เหตุผลที่คุณต้องตรวจสุขภาพ

ปัจจุบันการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ต้องทำงานแข่งกับเวลาอย่างเร่งรีบ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลภาวะเป็นพิษ จึงมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพเช่น การขาดการออกกำลังกาย การไม่ตระหนักในการรับประทานอาหาร รวมถึงมลภาวะทางจิตใจ ขาดความสมดุลของชีวิต ทำให้เกิดความเคยชิน จนกลายเป็นภัยคุกคามสุขภาพได้
การตรวจสุขภาพประจำปีจึงมีความจำเป็นเพื่อสำรวจว่าระบบต่างๆ ในร่างกายเรามีความผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่อัวยวะใดเพื่อจะได้รักษา ป้องกันหรือผ่อนหนักให้เป็นเบา หากมีการดูแลอย่างดีตรวจสอบหาข้อบกพร่อง และแก้ไขแต่ระยะต้นๆ ร่างกายก็จะอยู่กับเราได้นานขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ต้องตรวจเมื่อไหร่ ตรวจอะไรบ้าง มีประโยชน์อย่างไร
การตรวจสุขภาพนั้นต้องตรวจทุกๆ ปีเพราะระบบการทำงานของร่างกายบางอย่างเสื่อมลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นเช่น ระบบประสาทและสมอง ระบบย่อยอาหาร ความเสื่อมของกระดูก สายตา ผิวหนัง เป็นต้น
การตรวจสุขภาพที่ดีต้องเหมาะสมกับเพศ อายุ และความเสี่ยงนั้น โดยปกติจะมีการจัดเป็นกลุ่มอายุ เพศ ในชุดแพคเกจ ทำให้ราคาประหยัด ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะกับตัวเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เป็นการประเมินภาวะโรคอ้วน ซึ่งโรคอ้วนเป็นพื้นฐานของโรคอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ
  2. การวัดความดันโลหิต เพื่อดูเสี่ยง โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และอัมพาต
  3. การเอกซเรย์ทรวงอก Chest-x-ray เพื่อดูว่ามีก้อนหรือจุดผิดปกติในปอดหรือไม่ และดูขนาดของหัวใจ สำหรับคนที่เป็นวัณโรค มะเร็ง หรือหัวใจผิดปกติ อาจจะไม่สามารถตรวจพบอาการผิดปกติได้จากภายนอก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครื่องมือตรวจพิเศษโดยการเอกซเรย์ปอด หรือทรวงอก ซึ่งจะปรากฏอาการผิดปกติทางฟิล์มเอกซเรย์ ทำให้แพทย์สามารถสามารถวินิจฉัยโรคและหาทางบาบัดรักษาอย่างถูกวิธีต่อไป สำหรับมะเร็งปอด การตรวจเอ็กซเรย์ปอดบางครั้งก็ไม่สามารถบอกได้อย่างละเอียด
  4. การเจาะเลือดเพื่อตรวจค่าต่างๆ เช่น
    • ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete Blood Count (CBC) คือ การตรวจปริมาณ และรูปร่างของเม็ดเลือดแดง เพื่อบ่งชี้ภาวะของโลหิตจางและการตรวจนับเม็ดเลือดขาว เพื่อดูการติดเชื้อและภูมิต้านทานของร่างกาย
    • การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด Glucose เพื่อทำการคัดกรองกลุ่มที่เสี่ยงโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด Hemoglobin A1C การตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของเดือนที่ผ่านมาเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานและประเมินการควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยเบาหวาน
    • การตรวจวัดระดับไขมันในเลือด Total Cholesterol เป็นการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสมบูรณ์ของระดับคอเลสเตอรอลในเลือดซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองและโรคความดันโลหิตสูง
      • HDL-Cholesterol ไขมันชนิดดีทำหน้าที่ป้องกัน LDL และ Cholesterol ไปสะสมที่เส้นเลือด
      • LDL-Cholesterol ไขมันชนิดไม่ดีทำหน้าที่ควบคุมระดับไขมันในเลือดเพื่อป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ
      • Triglyceride ไตรกลีเซอไรด์ได้จากการสังเคราะห์ที่ตับ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้แก่ การไม่ออกกำลังกาย น้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐาน การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป
    • การตรวจวัดระดับยูริกในเลือด Uric Acid ระดับยูริกในเลือดที่สูงกว่ามาตรฐาน สาเหตุของโรคเก๊าท์ โรคนิ่วในไต
    • การตรวจการทำงานของไต Blood Urea Nitrogen (BUN) วัดระดับปริมาณของเสีย Creatinine ที่ร่างกาย ปกติจะสามารถขับออกไปได้ หากมีโรคไตจะมี Creatintine สูง
    • การตรวจการทำงานของตับ SGOT เป็นเอนไซม์ที่พบในตับ ไต กล้ามเนื้อ หัวใจ SGPT เป็นเอนไซม์ที่พบมากในตับ พบน้อยในกล้ามเนื้อ หัวใจ ตับอ่อน เมื่อตับเกิดโรค มีการทำลายหรือการอักเสบของตับ จะทำให้มีการหลั่งเอนไซม์ SGOT, SGPT ออกมาสู่กระแสเลือดมากขึ้น ทำให้ตรวจพบมีระดับสูงขึ้นกว่า
    • การตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี ปัจจุบันพบว่ามีประชาชนจานวนมากที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี โรคนี้สามารถนาไปสู่มะเร็งตับได้ คนที่มีภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบนี้จะมีโอกาสเป็นได้ยากกว่าผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันการตรวจหาภูมิคุ้มกันดังกล่าวด้วยการตรวจ HbsAG และ HbsAB หากไม่พบภูมิคุ้มกัน ท่านก็สมควรฉีดวัคซีนป้องกันเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบขึ้นมา
    • การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจเพื่อคัดกรองมะเร็งตับ ที่สะสมอยู่ในเลือด
  5. การตรวจปัสสาวะ Urine Examination ตรวจเพื่อดูการทำงานของไตและระบบทางเดินปัสสาวะ เริ่มตั้งแต่การตรวจสี ความใส ความเป็นกรด-ด่าง และการตรวจหาสารต่างๆที่จะปนมาในปัสสาวะ เป็นการตรวจหาไข่ขาว เม็ดเลือดและน้าตาล ซึ่งอาจพบการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่ว โรคเบาหวาน โรคตับและโรคไต เช่น ถ้ามีน้าตาลในปัสสาวะ แสดงว่าผู้ป่วยอาจเป็นเบาหวาน หากพบเม็ดเลือดแดง อาจแสดงว่ามีนิ่วของระบบทางเดินปัสสาวะ หากพบเม็ดเลือดขาวอาจแสดงว่า อาจมีอาการของโรคไตอักเสบ หรือการติดเชื้อ
  6. การตรวจอุจจาระ Stool Occult Blood การตรวจคัดกรองการเกิดมะเร็งลำไส้ มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งลำไส้ตั้งแต่ระยะแรก หากพบว่ามีเลือดปนใน อุจจาระต้องทำการตรวจเพิ่มเติมโดยการส่องกล้องเพื่อตรวจทางเดินอาหารโดยละเอียด
การเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพอย่างไร
  • งดอาหารก่อนมารับการตรวจสุขภาพ 8 - 10 ชั่วโมง (น้ำเปล่าและยาประจำตัว สามารถรับประทานได้)
  • ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนมารับการตรวจ 24 - 48 ชั่วโมง
  • ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ
  • หากสงสัยว่าตั้งครรภ์กรุณาแจ้งพยาบาล ก่อนรับการตรวจ
  • ไม่ควรสูบบุหรี่ ก่อนมารับการตรวจสุขภาพ เพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงเกินจากปกติ
  • หากรับประทานยาประจำ หรืออาหารเสริมบางชนิดอยู่ ควรแจ้ง แพทย์ก่อนตรวจสุขภาพ เพราะยาและอาหารเสริมบางชนิด มีผลต่อผลการตรวจเลือด ผลการตรวจปัสสาวะ หรือ ผลการตรวจอุจจาระ

โปรแกรมและแพ็คเกจ