โปรแกรมตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน

BONE CARE PROGRAM

BONE CARE 1 : 2,800.-

BONE CARE 2 : 1,600.-


ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุน
ภาวะกระดูกบางหรือผุพรุนจากการเสื่อมสลายของมวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลง เสี่ยงต่อการหักหรือพิการได้ง่าย ตำแหน่งที่พบกระดูกหักได้บ่อย คือ กระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือและกระดูกสะโพก อาจเกิดผลแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น หลังค่อม การหายใจไม่เต็มที่ เหนื่อยหอบ เอ็นอักเสบและข้อกระดูกเสื่อม เดินไม่ได้เป็นภาระต่อคนรอบข้าง การผ่าตัดต้องใช้อุปกรณ์ราคาแพง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง
โดยปกติในวัยเด็กร่างกายจะมีขบวนการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายจนมีการสะสมมวลกระดูกได้สูงสุด เมื่ออายุ 30 ปี หลังจากนั้นจะมีการเสื่อมสลายของกระดูกอย่างต่อเนื่องมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะในสตรีที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วมากกว่าเพศชายถึง 2-3 เท่า
ใครมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน
  1. สตรีวัยหมดประจำเดือน หรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทั้ง 2 ข้าง
  2. ผู้มีอายุมากกว่า 65 ปี
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกสะโพกหัก
  4. เคยมีประวัติกระดูกหัก เมื่ออายุมากกว่า 50 ปี และจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักซ้ำ
  5. รูปร่างผอมบาง น้ำหนักตัวน้อย
  6. ขาดสารอาหารแคลเซียมและวิตามินดี
  7. ไม่ออกกำลังกายหรือไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลานาน เช่น นอนรักษาตัวนานหรือใส่เฝือกนานๆ
  8. สูบบุหรี่
  9. ชอบดื่มสุรา น้ำอัดลม ชา กาแฟ ยาชูกำลัง
  10. ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นประจำ ยารักษาโรคเบาหวาน โรคต่อมไธรอยด์ ยายับยั้งการตกไข่ในโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เป็นต้น
ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน และพบแพทย์เพื่อประเมิน ป้องกันหรือรักษาให้กระดูกมีสุขภาพที่ดี
รายการตรวจ
BONE CARE 1
BONE CARE 2
ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์
Physical Examination
ตรวจระดับวิตามินดี
Vitamin D Total
ตรวจระดับแคลเซียม
Calcium
ตรวจมวลกระดูกสันหลังและสะโพก
Bone density 2 Parts (Lumbar, hip)
2,800
1,600

โปรแกรมและแพ็คเกจ