โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้ว

Bipolar Disorder

 

30 มีนาคม “วันไบโพลาร์โลก” (World bipolar day) ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้ตระหนักถึงปัญหาที่ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ต้องพบเจอ สร้างความรู้ความเข้าใจแก่คนทั่วไปว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร และช่วยกันลดความเข้าใจหรือความเชื่อผิดๆ ที่สร้างแผลทางใจต่อผู้ป่วย โรคไบโพลาร์จัดเป็นโรคในกลุ่มจิตเวช ที่เกี่ยวข้องกับด้านอารมณ์ สามารถพบได้สูงถึง 1.5-5% ของจำนวนประชากร มักพบได้บ่อยในช่วงอายุ 15-19 ปี และรองลงมาคืออายุ 20-24 ปี โดยกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยจะมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี และยังมีโอกาสที่จะกลับมาเป็นซ้ำได้สูงถึง 70-90%  กรมสุขชภาพจิต
โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)
หรือที่รู้จักกันดีว่า “โรคไบโพลาร์” โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์สองขั้วสลับไปมาอย่างรุนแรง คือช่วงที่อารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ (Mania) กับ ช่วงอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ (Depression) โดยในแต่ละช่วงอารมณ์อาจอยู่นานเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน โดยมีช่วงอารมณ์ปกติคั่นกลางได้ สาเหตุสำคัญเกิดจากสารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ หรืออาจถูกกระตุ้นในผู้ที่มีความเครียดสะสม หรืออดนอนบ่อยๆ ร่วมด้วย การแสดงออกทางอาการแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
1. ภาวะตกต่ำในอารมณ์ (Depressive Episode)
อารมณ์ที่โดดเดี่ยว และเศร้าเสมอไปกับ อารมณ์ซึมเศร้า (Depression) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มีอาการซึมเศร้า เก็บตัว เสียใจง่าย ร้องไห้ง่าย
  2. มีปัญหาด้านการนอน นอนไม่หลับ หรือนอนหลับมากเกินไป
  3. มีปัญหาด้านการกิน กินมากเกินไป หรือกินน้อยเกินไป
  4. สมาธิลดลง ไม่สามารถจดจำสิ่งต่างๆ ได้
  5. วิตกกังวลต่อสิ่งรอบตัว มองโลกในแง่ร้าย หรือมีความสุขทางกายลดลง
  6. ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน
  7. รู้สึกเบื่อ ท้อแท้ สิ้นหวัง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ หรือขาดความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ
  8. รู้สึกผิดหวัง ไม่มีความสุข มีความคิดเรื่องการตายอยู่เรื่อยๆ
2. ภาวะขึ้นสูงในอารมณ์ (Manic Episode)
อารมณ์ที่เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและมีพลังงานมาก อารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (Mania) ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ มักมีอาการ
  1. มักคิดว่าตนเองสำคัญ มั่นใจในตัวเองมากขึ้น หรือความรู้สึกมีพลังงานเป็นพิเศษ
  2. นอนน้อยกว่าปกติมาก โดยไม่มีอาการเพลีย หรือไม่นอนเลย
  3. คิดเร็ว พูดเร็ว พูดมากกว่าปกติ
  4. ทำกิจกรรมหลายๆ อย่างในช่วงเวลานั้น
  5. ภาวะในการตัดสินใจไม่ดี หรือการประสบความสำเร็จที่เกินไป
  6. โต้ตอบต่อสิ่งเร้าอย่างรวดเร็วและรุนแรง หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ไม่มีเหตุผล
  7. ความเสี่ยงทางพฤติกรรมหรือการพึ่งพาตัวเองที่มีความเสี่ยงสูง
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคไบโพลาร์เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อสมดุลของสารเคมีในสมองและพฤติกรรมของร่างกาย ได้แก่
  1. พันธุกรรมความเสี่ยงในการเป็นโรคไบโพลาร์สามารถถ่ายทอดผ่านพันธุกรรมได้ หากคุณมีคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคนี้ คุณมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคไบโพลาร์สูงกว่าคนทั่วไป
  2. สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมรอบตัวเช่น ความเครียดในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้สารเสพติดอื่น ๆ ก็อาจมีผลในการเสริมสร้างความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์
  3. ภาวะทางจิตใจการเลี้ยงดูในวัยเด็กหรือวิกฤตในชีวิตที่ประสบกับเหตุการณ์ทางจิตใจที่รุนแรง เช่น การสูญเสียคนในครอบครัว การเหยียดหยาม หรือการเจ็บป่วยร้ายแรง อาจมีผลต่อการพัฒนาของโรคไบโพลาร์
  4. ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมองสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน ดอปามีน และนอร์อะดรีนาลีน มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และความผิดปกติในระดับของสารเคมีเหล่านี้อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุของโรคไบโพลาร์
  5. โรคร่วมอื่นบางครั้งโรคไบโพลาร์อาจเกิดขึ้นพร้อมกับโรคร่วมอื่น ได้แก่ โรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคหลอดเลือดสมอง โรคไมเกรน เนื้องอกสมอง อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคต่อมไร้ท่อ เช่น ความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน โรคติดเชื้อ เช่น โรคเอดส์ การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง โรคเกี่ยวกับระบบผู้คุ้มกัน เช่น SLE
วิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาได้ตามอาการ เน้นการควบคุมอารมณ์และลดความรุนแรงของโรค เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว
  1. การรักษาด้วยยาใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองให้กลับสู่สภาวะปกติ ทำให้อารมณ์มั่นคง สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น หากผู้ป่วยกังวลกับผลข้างเคียงของยา แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ และแม้ว่าอาการจะดีขึ้นแต่ห้ามหยุดยาเอง เพื่อป้องกันไม่ให้กลับมามีอาการของโรคซ้ำ หรือมีอาการของโรครุนแรงกว่าเดิม ให้ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  2. การรักษาด้วยจิตบำบัด(Psychotherapy)เป็นการทำจิตบำบัดด้วยการพูดคุยกับผู้ที่มีอาการของโรคไบโพลาร์โดยตรงกับจิตแพทย์ และ/หรือนักจิตวิทยาเพื่อวิเคราะห์สภาพจิตใจ สาเหตุของปัญหา และหาทางออกให้กับปัญหาอันเป็นที่มาของความทุกข์ในใจ พร้อมทั้งพัฒนาทักษะในการเผชิญกับปัญหา เพื่อให้สามารถเอาชนะปัญหา และอุปสรรคในชีวิตได้
โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ หากได้รับการรักษา การลดความขัดแย้งกับคนรอบข้างที่เป็นสาเหตุของความเครียด ไม่ควรอดนอน และไม่ควรใช้สารเสพติดหรือดื่มแอลกอฮอล์ และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง
หากคุณหรือคนรู้จักมีความเสี่ยงต่อโรคไบโพลาร์ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อการประเมินอาการและแนวทางการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

โปรแกรมและแพ็คเกจ