การดูแล เด็กที่มีไข้และไข้ชัก

ไข้ชักคืออะไร
โรคไข้ชัก (Febrile seizure หรือ Febrile convulsion) หมายถึง การชักที่พบกับไข้สูง เกิดในเด็กที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท ความผิดปกติของ
เกลือแร่ในร่างกาย และไม่เคยมีประวัติชัก โดยไม่มีไข้ร่วมด้วยมาก่อน พบได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 5 ปี ในเด็กที่อายุมากกว่า 7 ปีแล้ว พบได้น้อยมาก
โดยส่วนใหญ่โรคไข้ชัก มักมีอาการชักแบบเกร็งกระตุกทั้งตัวภายใน 24 ชั่วโมงหลังมีไข้สูง ส่วนน้อยที่มีอาการชักก่อนการมีไข้ หรือหลังจากมีไข้แล้ว 24 ชั่วโมง การชักแต่ละครั้งมักเป็นอยู่ไม่กี่วินาที และชักเพียงครั้งเดียวในการเป็นไข้แต่ละครั้ง นอกจากนั้นหลังชักจะมีแขนขาอ่อนแรงตามมา
ใครมีความด้วยเป็นโรคไข้ชักบ้าง
  1. อายุที่พบบ่อย คือระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี
  2. มีไข้สูง 38.5 ขึ้นไป (โดยเฉพาะใน 1-2 วันแรกของการมีไข้)
  3. มีประวัติไข้ชักในครอบครัว (ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
การรักษา
ภาวะไข้ชักส่วนใหญ่สามารถหยุดชักเองได้ และป้องกันไม่ให้ชักซ้ำโดยลดไข้ ถ้าการชักไม่หยุดเองใน 3-5 นาทีแพทย์จะพิจารณาให้ยาไดอะซีแปม (Diaizepam) เพื่อหยุดชักในเบื้องต้น โดยอาจใช้การฉีดหรือสวนทางทวารหนัก
ในระยะยาวเนื่องจากไม่พบความผิดปกติทางสมองจากไข้ชักจึงไม่จำเป็นต้องใช้ยากันชักในระยะยาว เว้นแต่เป็นผู้ป่วยที่ชักซ้ำหลายครั้งรวมถึงมีความผิดปกติทางสมอง แพทย์อาจพิจารณาให้ยากันชักช่วงที่มีไข้
อันตราย
  • โรคไข้ชักมีภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก ส่วนใหญ่ที่ควรระวังจะเป็นเรื่องการหายใจ การสำลัก และอุบัติเหตุ เช่น การตกเตียง ไม่พบการเสียชีวิตจากโรคไข้ชัก และไม่พบความพิการเกิดขึ้นจากโรคไข้ชัก
  • ถ้าเป็นไข้ชักไม่เกิน 15 นาที ไม่มีการชักซ้ำและไม่มีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชักพบว่า ไม่มีผลกับสมอง ระดับสติปัญญา พัฒนาการและพฤติกรรมในอนาคต
  • โอกาสเป็นโรคลมชักเท่าเด็กทั่วไป
  • ยกเว้น ถ้ามีไข้ชักหลายครั้ง ร่วมกับเป็นอายุ 12 เดือนและมีประวัติครอบครัวเป็นโรคลมชัก จะมีโอกาสเป็นโรคลมชักก่อนอายุ 25 ปี ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้และรับการรักษาเพื่อช่วยลดระยะเวลาของไข้
เกิดไข้ชักซ้ำได้หรือไม่
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุน้อยกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 50
  • ไข้ชักครั้งแรกอายุมากกว่า 1 ปี มีโอกาสชักซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ได้ร้อยละ 30
  • ไข้ชักมาแล้ว 2 ครั้งมีโอกาสชักครั้งที่ 3 ร้อยละ 50
การป้องกันการชักซ้ำ
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครอง สามารถป้องกันการเกิดไข้ชักได้โดยรีบลดอุณหภูมิร่างกายของเด็ก ซึ่งต้องทำลายวิธีร่วมกัน ดังนี้
  • ให้ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ให้ขนาดที่พอเหมาะกับน้ำหนักตัวเด็กทันทีที่ทราบว่าไข้ขึ้น และสามารถให้ซ้ำได้ทุก 4-6 ชม.
  • ให้เด็กดื่มน้ำบ่อยๆ
  • เช็ดตัวลดไข้อย่างถูกวิธี โดยใช้น้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่น
  • ควรระมัดระวังการให้ยาลดไข้สูง ในกลุ่มไอบูโพรเฟนหรือยาแอสไพริน ในกรณีที่สงสัยโรคไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
วิธีปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยชัก
แม้จะรับประทานยาลดไข้และเช็ดตัว บางครั้งยังเกิดอาการชัก ถ้าเด็กมีอาการชัก เกร็ง หรือกระตุก ให้ปฏิบัติดังนี้
  • พ่อแม่และผู้ปกครองที่พบต้องตั้งสติ อย่าตกใจ
  • ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
  • ควรจับเด็กให้นอนตะแคงบนเตียงหรือพื้น เพื่อเปิดทางเดินหายใจป้องกันการสำลักและระมัดระวังไม่ให้ตกเตียง ไม่ต้องพยายามจับหรือกอดรัดเด็กให้หยุดชัก เพราะอาจทำให้เด็ก แขนหักหรือหัวไหล่หลุด
  • ถ้ามีลูกยางแดงให้ดูดน้ำลาย เสมหะออกจากปาก หลังจากทำให้ทางเดินหายใจโล่งแล้ว เอาปากประกบปากเด็กแล้วเป่าลมช่วยหายใจ
  • ถ้ามีเศษอาหารในปาก ให้ล้วงเศษอาหารออกจากช่องปากเพื่อป้องกันภาวะอุดตันในทางเดินหายใจ ระหว่างมีอาการชัก
  • หากเด็กกัดฟัน ไม่ควรพยายามเอาช้อน นิ้วมือของแข็งงัดปากเด็ก เพราะอาจทำให้เยื่อบุช่องปากฉีกขาด ฟันหักขากรรไกรหัก และอุดกั้นทางเดินหายใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ โอกาสที่เด็กจะกัดลิ้นตัวเองมีน้อย
  • เด็กมักหยุดชักได้เอง
  • เช็ดตัวลดไข้
  • ให้ยาลดไข้ทันที ที่รู้สึกตัว
  • รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุ

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]