รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ

Child's delayed language or speech development
ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งหน้าตั้งตารอคอย เวลาลูกเรียกหาเราคงจะยิ้มหน้าบานไม่หุบเลย แต่ เอ๊ะ! ทำไมลูกเรายังไม่เรียก “พ่อ” “แม่” ซักที อย่างนี้ผิดปกติรึเปล่านะ? เราไปหาคำตอบกันค่ะว่าลูกพูดช้าแบบไหนต้องรีบใส่ใจพามาหาหมอ
ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ ?
ช่วงอายุ
ข้อควรสังเกต
แรกเกิด – 4 เดือน
ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี
อายุ 5 - 7 เดือน
ส่งเสียงน้อย หรือไม่ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู
อายุ 8 - 12 เดือน
ไม่หันหาเสียง ไม่ทำเลียนเสียงพยัญชนะอื่นนอกจาก “อ”
อายุ 15 เดือน
ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 คำ
อายุ 18 เดือน
ไม่เข้าใจหรือทำตามคำสั่งอย่างง่าย ไม่พูดคำที่มีความหมาย 3 คำ
อายุ 2 ปี
ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องกัน พูดคำศัพท์ได้รวมน้อยกว่า 50 คำ
อายุ 2 ปีครึ่ง
ไม่พูดเป็นวลียาว 3-4 คำ ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
อายุ 3 ปี
ไม่พูดเป็นประโยคสมบูรณ์ คนอื่นฟังภาษาที่เด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
อายุ 4 ปี
เล่าเรื่องสั้นๆไม่ได้ คนอื่นยังฟังภาษาที่เด็กพูดได้ไม่เข้าใจเกินร้อยละ 25
ถ้าลูกรักเข้าข่ายเฝ้าระวังข้างต้นแล้วละก็ อย่ารอช้ารีบพามาพบกุมารแพทย์เพื่อได้รับการตรวจพัฒนาการ ตรวจการได้ยิน และกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถติดตามดูพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการด้านอื่นๆของลูกด้วยตัวเองได้จากหนังสือคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ที่ได้รับแจกจากโรงพยาบาล หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QR codeนี้เลยค่ะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

ไข้ชักคืออะไร
โรคไข้ชัก (Febrile seizure หรือ Febrile convulsion) หมายถึง การชักที่พบกับไข้สูง เกิดในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ความผิดปกติของ
เกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชัก โดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
ใครมีความด้วยเป็นโรคไข้ชักบ้าง
  1. อายุที่พบบ่อย คือระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
  2. มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป (โดยเฉพาะใน 1-2 วันแรกของการมีไข้)
  3. มีประวัติไข้ชักในครอบครัว (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
การรักษา
ภาวะไข้ชักส่วนใหญ่สามารถหยุดชักเองได้ และป้องกันไม่ให้ชักซ้ำโดยลดไข้ ถ้าการชักไม่หยุดเองใน 3-5 นาทีแพทย์จะพิจารณาให้ยาไดอะซีแปม (Diaizepam) เพื่อหยุดชักในเบื้องต้น โดยอาจใช้การฉีดหรือสวนทางทวารหนัก
ในระยะยาวเนื่องจากไม่พบความผิดปกติทางสมองจากไข้ชักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชักในระยะยาว เว้นแต่เป็นผู้ป่วยที่ชักซ้ำหลายครั้งรวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง แพทย์อาจพิจารณาให้ยากันชักช่วงที่มีไข้
อันตราย
  • โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชัก
  • ถ้าเป็นไข้ชักไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำและไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชักพบว่า ไม่มีผลกับสมอง ระดับสติปัญญา พัฒนาการและพฤติกรรมในอนาคต
  • โอกาสเป็นโรคลมชักเท่าเด็กทั่วไป
  • ยกเว้น ถ้ามีไข้ชักหลายครั้ง ร่วมกับเป็นอายุ 12 เดือนและมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักก่อนอายุ 25 ปี ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาเพื่อช่วยลดระยะเวลาของไข้
เกิดไข้ชักซ้ำได้หรือไม่
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 50
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 30
  • ไข้ชักมาแล้ว 2 ครั้งมีโอกาสชักครั้งที่ 3 ร้อยละ 50
การป้องกันการชักซ้ำ
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง สามารถป้องกันการเกิดไข้ชักได้โดยรีบลดอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ซึ่งต้องทำลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
  • ให้ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ให้ขนาดที่พอเหมาะกับน้ำหนักตัวเด็กทันทีที่ทราบว่าไข้ขึ้น และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
  • ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
  • เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
  • ควรระมัดระวังการให้ยาลดไข้สูง ในกลุ่มไอบูโพรเฟนหรือยาแอสไพริน ในกรณีที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยชัก
แม้จะรับประทานยาลดไข้และเช็ดตัว บางครั้งยังเกิดอาการชัก ถ้าเด็กมีอาการชัก เกร็ง หรือกระตุก ให้ปฏิบัติดังนี้
  • พ่อแม่และผู้ปกครองที่พบต้องตั้งสติ อย่าตกใจ
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • ควรจับเด็กให้นอนตะแคงบนเตียงหรือพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจป้องกันการสำลักและระมัดระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก เพราะอาจทำให้เด็ก แขนหักหรือหัวไหล่หลุด
  • ถ้ามีลูกยางแดงให้ดูดน้ำลาย เสมหะออกจากปาก หลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว เอาปากประกบปากเด็กแล้วเป่าลมช่วยหายใจ
  • ถ้ามีเศษอาหารในปาก ให้ล้วงเศษอาหารออกจากช่องปากเพื่อป้องกันภาวะอุดตันในทางเดินหายใจ ระหว่างมีอาการชัก
  • หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามเอาช้อน นิ้วมือของแข็งงัดปากเด็ก เพราะอาจทำให้เยื่อบุช่องปากฉีกขาด ฟันหักขากรรไกรหัก และอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย
  • เด็กมักหยุดชักได้เอง
  • เช็ดตัวลดไข้
  • ให้ยาลดไข้ทันที ที่รู้สึกตัว
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

นพ.วิพัฒน์ เจริญศิริวัฒน์

นพ.วิพัฒน์ เจริญศิริวัฒน์
กุมารแพทย์

นพ.วิพัฒน์ เจริญศิริวัฒน์

VIPAT CHAROENSIRIWAT, M.D.
Specialty
  • กุมารเวชกรรม

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • วุฒิบัตรกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
  • อนุมัติบัตร เวชศาสตร์ครอบครัว แพทยสภา

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
SUN 13:00 - 17:00

พญ.อารยา จารุวณิช

พญ.อารยา จารุวณิช
กุมารแพทย์ / ระบบประสาท

พญ.อารยา จารุวณิช

ARAYA CHARUVANIT, M.D.
Specialty
  • กุมารเวชกรรม
  • สาขาประสาทวิทยา

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • วุฒิบัตรกุมารแพทย์
  • อนุมัติบัตร แพทย์ผู้ชำนาญ สาทกุมารประสาท
  • Certificate in Pediairic Neurology Sydney Australia

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
TUE 17:00 - 20:00

RSV ภัยร้ายของลูกรัก

ไวรัส RSV ภัยร้ายของลูกรัก

RSV Virus
ไวรัส RSV (RSV Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัย แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ จะให้คำแนะนำ และการป้องกันโรคนี้ค่ะ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโรค RSV โดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอ การรักษขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หายได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำหคัญ หากมีอาการแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism :CHT)

ภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

(Congenital Hypothyroidism :CHT)

 

 เกิดจากภาวะบกพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งมักเรียกว่า “โรคเอ๋อ”  

ความสำคัญ

             การขาดไทรอยด์ฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ  ซึ่งหลั่งจากต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะเด็กแรกเกิด จะมีผลต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและเซลล์ของระบบประสาท ดังนั้นภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน ยังมาส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของระบบประสาท การทำงานของระบบต่างๆของร่างกายและการพัฒนาทางร่างกาย อาการแสดงของโรคจะไม่เห็นเมื่อแรกคลอดแต่มักแสดงอาการเด่นชัดขึ้น เมื่ออายุมากกว่า 3 เดือนอาการของโรคเบื้องต้นคือ ทารกจะท้องผูกบ่อย, ตัวเหลืองนาน,สะดือจุ่น,ผิวแห้ง,ร้องไห้
งอแงและหลับบ่อยไม่สดใสร่าเริง ฯลฯ

 สาเหตุ

การเป็นโรคนี้ในเด็กทารกแรกเกิด เป็นเพราะมีความผิดปกติของต่อมฮอร์โมนและการขาดสารไอโอดีนของมารดา ในระยะตั้งครรภ์ ซึ่งภาวะผิดปกตินี้หากเด็กทารกได้รับการรักษา

[ก่อนอายุ 3เดือนเด็กจะมีสติปัญญาปกติ หากได้รับการรักษาช้ากว่านั้น ร้อยละ 80 ของเด็กจะปัญญาอ่อน มีความพิการทางระบบประสาท]

 

อาการแสดง

 

จะสังเกตเห็นทารกได้ในเดือนที่ 3 หลังคลอด โดยในช่วง 3 ขวบแรก จะเป็นช่วงที่สำคัญ

ทางด้านการเจริญเติบโต – เด็กจะเติบโตช้า ดั้งจมูกแบน ขาสั้นมากกว่าอายุจริง
ทางด้านระบบประสาท – เด็กจะมีอาการซึม เชื่องช้า
กล้ามเนื้อ –ด็กจะมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง ลิ้นโต ท้องผูก สะดือจุ่น
ระบบหายใจ – เด็กจะเสียงแหบเป็นหวัดบ่อยๆ
หัวใจและหลอดเลือด – เด็กจะตัวเย็นผิวเป็นวงลาย ตัวเขียว หัวใจอาจจะโต
ผิวหนัง – ผิวแห้ง ผมแห้งเปราะ ขนคิ้วบาง ฟันขึ้นช้า
ระบบเลือด – ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก, วิตามิน B12 ลดลง
ระบบต่อมไร้ท่อ – ในอนาคตส่งผลต่อความผิดปกติของประจำเดือน เช่น มีระดูมากกว่าปกติ

[ แนวทางในการวินิจฉัยและรักษาอย่าช้าไม่ควรเกินอายุ 2 สัปดาห์ เนื่องจากพัฒนาการของร่างกายและสมองอาจล่าช้ากว่าเด็กทั่วไปและก่อให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้]

 การวินิจฉัยภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

เมื่อเด็กแรกเกิด ทางโรงพยาบาลจะตรวจคัดกรองหาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ คือระดับของ TSH ในเบื้องต้น เมื่อพบค่าผิดปกติของระดับ TSH มากกว่าหรือเท่ากับ 25 มิลลิยูนิตต่อลิตร ต้องติดตามเด็กมาเจาะซีรั่มเพื่อตรวจยืนยันระดับ TSH ระดับ T4 หรือ Free T4 ซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ทั้งหมด ร่วมด้วย หากพบว่ามีความผิดปกติจริง ต้องได้รับการรักษาทันทีปัญหาที่สำคัญคือความผิดปกติเหล่านี้ไม่มี  อาการแสดงให้เห็น จนกว่าเด็กทารกจะมีอายุ 1 เดือนขึ้นไป การป้อง กันที่ดีที่สุดคือ “การเจาะเลือด” หรือ
“คัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด (Neonatal Screening)”โดยทันที

 

การรักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด

ใช้ฮอร์โมนไทรอยด์ทดแทน (L-thyroxin) ซึ่ง ประหยัด ปลอดภัย และระยะเวลาในการรักษา จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงสาเหตุของโรคภายใต้การดูแลของแพทย์

 

[เป็นโรคที่ป้องกันได้ตั้งแต่แรกเกิด รีบพาเด็กมาตรวจเลือดซ้ำที่โรงพยาบาลโทรตาม]

ถ้ารักษาทันเด็กจะไม่มีอาการปัญญาอ่อนหรือประสาทสมองพิการ แต่ถ้า 3 เดือนผ่านไป เด็กยังไม่ได้รับการรักษาอาการของโรคเอ๋อ จะชัดเจนขึ้น คือ เด็กจะมีเสียงแหบ, ลิ้นโต,หน้าบวม, ผมและขนคิ้วบาง, สะดือจุ่น, ผิวเย็นแห้ง, ตัวสั้น มีพัฒนาการช้า