พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ

พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ
รังสีวิทยาวินิจฉัย อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท

พญ.นทีญาณ์ คูหิรัญ

Nateeya Khuhiran M.D
Specialty
  • รังสีวิทยาวินิจฉัย อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
  • วุฒิบัตร รังสีวิทยาวินิจฉัย กองรังสีกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • วุฒิบัตร อนุสาขาภาพวินิจฉัยระบบประสาท ภาควิชารังสีวิทยา โรงพยาบาลรามาธิบดี

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
MON 08:00 - 12:00
TUE 08:00 - 12:00
WED 08:00 - 12:00
THU 08:00 - 12:00
FRI 08:00 - 12:00

นพ.พงษ์สันต์ สุปรียธิติกุล

นพ.พงษ์สันต์ สุปรียธิติกุล
จักษุแพทย์,จักษุวิทยาเด็กและตาเหล่

นพ.พงษ์สันต์ สุปรียธิติกุล

PONGSANT SUPREEYATHITIKUL, M.D.
Specialty
  • จักษุวิทยา
  • จักษุวิทยาเด็กและตาเหล่

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • ปริญญาบัตร แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) (เกียรตินิยม อันดับ 2) คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • วุฒิบัตร จักษุวิทยาสาขาจักษุวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อนุสาขาจักษุวิทยาเด็กและตาเข  คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ตารางออกตรวจ
วัน เวลา
FRI 17:00 - 20:00

นพ.บรรณวัชร ตันติคุณ

นพ.บรรณวัชร ตันติคุณ
แพทย์ หู คอ จมูกและโรคภูมิแพ้

นพ.บรรณวัชร ตันติคุณ

BANNAWAT TANTIKUN, M.D.
Specialty
  • โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
  • โรคภูมิแพ้ทางจมูก

Language Spoken
  • อังกฤษ, ไทย

ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
  • แพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.) เกียรตินิยมอันดับ 1  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วุฒิบัตรสาขา : โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประกาศนียบัตร : นาสิกวิทยาและโรคภูมิแพ้ คณะแพทายศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลับมหิดล

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    SUN 15:00 - 19:00

    มะเร็งลำไส้ใหญ่…….ภัยร้ายใกล้ตัว

    มะเร็งลำไส้ใหญ่.......ภัยร้ายใกล้ตัว

    Colorectal Cancer
    มะเร็งลำไส้ใหญ่
    ในประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่พบในผู้ชายมากเป็นอันดับ 3 ในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 4 และเป็นชนิดของมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตอันดับ 5 โดยหากนับรวมประชากรทั่วโลกมะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตผู้คนถึงปีละ 500,000 คนหรือคิดเป็นนาทีละ 1 คน ดังนั้นมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเป็นโรคที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
    มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งที่มีการตอบสนองต่อการรักษาที่ดี โดยเฉพาะหากรักษาในช่วงมะเร็งระยะต้นคือระยะที่ 1 จะมีการหายขาดจากโรคได้ถึง 74% อย่างไรก็ตามเหตุที่จำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์เมื่อมีผู้ป่วยมีอาการแล้ว ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการดังกล่าวนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มักจะเข้าสู่ระยะท้ายแล้ว ซึ่งอัตราการหายขาดจากการรักษาก็จะลดลงเป็นอย่างมากคือเหลือเพียง 6% เท่านั้น ดังนั้นการพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นหรือตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง
    ในปัจจุบันแนวทางการรักษาต่างๆทั้งของประเทศสหรัฐอเมริกาและเอเชียนั้นต่างมีความเห็นตรงกันว่าบุคคลที่มีอายุมากกว่า 50 ปีทุกรายต้องได้รับการตรวจคัดกรองหามะเร็งลำไส้ใหญ่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม นอกจากนี้ผู้ที่ญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจมีความจำเป็นที่ต้องตรวจเร็วกว่าเดิมอีก 10 ปี คือตั้งแต่อายุ 40 ปี สำหรับวิธีการตรวจคัดกรองนั้นในปัจจุบันมีหลายวิธีได้แก่ การตรวจอุจจาระเพื่อหาเลือดแฝง การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ถือเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถเห็นสภาพความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ได้ทั้งหมด และสามารถตัดติ่งเนื้อซึ่งอาจกลายเป็นมะเร็งในอนาคตได้ นอกจากนั้นจากหลักฐานทางการแพทย์พบว่าการส่องกล้องลำไส้ใหญ่สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ถึง 53%
    โดยสรุป มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อย และรักษาให้หายขาดได้หากพบในระยะเริ่มต้น ดังนั้นผู้ที่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีที่เหมาะสม ได้แก่
    1. มีอาการที่อาจบ่งชี้โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ท้องอืด ท้องผูก มีอุจจาระเป็นมูกหรือเป็นเลือด ขนาดของก้อนอุจจาระที่เล็กลง ซีด โลหิตจาง เบื่ออาหาร
      อ่อนเพลีย น้ำหนักลด คลำได้ก้อนในท้อง
    2. อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยในกรณีที่มีญาติเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจพิจารณาตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 40 ปี

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด

    กินอาหารอย่างไร ช่วยต้านหวัด

    เมื่อย่างเข้าสู่ฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงภูมิต้านทานต่ำ อาจนำมาสู่โรคหวัดได้ ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดี จะช่วยสริมสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันหวัดได้ หากเริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจไม่ออก อาจมีอาการคันคอร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะบอกเราว่าร่างกายกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพอากาศใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงดังกล่าว ซึ่งสามารถป้องกันได้ ด้วยการเตรียมร่างกายให้พร้อม โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง
    ง่ายๆ 5 ขั้นตอน ในการเลือกทานอาหารต้านทานหวัด
    1. รับประทานผัก ผลไม้หลากสี
    ผักต่างๆ เช่น มันเทศ แครอท ผักโขม และบีทรูทนั้นอุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนซึ่งจำเป็นต่อร่างกายของเรา วิตามินเอช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ลดความเจ็บป่วย ป้องกันการติดเชื้อได้
    2. เพิ่มกระเทียมหรือหัวหอมในมื้ออาหาร
    ผักตระกูลนี้ มีสารอะลิซิน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญกับร่างกาย ช่วยป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ยังช่วยสุขภาพทางเดินอาหารที่ดีในมีพรีไบโอติก โดยเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพ
    3. ทานวิตามินซีให้เพียงพอ
    วิตามินซีที่เข้มข้นเป็นพิเศษได้การยอมรับว่าเป็นยาป้องกันไข้หวัดทั่วไปมาเป็นเวลานาน การรับประทานผักและผลไม้ปริมาณมากทุกวันควรให้วิตามินซีเพียงพอแก่การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักโขม บรอกโคลี ถั่วลันเตา กีวี มะระกอ ฝรั่ง และผลไม้รสเปรี้ยว
    4. การทานข้าวโอ้ตและธัญพืชต่าง ๆ
    ธัญพืชต่างๆ เช่น ข้าวโอ๊ตและข้าวบาร์เลย์อุดมไปด้วยไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ที่เรียกว่าเบต้ากลูแคน ซึ่งนอกจากจะทำให้เราอิ่มแล้ว ยังมีผลช่วยปรับภูมิคุ้มกัน - เพิ่มจำนวนและการทำงานของเซลล์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
    5. การรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีแร่ธาตุสังกะสี (Zinc, Zn)
    อาหารที่มีกลุ่มโปรตีนสูงๆ เช่น หอยนางรม เนื้อไก่ ไข่แดง เนื้อหมู อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอย โดยเฉพาะหอยนางรม จะพบสังกะสีมากที่สุด แร่ธาตุสังกะสีช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน และช่วยลดการอักเสบ ลดระยะการเจ็บป่วยได้

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

    ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ
    ทันตกรรมทั่วไป

    ทพญ.อรจิรา ลิ้มสุขศิริ

    ORNIJIRA LIMSUKSIRI, DDS.
    Specialty
    • ทันตกรรม

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    SUN 10.00 – 18.00

    การผ่าฟันคุด

    การผ่าฟันคุด

    Impacted Tooth
    ฟันคุด (Impacted Tooth) หมายถึง ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากกระดูกหรือเหงือกที่ปกคลุมหนามาก หรือ ถูกขัดขวางจากฟันข้างเคียง ฟันคุดที่พบได้บ่อย ได้แก่ ฟันเขี้ยวบน ฟันกรามน้อยล่างและฟันกรามใหญ่ซี่ที่สาม ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พบฟันคุดได้บ่อยที่สุด เนื่องจากเป็นฟันที่จะโผล่ขึ้นในช่องปากเป็นลำดับสุดท้าย
    เมื่อทันตแพทย์ตรวจและวินิจฉัยพบว่าผู้ป่วยมีฟันคุดควรรีบผ่าฟันคุดออก ทั้งนี้ก็เพราะว่า ขณะที่ผู้ป่วยยังมีอายุน้อย (16-21ปี) ร่างกายจะแข็งแรงไม่มีโรคทางระบบใดๆกระดูกที่ปกคลุมตัวฟันยังไม่แข็งมากนักจึงจะง่ายต่อการกรอกระดูกและตัดฟัน (ในรายที่จำเป็น) มีการซ่อมแซมบาดแผลได้ดีกระดูกสร้างตัวได้เร็วแผลผ่าตัดจึงหายได้เร็ว ภาวะแทรกซ้อนน้อยและผลเสียที่จะเกิดกับเนื้อเยื่อปริทันต์ของฟันกรามซี่ที่อยู่ข้างเคียงน้อย
    เหตุใดจึงควรผ่าฟันคุด
    1. เพื่อป้องกันการอักเสบของเหงือกที่ปกคลุมฟัน
    2. เพื่อป้องกันฟันข้างเคียงผุ หรือเกิดโรคปริทันต์
    3. เพื่อป้องกันการเกิดถุงน้ำ และเนื้องอกบริเวณขากรรไกร
    4. เพื่อป้องกันการเกิดฟันซ้อนเกหลังการจัดฟัน
    สิ่งที่ควรทราบก่อนการตัดสินใจผ่าฟันคุด
    ในการผ่าฟันคุดทุกครั้งจำเป็นต้องมีภาพถ่ายรังสี เพื่อประเมินแนวการวางตัวของฟันและรากฟัน พยาธิสภาพและลักษณะของกระดูกที่รองรับฟัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างฟันและเนื้อเยื่อที่สำคัญข้างเคียง เช่น เส้นประสาท เส้นเลือด
    ไซนัส ฟันข้างเคียง เป็นต้น
    ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการผ่าตัด
    • เลือดออกผิดปกติ
    • การเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทซึ่งจะส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณคาง/ริมฝีปาก/ลิ้น (1-6เดือน) ขึ้นกับความสัมพันธ์ของรากฟันและเส้นประสาทของแต่ละบุคคล
    • แผลอักเสบติดเชื้อ-บวม
    • อ้าปากได้น้อยกว่าปกติ
    • การเกิดการเชื่อมต่อของช่องปากและไซนัส
    ข้อปฎิบัติหลังการผ่าตัดฟันคุด
    1. กัดผ้าก๊อซให้แน่นบริเวณที่ถูกผ่าตัด ประมาณ 1-2 ชม. ถ้ามีเลือดหรือน้ำลายซึมออกมาให้กลืน
    2. คายผ้าก๊อซออกหลังจากผ่าตัดไปแล้วอย่างน้อย 1ชม. หากยังพบเลือดซึมออกมาให้กัดผ้าก๊อซใหม่ต่ออีกครั้งละ ประมาณ ½ -1 ชม.
    3. หลีกเลี่ยงการบ้วนน้ำลาย บ้วนน้ำ ตลอดวัน ที่ผ่าตัด
    4. ไม่ดูดแผล และ ใช้ลิ้นดุนบริเวณแผล เพราะจะทำให้เลือดซึมออกมาได้อีกครั้ง
    5. รับประทานยาตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
    6. ช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อนหรือเหลว และหลีกเลี่ยงอาหารร้อนจัด/เย็นจัด
    7. มาตามนัดตัดไหมประมาณ 7-10 วัน หลังการผ่าตัด
    8. หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรกลับมาปรึกษาทันตแพทย์

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

    นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล
    ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ, กระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ

    นพ.ภาณุพงศ์ ฉัตรอารียกุล

    PANUPONG CHATAREEYAGUL, M.D.
    Specialty
    • ศัลยกรรมกระดูกและข้อ, ศัลยกรรมกระดูกสันหลัง, กระดูกและข้อต่อ Orthopedic, Spine Surgery , General Surgery

    Language Spoken
    • อังกฤษ, ไทย

    ปริญญาบัตรและสถาบันการศึกษา
    • แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกและข้อ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
    • วุฒิบัตร ศัลยศาสตร์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

    ตารางออกตรวจ
    วัน เวลา
    FRI 17:00 - 20:00
    SUN 08:00 - 12:00

    แค่โรคกระเพาะ หรีอ มะเร็ง

    แค่โรคกระเพาะ หรือ มะเร็ง

    stomach cancer
    จุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี
    เป็นอาการที่พบบ่อยในประชากร จากการสำรวจในประชากรไทยพบว่ามีมากกว่าร้อยละ 50 หรือมากกว่าครึ่งที่เคยประสบปัญหานี้ โดยประชากรกลุ่มนี้แม้ว่าส่วนใหญ่แล้วจะตรวจไม่พบโรคร้าย แต่ก็มีผู้ป่วยอีกถึง 14% ที่่จะตรวจพบความผิดปกติในกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ได้แก่ แผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อนชนิดรุนแรง รวมทั้งโรคที่อันตรายอย่างมะเร็งกระเพาะอาหารและมะเร็งหลอดอาหาร นอกจากนั้นอาการเหล่านี้ก็อาจจะเป็นอาการของอวัยวะอื่นๆได้ เช่น มะเร็งที่ตับ นิ่วในถุงน้ำดี ดังนั้นคงไม่ถูกซะทีเดียวหากเราจะเหมารวมผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่นหรือแสบบริเวณลิ้นปีเป็นโรคจุกแน่นแบบธรรมดาหรือที่มักเรียกกันว่า "โรคกระเพาะ"ทั้งหมด ดั้งนั้นผู้ที่มีอาการเหล่านี้ควรที่จะมาพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการซักประวัติและการตรวจวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง ไม่ควรที่จะซื้อยามารับประทานเอง เพราะถึงแม้ว่าหลังรับประทานยาแล้วอาการตีขึ้นก็ไม่ได้บ่งบอกว่าผู้ป่วยไม่เป็นโรคร้าย เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระเพาะอาหารก็สามารถมีอาการที่ดีขึ้นได้จากการกินยาลดกรดในกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน
    มะเร็งกระเพาะอาหารเป็นมะเร็งที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งเสียชีวิตมากเป็นอันดับที่สองของโลก สาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคคือมีการติดเชื้อโรคที่ชื่อ "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter py(ori)" โดยหากมีเชื้อโรคชนิดนี้อยู่ในกระเพาะอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารถึง 13 เท่าเลยทีเดียว ในส่วนของอาการนั้นหากมะเร็งยังอยู่ในระยะเริ่มแรกก็จะไม่สามารถแยกโรคกับโรคกระเพาะอาหารแบบธรรมดาได้เลยการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ต้องใช้การส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเท่านั้น แต่หากมะเร็งอยู่ในระยะหลังก็จะมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ซึ่งหากมะเร็งเข้าสู่ระยะหลังแล้วมักจะมีการดำเนินโรคที่รุนแรงอัตราการหายขาดจากโรคจะลดลงจาก 71 % เหลือเพียง 44 เท่านั้น ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงจึงควรที่จะได้รับการตรวจด้วยวิธีการที่เหมาะสมเพื่อวินิจฉัยและรักษาเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และเพื่อที่จะได้ค้นพบมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งการกำจัดเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรนี้นอกจากจะลดโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
    เมื่อไรควรพบแพาย์
    ด้วยเหตุผลที่กล่าวมา ผู้ป่วยที่มีอาการจุกแน่น ท้องอืด ปวดหรือแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ควรที่จะมาปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหารส่วนบนเพื่อป้องกันและรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหารตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้
    1. มีอาการเตือนที่ทำให้สงสัยมะเร็ง คือ เริ่มมีอาการหลังอายุ 50 ปี รักษาแล้วไม่ดีขึ้นหรือมีการกลับเป็นซ้ำของอาการ อาเจียนเรื้อรัง อาเจียนเป็นเลือดหรือสีดำ อุจจาระเป็นสีดำ กลืนติดหรือกลืนลำบาก ซีด โลหิตจางอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ไข้
    2. มีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งในอนาคต ได้แก่ มีญาติป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
    3. มีความเสี่ยงของการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ มีความจำเป็นต้องกินยาละลายลิ่มเลือดหรือแอสไพรินในระยะยาว มีความจำเป็นต้องกินยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบอย่างเรื้อรัง
    การป้องกัน ย่อมดีกว่าการรักษา ดังนั้นการคัดกรองมะเร็ง อาจทำให้พบมะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    Promotion ตรวจเช็คโรคระบบประสาทและสมอง
    คัดกรองความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
    Promotion ชุดตรวจสุขภาพ ลด 20%

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    กินเจ เมนูสุขภาพ วิถีใหม่ ไร้พุง

    เทศกาลกินเจ คำว่า “เจ” หรือ “ไจ” บนธงอักษรแดง บนพื้นเหลือง มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาส นิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 เทศกาลกินเจ เป็นโอกาสดีในการดูแลสุขภาพ ได้ฝึกวินัย ทั้งทางกาย จิต ปัญญา แต่อาหารเจส่วนมากมักจะมีรสหวาน มัน และเค็มจัด ซึ่งทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้คำแนะนำว่าให้ลดการบริโภคโซเดียมลงให้น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพด้วยการกินเจวิถีใหม่ เน้นรับประทานผักให้มากขึ้น ลดแป้งและของทอด บริโภคอาหารสุก สะอาด ล้างมือก่อนและหลังปรุงอาหาร งดน้ำมัน ลดแป้ง กินโปรตีน
    1. ทานอาหารที่มีกากใยสูง ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง แอปเปิ้ลเขียว ผักใบเขียว ช่วยระบบขับถ่ายและระบบลำไส้ทำงานได้ดี
    2. เลือกอาหารประเภท ต้ม ตุ๋น นึ่งและย่าง หลีกเลี่ยงเมนูผัดและทอด เช่น เต้าหู้ทอด เผือกทอด มันทอด เห็ดผัดน้ำมัน
    3. ทานข้าวแป้งแต่พอดี หลีกเลี่ยงเมนูอาหารแปรรูปและเมนูแป้ง เช่น เนื้อเทียมจากแป้ง โปรตีนเกษตร ต่าง ๆ
    4. เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี ทดแทนจากเนื้อสัตว์ เช่น นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ธัญพืช ข้าวโพด
    5. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น ขนมหวาน ขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เพราะอาจเพิ่มน้ำหนักตัวและก่อโรคต่าง ๆ ได้
    6. ทานอาหารให้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ไม่ควรเลือกทานอาหารเมนูชนิดเดิมซ้ำทุกวัน
    7. ดื่มน้ำสะอาด 6-8 แก้วต่อวัน หากดื่มน้ำไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
    แนะนำเมนูสุขภาพ 3 เมนู ทำได้ง่ายๆ ดีต่อสุขภาพ แคลลอรี่ต่ำ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    เห็ดอบวุ้นเส้น = 198 kcal
    ส่วนผสม
    1. วุ้นเส้น ไม่ขัดสี
    2. เห็ดชนิดต่างๆ ตามชอบ
    3. ขิงอ่อน
    4. พริกไทย
    5. ซีอิ้วขาว ผสมน้ำอุ่น
    6. น้ำมันรำข้าว
    วิธีทำ
    1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันรำข้าว นำขิงอ่อนผัดให้เข้ากัน ตามด้วยเห็ดต่างๆที่เราชอบ และเต้าหู้แข็ง ผัดรวมกัน ให้สุกนิ่ม
    2. ใส่วุ้นเส้นไม่ขัดสี ตามด้วย ซีอิ๋วขาวผสมน้ำ เติมพริกไทย เติมน้ำเปล่า คลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝารอวุ้นเส้นสุกดี ตักใส่จานนำเสิร์ฟ

    Credit Picture : Booky HealthyWorld

    ลาบเต้าหู้เส้นบุกใส่เห็ด = 190 Kcal
    ส่วนผสม
    1. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    2. เห็ดหูหนูและเห็ดนางฟ้า
    3. ผักชีฝรั่งและใบสาระแหน่
    4. วุ้นเส้นแบน
    5. พริกป่น
    6. ซีอิ๋วขาว
    7. น้ำมะนาว
    8. น้ำตาล
    9. ข้าวคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเต้าหู้ขาวแข็ง มาหั่นเป็นชิ้น และนำไปลวกในน้ำ ตามด้วยลวกเห็ดละวุ้นเส้นต่อ
    2. นำของที่ลวกสุกมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยปรุงรสใส่ซีอิ๋วขาว น้ำมะนาว น้ำตาล พริกป่น ข้าวคั่ว ผสมให้เข้ากัน โรยผักชีฝรั่งและสาระแหน่ พร้อมเสิร์ฟ

    Credit Picture : Mai Yom Auon 

    หมี่กล้องพันเจ = 193 Kcal
    ส่วนผสม
    1. หมี่กล้อง
    2. เต้าหู้ขาวชนิดแข็ง
    3. เห็ดเข็มทอง
    4. ต้นทานตะวันอ่อน
    5. งาคั่ว
    วิธีทำ
    1. ตั้งน้ำให้เดือด นำเส้นหมี่กล้องไปลวกให้สุก ตามด้วยย่างเต้าหู้และเห็ดให้สุกพอดี
    2. นำเส้นหมี่กล้อง มาพันกับเต้าหู้และเห็ดที่ย่าง วางด้วยต้นอ่อนตะวัน เพิ่มความหอมด้วยงาคั่ว พร้อมเสิร์ฟ
    การรับประทานเจที่ถูกหลักและได้รับสารอาหารที่มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบ ควรรับประทานอาหารเจให้หลากหลาย ไม่ควรรับประทานอาหารเจชนิดเดียวเป็นเวลานานๆ รับประทานเจจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ล้างพิษ รวมถึงช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น/div>

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

    โรคมือเท้าปาก…ไวรัสร้ายในวัยอนุบาล

    Hand-Foot-and-Mouth Disease
                 โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) เป็นโรคที่มักพบการติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในโรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์เด็กเล็กและในที่อยู่รวมกันอย่างแออัดจะมีโอกาสที่เกิดการระบาดได้ มักระบาดในฤดูฝน แต่บางรายจะมีอาการรุนแรงขึ้นอยู่กับชนิดของไวรัสที่มีการติดเชื้อ โรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ ตุ่มหรือผื่นที่ผิวหนัง ทั้งสัมผัสโดยตรงและสัมผัสเชื้อทางอ้อม
                 โรคมือ เท้า ปากเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Enteroviruses ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โรคมือเท้าปาก ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ชื่อว่า coxsackie A16 มักไม่รุนแรง เด็กจะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน ส่วนที่เกิดจาก Enterovirus 71 อาจพบโรครุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น
    การแพร่ระบาด และการติดต่อ
    การติดต่อส่วนใหญ่เกิดจากได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ปากโดยตรง โรคแพร่ติดต่อง่ายใน ช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย โดยเชื้อไวรัสติดมากับมือหรือของเล่น ที่เปื้อนน้ำลาย น้ำมูก น้ำจากตุ่มพองและแผล หรืออุจจาระของผู้ป่วยและเกิดจากการ ไอจามรดกันโดยหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของผู้ป่วย และการติดเชื้อจากอุจจาระ
    อาการของโรค
    อาการมักจะเริ่มด้วยไข้ เบื่ออาหาร ครั่นเนื้อครั่นตัวเจ็บคอ เจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ทำให้ไม่กินอาหาร  หลังจากไข้ 1-2 วันจะเห็นแผลแดงเล็กๆ ที่ปากโดยเป็นตุ่มน้ำใส ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บในระยะแรกและแตกเป็นแผล ตำแหน่งของแผลมักจะอยู่ที่เพดานปาก หลังจากนั้นอีก 1-2 วันจะเกิดผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า แขนขา และก้น ผื่นที่มือและเท้า แต่ก็อาจจะเกิดที่แขน ขาและก้น
    อาการที่ต้องเฝ้าระวังซึ่งเป็นสัญญาณอันตราย
    1. มีไข้สูงนานเกิน 2 วัน
    2. อาเจียนมาก
    3. ซึม
    4. มือกระตุกคล้ายผวา
    5. เดินเซ ตากระตุก
    6. เจ็บแผลในปาก จนกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้ มีภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ปัสสาวะออกน้อย ผิวแห้ง ปัสสาวะสีเข็ม
    7. หายใจหอบเหนื่อย
    ควรรีบไปพบแพทย์เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ หากมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบพาบุตรหลานพบแพทย์ทันที
    การรักษา
    โรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาทาแก้ปวด ในรายมีแผลที่ลิ้น หรือกระพุ้งแก้มผู้ปกครองหรือผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรเช็ดตัวเด็กเพื่อลดไข้เป็นระยะ และให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนๆรสไม่จัด ดื่มน้ำและน้ำผลไม้ และนอนพักผ่อนมากๆ

    ปัจจุบันมีวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสเชื้อเอนเตอร์โรไวรัส 71 หรือเรียกสั้นๆ ว่าเชื้อ อีวี 71 ซึ่งเป็นชนิดที่ก่อโรคมือ เท้า ปากรุนแรง โดยสามารถ

    1. ฉีดได้ในช่วงอายุ 6 เดือน - 5 ปี 11 เดือน
    2. ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม โดยเว้นระยะห่างจากเข็มแรก 1 เดือน
    3. เด็กที่หายจากโรคมือ เท้า ปาก ประมาณ 1 เดือน
    4. เด็กที่ได้รับวัคซีนอื่นๆ ต้องเว้นระยะห่าง 2 สัปดาห์ ก่อนเริ่มวัคซีนชนิดใหม่
    การป้องกัน / การควบคุมโรค
    โรคมือเท้าปากจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการสัมผัส น้ำมูก น้ำลาย เสมหะของผู้ป่วย รวมทั้งน้ำจากตุ่ม และอุจจาระ การลดความเสี่ยงของการติดต่อทำได้โดย
    • ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับเด็กที่ป่วย
    • ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร แยกของใช้ส่วนตัว
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก
    • หลีกเลี่ยงที่มีคนมากและแออัด ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ เช่น สนามเด็กเล่นและห้างสรรพสินค้า ตลาด สระว่ายน้ำ
    • ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่มีการจับบ่อย เช่น ลูกบิด โทรศัพท์
    • ไม่เล่นของเล่นร่วมกับผู้ป่วย คือ ต้องแยกผู้ป่วย เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และคอยทำความสะอาดพื้น ห้องน้ำ สุขา เครื่องใช้ ของเล่น สนามเด็กเล่น ตลอดจนเสื้อผ้าที่อาจปนเปื้อนเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ทั่วไปภายในบ้าน
    หากมีเด็กป่วยจำนวนมาก ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้จัดการสถานรับเลี้ยงเด็กต้องดำเนินการ ดังนี้
    1. ปิดห้องเรียนที่มีเด็กป่วยหรือปิดทั้งโรงเรียนชั่วคราว (ประมาณ 5 – 7 วัน)
    2. ทำความสะอาดสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อโรคบริเวณห้องนํ้า ห้องส้วม สระว่ายนํ้า ครัว โรงอาหารบริเวณที่เล่นของเด็ก สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอก หรือสบู่ทำความสะอาดก่อน แล้ว ตามด้วยน้ำยาฟอกขาว 1 ส่วนผสมกับน้ำ 30 ส่วน ทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้าง เช็ด/แช่ ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง
    3. ทำความสะอาดของเล่น เครื่องใช้ของเด็กด้วยการซักล้างแล้วผึ่งแดดให้แห้ง
    4. หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึง

    โปรแกรมและแพ็คเกจ

    โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

    โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

    วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

    วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

    draft โปรแกรมท้ายบทความ

    โปรแกรมและแพ็คเกจ