โรคหืด

โรคหืด (Asthma)

Asthma
อาการของผู้ป่วยขณะที่จับหืดคือ มีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังหวีด มักมีอาการเป็นๆหายๆ หรือในกรณีที่มีอาการมากอาจมีอาการทุกคืน อาการอาจบรรเทาได้ด้วยยาขยายหลอดลม แต่ก็มักควบคุมอาการได้เฉพาะช่วงแรกๆ ต่อมามักต้องใช้ยาบ่อยขึ้นและมากขึ้น บางครั้งโรคหืดอาจแสดงอาการเพียงแต่อาการไอกลางคืน หรือไอเรื้อรังโดยไม่มีเสียงหวีด หรืออาการแน่นหน้าอกก็ได้ ทำให้การวินิจฉัยยากขึ้น บางครั้งก็มีอาการแน่นหน้าอกเฉพาะช่วงออกกำลังกาย แต่ที่มักถูกมองข้ามเกือบเสมอๆ คือ ไม่ได้นึกถึงโรคภูมิแพ้ทางจมูก ซึ่งสามารถพบร่วมกันได้มากกว่า 70-80% ซึ่งการให้การรักษาอาการของโรคหืดอย่างเดียวโดยไม่รักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูกด้วยจะทำให้ควบคุมอาการไม่ดีเท่าที่ควร
การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การตรวจวัดสมรรถภาพปอด ซึ่งนอกจากจะช่วยในการวินิจฉัยโรคแล้ว ยังช่วยประเมินความรุนแรงของโรคอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการตรวจโดยวิธีนี้ทำได้ค่อนข้างยากในผู้ป่วยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 7 ปี กรณีที่ไม่มีเครื่องทดสอบสมรรถภาพปอด ชนิด Spirometer อาจใช้เครื่องมือชนิดที่เรียกว่า Peak flow meter ซึ่งมีราคาถูกกว่าและมีประโยชน์ในการประเมินอาการของโรคกรณีที่ไม่สามารถตรวจด้วย Spirometer ได้
โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)
อาการของโรคภูมิแพ้ทางจมูกอาจแบ่งได้เป็น 4 ชนิดคือ
  • ชนิดแรกเป็นชนิดที่มีอาการเด่นทางน้ำมูก คือจะมีน้ำมูกใสไหล จาม คันจมูก
  • ชนิดที่สองมีอาการเด่นทางอาการคัดจมูกเป็นหลัก มักไม่มีน้ำมูก หรืออาการจาม
  • ชนิดที่สามจะมีอาการของ 2 ชนิดแรกรวมกัน คือมีทั้งน้ำมูกใส และอาการคัดจมูก
  • ส่วนชนิดสุดท้ายจะมีอาการที่วินิจฉัยยากถ้าผู้ตรวจไม่มีความชำนาญ อาจวินิจฉัยผิดได้ กลุ่มนี้อาจมีอาการ ไอเรื้อรังหรือกระแอม ซึ่งเกิดจากเสมหะไหลหรือซึมลงคอ อาจรู้สึกมีเสมหะติดคอเวลาเช้าได้ บางคนมีอาการปวดหัว/ปวดศีรษะเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนมีอาการคันหัวตา โดยไม่มีอาการตาแดง อธิบายว่าเกิดจากการที่มีเยื่อจมูกบวมมากทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดๆกันอักเสบ เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก
การวินิจฉัยโรคนี้สามารถทำได้จากการซักประวัติทางการแพทย์อย่างละเอียด โดยเฉพาะประวัติโรค หรือมีอาการภูมิแพ้ภายในครอบครัว การสังเกตตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการ รวมทั้งสภาพลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ที่ทำงาน การตรวจร่างกายบางอย่างถ้าพบก็จะมีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรค เช่น การมีขอบตาล่างบวมคล้ำ การตรวจภายในโพรงจมูกจะช่วยบอกถึงความรุนแรงของการอักเสบ และอาจบอกถึงโรคในโพรงจมูกที่มีผลต่อการรักษาโรคภูมิแพ้ได้ เช่น อาจพบการซีด หรือมีสีแดงจัดจากการอักเสบ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ
แพทย์ หู คอ จมูก

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ

PHANUVICH  PUMHIRUN, M.D.
Specialty
  • โรคภูมิแพ้,โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • โรคภูมิแพ้ทางจมูก,โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง,โรคหืด,โรคภูมิแพ้อาหาร

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรสาขา : โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ประกาศนียบัตร : โสต ศอ นาสิก สถาบัน Georgetown Medical Center U.S.A.
  • Allergy Clinical Immunology สถาบัน Walter Reed Army Medical Center U.S.A
ผลงานด้านวิชาการ/การฝึกอบรม
  • ศาสตราจารย์คลินิก สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา แพทยสภา
  • คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินเอกสารทางวิชาการด้านคลินิก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข
  • กรรมการพิจารณางานทางวิชาการของผู้ที่สมควรจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการแพทยสถา
ประสบการณ์ในการทำงาน
  • หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการกองโสต ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
  • เจ้ากรมแพทย์ทหารบก

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 13:00 - 15:00