รู้ได้อย่างไรว่านิ้วล็อก

มารู้จักโรคนิ้วล็อกกันเถอะ
โรคนิ้วล็อก ( Trigger Finger )   เป็นความผิดปกติของนิ้วมือที่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง มีสาเหตุส่วนใหญ่จากการใช้นิ้วมือมากทำให้เกิดการเสียดสีกันระหว่างปลอกหุ้มเอ็นหนาตัวและขัดขวางการเคลื่อนที่ของเส้นเอ็น

อุบัติการณ์ของโรค

  • พบได้ประมาณ6% ของประชากรทั่วไป
  • พบได้บ่อยในช่วงอายุวัยกลางคน
  • พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ประมาณ 2-6 เท่า
  • นิ้วที่พบโรคได้บ่อยเรียงตามลำดับดังนี้ : นิ้วหัวแม่มือ นิ้วนาง นิ้วกลาง นิ้วก้อย นิ้วชี้

อาการ
อาการแสดงมีหลายระดับขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการอักเสบ อาการที่พบได้คือ

  • โดยเริ่มจากอาการเจ็บบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
  • นิ้วขัดหรือสะดุดในขณะงอหรือเหยียดนิ้วมือเหยียดออกได้เอง
  • นิ้วล็อกหรือนิ้วติดแข็งอยู่ในท่างอเคลื่อนไม่ได้คือเหยียดไม่ออกหรืองอไม่ลง

ระดับความรุนแรงของโรคนิ้วล็อก

  • ระยะที่ 1 เส้นเอ็นอักเสบ ทำให้มีอาการ ปวด กดเจ็บ
  • ระยะที่ 2 นิ้วสะดุด ยังสามารถเหยียดนิ้วออกเองได้
  • ระยะที่ 3 นิ้วล็อก ติดในท่างอ ต้องใช้นิ้วมืออีกข้างช่วยเหยียดออก หรือนิ้วติดในท่าเหยียด งอไม่ลง
  • ระยะที่ 4 นิ้วติดแข็ง ข้อกลางนิ้วติดแข็งในท่างอ

 

การรักษาโรคนิ้วล็อก

การรักษาโรคนิ้วล็อกขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและระยะเวลาที่เป็น

ถ้าอาการไม่รุนแรง หรืออาการเป็นไม่บ่อย การรักษาดังต่อไปนี้อาจให้ผลดี

  • หยุดพักการใช้มือข้างที่เป็น เพื่อป้องกันการใช้งานมากเกินไปของนิ้วข้างที่เป็น
  • ใช้เครื่องพยุงนิ้วมือ โดยช่วยให้ข้อไม่ทำงานมากเกินไป
  • บริหารนิ้วมือในน้ำอุ่น โดยการแช่มือในน้ำอุ่นนานประมาณ 5-10 นาที ในตอนเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดอาการนิ้วล็อกลงได้

ถ้าอาการรุนแรงมาก

  • รับประทานยาลดการอักเสบ เพื่อลดการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็น
  • การใช้สเตียรอยด์ฉีดเข้าไปในปลอกหุ้มเอ็นซึ่งช่วยลดการอักเสบ การรักษาด้วยวิธีนี้ ได้ผลดีในผู้ป่วยที่เป็นในระยะแรก การฉีดยาในรายที่เป็นซ้ำ อาจจะต้องเว้นระยะห่างประมาณ 3 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการฉีกขาดของเส้นเอ็น
  • การรักษาด้วยการผ่าตัดเอาเยื่อพังผืดออก ขนาดแผลประมาณ 1-2 ซม. เมื่อรักษาด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น วิธีนี้ต้องรอแผลติดและตัดไหมประมาณ 2 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำงานได้
  • การรักษาด้วยการเปิดแผลเล็กขนาดเท่ารูเข็ม โดยใช้ปลายเข็มสะกิด หรือใช้มีดที่ปลายเหมือนตะขอเกี่ยวตัดเยื่อพังผืดออกใช้ในรายที่เป็นในระยะเริ่มแรก ซึ่งแผลเล็กหายเร็วและสามารถกลับไปทำงานได้เร็ว

อย่างไรก็ตามแล้ว การหลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการทำงานที่เสี่ยงต่อภาวะที่ทำให้เกิดนิ้วล็อกเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในรายที่ยังต้องทำงานโดยใช้มืออย่างหนักตลอด อาจจะเกิดการเป็นนิ้วล็อกซ้ำได้ การรักษาด้วยการฉีดยา และการผ่าตัด เป็นสิ่งที่รองลงมาหลังการการรับประทานยาและกายภาพไม่ดีขึ้น

โปรแกรมและแพ็คเกจ

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนที่เต้านม (Excision)

แพ็กเกจผ่าตัดก้อนเนื […]

คัดกรองมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม ภัยร้าย […]