การติดเชื้อนิวโมคอคคัส

Pneumoccocal Disease
การติดเชื้อนิวโมคอคคัส
Pneumoccocal Disease
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) ซึ่งสามารถพบได้ในโพรงจมูกและลำคอของคนทั่วไปแต่มักก่อโรคเมื่อร่างกายอ่อนแอหรือในรายที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง เช่น ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบชุมชน โดยผู้ที่มีปอดอักเสบจะมีอาการหอบ เหนื่อย หายใจลำบาก มีไข้สูง หนาวสั่นและไอมีเสมหะ ถ้ามีการติดเชื้อเข้ากระแสเลือดหรือมีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมองก็จะเรียกว่าเป็น Invasive Pneumoccocal Disease (IPD) ซึ่งจะยิ่งทวีความรุนแรงและเพิ่มอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 20% และสูงขึ้นถึง 60% ในผู้สูงอายุ
เชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสไม่เพียงก่อโรคในผู้ที่สัมผัสเชื้อเท่านั้น แต่ยังสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางการไอ จาม หรือสัมผัสสารคัดหลั่งได้อีกด้วย
อาการ
วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ
Pneumococcal Vaccine
ก่อนหน้านี้ในประเทศไทยจะนิยมการให้วัคซีนป้องกัน IPD ในผู้ใหญ่ เป็นการฉีดเข้ากล้าม 2 เข็ม คือ PCV13 เว้นระยะ 1 ปีแล้วฉีดกระตุ้นด้วย PPSV23
แต่ในปัจจุบันมีวัคซีนรุ่นใหม่คือ PCV20 ให้ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเพียง 1 เข็ม ครอบคลุมเชื้อนิวโมคอคคัสชนิด 20 สายพันธุ์
  • 1
  • 3
  • 4
  • 5
  • 6A
  • 6B
  • 7F
  • 9V
  • 14
  • 18C
  • 19A
  • 19F
  • 23F
  • 8
  • 10A
  • 11A
  • 12F
  • 15B
  • 22F
  • 33F
ประสิทธิภาพของ PCV 20
  • PCV20 ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสในกระแสเลือด (Invasive Pneumococcal Disease) ได้สูงถึง 86.8% ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไปและ 83.2% ในทุกช่วงวัย
  • PCV20 ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส (Pneumococcal Pneumonia) ได้สูงถึง 84.9% ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
ข้อบ่งชี้
  • เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี (โดยเฉพาะเด็กที่มีความเสี่ยงสูง)
  • ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคตับแข็ง โรคปอดเรื้อรัง เช่น ถุงลมโป่งพอง
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดประสาทหูเทียม
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ หรือผู้ป่วยมะเร็งของระบบเลือด ผู้ป่วย HIV
  • ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำงานผิดปกติ
เปรียบเทียบวัคซีน PCV13, PCV20 และ PPSV23
คุณสมบัติ
PCV13 (Prevnar 13)
ป้องกัน 13 สายพันธุ์
PCV20 (Prevnar 20)
ป้องกัน 20 สายพันธุ์
PPSV23 (Pneumovax 23)
ป้องกัน 23 สายพันธุ์
กระตุ้นภูมิคุ้มกันในเด็กเล็ก
มีหน่วยความจำภูมิคุ้มกัน
ป้องกันปอดอักเสบ
ป้องกันเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด
ใช้แทน PCV13 + PPSV23 ได้
PCV20 เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในปัจจุบัน เพราะสามารถใช้แทนทั้ง PCV13 และ PPSV23 ได้ในเข็มเดียว
ข้อดี
  • ครอบคลุมสายพันธุ์ก่อโรคได้กว้างขึ้น: PCV20 บรรจุสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและก่อโรครุนแรงในประเทศไทย จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค
  • เพิ่มการป้องกันโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อในกระแสเลือด: ครอบคลุมสายพันธุ์ที่ก่อโรคได้มากกว่า 80%
  • เพิ่มความสะดวกด้วยการฉีดเพียง 1 เข็ม: PCV20 เพียง 1 เข็ม ช่วยลดความสับสนของคนไข้ ในเรื่องประวัติการรับวัคซีนและลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิเช่น ค่าเดินทาง เพราะสามารถรับวัคซีนครบคอร์สภายในครั้งเดียว
  • การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น: PCV20 เป็นวัคซีนชนิดคอนจูเกต ซึ่งมีการเพิ่มโปรตีนเข้าไปในโครงสร้างของวัคซีน ทำให้มีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าวัคซีนชนิดพอลีแซคคาร์ไรด์
  • ผู้ที่เคยได้รับวัคซีน PCV13 หรือ PPSV23 ตัวใดตัวหนึ่งมาก่อน สามารถรับ PCV20 เพิ่มได้
หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาฉีดวัคซีน PCV20

โปรแกรมและแพ็คเกจ