รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ
รู้ไว้ใช่ว่า : ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ
Child's delayed language or speech development
ลูกเป็นแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ พัฒนาการของลูกเป็นสิ่งที่คนเป็นพ่อเป็นแม่ตั้งหน้าตั้งตารอคอย เวลาลูกเรียกหาเราคงจะยิ้มหน้าบานไม่หุบเลย แต่ เอ๊ะ! ทำไมลูกเรายังไม่เรียก “พ่อ” “แม่” ซักที อย่างนี้ผิดปกติรึเปล่านะ? เราไปหาคำตอบกันค่ะว่าลูกพูดช้าแบบไหนต้องรีบใส่ใจพามาหาหมอ
ลูกพูดช้าแบบไหนควรไปหาหมอ ?
|
|
---|---|
ช่วงอายุ
|
ข้อควรสังเกต
|
แรกเกิด – 4 เดือน
|
ไม่ตอบสนองต่อเสียงในช่วงที่เด็กกำลังตื่นดี
|
อายุ 5 - 7 เดือน
|
ส่งเสียงน้อย หรือไม่ส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบกับผู้เลี้ยงดู
|
อายุ 8 - 12 เดือน
|
ไม่หันหาเสียง ไม่ทำเลียนเสียงพยัญชนะอื่นนอกจาก “อ”
|
อายุ 15 เดือน
|
ไม่พูดคำที่มีความหมายอย่างน้อย 1 คำ
|
อายุ 18 เดือน
|
ไม่เข้าใจหรือทำตามคำสั่งอย่างง่าย ไม่พูดคำที่มีความหมาย 3 คำ
|
อายุ 2 ปี
|
ไม่พูดคำที่มีความหมายต่างกัน 2 คำต่อเนื่องกัน พูดคำศัพท์ได้รวมน้อยกว่า 50 คำ
|
อายุ 2 ปีครึ่ง
|
ไม่พูดเป็นวลียาว 3-4 คำ ยังทำเสียงไม่เป็นภาษา
|
อายุ 3 ปี
|
ไม่พูดเป็นประโยคสมบูรณ์ คนอื่นฟังภาษาที่เด็กพูดส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ
|
อายุ 4 ปี
|
เล่าเรื่องสั้นๆไม่ได้ คนอื่นยังฟังภาษาที่เด็กพูดได้ไม่เข้าใจเกินร้อยละ 25
|
ถ้าลูกรักเข้าข่ายเฝ้าระวังข้างต้นแล้วละก็ อย่ารอช้ารีบพามาพบกุมารแพทย์เพื่อได้รับการตรวจพัฒนาการ ตรวจการได้ยิน และกระตุ้นพัฒนาการได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถติดตามดูพัฒนาการทางภาษาและพัฒนาการด้านอื่นๆของลูกด้วยตัวเองได้จากหนังสือคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) ที่ได้รับแจกจากโรงพยาบาล หรือสามารถดาวน์โหลดได้ที่ QR codeนี้เลยค่ะ