ภาวะพร่อง ฮอร์โมนเพศชาย

ภาวะพร่อง ฮอร์โมนเพศชาย

LOW TESTOSTERONE
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย (Hypogonadism) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือ "เทสโทสเตอโรน" ในระดับที่ต่ำกว่าปกติ ซึ่งฮอร์โมนนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาลักษณะทางเพศชาย การทำงานของอวัยวะเพศ และระบบสืบพันธุ์ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนยังเกี่ยวข้องกับมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกระดูก และการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง การพร่องฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดได้ทั้งในวัยเด็กหรือวัยผู้ใหญ่ ส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้กับเพศชายในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
  1. ภาวะพร่องปฐมภูมิ (Primary hypogonadism): เกิดจากปัญหาที่อัณฑะเอง ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนได้เพียงพอ สาเหตุอาจรวมถึง

    • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter syndrome)
    • อัณฑะบิดตัวหรือบาดเจ็บจากการบาดเจ็บที่ทำให้อัณฑะไม่ทำงานตามปกติ
    • การติดเชื้อในอัณฑะ เช่น คางทูม
    • รังสีรักษาหรือเคมีบำบัด
  2. ภาวะพร่องทุติยภูมิ (Secondary hypogonadism): เกิดจากปัญหาที่ต่อมใต้สมองหรือไฮโปทาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่ ควบคุมการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน สาเหตุอาจรวมถึง

    • เนื้องอกในสมอง
    • การฉายรังสีที่สมอง
    • การได้รับยาบางประเภท เช่น สเตียรอยด์
    • โรคอ้วน
อาการ
อาการของภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายสามารถแตกต่างกันไปตามช่วงอายุที่เริ่มเกิดภาวะนี้:
  • ในวัยเด็ก: อาจทำให้ลักษณะเพศชายไม่พัฒนา เช่น ขนตามตัวน้อย กล้ามเนื้อไม่เจริญเติบโต เสียงไม่เปลี่ยน
  • ในวัยผู้ใหญ่: : อาจมีอาการเช่น ความต้องการทางเพศลดลง หย่อนสมรรถภาพทางเพศ มวลกล้ามเนื้อลดลง การเพิ่มขึ้นของไขมันร่างกาย อารมณ์ไม่คงที่ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า อยากอยู่คนเดียว ขาดสมาธิ หมดเรี่ยวแรง อ้วนลงพุง และการทำงานของสมองช้าลง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่านี่คืออาการที่อาจเกิดจากภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย และปล่อยผ่านเลยจนถึงจุดที่ยากจะรักษา เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ การตระหนักรู้ถึงกลุ่มอาการและปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะเหล่านี้
กลุ่มที่มีความเสี่ยง
  • ผู้ชายที่ใช้ชีวิตหนัก พักผ่อนน้อย
  • ผู้มีโรคเรื้องรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุง (เส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว)
  • ผู้ที่ไม่ค่อยมีเพศสัมพันธ์
ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจง่ายนิดเดียว
  1. เริ่มจากการทำแบบสอบถาม เพื่อคัดกรองภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชายในเบื้องต้น
  2. แพทย์จะประเมินอาการหากต้องมี การตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพศชายด้วยการเจาะเลือดเพื่อการรักษาที่เฉพาะเจาะจงตามอาการสำหรับแต่ละคน
ควรเจาะเลือด | เพื่อตรวจในช่วงเช้า 7:00 - 11:00 น.
การรักษาภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตได้แก่ การงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การควบคุมการรับประทานอาหารประเภทแป้งและไขมัน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • การให้ฮอร์โมนเพศชายทดแทน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรักษาระดับฮอร์โมนเพศชายที่จำเป็นต่อสรีระการทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น การคงสภาวะกระดูกกล้ามเนื้อ อารมณ์ ความต้องการทางเพศ และสมรรถภาพทางเพศ โดยเฉพาะความรู้สึกถึงคุณภาพการดำรงชีวิต และ การสนองตอบทางเพศ
รูปแบบของยาฮอร์โมนเพศชาย
  1. รูปแบบทาที่ผิวหนัง เป็นรูปแบบเจลใสในซอง ทาลงบนผิวหนังที่แห้งและสะอาด บริเวณหัวไหล่ ต้นแขน หรือที่หน้าท้อง
  2. รูปแบบฉีด เป็นชนิดที่ฉีดเข้าในกล้ามเนื้อ
การเพิ่มฮอร์โมนเพศชายนั้น แนะนำให้อยู่ในการดูแลของแพทย์
หากคุณมีอาการเหล่านี้
  • ไม่กระฉับกระเฉง
  • ขาดความมั่นใจ
  • หงุดหงิดง่าย
  • ซึมเศร้า
  • ไม่อยากทำการบ้าน
  • อ้วนลงพุง
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว
  • เฉื่อยชา
  • กระสับกระส่าย
  • ร้อนวูบวาบ
  • นอนไม่หลับ
  • นกเขาไม่ขัน
คุณอาจมีภาวะพร่องฮอร์โมนเพศชาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับคำแนะนำในการรักษาอย่างเหมาะสม

ความรู้เรื่อง…โรคเบาหวาน

ความรู้เรื่อง...โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานคืออะไร
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือด สูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตา ไต และระบบประสาท
เบาหวานมีกี่ประเภท
  1. เบาหวานประเภทที่ 1 (เบาหวานชนิดพึ่งอินสุลิน)
  2. เบาหวานประเภทที่ 2 (เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
  3. เเบาหวานจากสาเหตุอื่นๆ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางพันธุกรรม โรคเนื้องอกของต่อมหมวกไตที่สร้างฮอร์โมน
  4. เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ในประเทศไทย พบเบาหวานชนิดที่ 2 มากที่สุด ประมาณ ร้อยละ 95
สาเหตุของโรคเบาหวาน
เบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ได้ก็จริง แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ) เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน
มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
  1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
  2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินสุลินลดลง
  3. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน
อาการของโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยเบาหวานอาจไม่มีอาการใดๆ โดยทั่วไปจะมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก ปัสสาวะกลางคืน คอแห้ง กระหายน้ำ ดื่มน้ำมาก มีอาการหิวบ่อยรับประทานจุ แต่น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คันตามผิวหนัง ชาปลายมือ ปลายเท้า ตามัว
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้อย่างไร
การวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานได้โดย
  1. ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเวลาใดก็ได้ไม่จำเป็นต้องออาหาร ถ้ามีค่ามากกว่า หรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  2. การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชั่วโมง พบค่า มากกว่าหรือเท่ากับ 126 มก./ดล. ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งหนึ่ง ต่างวันกัน
  3. การตรวจความทนต่อน้ำตาลกลูโคส (75 g Oral Glucose Tolerance Test, OGTT) ใช้สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงแต่ตรวจพบน้ำตาลในเลือดตอนเช้าหลังอดอาหารข้ามคืน น้อยกว่า 126 มก./ดล. ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด 2 ชั่วโมงหลังดื่มกลูโคสมากกว่าหรือเท่ากับ 200 มก./ดล. ให้การวินิจฉัยว่า "เป็นโรคเบาหวาน"
หมายเหตุ : ในการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลพลาสมากลูโคสให้งดอาหารอย่างน้อย 8-10 ชม. ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลหรือลูกอม แต่ดื่มน้ำเปล่าได้
ผู้ใดควรได้รับการตรวจเช็คเบาหวาน
  1. ผู้ที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น
  2. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้
    • ไม่มีอาการแต่อายุเกิน 35 ปี
    • ญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน
    • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
    • เคยแท้งหรือบุตรเสียชีวิตตอนคลอด
    • คลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม
    • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
    • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์อยู่ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
    • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดในสมองตีบ
    • ผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง
    • ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง
ทำไมเราจึงควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
แม้ว่าบุคคลเหล่านี้ไม่มีอาการโรคเบาหวานชัดเจน ก็ควรหมั่นตรวจสอบ ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระดับน่าสงสัย ก็ควรตรวจระดับพลาสมากลูโคสเป็นระยะทุก 1 ปี การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้ ผู้ป่วยบางรายมีอาการชัดเจนแต่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานอาจพบโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เพราะเป็นโรคเบาหวานนานแล้วแต่ไม่เคยตรวจ
โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน

โปรแกรมและแพ็คเกจ

DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวาน

โปรแกรม “DM Care” ตรวจสุขภาพคัดกรองเบาหวาน

DM Care : 2,600.-

DM Yearly Care : 1,790.-


ชีวิตสดใส..ห่างไกลเบาหวาน กับโปรแกรมคุมเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีจะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังได้  ผู้ป่วยบางรายมีอาการชัดเจนแต่เพิ่งวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวาน อาจพบโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย เพราะเป็นโรคเบาหวานนานแล้วแต่ไม่เคยตรวจ    โรคเบาหวานรักษาไม่หายขาด แต่ถ้าปฏิบัติตัวดีสามารถควบคุมระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม จะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน  ดังนั้นการรักษาสุขภาพและการคัดกรองภาวะเสี่ยงก่อนการเกิดโรคเป็นสิ่งจำเป็น

ชีวิตสดใส...ห่างไกลเบาหวาน

โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ  เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ  ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ  เช่น  ตา  ไต  และระบบประสาท  โรคเบาหวานสืบทอดทางกรรมพันธุ์ แต่ผู้ที่มีญาติสายตรง (พ่อ แม่ พี่ น้อง ) เป็นเบาหวาน ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเบาหวานทุกคน  แต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน ได้แก่
  1. โรคอ้วน ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินสุลินไม่ดี
  2. ผู้สูงอายุ การสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนอินสุลินลดลง
  3. การได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิด ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินสุลินไม่ดี
  4. การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินสุลิน
โปรแกรม DM Care คัดกรองเบาหวาน
การวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถให้การรักษาควบคุมระดับน้ำตาลให้ดี จะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังดังนั้นการรักษาสุขภาพโดยการคัดกรอง สำหรับผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเป็นสิ่งจำเป็น ดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้

DM Care
ตรวจ 13 รายการ
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ Physical Examination
ความสมบูรณ์ของเลือด CBC
ตรวจน้ำตาลในเลือด FBS
HbA1C
ตรวจการทำงานของตับ SGOT
ตรวจการทำงานของไต Creatinine
ตรวจไขมันในเลือด Cholesterol
Triglyceride
HDL
LDL
ตรวจปัสสาวะ Urine Microalbumin Exam
ตรวจภาวะอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย Vascular Screening (ABI)
ตรวจสุขภาพเท้าโดยนักกายภาพ Monafilament Test
ราคาแพ็คเกจ 4,200.-
ราคาพิเศษ
2,600.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
ก่อนตรวจ กรุณางดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ขึ้นไป
โปรแกรม DM Yearly Care เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน
สำหรับผู้ที่กำลังรักษาโรคเบาหวาน เพื่อการเฝ้าระวังอย่างถูกวิธี ตามมาตรฐานทางการแพทย์การดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง เพื่อรักษาและควบคุมระดับน้ำตาลให้คงที่จะชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังควรพบแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อติดตามอาการ ตรวจวินิจฉัยรักษา และรับคำแนะนำ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน

DM Yearly Care
รายการ
ตรวจสุขภาพโดยจักษุแพทย์ Eye Examination
ตรวจปัสสาวะ Urine Microalbumin Exam
ตรวจภาวะอุดตันของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย Vascular Screening (ABI)
ตรวจสุขภาพเท้าโดยนักกายภาพ Monafilament Test
ราคาแพ็คเกจ 2,530.-
ราคาพิเศษ
1,790.-
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
แนะนำให้ตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ราคาดังกล่าว รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลแล้ว
  • แพ็กเกจดังกล่าวไม่สามารถใช้ร่วมกับสิทธิ์และส่วนลดอื่นๆ ได้
  • ผู้เข้ารับบริการชำระค่าใช้จ่าย ณ โรงพยาบาล ในวันที่เข้ารับบริการ
  • โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไข โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
วันนี้ - 31 มีนาคม 2568

โปรแกรมและแพ็คเกจ