10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ
10 สิ่ง ที่คนตั้งครรภ์ ต้องห้ามทำ
1. งด เพศสัมพันธ์
ช่วง ท้องอ่อนๆ หรือ 3เดือน แรกและช่วงใกล้คลอดหรือ 3 เดือน ท้ายของการตั้งครรภ์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแท้งในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ และเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดช่วงท้ายของการตั้งครรภ์
2. งดกินยา ที่มีส่วนผสมของ Vitamin A
Formของวิตามิน เอ ที่เราต้องระวังคือ Isotretinoin และ Etretinate เพราะเป็นสารที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ X นั่นคือ ยาทำให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ได้ ได้แก่ หูหนวก ตาบอด ไม่มีรูเปิดทวาร น้ำคั่งในโพรงสมอง โดยisotretinoin มักอยู่ในสูตรยา ของการรักษาสิว เพราะฉะนั้นหากตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์เมื่อไปรับการรักษาสิว และควรหยุดยาหากวางแผนจะตั้งครรภ์ส่วน Etretinate จะเป็นส่วนผสมของยาที่ใช้รักษาโรค Psoriasis หรือสะเก็ดเงิน หากใช้ยาตัวนี้อยู่ควรหยุดยาอย่างน้อย 2 ปีก่อนตั้งครรภ์
3. งดการสัมผัสกับ คนที่มีโรคเช่น อีสุกอีใส หัดเยอรมัน
โดยเฉพาะ หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีภูมิมาก่อน เพราะหากติดเชื้อเหล่านี้จะทำให้เด็กพิการได้ เพราะฉะนั้นหากจะไปไหนในที่ชุมชนควรใส่หน้ากาก และหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดคนที่เป็นโรคดังกล่าว
4. ห้าม x-ray
หากตั้งครรภ์พบว่า อายุครรภ์ช่วง 10-17 สัปดาห์ เป็นช่วงที่ระบบประสาทและสมองของทารกในครรภ์ไวต่อรังสี x-ray โดยปริมาณที่ได้รับรังสีเมื่อถ่ายภาพ x-ray ไม่ควรเกิด 5 rad ดังนั้นกรณีจำเป็นต้อง x-ray ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่เพราะ จะมีเครื่องมือที่ใช้ บังท้อง เพื่อลดการได้รับรังสี อย่างไรก็ตาม ปริมาณรังสีที่ได้รับ เมื่อถ่ายภาพ x-ray ตามอวัยวะต่างๆของร่างกายแตกต่างกัน และส่วนใหญ่ ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อครั้ง น้อยกว่า 5 rad
5. ห้ามดื่มกาแฟ เกินขนาด
กาแฟ หรือ caffeine มีฤทธิ์กระตุ้นความดัน และ การเต้นของหัวใจ นอกจากนี้ ยังสามารถผ่านรก เข้าสูทารกในครรภ์ได้ การดื่มกาแฟหรือสารที่มีกาแฟเป็นองค์ประกอบเช่น ชา โคล่า จึงมีข้อจำกัด คือไม่ควรดื่มกาแฟในขนาดที่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อวัน หรือ 1 แก้วขนาด 12 ออนซ์
6. ห้ามโดยสารเครื่องบินในช่วงอายุครรภ์ใกล้คลอด
โดยแต่ละสายการบินจะมีข้อกำหนดต่างกัน ขึ้นกับ ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง อายุครรภ์ และโรคประจำตัวของหญิงตั้งครรภ์ยกตัวอย่างเช่น สายการบิน นกแอร์
- อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ : สายการบินอนุญาตให้เดินทางได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
- อายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ ถึง 36 สัปดาห์ : ผู้โดยสารต้องแสดงใบรับรองแพทย์ที่รับรองว่าสามารถเดินทางโดยเครื่องบินได้
- อายุครรภ์มากกว่า 36 สัปดาห์ : สายการบินปฏิเสธการให้บริการ
ทั้งนี้ เพราะการเดินทางด้วยเครื่องบินช่วงใกล้คลอด หากเกิดการเจ็บครรภ์คลอด จะมีข้อจำกัดในการดูแลรักษา บนเครื่อง และส่งผลอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์
7. การสัมผัสแมว ต้องระวัง
โดยเฉพาะการทำความสะอาดมูลแมว มูลแมวมีส่วนประกอบของ Toxoplasmosis ซึ่ง เป็นเชื้อปรสิตชนิดหนึ่งที่มีแมวเป็นพาหะนำโรค เชื่อชนิดนี้สามารถผ่านรก และทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อเกิดโรค Congenital Toxoplasmosis โดยจะมีผลต่อระบบ ประสาท การมอง การได้ยิน ตับม้ามโต ตัวเหลือง หัวโต รกใหญ่
8. ห้ามอบซาวนา แช่ออนเซ็น
หนึ่งในปัจจัยเสี่ยง ของการเกิด neural- tube defect หรือภาวะ หลอดประสาทไม่ปิดของทารกในครรภ์ คือการที่หญิงตั้งครรภ์อยู่ในภาวะ hyperthermia คือภาวะที่มีความร้อนสูง เช่นการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า ดังนั้นช่วง3 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายทารกกำลังสร้างหลอดประสาทนี้ หญิงตั้งครรภ์ควรงดการแช่น้ำร้อน อบซาวน่า
9. ห้าม ดื่มนมวัวทุกวัน
นมวัวมีโปรตีน เช่น อัลฟา เบต้า เคซีน เป็นจำนวนมาก ซึ่งสารเหล่านี้จัดเป็นสารแปลกปลอม (antigen) การที่หญิงตั้งครรภ์ ดื่มนมวัวปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายเด็กได้รับ antigen เหล่านี้เยอะ จนร่างกายสร้าง antibody มาต่อต้าน โปรตีนจากนมวัว เมื่อเด็กคลอดมา จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแพ้นมวัว และผลิตภัณฑ์จากนมวัวดังนั้น ปัจจุบันจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ดื่มนมวัวสลับกันนมถั่วเหลือง เพื่อลดการเกิดปัญหาดังกล่าว
10. ห้ามฉีดวัคซีน ตัวเป็น
วัคซีนตัวเป็น หรือ live vaccine คือ วัคซีนที่ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีชีวิตแต่ทำให้ฤทธิ์อ่อนลงจนไม่ก่อโรคในร่างกายของเรา แต่สามารถกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้ เช่น วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกอีใส ไข้เหลือง (Yellow Fever) บีซีจี (ป้องกันวัณโรค) โปลิโอชนิดกิน ดังนั้น หากมีแผนการ จะตั้งครรภ์ ควรวางแผนฉีดวัคซีนเหล่านี้ คือ MMR ( หัด หัดเยอรมัน คางทุม) และวัคซีนอีสุกอีใสก่อน เพราะหากเป็นโรคเหล่านี้ จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์พิการได้
ส่วนวัคซีนชนิดตัวตาย ( Inactivated Vaccines) สามารถฉีดได้ตามปกติ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ไอกรน ไข้หวัดใหญ่
ส่วนวัคซีนชนิดตัวตาย ( Inactivated Vaccines) สามารถฉีดได้ตามปกติ เช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า บาดทะยัก ไอกรน ไข้หวัดใหญ่
อ้างอิง
www.aafp.org
(http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/caffeine-during-pregnancy/)
www.aafp.org
(http://americanpregnancy.org/pregnancy-health/caffeine-during-pregnancy/)