อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการสะสมกรดยูริค(Uric acid)ในร่างกาย กรดยูริคได้จากการเผาผลาญสารพิวรีนซึ่ง เป็นธาตุอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์เองได้และพบได้ทั่วไปในอาหารหลายชนิดโดยปกติเมื่อสารพิวรีนที่ร่างกายได้รับ จะถูกย่อยจนกลายเป็นกรดยูริค ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี และจะขับออกมาพร้อมกับปัสสาวะสำหรับบางรายที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้น แต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้า หรือเร็วก็ตามจะทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกาย เป็นสาเหตุให้เกิดการเจ็บปวดอย่างรุนแรงในข้อกระดูกหรือรอบ ๆ ข้อกระดูกในเพศชายไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร สำหรับเพศหญิง ไม่ควรมีกรดยูริคในเลือดมากกว่า 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โรคนี้สามารถถ่ายทอดกันได้ทางกรรมพันธุ์
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
อาหารที่ควรงดได้แก่
  1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เด็ดขาด เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ทำให้ยูริคสูงขึ้น
  2. งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ เป็ด ไก่ กะปิ หน่อไม้ สะเดา ยอดกระถิน และรับประทานไขมันมากทำให้การขับถ่ายกรดยูริค เป็นไปได้ยาก
การดูแลตนเอง และการควบคุมอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
การควบคุมอาหาร โดยงดอาหารที่เป็นสาเหตุ และการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง จะมีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ลดอาการ และทำให้มีชีวิติอยู่อย่างมีความสุข
  • ไม่รับประทานอาหารมันมาก เช่น อาหารที่ทอดอมน้ำมันมาก เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะไขมันทำให้ร่างกายขับยูริคได้น้อยลง
  • ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วแดง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว มีสารพิวรีน สูง หากกินไม่มาก ก็ไม่เป็นไร แต่หากดื่มนมถั่วเหลืองชนิดเข้มข้นวันละ 1 ลิตร หรือมากกว่านับว่าปริมาณมากเกิน ทำให้ได้รับพิวรีนมากประกอบกับโปรตีนก็สูง ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นการสร้างกรดยูริกภายในร่างกายได้ ควรลดปริมาณการดื่มนมถั่วเหลืองลงให้เหลือวันละ 2 แก้ว
  • ควรละเว้นไม่รับประทานส่วนยอดผัก ต้นอ่อนของผัก เช่น ยอดคะน้า ยอดผักหวาน ยอดผักบุ้งจีนหน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง ดอกกะหล่ำ สะตอ กระถิน ชะอม ผักขม
  • งด อาหารหมัก ที่ใช้ ยีสต์ เป็นตัวเร่งหรือส่วนประกอบ เช่น เต้าเจี้ยว
  • เมล็ดพืชทุกชนิดที่งอกได้จะมียูริกค่อนข้างมาก แม้จะทำให้สุกแล้วก็ตาม ควรงดโดยเฉพาะขณะมีอาการ
กลุ่ม ปริมาณพิวรีน/อาหาร 100 ก. อาหาร
อาหารที่มีพิวรีนสูง มากกว่า  150 มก.
  • เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ตับอ่อน, ไส้, ม้าม, หัวใจ, สมอง, กึ๋น, เซ่งจี๊
  • สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่, ห่าน
  • ปลาดุก, กุ้ง,กุ้งซีแฮ้ หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาขนาดเล็ก, ปลาซาร์ดีน, ไข่ปลา
  • ชะอม, กระถิน, เห็ด
  • ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ
  • น้ำเกรวี, กะปิ, ยีสต์
  • น้ำสะกัดเนื้อ, ซุปก้อน, น้ำต้มกระดูกปลาดุก, น้ำซุปต่างๆ น้ำสกัดเนื้อ
อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง 50-150 มก.
  • เนื้อสัตว์ เช่น หมู, วัว
  • ปลาทุกชนิด และอาหารทะเล เช่น ปลาหมึก, ปู
  • ถั่วลิสง, ถั่วลันเตา
  • ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้, หน่อไม้ฝรั่ง, ดอกกะหล่ำ, ผักโขม, สะตอ, ใบขี้เหล็ก
  • ข้าวโอ๊ต
  • เบียร์ เหล้าชนิดต่างๆ เหล้าองุ่น ไวน์ (ทำให้การขับถ่ายกรดยูริกทางปัสสาวะลดลง ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว)
อาหารที่มีพิวรีนน้อย 0-50 มก.
  • ข้าวชนิดต่างๆ 
  • ถั่วงอก, คะน้า
  • ผลไม้ชนิดต่างๆ
  • ไข่
  • นมสด, เนย และเนยเทียม
  • ขนมปัง ขนมหวาน หรือน้ำตาล
  • ไขมันจากพืช และสัตว์
ข้อควรปฏิบัติด้านอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
  • รับประทานผลไม้และผักให้มาก โดย รับประทานผักส่วนที่โตเต็มวัย
  • รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่
  • ดื่มน้ำสะอาด มากๆ วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยการขับถ่ายยูริคออกมาทางปัสสาวะ

โปรแกรมและแพ็คเกจ