นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง

นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง
แพทย์ หู คอ จมูก

นพ.กรวิชญ์ กิติศรีรุ่งเรือง

KORAWIT KITISRIRUNGRUEANG, M.D.
Specialty
  • โสต ศอ นาสิก อนุสาขาผู้ป่วยเด็ก
    Pediatric otolaryngologist

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วุฒิบัตร โสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตร อนุสาขาผู้ป่วยเด็ก 

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SAT 13:00 - 18:00
(เสาร์ที่ 1, 3, 5)

โรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

รักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ

โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง ถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับคนเมือง สาเหตุของโรค เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น เช่น ฝุ่น ควัน ของฉุน มลภาวะทางอากาศ และการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เป็นต้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ เช่น คันจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา เสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง เจ็บคอ ระคายคอ ไอ เสียงแหบ หรืออาจมีอาการอื่นๆ เช่น คันตา คันคอ คันหู หรือคันที่เพดานปาก ปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการใช้ยารับประทาน การใช้ยาพ่นจมูก และการใช้น้ำเกลือล้างจมูก ในผู้ป่วยบางราย ถึงแม้ว่าจะหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ข้างต้นแล้ว อาการของโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบก็ยังไม่ดีขึ้น บางคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นได้ หรือไม่ต้องการใช้ยาในการรักษา กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วนั้นปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการรักษา

การรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radiofrequency volumetric tissue reduction: RFVTR)
การใช้คลื่นความถี่วิทยุ เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา เป็นการผ่าตัดนำเข็มพิเศษเข้าไปในเนื้อเยื่อจมูก เพื่อส่งคลื่นความถี่วิทยุ(Radiofrequency) ไปยังเยื่อบุจมูกที่บวมโตจนอุดกั้นโพรงจมูก คลื่นความถี่สูงนี้จะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เกิดการสูญเสียสภาพและเกิดการหดรัดของเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ต้องการรักษาหดตัวลง ทำให้โพรงจมูกโล่งขึ้น หายใจสะดวกขึ้น นอกจากนี้ คลื่นความถี่วิทยุยังได้ลดจำนวนต่อมสร้างน้ำมูก จึงช่วยรักษาอาการคัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และเสมหะลงคออีกด้วย

วิธีรักษาแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ทำการรักษาโดยใส่เครื่องมือผ่านทางช่องจมูก ทำให้ไม่มีบาดแผลที่มองเห็นได้จากภายนอก ควรทำในผู้ป่วยที่ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นหวัดหรือมีอาการติดเชื้อของทางเดินหายใจเฉียบพลันในขณะทำการรักษา การรักษาโรคภูมิแพ้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ เป็นวิธีการผ่าตัดที่ง่ายในการทำ มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน ใช้เวลาในการทำการรักษาประมาณ 20 นาที ผลข้างเคียงน้อย และให้ผลการรักษาที่ดีโดยที่ผลของการรักษาในการลดอาการคัน, จาม, น้ำมูกไหล และเสมหะในคอจะเห็นผลชัดเจนใน 4-6 สัปดาห์ และผลนั้นคงอยู่นานถึง 1-2 ปี/div>

คำแนะนำการปฏิบัติตัวหลังการรักษา
ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บแผลที่เยื่อบุจมูกเล็กน้อย มีน้ำมูกหรือน้ำลายปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย  อาจมีอาการบวม รู้สึกตึงบริเวณจมูกคล้ายกับมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในโพรงจมูก เสียงเปลี่ยน หรือมีไข้ แต่อาการต่างๆ เหล่านี้จะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์

หลังทำการรักษา เยื่อบุจมูกอาจบวมมากขึ้น ทำให้คัดจมูก หายใจลำบาก ผู้ป่วยอาจต้องหายใจทางปาก จึงควรนอนศีรษะสูง อมและประคบน้ำแข็งที่หน้าผากหรือคอบ่อยๆ ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการต่างๆ ดังกล่าวและลดอาการเลือดออกบริเวณแผลผ่าตัด และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง

ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ หลีกเลี่ยงการแคะ แกะ เกา หรือกระทบกระเทือนบริเวณจมูก งดออกกำลังกายหักโหม ยกของหนัก หรือการออกแรงมาก เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลผ่าตัดได้ หากมีเลือดออกให้นอนศีรษะสูง อมและประคบน้ำแข็งจนกระทั่งเลือดหยุด หากเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

การทำความสะอาดจมูกและแผลหลังทำ RF 48 ชั่วโมงแรก ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดสะเก็ดแผลซึ่งจะทำให้แผลหายช้า ขณะล้างทำความสะอาดอาจมีวัสดุห้ามเลือดหลุดออกมาจากโพรงจมูก ไม่ต้องตกใจ ผู้ป่วยสามารถล้างต่อได้ ยกเว้นถ้าเลือดออกมาก ควรหยุดล้าง และอมหรือประคบน้ำแข็งเพื่อให้เลือดหยุดไหล หากเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์ ถ้าล้างแล้ววัสดุห้ามเลือดไม่ออกมา แพทย์จะเอาออกให้ในวันนัดดูแผล

หลังทำ RF ประมาณ 1-2 สัปดาห์ แผลในจมูกจะหายเป็นปกติ เยื่อบุจมูกจะมีขนาดลดลง อาการต่างๆ ของโรคภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก คัน จาม น้ำมูกไหล และเสมหะลงคอ จะค่อยๆ ดีขึ้น โดยผู้ป่วยจะสังเกตได้ชัดเจนหลังทำ RF ประมาณ 4-6 สัปดาห์ สามารถทำซ้ำอีกได้หากผลการรักษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เมื่อไรควรผ่าตัดต่อมทอนซิล Tonsillectomy

Tonsillectomy

การผ่าตัดต่อมทอนซิล
ต่อมทอนซิลอักเสบ
เป็นภาวะติดเชื้อในช่องคอทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอ กลืนเจ็บ กลืนลำบาก มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ บางคนที่มีต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังก็จำเป็นต้องผ่าตัดออก เด็กมีแนวโน้มที่จะต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทอนซิลทำงานมากที่สุดในช่วงก่อนเข้าวัยวัยเจริญพันธุ์ การผ่าตัดต่อมทอนซิลอาจทำไปพร้อมกับการตัดต่อมอะดินอยด์ในผู้ป่วยเด็ก แต่ทั้งนี้ผู้ใหญ่ที่มีการอักเสบเรื้อรังอยู่บ่อยครั้งก็จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเช่นกัน
เมื่อไหร่ที่มีอาการตามนี้ การผ่าตัดทอนซิล คือ ทางออกที่ดีที่สุด
  • ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังเป็นๆหายๆ
  • ต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรง เกิดฝีรอบ ๆ ต่อมทอนซิล
  • สงสัยเนื้องอกที่ต่อมทอนซิล
  • ต่อมทอนซิลมีขนาดโตมาก จนอุดกั้นทางเดินหายใจ มีอาการนอนกรน
  • มีก้อนนิ่วที่ต่อมทอนซิล ทำให้มีกลิ่นปาก
การผ่าตัดทอนซิล (Tonsillectomy)
การผ่าตัดทอนซิล ทำโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก โดยทำการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ แพทย์ผ่าตัดจะทำการใส่เครื่องมือเล็ก ๆ เพื่ออ้าปากออก และใช้เครื่องจี้ไฟฟ้า หรือใช้วิธีคว้านเอาต่อมทอนซิลออกทั้งหมด โดยจะไม่มีแผล
  • การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 30 นาที
  • ผู้ป่วยจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล 1 คืน เพื่อดูอาการ
  • หลังผ่าตัดแนะนำให้ทานอาหารอ่อน ๆ เป็นเวลา 2-3 วันแรก
  • ในช่องคอจะพบมีรอยแผลสีขาว ๆ บริเวณต่อมทอนซิลที่ตัดออกไป ซึ่งเป็นภาวะปกติ รอยนี้จะหายไปได้เองภายในระยะเวลา 5-10 วัน
  • ระยะฟื้นตัวประมาณ 1-2 สัปดาห์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis)

อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ

Tonsillitis
ต่อมทอนซิลคือเนื้อเยื่อในลำคอ 2 ข้างบริเวณโคนลิ้น ทำหน้าที่ดักจับและกรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปในร่างกายมากขึ้น นอกจากต่อมทอนซิลแล้วบริเวณผนังลำคอด้านหลังเนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและต่อมอะดินอยด์ (Adenoid) ซึ่งอยู่บริเวณคอหลังจมูกก็เป็นตัวช่วยกรองเชื้อโรคเช่นกัน สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากภาวะที่ร่างกายอ่อนแอหรือติดเชื้อจากผู้อื่นที่เจ็บป่วย เชื้อโรคในช่องปากและคอจะมีปริมาณมากขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานมากขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ ทำให้ทอนซิลแดง บวม และโตขึ้น ซึ่งเรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ
อาการต่อมทอนซิลอักเสบ
คล้ายโรคคออักเสบทั่วไป คือเจ็บคอร่วมกับอาการอื่นๆ เช่น ไข้ ไอ เสมหะหรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอจะเจ็บมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง เมื่ออ้าปากจะพบว่า ทอนซิลมีลักษณะบวมแดงและโตกว่าปกติ ในกรณีที่เป็นเชื้อรุนแรงอาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย
อันตรายจากต่อมทอนซิลอักเสบ
เชื้อที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบบางชนิดเป็นเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดหนองรอบๆ ทอนซิลถ้าโรคลุกลาม อาจเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจได้ บางชนิดการอักเสบจะมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้ไต หรือหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัส (Streptococcal Tonsillitis)
ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ ขนาดของทอนซิลจะโต ซึ่งอาจทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ สังเกตได้จากขณะนอนหลับผู้ป่วยมักจะกรนดังหรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะในเด็ก
การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ
ถ้าอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา โดยให้พักผ่อนมากขึ้น ดื่มน้ำ รับประทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าร่างกายสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ภายใน 2-3 วัน อาการจะดีขึ้น แต่ถ้ามีอาการมาก เช่น มีไข้สูง เจ็บคอมาก ทานอาหารได้น้อย ควรมาพบแพทย์ หากตรวจพบอาการอักเสบค่อนข้างรุนแรง มักจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาอื่น ๆ ซึ่งอาการมักจะดีขึ้นในช่วง 3-7 วัน
จำเป็นต้องตัดทอนซิลออกหรือไม่
ต่อมทอนซิลมีหน้าที่กรองเชื้อโรคไม่ให้ลุกลามเข้าไปในร่างกายดังที่กล่าวแล้ว โดยทั่วไปจะไม่แนะนำให้ตัดทิ้ง แต่หากในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงหรืออันตรายจากทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตัดต่อมทอนซิลออก ได้แก่
  • ต่อมทอนซิลที่มีขนาดใหญ่ทำให้เกิดทางเดินหายใจอุดตัน นอนกรน
  • เคยมีภาวะหนองข้างทอนซิล (Peritonsillar abscess) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา
  • ต่อมทอนซิลโตกว่าปกติสงสัยว่าอาจเป็นเนื้องอกมะเร็ง
พิจารณาให้ผ่าตัดทอนซิลออกในกรณีนี้ เช่น มีอาการอักเสบบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปีหรือ 3-5 ครั้งใน 2 ปีติดต่อกัน, มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือมีเศษอาหารอุดตันเข้าไปในทอนซิล, ทอนซิลอักเสบชนิดสเตรปโตคอคคัสและทอนซิลที่โตข้างเดียวที่อาจเป็นมะเร็งได้
อายุเท่าไรที่สามารถตัดต่อมทอนซิลได้
โดยทั่วไปไม่จำกัดอายุในการผ่าตัดรวมถึงเด็กเล็ก ถ้ามีข้อบ่งชี้ชัดเจน และไม่มีข้อห้ามในการผ่าตัด เช่น มีปัญหาเลือดหยุดยาก โลหิตจาง ไม่สามารถใช้ยาสลบได้หรือมีโรคประจำตัวที่รุนแรง
การผ่าตัดทอนซิลมีวิธีการอย่างไร
การผ่าตัดทอนซิลต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโสต ศอ นาสิก โดยใช้เครื่องมือพิเศษตัดทอนซิลออกทางปาก ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นด้านนอก และมักผ่าตัดโดยการดมยาสลบ
การผ่าตัดจะใช้กรรไกร มีด และเครื่องจี้ให้เลือดหยุดไหล ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ ๆ ที่อาจลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดลงได้กว่าวิธีการเดิม เช่น ใช้คลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด

อันตรายจากการผ่าตัดทอนซิล
การผ่าตัดทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเลือดออกหลังการผ่าตัด ปวดบริเวณแผลทำให้กลืนลำบากหรืออาจเกิดอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ ดังนั้นจึงต้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 วันหลังจากการผ่าตัด จนแน่ใจว่าปลอดภัยแพทย์จึงอนุญาตให้กลับไปพักผ่อนที่บ้านได้
ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ไข้ ภาวะขาดน้ำ น้ำหนักลด เสียงเปลี่ยน ส่วนอันตรายถึงแก่ชีวิต จากภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มีโอกาสเกิดน้อยมาก
หลังผ่าตัดทอนซิลออก ทำให้เกิดคออักเสบบ่อยขึ้นหรือไม่
ถึงแม้ทอนซิลจะถูกตัดออก และตัวกรองเชื้อโรคลดลง แต่เนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและผนังลำคอยังสามารถกรองเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้เพียงพอ ดังนั้นหลังการผ่าตัด ถ้าผู้ป่วยดูแลสุขภาพได้ดี ความถี่ของคออักเสบจะเกิดไม่บ่อยขึ้น และมีแนวโน้มที่จะน้อยลง
การดูแลหลังการผ่าตัดทอนซิล
ในวันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนและเย็น เช่น น้ำหวาน ไอศกรีม โยเกิร์ต เยลลี่ เพื่อป้องกันไม่ให้แผลบวมและมีเลือดออก ในวันถัดไปจะปรับอาหารให้นุ่ม แข็งขึ้น อุ่นขึ้น ประมาณ 2-5 วันขึ้นอยู่กับอาการปวดของผู้ป่วย การรับประทานอาหารปกติและร้อนควรแน่ใจว่าแผลไม่มีปัญหาแล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้ ซึ่งมักใช้เวลา 5-7 วัน หลังออกจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าแผลหายดีและไม่มีเลือดออกอีก
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดต่อมทอนซิลอักเสบ
เช่นเดียวกับหลักการดูแลสุขภาพทั่วๆไป และป้องกันการเกิดหวัด โดยควรพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพคเกจ ทดสอบภูมิแพ้ บนผิวหนัง

รู้และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้แพ้ ด้วยการทดสอบภูมิแพ้บนผิวหนัง

Test Skin


การหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้แพ้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะท่านต้องอยู่โรค

Test ภูมิแพ้ ด้วยการทดสอบบนผิวหนัง

Allergy test
การหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้แพ้ ตามปกติแล้วการหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่ทำให้ท่านแพ้ที่ผ่านระบบหายใจ เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มักจะทำได้ไม่สมบูรณ์เด็ดขาดเหมือนกรณีที่แพ้อาหาร การหลีกเลี่ยงอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นสิ่งที่จำเป็น ถ้าท่านสามารถปฏิบัติได้ อาการต่างๆ เกี่ยวกับโรคที่ท่านเป็นอยู่จะดีขึ้น ซึ่งเป็นผลดีกับตัวท่านเอง ในแง่นี้อาจจะไม่ต้องมารักษาเลย ทั้งเป็นการทุ่นเวลาและทรัพย์ของท่านเองด้วย ในบางครั้งท่านหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้แล้วยังมีอาการเป็นครั้งคราว หรือบางฤดูกาลท่านอาจจะต้องรับประทานยาช่วยเป็นครั้งคราว อย่าลืมว่าการหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้เป็นวิธีที่ดีที่สุด

การทดสอบภฺมิแพ้บนผิวหนัง
 
 
เงื่อนไขการใช้บริการ
  • นัดหมายล่วงหน้า โทร. 02 587 0144  ต่อ 2220
  • ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
วันนี้ - 30 มิถุนายน 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ

การผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์

การผ่าตัดรักษาต่อมไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมขนาดใหญ่ที่สุดในระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย มีรูปร่างคล้ายผีเสื้ออยู่ตรงส่วนหน้าของลำคอ บริเวณใต้ลูกกระเดือกลงมา หน้าที่ของต่อมไทรอยด์คือการหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้ร่างกายสามารถเผาผลาญพลังงานและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย ในบางครั้งอาจพบก้อนเนื้อเกิดขึ้นบนต่อมไทรอยด์ได้ ก้อนเหล่านี้ส่วนใหญ่มักเป็นเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่มีประมาณ 5% ที่เป็นมะเร็ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
การวินิจฉัยก้อนที่ต่อมไทรอยด์
มักตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์จากการตรวจร่างกายประจำปีหรือจากการตรวจทางรังสีวินิจฉัยที่ส่งทำจากปัญหาอื่นๆ หลังจากที่แพทย์ตรวจพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ แพทย์จะส่งตรวจเพิ่มเติมดังนี้
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
  1. ตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ เพื่อดูว่าต่อมไทรอยด์ทำงานปกติหรือไม่
  2. ตรวจต่อมไทรอยด์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อให้เห็นภาพของต่อมไทรอยด์ ระบุตำแหน่งและขนาดของก้อน และดูลักษณะของก้อนว่าเป็นก้อนแข็งหรือมีสารน้ำอยู่ภายใน
  3. การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะก้อนเพื่อส่งชิ้นเนื้อไปตรวจ
  4.  Thyroid scan เป็นการใช้สารไอโอดีนทึบรังสีเพื่อช่วยระบุว่าก้อนนั้นเป็นเนื้องอกธรรมดาหรือเป็นมะเร็ง จะตรวจเฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะมีได้หลายลักษณะ  สามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณผิดปกติ แต่อาจจะมีเนื้องอกหรือไม่มีก็ได้ ถ้ามีการสร้างฮอร์โมนผิดปกติ แพทย์จะรักษาด้วยการคุมฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งต้องใช้ยาหรือการกลืนแร่ไอโอดีน เพื่อทำให้ตัวต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานปกติ ซึ่งไม่ได้ใช้การผ่าตัดรักษาเป็นหลัก แต่ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัด

2) ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนปริมาณปกติ แต่มีเนื้องอกเกิดขึ้น

  • กลุ่มที่เป็นเนื้องอกธรรมดา  กลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย แค่ทานยาเสริมฮอร์โมนเข้าไป เนื้องอกก็อาจจะเล็กลงได้ แต่ถ้าเนื้องอกขนาดใหญ่ทานยาแล้วขนาดก้อนไม่ยุบหรือเนื้องอกเบียดทางเดินหายใจ หรือมีปัจจัยเสียงที่จะเป็นมะเร็งมากขึ้น เช่น เคยได้รับรังสีบริเวณคอมาก่อน หรือมีประวัติเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ในครอบครัว  แพทย์จะพิจารณาการรักษาโดยการผ่าตัด
  • กลุ่มที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ กลุ่มนี้จำเป็นต้องรับการรักษาโดยการผ่าตัดทันที
การผ่าตัดไทรอยด์
  1. ผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด สามารถผ่าตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ได้ทุกชนิดโดยเฉพาะมะเร็งต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดวิธีนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีแผลผ่าตัดบริเวณกลางลำคอ ทั้งนี้ในการผ่าตัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพยายามเปิดแผลผ่าตัดให้เล็กที่สุดตามรอยผิวหนังเพื่อให้เห็นรอยแผลผ่าตัดน้อยที่สุด โดยความยาวแผลผ่าตัดขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนด้วย
  2. ผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้อง ข้อดีคือซ่อนแผลบริเวณกลางลำคอ โดยมีเพียงแผลขนาดเล็กบริเวณรักแร้ แต่มีข้อจำกัดคือผ่าตัดได้ฉพาะก้อนที่ขนาดไม่ใหญ่มาก และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดสูงกว่าแบบเปิด

ผู้ป่วยที่ผ่าตัดแบบเปิดจะมีแผลที่ผิวหนังบริเวณด้านหน้าลำคอ มีผ้าก๊อซปิดแผล และท่อระบายออกจากแผลเพื่อป้องกันเลือดออกและคั่งอยู่ใต้แผล เมื่อเลือดและของเหลวใต้แผลที่ออกจากท่อระบายน้อยลง แพทย์ก็จะเอาท่อระบายออก  ผู้ป่วยจะได้รับยาที่จำเป็น เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ยาละลายเสมหะ

ภาวะแทรกซ้อน
    ภาวะแทรกซ้อน ที่อาจเกิดการผ่าตัด ได้แก่ แผลผ่าตัดติดเชื้อ สายเสียงไม่ทำงานทำให้มีเสียงแหบ พบได้ 1-5%  มีเลือดออกใต้แผลผ่าตัดซึ่งอาจทำให้เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ แต่ภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้พบได้น้อยมาก ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยจะกลับบ้านได้หลังผ่าตัดประมาณ 3 วัน แพทย์จะนัดมาดูแผลผ่าตัดและตัดไหม รวมทั้งฟังผลชิ้นเนื้อ ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด

ตัวอย่างแผลผ่าตัดวันที่ 3

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 เดือน

ตัวอย่างแผลผ่าตัด 1 ปี

โรคหืด

โรคหืด (Asthma)

Asthma
อาการของผู้ป่วยขณะที่จับหืดคือ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังหวีด มักมีอาการเป็นๆหายๆ หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจมีอาการทุกคืน อาการอาจบรรเทาได้ด้วยยาขยายหลอดลม แต่ก็มักควบคุมอาการได้เฉพาะช่วงแรกๆ ต่อมามักต้องใช้ยาบ่อยขึ้นและมากขึ้น บางครั้งโรคหืดอาจแสดงอาการเพียงแต่อาการไอกลางคืน หรือไอเรื้อรังโดยไม่มีเสียงหวีด หรืออาการแน่นหน้าอกก็ได้ ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น บางครั้งก็มีอาการแน่นหน้าอกเฉพาะช่วงออกกำลังกาย แต่ที่มักถูกมองข้ามเกือบเสมอๆ คือ ไม่ได้นึกถึงโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งสามารถพบร่วมกันได้มากกว่า 70-80% ซึ่งการให้การรักษาอาการของโรคหืดอย่างเดียวโดยไม่รักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูกด้วยจะทำให้ควบคุมอาการไม่ดีเท่าที่ควร
การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การตรวจวัดสมรรถภาพปอด ซึ่งนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยประเมินความรุนแรงของโรคอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพปอด ชนิด Spirometer อาจใช้เครื่องมือชนิดที่เรียกว่า Peak flow meter ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประโยชน์ในการประเมินอาการของโรคกรณีที่ไม่สามารถตรวจด้วย Spirometer ได้
โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
  • ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีอาการเด่นทางน้ำมูก คือจะมีน้ำมูกใสไหล จาม คันจมูก
  • ชนิดที่สองมีอาการเด่นทางอาการคัดจมูกเป็นหลัก มักไม่มีน้ำมูก หรืออาการจาม
  • ชนิดที่สามจะมีอาการของ 2 ชนิดแรกรวมกัน คือมีทั้งน้ำมูกใส และอาการคัดจมูก
  • ส่วนชนิดสุดท้ายจะมีอาการที่วินิจฉัยยากถ้าผู้ตรวจไม่มีความชำนาญ อาจวินิจฉัยผิดได้ กลุ่มนี้อาจมีอาการ ไอเรื้อรังหรือกระแอม ซึ่งเกิดจากเสมหะไหลหรือซึมลงคอ อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ บางคนมีอาการปวดหัว/ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนมีอาการคันหัวตา โดยไม่มีอาการตาแดง อธิบายว่าเกิดจากการที่มีเยื่อจมูกบวมมากทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดๆกันอักเสบ เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก
การวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้จากการซักประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติโรค หรือมีอาการภูมิแพ้ภายในครอบครัว การสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งสภาพลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน การตรวจร่างกายบางอย่างถ้าพบก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เช่น การมีขอบตาล่างบวมคล้ำ การตรวจภายในโพรงจมูกจะช่วยบอกถึงความรุนแรงของการอักเสบ และอาจบอกถึงโรคในโพรงจมูกที่มีผลต่อการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ เช่น อาจพบการซีด หรือมีสีแดงจัดจากการอักเสบ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรคจมูกอักเสบเรื้อรัง

โรคภูมิแพ้ หรือโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง ถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่งเลยทีเดียวสำหรับคนเมือง สาเหตุของโรค เกิดจากเยื่อบุจมูกมีความไวผิดปกติเมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้น ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคที่สามารถสังเกตได้ เช่น คันจมูก จามติดต่อกันหลายครั้ง มีน้ำมูกใสไหลตลอดเวลา เสมหะไหลลงคอ จมูกไม่ได้กลิ่นหรือได้กลิ่นลดลง หรืออาจมีอาการอื่นๆ เช่น คันตา คันคอ คันหู หรือคันที่เพดานปาก ปวดศีรษะ ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น โดยทั่วไปผู้ป่วยมักบรรเทาอาการด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ร่วมกับการใช้ยารับประทาน การใช้ยาพ่นจมูก และการใช้น้ำเกลือล้างจมูก กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเรื้อรังและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วนั้นปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุมาใช้ในการผ่าตัด เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคภูมิแพ้โพรงจมูกอักเสบซึ่งได้ผลลัพธ์ที่ดีหลังการรักษา #โรงพยาบาลบางโพ#ภูมิแพ้#สุขภาพ

ทำจมูกทั้งทีซิลิโคนประเทศไหนดี

 

ซิลิโคนที่ใช้ในการศัลยกรรมจมูก แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

    1. ซิลิโคนสำเร็จรูป  เป็นซิลิโคนที่ขึ้นรูปร่างมาสำเร็จพร้อมที่จะใส่ให้กับผู้ใช้บริการ  ถูกกำหนดให้มีความกว้างและยาวที่แตกต่างกัน ก่อนทำการเสริมจมูกแพทย์จะปรับแต่งซิลิโคนเล็กน้อยเพื่อให้ได้รูปทรงที่เหมาะสมกับโครงจมูกแต่ละคน

ข้อดีของซิลิโคนสำเร็จรูป คือ ได้รูปทรงที่แน่นอน โอกาสเอียงมีน้อยมาก และมีให้เลือกหลายเกรด ความแข็ง-นิ่มมีหลายระดับ ช่วยประหยัดเวลาในการผ่าตัด

   2. ซิลิโคนแบบเหลาเอง ซิลิโคนมีลักษณะเป็นแผ่นใหญ่ แพทย์จะทำการเหลาซิลิโคนเองให้เหมาะกับทรงจมูกของแต่ละคน ข้อดีคือสามารถเหลาปรับรูปทรงให้เหมาะสมกับโครงจมูกของแต่ละคนได้ ออกแบบรูปทรงจมูกได้ดี

ตามความต้องการของแต่ละบุคคล แต่จะมีความยุ่งยากในการเหลาให้ได้รูปทรง ใช้ระยะเวลานาน ถ้าเหลาซิลิโคนไม่ดีก็จะทำให้มีโอกาสเอียงได้

 

 

 

ญี่ปุ่น เป็นซิลิโคนมาตรฐานธรรมดา โดยนำเข้าวัตถุดิบมาจากประเทศญี่ปุ่น

ดำเนินการผลิตในประเทศไทย เป็นซิลิโคนมีสีเหลืองอ่อน เนื้อซิลิโคนค่อนข้างแข็ง

อาจจะเสี่ยงทะลุได้ สำหรับผู้ที่มีเนื้อจมูกน้อยไม่ควรใช้ซิลิโคนชนิดนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

เกาหลี เป็นซิลิโคนสำเร็จรูป มาตรฐานพิเศษคุณภาพดี มีจุดเด่นตรงที่ช่วงโคนจมูก

และปลายจมูกมีความนิ่มมาก มีความยืดหยุ่นตัวสูง ไม่มีโอกาสจะทะลุและเอียงได้เลย

เนื่องจากมีความนิ่มมากความคงรูปของทรงจมูกก็อาจทำได้ไม่ดีมากนักเมื่อเสริมไปในระยะเวลานานๆ

 

 

 

 

 

 

สหรัฐอเมริกา เป็นซิลิโคนมาตรฐานพิเศษ มีความบริสุทธิ์ มีความปลอดภัยและคุณภาพดี (Medical Grade Silicone)

ซิลิโคนมีสีขาว เนื้อนิ่ม เนียน ละเอียดมาก และมีความยืดหยุ่นได้ดี ดังนั้นจึงมีความนิยมเลือกใช้กันมากที่สุด

เนื่องจากเนื้อของซิลิโคนมีความนิ่มปานกลาง และไม่นิ่มจนเกินไป สามารถเหลาปรับแต่งรูปทรงได้ตามต้องการได้ดี

เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อบริเวณของสันจมูกค่อนข้างมาก หรือคนที่มีโครงจมูกที่ยาว หลังจากเสริมจมูกด้วยซิลิโคนของประเทศอเมริกาแล้ว

นอกจากจะทำให้ จมูกดูโด่งสวยเนียน และยังไม่มีโอกาสที่จะยุบตัวลง เมื่อเสริมไปนาน ๆ อีกด้วย