PM 2.5 กับโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ

PM 2.5 และ โรคภูมิแพ้

PM2.5 คืออะไร?
PM (Particulate Matter) คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ สามารถอยู่ได้ทั้งในรูปอนุภาคของแข็ง และ ของเหลว เกิดขึ้นได้ทั้งจากธรรมชาติ เช่น ไฟป่า หรือ ฝุ่นเกลือจากทะเล และ เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ไอเสียรถยนต์ หรือ การก่อสร้าง เป็นต้น
PM มีหลากหลายขนาด แต่ฝุ่นละอองที่สามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานมักเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน ฝุ่น PM สามารถแบ่งประเภทตามขนาดได้เป็น
  • ฝุ่นหยาบ (Coarse Particle, PM10) คือ ฝุ่นที่มีขนาด 2.5 - 10 ไมครอน ซึ่งฝุ่น PM10 นี้จะไปสะสมบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น ส่งผลให้เกิดอาการทางจมูก เช่น คัดจมูก คันจมูก จาม และ น้ำมูกไหล
  • ฝุ่นละเอียด (Fine Particle, PM2.5) คือ ฝุ่นที่มีขนาด 0.1 - 2.5 ไมครอน ฝุ่น PM2.5 นี้มีขนาดเล็กมากขึ้น จึงสามารถไปสะสมในบริเวณทางเดินหายใจส่วนล่างที่ลึกขึ้น และ ปอด ส่งผลให้เกิดอาการ ไอ แน่นหน้าอก หายใจติดขัด และ หอบเหนื่อยได้
  • ฝุ่นละเอียดพิเศษ (Ultrafine Particle, PM0.1) คือ ฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน ฝุ่นชนิดนี้มีขนาดที่เล็กมาก จึงสามารถสะสมที่ปอดได้นานมากขึ้น และ สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรง
PM 2.5 และ โรคภูมิแพ้
ฝุ่น PM2.5 มีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้เป็นอย่างมาก เนื่องจากฝุ่นนี้จะก่อให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วจึงมีอาการกำเริบได้ง่ายเมื่อได้รับ PM2.5 ทั้งโรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ เยื่อบุตาอักเสบ หอบหืด และ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
นอกจากนี้ การได้รับฝุ่น PM2.5 ยังสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ตัวเดิมได้มากขึ้น และ กระตุ้นให้เกิดการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดใหม่ได้อีกด้วย
การหลีกเลี่ยง และ ป้องกันฝุ่น PM2.5
  1. ตรวจเช็คดัชนีคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ หากระดับ PM2.5 อยู่ในระดับสูง ควรหลีกเลี่ยงการออกจากบ้าน และ งดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เด็ก คนชรา หญิงตั้งครรภ์ และ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ และ โรคหัวใจ
  2. สวมหน้ากากทางการแพทย์ หรือ หน้ากาก N95 เมื่อจำเป็นต้องออกนอกบ้าน
  3. ใช้เครื่องกรองอากาศที่มีตัวกรองอากาศ HEPA Filter (High Efficiency Particulate Air) ตัวกรองนี้จะสามารถกรองฝุ่นที่มีขนาด 0.3 ไมครอนได้ และ สามารถลดปริมาณสารก่อภูมิแพ้บางชนิดได้อีกด้วย
  4. ล้างจมูก และ ใช้ยารักษาโรคภูมิแพ้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดอาการที่อาจถูกกระตุ้นโดยฝุ่น PM2.5 ได้
ฝุ่น PM2.5 สามารถทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้มีอาการกำเริบได้ หากผู้ป่วยมีอาการแพ้จากฝุ่น PM2.5 และทำให้รบกวนกิจวัตรประจำวัน การทำงาน การเรียน หรือ การนอน ควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจประเมิน และ ให้การรักษาอย่างรวดเร็ว หากปล่อยไว้นานอาจทำโรคเรื้อรัง ยากต่อการรักษา และ ส่งผลกระทบต่อร่างกายได้

โปรแกรมและแพ็คเกจ

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ
แพทย์ หู คอ จมูก

พลโท ศ.คลินิก นพ. ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ

PHANUVICH  PUMHIRUN, M.D.
Specialty
  • โรคภูมิแพ้,โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • โรคภูมิแพ้ทางจมูก,โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง,โรคหืด,โรคภูมิแพ้อาหาร

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วุฒิบัตรสาขา : โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ประกาศนียบัตร : โสต ศอ นาสิก สถาบัน Georgetown Medical Center U.S.A.
  • Allergy Clinical Immunology สถาบัน Walter Reed Army Medical Center U.S.A
ผลงานด้านวิชาการ/การฝึกอบรม
  • ศาสตราจารย์คลินิก สาขาโสต ศอ นาสิกวิทยา วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบสาขาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา แพทยสภา
  • คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินเอกสารทางวิชาการด้านคลินิก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณะสุข
  • กรรมการพิจารณางานทางวิชาการของผู้ที่สมควรจะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์คลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
  • กรรมการแพทยสถา
ประสบการณ์ในการทำงาน
  • หัวหน้าภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา กองการศึกษา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการกองโสต ศอ นาสิกกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • ผู้บัญชาการโรงเรียนเสนารักษ์
  • เจ้ากรมแพทย์ทหารบก

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
WED 13:00 - 15:00