ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์

ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)

เป็นการตรวจวัดปริมาตรและอัตราการไหลของอากาศที่หายใจเข้าและออกจากปอด โดยให้ผู้ป่วยใช้แรงหายใจเข้าและออกให้สุดลมหายใจผ่านเครื่องสไปโรมิเตอร์ (Spirometer) ในบางรายต้องมีการตรวจหลังการสูดยาขยายหลอดลมซ้ำอีกรอบ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดลม การตรวจสไปโรเมตรีย์นี้ ช่วยในการวินิจฉัยโรคหอบหืด,ถุงลมโป่งพองรวมถึงช่วยบอกความรุนแรงของโรคปอดบางชนิดได้

ผู้ป่วยที่ควรได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยวิธีสไปโรเมตรีย์ (Spirometry)
  1. ผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจบางอย่าง เช่น ไอเรื้อรัง หายใจเสียงดังหวีด เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก
  2. ผู้ป่วยที่แพทย์ตรวจร่างกายพบความผิดปกติบางอย่าง เช่น เสียงหายใจผิดปกติ ทรวงอกผิดรูป
  3. ผู้ป่วยที่มีผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการผิดปกติ เช่น ภาพรังสีทรวงอกผิดปกติ ออกซิเจนในเลือดแดงต่ำ คาร์บอนไดออกไซด์สูง
  4. ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ เช่น สูบบุหรี่ อาชีพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดจากการประกอบอาชีพ เช่น ผู้ที่ทำงานในเหมืองแร่ ในสถานที่อับอากาศ ทำงานในที่มีไอระเหยของโลหะ หรือทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นละออง เช่น โรงงานทอผ้า เป็นต้น
  5. ประเมินความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น ปอดเป็นผังผืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  6. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้านระบบหายใจในผู้ป่วยก่อนการผ่าตัดช่องอก
  7. ประเมินสุขภาพก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย
เพื่อติดตามการรักษาหรือการดำเนินโรค
  • ติดตามผลการรักษาได้แก่ ผลของยาขยายหลอดลมในผู้ป่วยที่มีการอุดกั้นของหลอดลม ประเมินผลของยาสเตียรอยด์ในผู้ป่วยหืด การพยากรณ์โรคปอดบางชนิด (เช่น COPD ปอดอุดกั้นเรื้อรัง)
  • ติดตามผู้ป่วยที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบหายใจจากการประกอบอาชีพติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
  • ติดตามผลข้างเคียงของยาที่มีผลต่อระบบการหายใจ เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากดภูมิคุ้มกันบางชนิด
ข้อห้ามในการตรวจ Spirometry
  • ไอเป็นเลือด ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น วัณโรคปอดระยะติดต่อที่ยังไม่ได้รับการรักษา
  • โรคความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมไม่ได้,ความดันโลหิตตํ่า,เส้นเลือดแดงโป่ง (aneurysm)ในทรวงอก,ช่องท้องหรือสมอง
  • เพิ่งได้รับการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดลอกต้อกระจก ทรวงอก หรือช่องท้อง
  • สตรีมีครรภ์ (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็น)
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
  • ควรงดชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 2 ชั่วโมง , งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการตรวจหลังรับประทานอาหารทันที ควรให้นั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนมาตรวจ อย่างน้อย 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดหน้าอกและท้อง
วิธีการตรวจ Spirometry
  • นั่งตัวตรง หนีบจมูกด้วย Nose Clip
  • เจ้าหน้าทีสาธิต การหายใจเข้าออกพร้อมคำอธิบายการหายใจขณะทำการตรวจได้ถูกต้อง
  • มกระบอกเครื่องเป่า ปิดปากให้แน่นรอบกระบอกเป่าไม่ให้มีลมรั่วรอจังหวะสัญญาณการหายใจจากเจ้าหน้าที่
  • สูดหายใจเข้าเต็มที่และเป่าพุ่งอย่างรวดเร็ว และแรง จนกว่าอากาศที่เป่าจากปอดจะหมด ให้นิ่งไว้ประมาณ 3-6 วินาที และสูดลมกลับเต็มที่ ให้ทำตามจังหวะ
สูดลึกเต็มที่....เป่าพุ่งเร็วและแรง.......ดันให้สุด......สูดลมกลับ

โปรแกรมและแพ็คเกจ