สาระน่ารู้.... อาหารบำบัดโรคหัวใจ

โรคหัวใจ เกิดจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะค่อยๆ สะสมและทวีความรุนแรงจนเกิดอาการเรื้อรัง และสาเหตุหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารที่มีปริมาณแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป หากกินเข้าไปมาก ร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไป ร่างกายก็จะเปลี่ยนน้ำตาลเป็นไขมันที่มีชื่อว่า "ไตรกลีเซอไรด์" เมื่อเกิดไขมันสะสมทำให้เป็นโรคอ้วนและเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ การเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์และมีสัดส่วนที่เหมาะสมต่อร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเราสามารถเลือกกินอาหารอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้  หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง 
  1. ควรควบคุมการปรุงรสเค็มในอาหาร เนันการปรุงรสอ่อนๆ และหลีกเลี่ยงการเติมเครื่องปรุงรสเพิ่มในขณะรับประทาน เช่น น้ำปลา เกลือ ชี่อิ๊ว ซอสปรุงรส (ปริมาณโซเดียมในการปรุงรส/วันไม่ควรเกิน 2000 มิลลิกรัม/วัน)
  2. รับประทานอาหารที่มีไขมันหรือน้ำมันน้อย เลือกวีธีการหุงต้มอาหารแบบ ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ยำหรือผัดน้ำมันน้อย
  3. ควรใช้น้ำมันพืชชนิดกรดไขมันไม่อิ่มตัว unsaturatedfatty acid) ในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง (ในปริมาณวันละ 5-7 ช้อนชา)
  4. เน้นการรับประทานเต้าหู้ และเนื้อปลาบ่อยๆ โดยเฉพาะ ปลาทะเล เช่น ปลาทู ปลาซาบะ ปลาโอ ปลาทูน่าปลาแซลมอน จะช่วยในการเพิ่มไขมันดีในเลือด (HDLและลดระดับไขมันไม่ดีในเลือด (LDL, Triglyceride)
  5. รับประทานผักและผลไม้ไม่หวานจัดเป็นประจำทุกมื้อและให้หลากหลาย (ผักและผลไม้ไม่ควรน้อยกว่า 400 กรัม/วัน)
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารหรือแปรรูป รวมทั้งอาหารหมักดองทั้งหลาย เพราะจะมีปริมาณของเกลือหรือโซเดียมสูง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักดอง อาหารกระป๋องหรือผักผลไม้ที่แปรรูป หากมีความจำเป็นต้องซื้ออาหารสำเร็จรูปควรอ่านฉลากที่ติดมากับอาหารก่อน หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียมและผงชูรสในปริมาณสูง
  7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมเกลือและผงชูรสสูง เช่น ขนมขบเคี้ยว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถั่วอบเนย ข้าวโพดคั่ว
  8. หลีกเลี่ยงน้ำมันชนิดกรดไขมันชนิดอิ่มตัวสูง saturated fatty acid) เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันหมู,ไก่
  9. หลีกเลี่ยง เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง และอาหารที่มี ไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่างๆ ข้าวมันไก่ แกงกะทิ ปาท่องโก๋ กล้วยแขก ข้าวขาหมู ผัดไทย หอยทอด
  10. หลีกเลี่ยง อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง ผัดซีอิ๊ว ปลาหมึก เนื้อสัตว์ติดมัน ติดหนัง เครื่องในสัตว์
  11. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์สูง (Trans fatty acid) เช่น พาย โดนัท ขนมขบเคี้ยว เนยเทียม มาการีน
  12. หลีกเลียงการรับประทานอาหารหวานหรือที่มีน้ำตาลสูงหรือขนมเบเกอรี่ต่างๆ เช่น ขนมหวานชนิดต่างๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ต่างๆ น้ำอัดลม
  13. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ เพราะมีส่วน ผสมของคาเฟอีน
  14. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
  15. งดการสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  16. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ (ภายใต้คำแนะนำของแพทย์)
  17. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมการหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กก.) / ส่วนสูง x ส่วนสูง (เมตร)
การแปลผลค่าดัชนีมวลกาย  (BMI)
ค่าดัชนีมวลกาย
เกณฑ์น้ำหนัก
พลังงานที่ต้องการน้ำหนักตัว 1 กก./วัน
น้อยกว่า 18.5 น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ 40 กิโลแคลอรี่
18.5-22.9 น้ำหนักตัวปกติ 30 กิโลแคลอรี่
23-24.9 ท้วม 25 กิโลแคลอรี่
25-29.9 น้ำหนักตัวเกิน 40 กิโลแคลอรี่
30 ขึ้นไป โรคอ้วน 20 กิโลแคลอรี่
แนวทางการเลือกรับประทานอาหาร
ประเภทเครื่องดื่ม
ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
นมพร่องไขมัน ชา กาแฟ
นมขาดไขมัน น้ำอัดลม
น้ำเต้าหู้   โอเลี้ยง
  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
ประเภทอาหาร
ตัวอย่างอาหารที่ควรเลือกรับประทาน
ตัวอย่างอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ข้าวหน้าปลาอย่าง ข้าวขาหมู ข้าวคากิ
ข้าวต้มปลา ข้าวมันไก่
โจ๊ก แกงเขียวหวาน แกงกะทิ
สลัดผักราดโยเกิรต์ หอยทอด
ก๋วยเตี๋ยวน้ำ คอหมูย่าง
ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า หนังไก่ทอด,แคบหมู
ปลานึ่ง แหนม ปลาส้ม
สเต็กปลา กล้วยแขก
แกงส้ม แกงปลา ปาท่องโก๋
  ทองหยอด ทองหยิบ
  ฝอยทอง เม็ดขนุน
อาหาร มีความสำคัญต่อสุขภาพ แต่อาหารบางชนิดก็ไม่ได้เหมาะสำหรับกลุ่มอายุ และโรคบางอย่าง ดังนั้นควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเฉพาะโรค เพื่อช่วยบำรุงและรักษาสุชภาพ และป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ที่อาจเป็นอันตรายในอนาคต

โปรแกรมและแพ็คเกจ

เพราะหัวใจต้องการคนดูแล

การดูแลหัวใจให้แข็งแ […]

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

คัดกรองตั้งแต่เริ่มต้น ก่อนเกิดโรค