ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ STD
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Sexually Transmitted Diseases (STDS)
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ตรวจ 7 รายการ : 1,990.-
ตรวจ 14 รายการ : 3,333.-
กลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี ดังนั้นควรตรวจคัดกรองโรคปีละครั้ง สำหรับกลุ่มที่เสี่ยง
โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Sexually Transmitted Diseases (STDS)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือกลุ่มโรคที่เกิดจากการติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กับคนที่เป็นโรคหรือคนที่ติดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก เดิมมีชื่อว่า “กามโรค” (venereal diseases) ในปัจจุบันมีการค้นพบโรคในกลุ่มดังกล่าวเพิ่มขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์” (sexually transmitted infections, STIs) โรคที่สำคัญคือ ซิฟิลิส หนองในแท้ หนองในเทียม เริม และเอชพีวี
ใครเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
คนที่มีกิจกรรมทางเพศบ่อย มีคู่นอนหลายคน อายุน้อย ไม่ใส่ถุงยางอนามัยเวลามีเพศสัมพันธ์ เคยมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต ดื่มสุรา และใช้สารเสพติด
สามารถติดโรคจากคนที่ไม่มีอาการ ภายนอกดูแข็งแรงปกติ ได้หรือไม่
ในบางระยะของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการผิดปกติ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้ออยู่ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่คู่นอนได้ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยแม้เพียงครั้งเดียว ก็สามารถทำให้ติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รวมถึงเชื้อเอชไอวีได้
จะปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าอาจติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเพิ่งมีความเสี่ยงในการติดโรค ควรรีบปรึกษาแพทย์ และงดการมีเพศสัมพันธ์ชั่วคราวเพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่นจนกว่าจะทราบผลการตรวจ ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคควรงดการมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะได้รับการรักษาจนหาย และแนะนำให้คู่นอนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เข้ารับการตรวจรักษาด้วย
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ รักษาให้หายขาด
โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียสามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินหรือฉีดยาปฏิชีวนะให้ครบตามแพทย์สั่ง และให้ความสำคัญกับการพาคู่นอนมารับการตรวจรักษา ส่วนโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสบางชนิดจะอยู่ในร่างกายตลอดชีวิต เช่น เริม การรักษาจะช่วยควบคุมอาการโรคได้ แต่การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เอชพีวี ร่างกายอาจกำจัดเชื้อได้เอง หากกำจัดไม่ได้เชื้ออาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งในอนาคต
ข้อมูลอ้างอิง สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Sexually Transmitted Diseases (STDS)
ด้วยเทคนิค REAL-TIME PCR ทราบผลภายใน 5 วัน
รายการตรวจ
|
STD 1
7 รายการ
|
STD 2
14 รายการ
|
---|---|---|
Neisseria gonorrhoeae
โรคหนองในแท้
|
|
|
Chlamydia trachomatis
โรคหนองในเทียม
|
|
|
Mycoplasma hominis
โรคหนองในเทียม
|
|
|
Mycoplasma genitalium
โรคหนองในเทียม
|
|
|
Ureaplasma urealyticum
โรคหนองในเทียม
|
|
|
Ureaplasma parvum
โรคหนองในเทียม
|
|
|
Herpes simplex virus types 1 (HSV-1)
โรคเริม
|
|
|
Herpes simplex virus types 2 (HSV-2)
โรคเริม
|
|
|
Treponema pallidum
โรคซิฟิลิส
|
|
|
Haemophilus ducreyi
โรคแผลริมอ่อน
|
|
|
Trichomonas vaginalis
พยาธิ
|
|
|
Candida albicans
โรคเชื้อรา
|
|
|
Gardnerella vaginalis
ติดเชื้อแบคทีเรีย
|
|
|
Group B Streptococcus
ติดเชื้อแบคทีเรีย
|
|
|
ราคาแพ็คเกจ
|
1,990.-
|
3,333.-
|
รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาล
|
||
ไม่รวมค่ายา
(ในกรณีที่บพความผิดปกติอื่น อาจพิจารณาให้รับยาเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์) |
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- มีอาการผิดปกติที่อาจติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คัน เป็นผื่น ตุ่ม เป็นฝี มีหนองไหล หรือเจ็บป่วยที่อวัยวะเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น
- มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัย ถุงยางอนามัยรั่ว แตก หลุด หรือฉีดขาดขณะมีเพศสัมพันธ์
- มีพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีคู่นอนหลายคน มีคู่นอนที่เสี่ยงต่อการติดโรค
- ผู้ที่วางแผนแต่งงาน วางแผนการมีบุตร หรือ ต้องการตรวจ ก่อนมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่คนรักและทารกในครรภ์
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- สามารถทานอาหารมาก่อนเข้าตรวจได้ตามปกติ
- งดดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจสุขภาพ
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรรอตรวจหลังจากที่ประจำเดือนหมดไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน
- ห้ามตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง เพราะอาจมีสารหรือยาไปปนเปื้อนอยู่
- ห้ามใช้ผ้าอนามัยชนิดสอด ครีมหรือยา ที่ใช้ทางช่องคลอดอื่น ๆ อย่างน้อย 48 ชั่วโมง
- ห้ามล้างหรือทำความสะอาดในช่องคลอดภายใน 48 ชั่วโมงก่อนมาตรวจ เพราะอาจไม่มีเซลล์เหลือให้ตรวจ
- ห้ามมีเพศสัมพันธ์ก่อนมารับการตรวจ 48 ชั่วโมง
วันนี้ - 31 ธันวาคม 2567