเลสิก
    2. น้ำตาเกิดการระเหยไว จากต่อมไขมันที่เปลือกตาทำงานผิดปกติ(Meibomian gland dysfunction: MGD)โดยปกติต่อมไมโบเมียนจะทำหน้าที่สร้างน้ำตาชั้นไขมัน ทำให้น้ำตาระเหยได้ช้า หากต่อมนี้ทำงานผิดปกติ จะทำให้น้ำตาระเหยไวขึ้น จะเกิดภาวะตาแห้งในที่สุด รวมถึงการใช้สายตาระยะใกล้ ทั้งทำงานนั่งจอคอมพิวเตอร์เวลานานหรือการอ่านหนังสือต่อเนื่อง
    3. ปัจจัยภายในตัวบุคคล เช่น

      • เพศ โดยพบว่าเพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย
      • อายุ ที่พบว่าเมื่อเข้าสู่อายุ 65 ปีขึ้นไป มีอัตราการเกิดโรคตาแห้งสูงกว่าวัยอื่น
    อาการ
    ผู้ป่วยจะรู้สึกระคายเคืองตา เหมือนมีเศษผงอยู่ในดวงตา แสบตาง่าย โดยเฉพาะเมื่อมีลมพัดเข้าสู่ดวงตา หรือเมื่ออยู่ในห้องแอร์ จะรู้สึกได้ว่า ดวงตาแห้งอยู่ตลอด
    วิธีป้องกันโรคตาแห้ง
    สำหรับคนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาทุก 1-2 ชั่วโมง พักประมาณ 5 นาที โดยการหลับตาหรือมองไปที่ไกลๆ เพิ่มเติมด้วยการติดแผ่นกรองแสงที่หน้าจอ หรือสวมแว่นตา ที่ช่วยลดแสงสีฟ้า ช่วยถนอมสายตา
    การตรวจวิเคราะห์
    1. แพทย์จะตรวจวัดปริมาณน้ำตาโดยการตรวจ Tear Meniscus ตรวจลักษณะขอบเปลือกตา และต่อมมัยโบเมียน (Meibomian gland) เพื่อการวัดความเข้มข้นของสารที่อยู่ในน้ำตา
    2. การค้นหาสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงของโรค เพื่อการควบคุมอาการของโรคทำให้การรักษาประสบความสำเร็จสูงขึ้นได้ เช่น

      • พักสายตาเป็นช่วงๆ โดยหลับตา 1-2 นาที หรือกระพริบตาถี่ๆ เพื่อช่วยกระจายน้ำตาให้เคลือบทั่วดวงตา
      • หยอดน้ำตาเทียมเป็นประจำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา หลีกเลี่ยงการโดนลมแรงๆ ปะทะดวงตาโดยตรง เช่น ลมจากพัดลม เครื่องปรับอากาศ ที่เป่าผม ควรสวมแว่นกันแดดหรือแว่นที่ครอบดวงตา
      • หากต้องอยู่ในบริเวณที่มีอากาศแห้ง ควรหลับตาเป็นพักๆ เพื่อลดการระเหยของน้ำตา
      • ดื่มน้ำให้มาก รับประทานอาหารที่มีปริมาณวิตามินเอสูง เช่น น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง แครอท บรอคโคลี่ ฟักทอง หรือกรดไขมันโอเมก้า3สูง เช่น ปลาทะเลน้ำลึก เมล็ดแฟลกซ์ วอลนัท น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว เพื่อช่วยดูแลและบำรุงสายตา
    การรักษา
    1. แพทย์จะช่วยให้คำปรึกษา ปรับพฤติกรรมการใช้สายตาให้เหมาะสม ร่วมกันการใช้น้ำตาเทียมหยอดตา
    2. ใช้แว่นกอกเกิลส์ เพื่อป้องกันการระเหยของน้ำตาร่วมด้วย โดยเฉพาะในผู้ที่อยู่กับลมแรง เช่น คนที่ทำงานขับขี่มอเตอร์ไซด์
    3. หากรู้สึกมีความผิดปกติที่ตา มีอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกไม่สบายตา น้ำตาไหล ระคายเคืองตา มีเมือกในตา หรือตาพร่ามัว ให้สงสัยว่าอาจมีภาวะตาแห้ง แนะนำให้ลองปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเบื้องตน
    4. หากมีอาการที่รุนแรงแนะนำให้พบจักษุแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาและการตรวจวินิจฉัยอย่างปลอดภัย

    ผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า

    ผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า: 199,990.-

    3 วัน 2 คืน

    เจ็บน้อย แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน ใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น

    แพคเกจผ่าตัดส่องกล้องซ่อมเอ็นไขว้หน้าข้อเข่า

    Package Arthroscopic ACL Knee
    คุณมีอาการเหล่านี้ไหม ?
    ปวดรุนแรง ปวดเรื้อรัง บวม แดง ช้ำ กดเจ็บ เดินลงน้ำหนักข้างที่บาดเจ็บไม่ได้ กระทบต่อชีวิตประจำวัน
    รายละเอียดแพ็กเกจ
    1. รวมค่าห้องผ่าตัด, อุปกรณ์ทางการแพทย์ในห้องผ่าตัดและค่าอุปกรณ์ที่จำเป็นในการผ่าตัด
    2. รวมค่าธรรมเนียมแพทย์ผ่าตัด, ค่าวิสัญญีแพทย์
    3. รวมค่าพยาบาลห้องผ่าตัด, ห้องพักฟื้น, ค่าบริการโรงพยาบาล
    4. รวมค่ายาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการผ่าตัดตามที่โรงพยาบาลกำหนด
    5. รวมค่ายากลับบ้าน (ตามที่โรงพยาบาลกำหนด)
    6. รวมค่าห้องพักเดี่ยว 3 วัน 2 คืน และค่าอาหารตามที่โรงพยาบาลกำหนด
    ข้อดี : เจ็บน้อย แผลเล็ก พักฟื้นไม่นาน ใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
    หมายเหตุ
    • ไม่รวมค่าตรวจประเมินก่อนผ่าตัด เช่น ค่าเจาะเลือด ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    • ไม่รวมค่าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ อาทิ แพทย์อายุรกรรม แพทย์อายุกรรมหัวใจ
    • ไม่รวมค่ายารักษาโรคประจำตัวหรือตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมที่นอกเหนือจากแพ็กเกจที่โรงพยาบาลกำหนด
    • ไม่รวมค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกิดภาวะไม่พึงประสงค์ หรือภาวะแทรกซ้อน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดการผ่าตัดซ้ำ
    • แพ็กเกจนี้ไม่สามารถใช้ได้ในกรณีพยาธิสภาพโรคที่ไม่เป็นไปตามปกติ
    • กรณีมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินนอกเหนือจากรายการที่กำหนด ผู้ป่วยต้องชำระเงินเองจะคิดค่าบริการในอัตราปกติ
    • ผู้ที่เข้าร่วมแพคเกจ ต้องผ่านการประเมิน / พิจารณาของแพทย์และเฉพาะแพทย์ที่เข้าร่วมรายการ
    • แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้ เช่น ผู้ถือหุ้น บริษัทคู่สัญญา และบริษัทประกัน
    • สำหรับลูกค้าชาวไทยและต่างชาติที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย
    วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568

    โปรแกรมและแพ็คเกจ