โนโรไวรัส (Norovirus)

โนโรไวรัส

Norovirus
เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน และอาหารเป็นพิษที่พบได้บ่อย มักพบในช่วงเข้าฤดูหนาว หรือเมื่ออากาศเริ่มเย็นลง
อาการ
  • อาการที่พบได้บ่อย : ถ่ายเหลว, คลื่นไส้อาเจียน, ปวดท้อง
  • อาการอื่นๆ ที่พบได้ : ไข้, ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยเนื้อตัว
  • อาการขาดน้ำ อาจสังเกตได้จาก : ปากแห้ง, ปัสสาวะลดลง, เวียนศีรษะหน้ามืดเวลาลุกขึ้น, หากเป็นเด็กอาจพบว่าร้องให้โดยไม่มีน้ำตา
โดยผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่รุนแรงได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี, ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยสามารถหายได้ใน 1-3 วัน แต่อาจสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นานถึง 2 สัปดาห์
กรณีสงสัย สามารถตรวจเชื้อได้จากในอุจจาระ รอผล 1-2 ชั่วโมง
การแพร่กระจายเชื้อ
  • เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถแพร่กระจาย และรับเชื้อได้ง่ายมาก
  • โดยรับเชื้อผ่านทางอุจจาระหรือการอาเจียนของผู้ที่มีอาการป่วยจากไวรัสชนิดนี้, การรับประทานอาหารและที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส
  • ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการ จนอาจยาวนานได้ถึง 2 สัปดาห์หลังจากอาการป่วยดีขึ้นแล้ว
วิธีการป้องกันการแพร่กระจาย/การติดเชื้อ
ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน Norovirus โดยเฉพาะ แต่ท่านสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ด้วยการล้างมือด้วยสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
  • หลังการเข้าห้องน้ำ หรือ การเปลี่ยนผ้าอ้อม
  • ก่อนการปรุงอาหาร จับ หรือรับประทานอาหาร
  • ล้างผักผลไม้ ก่อนรับประทานทุกครั้ง
  • หากจะรับประทานหอยนางรมหรือหอยชนิดอื่น แนะนำให้ปรุงให้สุกด้วยอุณหภูมิอย่างน้อย 62.5 องศา
  • ทำความสะอาดห้องครัว เครื่องครัว อย่างสม่ำเสมอ
การใช้เจลล้างมืออาจจัดการกับ Norovirus ได้ไม่ดีนัก แนะนำให้ใช้ควบคู่กับการล้างมือถึงจะดีที่สุด
หากท่านเป็นผู้ป่วยจากการติดเชื้อ Norovirus แนะนำให้รอให้อาการป่วยหายดี 48 ชั่วโมงก่อน ถึงจะเตรียมอาหารได้
หากสัมผัสกับอาเจียนหรืออุจจาระของผู้ป่วย
  • ควรสวมถุงมือก่อนการสัมผัส ใช้กระดาษเช็ดออกให้หมด แล้วทิ้งลงถุงขยะพลาสติก
  • ทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวที่สัมผัสด้วยผลิตภัณฑ์น้ำยาคลอรีนฆ่าเชื้อ แล้วตามด้วยสบู่+น้ำร้อนอีก 1 รอบ
  • การซักผ้าที่ปนเปื้อน แนะนำให้ซักด้วยน้ำร้อน ใช้โปรแกรมปั่นที่นานสุด หากมีโปรแกรมอบผ้าในตัวเครื่องแนะนำให้ใช้อุณหภูมิสูงสุด
การรักษา
ปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อที่จำเพาะกับ Norovirus การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองตามอาการ และป้องกันการขาดน้ำ ได้แก่
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หากอาเจียนหรือถ่ายเหลวมาก ควรดื่มน้ำเกลือแร่ทางการแพทย์
  • การดื่มเกลือแร่ชนิดดื่มหลังออกกำลังกาย หรือเครื่องดื่มแบบไม่มีคาเฟอีนชนิดอื่น อาจช่วยได้ในการขาดน้ำแบบเล็กน้อยเท่านั้น
  • เฝ้าระวังการขาดน้ำ หากมีอาการขาดน้ำควรรีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

PACKAGE วัคซีนสำหรับเด็ก 2 เดือน – 1 ปี

วัคซีนรวมสำหรับเด็ก […]

พญ.วรกัญญา สินิทธ์ทรงคุณ

พญ.วรกัญญา สินิทธ์ทรงคุณ
กุมารแพทย์

พญ.วรกัญญา สินิทธ์ทรงคุณ

WORAKANYA SINITSONGKHUN
Specialty
  • โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันเด็ก

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
SAT 08:00 - 12:00 วันเสาร์ที่ 2, 4

โรคไอกรน Pertussis

โรคไอกรน

Pertussis
โรคไอกรนเป็นโรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งก่อโรคเฉพาะในคน ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นระยะจะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ ในพื้นที่ที่มีความ ครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำ จะมีการระบาดได้ง่าย เช่น ในช่วงกลางปี 2567 มีการระบาดต่อเนื่องในภาคใต้เนื่องจากความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนต่ำมาก
การติดต่อ
การติดต่อของโรคเกิดผ่านละอองฝอยไอหรือจามจากผู้ป่วย หรือผ่านการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจาก
ทางเดินหายใจของผู้ป่วย ระยะของการแพร่เชื้อเกิดขึ้นตั้งแต่ระยะที่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไอ มีน้ำมูก จนถึง 21 วัน
หลังจากที่ผู้ป่วยมีอาการของโรค จะแพร่เชื้อได้สูงสุด ในระยะอาการหวัด
อาการและอาการแสดง อาการของโรคไอกรนแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
  1. ระยะอาการหวัด ผู้ป่วยจะมีอาการ มีน้ำมูก ไข้ต่ำ ๆ แยกยากจากไข้หวัดทั่วไป
  2. ระยะไอรุนแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอรุนแรงติดต่อกันเป็นชุด ตามด้วยการหายใจเข้าอย่างแรง จนเกิดเสียงวูบ บางรายอาจมีอาเจียน เขียวและหยุดหายใจ โดยเฉพาะผู้ป่วย เด็กเล็ก
  3. ระยะฟื้นตัว (Convalescent stage) ผู้ป่วยจะมีอาการไอและอาเจียนทุเลาลง หายไปใน 2-3 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการไอได้นานหลายสัปดาห์โดยรวมระยะของโรคทั้งหมดหากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาประมาณ 6-10 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อนของโรคไอกรนที่อาจพบในวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ ได้แก่ ปอดอักเสบ น้ำหนักลด ไอจน
รบกวนการนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระดูกซี่โครงหัก โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่เพิ่มขึ้น
สำหรับในทารกโดยเฉพาะอย่างยิ่งทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน และยังได้รับวัคซีนไม่ครบ อาจมีอาการที่รุนแรงได้
การให้วัคซีนป้องกันไอกรน
วัคซีนป้องกันไอกรน มีทั้งชนิดวัคซีนเดี่ยวและชนิดวัคซีนรวมกับคอตีบและบาดทะยัก เด็กนักเรียนทุกคนควรได้รับวัคซีนที่แนะนําตามอายุให้ครบถ้วน ได้แก่
  1. อายุน้อยกว่า 6 ปี ควรรับวัคซีนให้ครบ โดยเป็นวัคซีนรวมที่มีคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และอาจรวมวัคซีน ป้องกันเชื้ออื่นๆ ในเด็กเล็กด้วย เช่น DTP-HB-Hib จำนวน 5 โด๊ส ที่อายุ 2, 4, 6, 18 เดือน และ 4-6 ปี
  2. วัยรุ่น 10-12 ปี แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์สูตรเด็กโตและผู้ใหญ่ (Tdap/TdaP) กระตุ้น 1 โด๊ส หลังจากนั้นฉีดกระตุ้นต่อด้วย ด้วยวัคซีน dT/Tdap/TdaP ทุก 10 ปี
  3. ผู้ใหญ่ หากยังไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันไอกรนเข็มกระตุ้น แนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม Tdap/TdaP กระตุ้น 1 โด๊ส จากนั้นแนะนําให้ฉีดวัคซีนรวม dT/Tdap/TdaP กระตุ้น ประมาณทุก 10 ปี แนะนําให้ฉีดเมื่ออายุลงท้ายด้วยเลข “0” เช่นที่อายุ 20, 30, 40, 50, 60, 70, 80 ปี
  4. หญิงตั้งครรภ์ แนะนําให้วัคซีนป้องกันไอกรนในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 สัปดาห์ขึ้นไป
  5. ในกรณีที่มีเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ในครอบครัว ควรให้ทุกคนในบ้านได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน ตามที่แนะนําในข้างต้นให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปยังทารก (Cocooning)
ที่มา: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลเพิ่มเติม : คำแนะนำโรคไอกรนสำหรับประชาชน_รวกท..pdf
วันที่: 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

PACKAGE วัคซีนสำหรับเด็ก 2 เดือน – 1 ปี

วัคซีนรวมสำหรับเด็ก […]

โรคนิ้วล็อก

โรคนิ้วล็อก

Adult trigger digits
โรคนิ้วล็อก คือ ภาวะเส้นเอ็นถูกกดทับบริเวณนิ้วมือ เกิดจากปลายหุ้มเอ็น A1 pulley มีความหนาคล้ายปลอกคอสีขาวล้อมรอบเส้นเอ็น เป็นหนึ่งในสาเหตุของการปวด และความผิดปกติของนิ้วที่พบมากที่สุด เกิดในเพศหญิงมากว่าเพศชาย ส่วนใหญ่มักพบที่นิ้วนางและนิ้วกลางของมือที่ถนัดมากเป็นอันดับแรก (1) ปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนิ้วล็อคเพิ่มขึ้น หรือเพิ่มความรุนแรงของโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ หรือโรคข้ออักเสบต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นนิ้วล็อคมากกว่าคนปกติประมาณ 2 เท่า (2)
อาการของโรคนิ้วล็อค
จะมีแค่อาการปวดบริเวณโคนนิ้วด้านหน้าเป็นอาการเริ่มต้น ต่อมาจะเริ่มแสดงอาการนิ้วล็อคและดีดออก ซึ่งในช่วงแรกจะยังดีดเองได้ หรือท้ายที่สุดอาจจะไม่สามารถดีดออกได้ หรือล็อคค้างไปเลย ซึ่งถ้าหากทิ้งไว้นานๆ อาจจะมีข้อติดตามมา จนต้องผ่าตัดเลาะพังผืด เพื่อแก้ไขภาวะนี้ได้
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
สามารถทำได้โดยการแนะนำผู้ป่วยให้ปรับท่าทางและลักษระการใช้มือในชีวิตประจำวัน เช่น ลดการกำมือแน่นๆ ถือของหนักๆ กายภาพบำบัดโดยการเหยียดนิ้วออก ให้ยารับประทานหรือฉีดยากลุ่ม NSAIDs และการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยร้อยละ 45 ถึงร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะหายได้จากการฉีดยา (3) ข้อเสียของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าปลอกหุ้มเอ็น คือ อาจทำให้มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงขึ้น หลังผ่าตัดเลาะปลอกหุ้มเอ็นออก (Open trigger finger release) (4) รวมถึงมีรายงานเส้นเอ็นเปื่อยยุ่ยและขาดเองตามมาได้ แม้ว่าจะพบไม่บ่อยก็ตาม (5)
การผ่าตัดเพื่อเลาะปลอกหุ้มเอ็น
เป็นหัตถการที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่ผู้ป่วยผ่านการรักษาแบบไม่ผ่าตัดมาแล้ว ยังไม่ประสบผลสำเร็จ อัตราการประสบผลสำเร็จของการผ่าตัดอยู่ที่ร้อยละ 90 ถึง 100 และพบภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เส้นเลือด เส้นประสาทขาดและนิ้วล็อคคงค้างได้ร้อยละ 5 ถึง 12 (6,7) และหลังจากผ่าตัดอาจจะมีอาการปวดข้อนิ้วมือต่อไปอีก 8 ถึง 12 สัปดาห์ (8) ปัจจัยเสี่ยงของอาการที่ยังคงมีอยู่ ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการก่อนการผ่าตัด ระยะเวลาของข้อที่ติดก่อนการผ่าตัดและลักษณะเส้นเอ็นที่ฉีดชาดบางส่วนซึ่งพบขณะผ่าตัด จึงแนะนำว่าหากจำเป็นต้องการผ่าตัด
null

รูปที่ 1 แสดงการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยใช้วิธี intrasheath Technique

null

รูปที่ 2 ภาพแสดงปลอกหุ้มเอ็นที่กดทับเส้นเอ็น ซึ่งเห็นได้จากการผ่าตัด

Bibliography
  1. Lunsford D, Valdes K. Hengy S. Conservative management of trigger finger: A systematic review. J Hand Ther. 2019;32(2):2 2-2.
  2. Kuczmarski AS, Harris AP, Gil JA, Weiss AC. Management of Diabetic Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(2):150-3.
  3. Leow MQH, Hay ASR, Ng SL, Choudhury MM, Li H, McGrouther DA, et al. A randomized controlled trial comparing ketorolac and triamcinolone injections in adults with trigger digits. J Hand Surg Eur Vol. 20 8,43(9):936-41.
  4. Lutsky KF, Lucenti L, Banner L. Matzon J, Beredjiklian PK. The Effect of Intraoperative Corticosteroid Injections on the Risk of Surgical Sile Infections for Hand Procedures. J Hand Surg Am. 2019;44(10):840-5 e5.
  5. Filzgerald BT, Holmeister EP, Fan RA, Thompson MA Delayed flexor digitorum superficialis and profundus ruptures in a trigger finger after a steroid injection: a case report. J Hand Surg Am. 2005;30(3):479-82.
  6. Bruijnzeel H, Neuhaus V, Fostvedt S, Jupiter JB, Mudgal CS, Ring DC. Adverse events of open A1 pulley release for idiopathic trigger finger. J Hand Surg Am. 2012;37(8):1650-6.
  7. Everding NG, Bishop GB, Belyea CM, Soong MC. Risk factors for complications of open trigger finger release. Hand (NY). 2015;10(2):297-300
  8. Baek JH, Chung DW, Lee JH. Factors Causing Prolonged Postoperative Symptoms Despite Absence of Complications Aller A1 Pulley Release lor Trigger Finger. J Hand Surg Am. 2019;44(4):338 е1-еб.
    2

โปรแกรมและแพ็คเกจ

กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

Carpal Tunnel Syndrome
กลุ่มอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ เป็นภาวะที่เกิดจากการบีบรัดเส้นประสาทมีเดียนที่ข้อมือ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการชา ปวด หรืออ่อนแรงบริเวณนิ้วมือ โดยเฉพาะที่นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง สาเหตุของภาวะนี้มักเกิดจากการใช้ข้อมือที่ซ้ำๆ หรือเกิดจากการบาดเจ็บที่ข้อมือ เช่น การใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือการทำงานที่ต้องใช้ข้อมือบ่อยๆ หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและหยิบจับไม่ถนัดได้
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือแบบไม่ผ่าตัด
การรักษาโรคพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือเบื้องต้นรวมถึงการใช้วิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น
    การใส่เฝือกอ่อน เพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหวของข้อมือ
    การใช้ยาต้านการอักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ
    การทำกายภาพบำบัด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อมือ
นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ข้อมือ เช่น การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อมือถูกใช้งานหนักเกินไป ก็เป็นส่วนสำคัญในการรักษาอาการนี้ หากรักษาไปช่วงหนึ่งแล้วอาการไม่ดีขึ้น การผ่าตัดเลาะพังผืดบริเวณข้อมือก็จะช่วยแก้ไขสาเหตุของโรคได้ และป้องกันมืออ่อนแรงในอนาคต
การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
Endoscopic Carpal Tunnel Release
การผ่าตัดแบบเดิมเป็นการผ่าตัดแบบเปิด แผลจะมีขนาดใหญ่และกลับมาใช้งานมือได้ช้า การผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้องเป็นวิธีการรักษาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือในขั้นรุนแรง หรือเมื่อการรักษาแบบอนุรักษ์ไม่สามารถบรรเทาอาการได้ การผ่าตัดนี้ทำโดยการใช้กล้องส่องผ่านเข้าไปที่ข้อมือแล้วตัดพังผืดที่กดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทสามารถทำงานได้ดีขึ้น วิธีนี้มีข้อดีคือ แผลผ่าตัดเล็ก ฟื้นตัวได้เร็ว และมีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
ข้อดีของการผ่าตัดปล่อยเส้นประสาทผ่านการส่องกล้อง
  • แผลผ่าตัดเล็ก
  • ฟื้นตัวได้เร็ว
  • มีอาการปวดน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
null

รูปที่ 1 คำอธิบายใต้ภาพ

null

รูปที่ 2 คำอธิบายใต้ภาพ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

คำแนะนำเกี่ยวกับอาหารปราศจากน้ำตาลแลคโตส

Lactose-free Diet
แลคโตส (Lactose)
เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบอยู่ในนมและผลิตภัณฑ์จากนม ย่อยโดยเอนไซม์แลคเตส (Lactase) ในลำไส้เล็ก
หากมีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตสจะทำให้มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง ท้องอืด
เมื่อรับประทานนมหรือผลิตภัณฑ์จากนม
ข้อบ่งชี้
ผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องเอนไซม์แลคเตส เช่น ผู้ป่วยที่ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัสโรต้า เป็นต้น
คำแนะนำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ นมวัว/นมแพะ รวมถึงนมผง นมข้นหวาน นมข้นจืด ชีส โยเกิร์ต ครีม ไอศกรีมที่มีนมผสม
และสามารถเลือกรับประทานอาหารได้ดังตารางต่อไปนี้
ชนิด
รับประทานได้
ควรหลีกเลี่ยง
เครื่องดื่ม
  • นมผงสูตร Lactose free
  • นม UHT หรือ พาสเจอไรซ์ที่ระบุว่า Lactose free
    เช่น M-milk, Meiji, ไทยเดนมาร์ก เป็นต้น
  • นมถั่วเหลือง (สูตรเจ)
  • น้ำหวาน เช่น น้ำเก๊กฮวย
  • น้ำผลไม้
  • นมอัลมอนด์, น้ำนมข้าว
  • ชา, กาแฟที่ไม่ผสมนม
  • นมสด ทั้งในรูปแบบนมผง นม UHT
  • นมพาสเจอไรซ์
  • นมเปรี้ยว
  • เครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีนมผสม
    เช่น โอวัลติน โกโก้ กาแฟ 3-in-1 เป็นต้น
  • นมถั่วเหลืองบางสูตรที่มีส่วนผสมของนมผง
อาหารหลัก
  • ข้าวทุกชนิด
  • ก๋วยเตี๋ยวและพาสต้า
  • ขนมปังแผ่น
  • ผักและเนื้อสัตว์
  • ชีส เนย เนยแข็ง
  • ซุปข้น เช่น ซุปเห็ด ซุปข้าวโพด
  • ขนมปังที่มีนมผสม
    เช่น ขนมปังสูตรฮอกไกโด หรือที่มีไส้คัสตาร์ด
อาหารหวาน/ของว่าง
  • ผลไม้ แยมผลไม้
  • ขนมไทย
    เช่น เฉาก๊วย ฝอยทอง
  • ถั่วและธัญพืชทุกชนิด
  • เค้ก ครีม คัสตาร์ด
  • ไอศกรีมที่มีนมหรือครีม วิปครีม
  • โยเกิร์ต
หมายเหตุ
  • อาหารอื่นๆ ควรดูฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อดูว่ามีนมส่วนประกอบหรือไม่
  • เด็กทารกที่รับประทานนมแม่สามารถให้ต่อได้ไม่เป็นข้อห้าม
  • แนะนำหยุดอาหารปราศจากแลคโตสเมื่อแพทย์สั่ง

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

PACKAGE วัคซีนสำหรับเด็ก 2 เดือน – 1 ปี

วัคซีนรวมสำหรับเด็ก […]

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล
Obstetrics and Gynecology

พญ.อรอัญญา เพียรพิทยากุล

ON-ANYA PHIANPHITTHAYAKUL, M.D.
Specialty
  • Obstetrics and Gynecology

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • สูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา หมายเหตุ
THU 09:00 - 12:00 คลินิกสุขภาพสตรี

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล
จุลยศาสตร์และศัลยกรรมทางมือ

พญ.วรรณสิริ คุปต์นิรัติศัยกุล

VANASIRI KUPTNIRATSAIKUL, MD.
Specialty
  • จุลยศาสตร์และศัลยกรรมทางมือ
    Hand Orthopedic & Microsurgery

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์  ศิริราชพยาบาล
  • วุฒิบัตรสาขาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • ประกาศนียบัตร ออร์โธปิดิกส์ อนุสาขาศัลยกรรมทางมือและจุลยศัลยกรรม คณะแพทย์ศาสต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SAT 14:00 - 17:00

โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน Bone Care

โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน

BONE CARE PROGRAM

BONE CARE 1 : 2,800.-

BONE CARE 2 : 1,600.-


ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุน
ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุนจากการเสื่อมสลายของมวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการหักหรือพิการได้ง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือและกระดูกสะโพก อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หลังค่อม การหายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยหอบ เอ็นอักเสบและข้อกระดูกเสื่อม เดินไม่ได้เป็นภาระต่อคนรอบข้าง การผ่าตัดต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โดยปกติในวัยเด็กร่างกายจะมีขบวนการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายจนมีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุด เมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะมีการเสื่อมสลายของกระดูกอย่างต่อเนื่องมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วมากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า
ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน
  1. สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
  2. ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกสะโพกหัก
  4. เคยมีประวัติกระดูกหัก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี และจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำ
  5. รูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
  6. ขาดสารอาหารแคลเซียมและวิตามินดี
  7. ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น นอนรักษาตัวนานหรือใส่เฝือกนานๆ
  8. สูบบุหรี่
  9. ชอบดื่มสุรา น้ำอัดลม ชา กาแฟ ยาชูกำลัง
  10. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ ยารักษาโรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ ยายับยั้งการตกไข่ในโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน และพบแพทย์เพื่อประเมิน ป้องกันหรือรักษาให้กระดูกมีสุขภาพที่ดี
รายการตรวจ
BONE CARE 1
BONE CARE 2
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
Physical Examination
ตรวจระดับวิตามินดี
Vitamin D Total
ตรวจระดับแคลเซียม
Calcium
ตรวจมวลกระดูกสันหลังและสะโพก
Bone density 2 Parts (Lumbar, hip)
2,800
1,600
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก HPV testing

ข้อดี ที่ควรรู้ ก่อนตรวจมะเร็งปากมดลูก

Benefit of HPV testing
ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) คืออะไร
ตอบ HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่ม สายพันธุ์ 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่เป็นสาเหตุของมะเร็ง เชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งที่อวัยวะเพศ/ช่องคลอด/ทวารหนัก หรือมะเร็งบริเวณหลอดอาหาร นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดหูดหงอนไก่ได้ คือ สายพันธุ์ 6 และ 11

โดย 90 % ของการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถหายเองได้ แต่ในบางกลุ่มหากการติดเชื้อเป็นอยู่ถาวร อาจนำไปสู่รอยโรคระยะก่อนเป็นมะเร็ง หรือมะเร็งกลุ่มข้างต้นได้

ถาม เชื้อไวรัส HPV (Human papillomavirus) ส่งผลต่อเราอย่างไร
ตอบ เชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งช่องทวารหนักได้ร้อยละ 90 จากการรายงานพบว่ามะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุสูงสุดอันดับที่ 4 ของมะเร็งในสตรี โดยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดหรือความรุนแรงของมะเร็งปากมดลูกได้

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูกแบบ 90:70:90 คือ ครอบคลุมการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีร้อยละ 90 ครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 70 และรักษามะเร็งปากมดลูกระยะก่อนมะเร็งได้ร้อยละ 90 ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยแนะนำให้เพิ่มความครอบคลุมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยวิธีการตรวจเชื้อไวรัสเอชพีวีด้วยตนเอง (HPV self-collection) จะสามารถเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการ คัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้มากขึ้นจนถึงร้อยละ 70 ตามเป้าหมาย

ถาม การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในยุคปัจจุบัน
ตอบ องค์การอนามัยโลก ได้แนะนำการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ดังนี้

  1. การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV DNA/mRNA testing, HPV Nucleic Acid Amplification Tests: NAATs)
  2. การตรวจคัดกรองด้วยน้ำส้มสายชูและดูด้วยตาเปล่า (Visual inspection: VIA)
  3. การตรวจทางเซลล์วิทยาปากมดลูก (Pap smear/ liquid-based cytology)
สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบปฐมภูมิ (Primary HPV testing) หรือการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี มีความไวและความจำเพาะที่สูงในการตรวจหารอยโรคตั้งแต่ระยะก่อนเป็นมะเร็งปากมดลูก และได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (US-FDA) ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในหญิงที่อายุมากกว่า 25 ปี
สำหรับประเทศไทยมีรายงานการเข้าถึงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกร้อยละ 30-60 เท่านั้น โดยใช้การคัดกรองด้วยเซลล์วิทยา และการตรวจคัดกรองด้วยน้ำสมสายชู และการดูด้วยตาเปล่า (VIA) เป็นหลัก
โดยสาเหตุที่ทำให้การเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีอัตราต่ำเกิดจากทัศนคติว่าตนเองไม่มีความเสี่ยงของโรค ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ความกลัวหรือรู้สึกเขินอายจากการตรวจภายใน

ถาม ประโยชน์ของการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (Primary HPV testing)
ตอบจากปัจจุบันมี งานวิจัยจำนวนมากพบว่าการตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวี (primary HPV testing) มีประสิทธิภาพสูงกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยา (cervical cytology) ในการตรวจหารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ยังช่วยลดอุบัติการณ์ และการเสียชีวิตของสตรีจากมะเร็งปากมดลูกลงได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้การตรวจสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสเอชพีวีหากพบผลปกติ สามารถตรวจติดตามทุก 5 ปี จึงพบว่ามีความคุ้มทุนมากกว่าการตรวจทางเซลล์วิทยาที่ต้องตรวจติดตาม ทุก 3 ปี

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

Baby Delivery Package

Baby Delivery Package

Normal Delivery Package
: 34,900 Baht

Ceasarean Section Delivery Package
: 46,900 Bath


Single room - Recovery period 3 days 2 nights
Package Includes :
  • Doctors’ fees: obstetrician, pediatrician, and specialized medical team
  • Medical equipment, medical supplies, and medication required for delivery
  • Vaccinations, laboratory testing, and screening
    • Tuberculosis vaccine (BCG), 1st dose of Hepatitis B vaccine, and Vitamin K
    • Blood type test (ABO grouping, Rh typing, Direct Coombs test)
    • Screening for phenylketonuria (PKU) and thyroid stimulating hormone (TSH)
    • Newborn hearing screening
    • Pulse oximetry screening for congenital heart defects
    • Screening for neonatal hyperbilirubinemia
  • Private recovery room, including meals and nursing service
  • Inpatient care: 3 days 2 nights
  • Complimentary Bangpo Membership for special discounts
  • Footprint and first picture of the baby
  • Breastfeeding pillow and gift set
  • Birth Certificate Service
Terms and Conditions
  • Package does not include pain medication, epidural block.
  • Package does not include take-home medications, personal expenses, additional medical supplies.
  • Package may not be suitable for all women, based on the current health conditions of the mother and/or child.
    For further details, please contact the Obstetrics-Gynecology (OB/GYN) Clinic.
  • A VIP recovery room is available for an additional 2,000 Baht a night.
  • All prices are subject to change without prior notice.
Single room - Recovery period 4 days 3 nights
Package Includes :
  • Doctors’ fees: obstetrician, pediatrician, and specialized medical team
  • Medical equipment, medical supplies, and medication required for delivery
  • Vaccinations, laboratory testing, and screenings
    • Tuberculosis vaccine (BCG), 1st dose of Hepatitis B vaccine, and Vitamin K
    • Blood type test (ABO grouping, Rh typing, Direct Coombs test)
    • Screening for phenylketonuria (PKU) and thyroid stimulating hormone (TSH)
    • Newborn hearing screening
    • Pulse oximetry screening for congenital heart defects
    • Screening for neonatal hyperbilirubinemia
  • Spinal block anesthesia
  • Private recovery room, including meals and nursing service
  • Inpatient care: 4 days 3 nights
  • Complimentary Bangpo Membership for special discounts
  • Footprint and first picture of the baby
  • Breastfeeding pillow and gift set
  • Birth Certificate Service
Terms and Conditions
  • Package does not include sterilization, appendectomy surgery or other procedures.
  • If needed, local anesthesia is additional 8,000 Baht. Sterilization is an additional 5,000 Baht.
    Appendectomy surgery is additional 10,000 Baht.
  • Package does not include take-home medications, personal expenses, additional medical supplies.
  • Package may not be suitable for all women, based on the current health conditions of the mother and/or child.
    For further details, please contact the Obstetrics-Gynecology (OB/GYN) Clinic.
  • A VIP recovery room is available for an additional 2,000 Baht a night.
  • All prices are subject to change without prior notice.
Single room for package
Now - 31 December 2024

โปรแกรมและแพ็คเกจ

Baby Delivery Package

Normal Delivery Pack […]

PACKAGE ฝังยาคุมกำเนิด

แพ็กเกจฝังยาคุมกำเนิ […]

การตรวจวัดระดับ Lipoprotein (a)

การตรวจวัดระดับ Lipoprotein (a)

Lipoprotein (a) คืออะไร
Lipoprotein (a) หรือที่เรียกว่า Lp(a) เป็นชนิดของโปรตีนไขมันที่มีส่วนผสมระหว่างโปรตีนและไขมัน Lp(a) มีโครงสร้างคล้ายกับ LDL (low-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันที่มักเรียกว่า "คอเลสเตอรอลตัวเลว" แต่มีโปรตีนเพิ่มเข้ามาที่เรียกว่า apolipoprotein(a)
Lp(a) เป็นสิ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และมีบทบาทสำคัญในการสะสมไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดอุดตัน (atherosclerosis) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ปริมาณ Lp(a) ในเลือดจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงจากการรับประทานอาหารหรือการใช้ยาลดคอเลสเตอรอลเหมือนกับ LDL
Lipoprotein (a) หรือ Lp(a) ถูกควบคุมโดย พันธุกรรม เป็นหลัก ซึ่งหมายความว่าระดับของ Lp(a) ในเลือดถูกกำหนดจากยีนที่สืบทอดจากพ่อแม่ การมีระดับ Lp(a) สูงมักเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดภายในครอบครัว และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหารหรือการออกกำลังกายเหมือนกับการควบคุมคอเลสเตอรอลชนิดอื่น
ยีนที่ควบคุมการผลิต Lp(a) คือยีน LPA ซึ่งมีอิทธิพลต่อปริมาณของ apolipoprotein(a) ที่ร่างกายสร้างขึ้น การกลายพันธุ์ของยีน LPA อาจทำให้เกิดความหลากหลายของระดับ Lp(a) ในเลือด บางคนอาจมีระดับต่ำมาก ในขณะที่บางคนอาจมีระดับสูง
การตรวจวัดระดับ Lp(a) ในเลือดสามารถช่วยประเมินความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อโรคหัวใจในผู้ป่วยที่มีประวัติครอบครัวของโรคหัวใจหรือภาวะไขมันในเลือดสูง
การตรวจวัดระดับ Lipoprotein (a) หรือ Lp(a) ในเลือดทำได้ด้วยวิธีการตรวจเลือดปกติ ขั้นตอนหลัก ๆ มีดังนี้:
  • การเตรียมตัวก่อนตรวจ
    • ปกติแล้วการตรวจ Lp(a) ไม่จำเป็นต้องงดอาหารหรือเครื่องดื่ม (Fasting) ก่อนตรวจ แต่บางครั้งแพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยงดอาหารหากมีการตรวจคอเลสเตอรอลหรือไขมันชนิดอื่นร่วมด้วย
    • ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์ถึงประวัติการใช้ยา หรือประวัติทางการแพทย์อื่น ๆ เพื่อประเมินความเหมาะสมในการตรวจ
  • การเก็บตัวอย่างเลือด
    • ตรวจวิเคราะห์เลือดในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับ Lp(a) ผลการตรวจภายใน 7 วัน โดยระดับ Lp(a) ในเลือดจะถูกวัดในหน่วย มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) หรือ นาโนโมลต่อลิตร (nmol/L)
  • การสรุปผลการตรวจ
    • ค่าปกติของ Lp(a) จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม
    • ระดับ Lp(a) ที่สูงกว่า 30 mg/dL หรือ 75 nmol/L อาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต
ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจผลการตรวจและการประเมินความเสี่ยง
เนื่องจาก Lp(a) มีผลต่อความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยระดับ Lp(a) ในผู้ป่วยมักจะคงที่ตลอดชีวิต เพราะถูกควบคุมโดยยีน LPA ไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม เช่น อาหาร ยา หรือการออกกำลังกาย แพทย์จึงแนะนำให้ตรวจวัดระดับ Lp(a) ในผู้ที่มีประวัติครอบครัวของโรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดอาจเป็นวิธีที่ดีในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคในอนาคต และหาแนวทาง วิธีการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรค

โปรแกรมและแพ็คเกจ