ระวังภัย ต้องใส่ใจยามปิดเทอม (การจมน้ำ)

“จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กช่วงปิดเทอมพบว่า
มีสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุดในทุกปี”

• ดูแลเด็กไม่ให้เล่นใกล้แหล่งน้ำ
• ถ้าเล่นน้ำต้องอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด
• จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย รั่วกันบ่อน้ำ ไม่ทิ้งถังน้ำ กาละมังน้ำ เพราะเด็กเล็กจมได้
• สอนเด็กเอาตัวรอดโดยการลอยตัว
• ย้ำกับเด็กเสมอว่า ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำโดยเด็ดขาด แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน ตะโกน โยน ยื่น
• ปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15.2 นอกจากนั้น เป็นการช่วยเหลือด้วยการจับเด็กอุ้มพาดบ่ากระโดดหรือกระแทก หรือเขย่าเพื่อเอาน้ำออก ซึ่งเป็นวิธีการ ปฐมพยาบาลที่ผิด **เรียนรู้BLS
• การจมน้ำจะแบ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กโต อายุระหว่าง 5-6 ปี จะจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง สระว่ายน้ำ ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้จงใจไปเล่นน้ำแต่ไปวิ่งเล่นบริเวณ
ใกล้แหล่งน้ำเกิดพลัดตกและจมน้ำเสียชีวิต สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ปล่อย คิดว่าลูกดูแลตัวเองได้ สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 1-4 ขวบ จะจมน้ำเสียชีวิตใกล้บ้าน เช่น บ้านอยู่ติดแหล่งน้ำ
• วิธีป้องกัน พ่อแม่ควรตระหนักในความเสี่ยง ถ้าเป็นกลุ่มเด็กโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-7 ขวบ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าไว้ว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสามารถว่ายน้ำได้ โดยสอนทักษะให้เขาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ซึ่งทางโรงเรียนควรมีส่วนร่วมช่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เรียนรู้ด้านความเสี่ยง การประเมินแหล่งน้ำว่าเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือผู้อื่นจาก การจมน้ำ สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอย่าลืมว่าเด็ก 5 ขวบ สามารถวิ่งเล่นนอกบ้านได้แล้ว หรือถ้าต่ำกว่า 5 ขวบ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรทำรั้วกั้นรวมทั้งหาคนดูแลที่ไว้ใจได้

คําแนะนํา
• 1. สํารวจแหล่งน้ำเสี่ยงรอบบ้าน ข้างบ้าน และในชุมชน (แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ คลอง ฯลฯ)
• 2. จัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น – ปักป้ายเตือน บอกถึงระดับความลึกของน้ำ หรือบอกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว (แหล่งน้ำ ที่เคยมีเด็กจมน้ำ) หรือสร้างรั้ว หรือฝังกลบหลุม/บ่อที่ไม่ได้ใช้ – จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก
• 3. สอดส่องดูแลและแจ้งเตือนภัยในชุมชน เช่น ประกาศเตือนผ่านเสียงตามสายในชุมชน คอยตักเตือน เมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลําพัง
• 4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
• 5. สอนให้เด็กรู้จักใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้ที่หาได้ง่าย เพื่อช่วยตนเองหรือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุ และนำติดตัว ไปด้วยหากต้องเดินทางไปใกล้แหล่งน้ำ
• 6. สอนให้เด็กรู้จักใช้ชูชีพเมื่อต้องโดยสารเรือ
• 7. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กตลอดเวลา เด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มองเห็น และสามารถเข้าถึง และคว้าถึงได้
• 8. ชุมชน/ท้องถิ่น/สถานศึกษา ควรจัดให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปได้เรียนวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การลอยตัวในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว และรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
• 9. เน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” โดยการตะโกนเรียกผู้ใหญ่ หรือใช้อุปกรณ์โยนหรือยื่นให้ผู้ประสบภัย

แผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

นพ. เกียรติศักดิ์ ทัศนวิภาส
ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด
จะมาช่วยไขข้อสงสัยที่ว่าแผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
#โรงพยาบาลบางโพ #แผลเรื้อรัง #แผลกดทับ #แผลเบาหวาน

อาหารบำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอด

อาหารบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอด คุณแม่หลายท่านที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะนมแม่คืออาหารที่มีประโยชน์และดีที่สุดสำหรับทารก หากอยากมีน้ำนมไหลออกมามากเพียงพอเพื่อทารกน้อย มาดูกันนะคะว่าคุณแม่ควรกินอาหารประเภทใดบ้าง #โรงพยาบาลบางโพ #คุณแม่มือใหม่ #รักลูก #นมแม่

 

ฝุ่นควัน ภัยที่ต้องระวัง

วิธีการป้องกันฝุ่นควัน ส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากากอนามัย “หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นสินค้าขายดีขึ้นมาทันที กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน โดยมีวิธีเลือกหน้ากากอนามัยดังนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ สถานพยาบาล และ ร้านขายยาทั่วไป

บทความโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบางโพ

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพ
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital

RSV ภัยร้ายของลูกรัก

ไวรัส RSV ภัยร้ายของลูกรัก

RSV Virus

ไวรัส RSV (RSV Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัย แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ จะให้คำแนะนำ และการป้องกันโรคนี้ค่ะ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโรค RSV โดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอ การรักษขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หายได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำหคัญ หากมีอาการแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease

 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง

อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน

การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน

การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรค G6PD 

โรค G6PD  คืออะไร

จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากยาหรือสารเคมีบางชนิด และทำให้เซลล์ต่างๆในร่ายกาย รวมทั้งทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง

การขาดเอ็นไซม์ G6PD

                G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด  “ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายขึ้นเนื่องจากปัจจัยดังนี้ 

ปัจจัยเลี่ยง

  1. การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ
  2. การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD

อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก

เมื่อได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก  ที่พบบ่อยคือ

  • เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
  • ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ ปวดหลัง  และต่อมาอาจมีมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง  ซีดและปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโค้ก
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย

ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ถั่วปากอ้า
  • พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
  • ไวน์แดง
  • บลูเบอร์รี่
  • การบูรและพิมเสน
  • โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
  • สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม

สารเคมี

  • ลูกเหม็น
  • สารหนู
  • สาร Toluidine Blue (สารช่วยวินิจฉัย)

 

ยา

  • กลุ่มลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ยารักษาโรคเก๊าท์
  • ยาฮอร์โมน
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย
  • ยาเคมีบำบัด
  • ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
  • ยาต้านพิษ
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
  • วิตามิน

ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้

การปฏิบัติตัว

  1. แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
  2. เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยารับประทานเอง
  3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
  4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
  5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนครอบครัว

นิ่วในถุงน้ำดี (คำแนะนำก่อน-หลังผ่าตัด)

Beautiful asian woman suffering from stomach pain at home on bed, bedroom background, Physiological period concept

 

นิ่วในถุงน้ำดี

สาเหตุ เกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี เมื่อมีนิ่วเกิดขึ้น อาจมีอาการตั้งแต่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางครั้งนิ่วไปอุดท่อถุงน้ำดี ทำให้มีอาการปวดแบบปวดดิ้น หรือถ้านิ่วตกลงไปอุดท่อน้ำดีใหญ่ จะทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ในบางรายอาจตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีแต่ไม่มีอาการได้เช่นกัน อาการดังกล่าวข้างต้นจะเกิดเมื่อใดก็ได้และพบในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งถุงน้ำดี มักพบว่ามีนิ่วร่วมด้วยเป็นส่วนใหญ่

นิ่วในถุงน้ำดี ไม่สามารถรักษาได้โดยใช้เครื่องสลายนิ่ว การรักษาโดยใช้ยาละลายนิ่วใช้ได้เฉพาะนิ่วบางชนิดเท่านั้น ส่วนใหญ่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานานและเมื่อหยุดยาก็อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีได้อีก อีกทั้งนิ่วของคนไทยส่วนมากมักไม่ละลายโดยใช้ยา ดังนั้นการรักษาที่ดีที่สุด คือการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออก ซึ่งการตัดถุงน้ำดี ไม่มีผลต่อการย่อยอาหาร เพราะน้ำดีสร้างมาจากตับ ถุงน้ำดีเป็นเพียงที่เก็บพักน้ำดีเท่านั้น

อาการ ผู้ที่มีนิ่วในถุงน้ำดี อาจไม่มีอาการเลยหรือมีอาการบางอย่าง ดังต่อไปนี้ โดยไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการได้แก่

  • ท้องอืด
  • แน่นท้องหลังรับประมานอาหาร โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก
  • ปวดท้องใต้ชายโครงขวาเป็นครั้งคราว
  • ปวดท้องรุนแรง และปวดร้าวไปถึงสะบักด้านขวา
  • ไข้สูงเฉียบพลัน ถ้ามีการอักเสบของถุงน้ำดีอย่างเฉียบพลัน
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม

จะตรวจพบว่าเป็นนิ่วถุงน้ำดีได้อย่างไร

วิธีที่ดีที่สุด ที่จะวินิจฉัยว่ามีนิ่วในถุงน้ำดี คือการตรวจอัลตร้าซาวด์

การรักษา

การผ่าตัดเอาถุงน้ำออกเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวร เพื่อไม่ให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดีขึ้นได้อีกต่อไปและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่างๆ การผ่าตัดถุงน้ำดีในปัจจุบัน มี 2 วิธี

  1. ผ่าตัดแบบเดิม โดยการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecy – stectomy) ปัจจุบันจะเลือกใช้ในการผ่าตัด ถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมากหรือแตกทะลุในช่องท้อง
  2. ผ่าตัดภายในกล้อง โดยการเจาะรูเล็กๆ ที่หน้าท้อง (Laparo-scopic Cholecystectomy) ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบมากเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 ถ้าถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน โอกาสผ่าตัดโดยวีนี้ได้สำเร็จจะน้อยลง

 

วิธีการผ่าตัดผ่านกล้อง

  • เจาะรูเล็กๆ บริเวณหน้าท้อง 4 แห่ง ด้วยเครื่องมือที่ออกแบบเฉพาะสำหรับการเจาะหน้าท้องอย่างปลอดภัย ขนาดของรูประมาณ 0.5 ซม. 3 ตำแหน่ง และขนาด 1 ซม. ที่สะดือ 1 ตำแหน่ง
  • ใส่กล้องที่มีก้านยาวและเครื่องมือผ่านรูที่ผนังหน้าท้องลงไปศัลยแพทย์จะสามารถมองเห็นถุงน้ำดีและอวัยวะต่างๆ จากจอโทรทัศน์ซึ่งกล้องส่งสัญญาณภาพมา
  • ศัลยแพทย์สามารถเลาะแยกถุงน้ำดีออกจากตับ และใช้คลิปหนีบห้ามเลือดแทนไหมเย็บแผล ก่อนตัดขั่วของถุงน้ำดีแล้วเลาะส่วนที่เหลือให้หลุดออก
  • เมื่อตัดถุงน้ำดีได้แล้ว บรรจุใส่ถุงที่ออกแบบมาโดยเฉพาะแล้วดึงออกจากร่างกายบริเวณรูสะดือ จากนั้นศัลยแพทย์จะสำรวจความเรียบร้อยเป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนดึงเครื่องมือและกล้องออกแล้วเย็บปิดแผล
  • ในผู้ป่วยบางรายถ้ามีการอักเสบมาก อาจต้องมีการใส่ท่อระบายไว้ 2-3 วัน

ผลดีของการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านกล้อง

  • อาการปวดแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่า เพราะแผลมีขนาดเล็ก
  • อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 1-2 วัน ซึ่งผ่าตัดแบบเดิม อยู่โรงพยาบาล ประมาณ 3-5 วัน
  • การพักฟื้นหลังผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้กลับไปทำงานตามปกติได้เร็วกว่า ถ้าผ่าตัดแบบเดิมใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1 เดือน
  • แผลขนาดเล็กดูแลง่ายกว่าและมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลใหญ่

คำแนะนำผู้ป่วยก่อนผ่าตัด

ในกรณีที่เป็นการผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน (Elective Case) ผู้ป่วยควรดูแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรง ปราศจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ถ้าผู้ป่วยที่ทานยาละลายลิ่มเลือดหรือยากลุ่ม Antiplatelet ควรหยุดยาอย่างน้อย 7 วัน

คำแนะนำผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจะปวดแผลค่อนข้างมากในวันแรกหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรได้รับยาลดปวดจากพยาบาลตามความเหมาะสม ในบางรายอาจมีการอาเจียนจากผลของยาสลบได้ขอให้แจ้งพยาบาลทันทีที่มีอาการเพื่อจะได้ยาลดอาการดังกล่าว หลังจากไม่มีภาวะคลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยสามารถทานอาหารเหลวได้ทันทีหลังการผ่าตัดภายใต้กล้อง Laparoscopic cholecystectomy

การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน

  • ถ้ามีอาการของการปวดท้องหรือมีไข้ ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะเหลือง ขอให้รีบแจ้งแพทย์ให้ทราบทันที เพื่อที่จะหาสาเหตุของความผิดปกติที่อาจพบได้หลังการผ่าตัดถุงน้ำดี
  • ควรงดการยกของหนัก 3 เดือน
  • ควรงดอาหารที่มันจัดตลอดชีวิต

 

สอบถามและปรึกษาได้ที่
คลินิกอายุรกรรม ระบบทางเดินอาหาร  ชั้น 2 อาคาร 2  โรงพยาบาลบางโพ
โทร. 02 587 0144 ต่อ 2200

 

 

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

 

ตรุษจีนนี้…หยุดจุด หยุดเผา เพื่อสุขภาพของเราทุกคน

อีกเพียงไม่กี่วันเทศกาลตรุษจีนก็จะมาถึง แน่นอนว่าภาพการเผากระดาษเงิน กระดาษทอง การจุดธูปและการจุดประทัดเป็นหนึ่งในพิธีกรรมที่เราเห็นกันจนชินตา แต่ท่ามกลางวิกฤติมลภาวะจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5ตลอดเดือนที่ผ่านมา จะดีกว่าไหมถ้าเราจะหยุดซ้ำเติมสถานการณ์…ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้?

การเผากระดาษเงินกระดาษทอง และการจุดธูป แม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 แต่ทราบหรือไม่ว่าควันจากการเผาไหม้เหล่านี้มีอันตรายร้ายแรงพอๆกับควันบุหรี่ นอกจากจะมีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายแล้ว ยังมีก๊าซพิษที่ระคายเคืองทางเดินหายใจอีกหลายชนิด แถมยังมีโลหะหนักและสารก่อมะเร็งอีกด้วย  โรงพยาบาลบางโพจึงขอเป็นอีกหนึ่งเสียงที่ร่วมรณรงค์การงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน งดการเผากระดาษเงินกระดาษทอง งดการจุดธูปครั้งละมากๆ หากจำเป็นให้เลือกใช้ธูปขนาดสั้น อย่างน้อยก็เพื่อให้สถานการณ์มลภาวะทางอากาศในปัจจุบันทุเลาเบาบางลง

นอกจากนี้บุคคลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  • เด็กเล็ก
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ภูมิแพ้ ถุงลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หัวใจและหลอดเลือด

ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสควัน หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูก เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

 

 

ด้วยความห่วงใย…จากโรงพยาบาลบางโพ

พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ (กุมารแพทย์)

สุขภาพของคนทำงาน ตอน “การป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี”

Tablet with the text Occupational Health and Safety

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพและหลักการป้องกันการสัมผัสจากสารเคมี

ในการดำเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยนั้น การดูแลสุขภาพของคนทำงานที่สัมผัสสารเคมีต่างๆ ถือเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญอีกประการหนึ่ง โดยหลักการพื้นฐานทางอาชีวเวชศาสตร์ มีแนวคิดหลักที่ว่าคนทำงานสามารถจะเกิดความเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้เกิดจากสาเหตุ 2 ทาง อันได้แก่

  1. สุขภาพส่วนตัวของคนทำงาน (Host)  เช่น โรคประจำตัว พฤติกรรมการใช้ชีวิตส่วนตัว อาหาร ยา การดื่มสุรา สูบบุหรี่ สุขภาพจิตและอารมณ์ส่วนบุคคล ของคนที่ทำงาน เป็นต้น
  2. สิ่งคุกคามจากสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมที่คนทำงานเข้าไปทำงาน (Hazard) ซึ่งมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่ สิ่งคุกคามทางกายภาพ (Physical Hazard) สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (Biological Hazard) สิ่งคุกคามทางเคมี (Chemical Hazard) สิ่งคุกคามทางการยศาสตร์ (Ergonomic Hazard) สิ่งคุกคามทางจิตสังคม (Psychosocial Hazard)

(ภาพอ้างอิงจาก: สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อมกรมควบคุมโรค)

เมื่อมีสาเหตุ 2 ทางเกิดขึ้นกับคนทำงานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากคนทำงานเอง หรือสาเหตุจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อม หรือทั้งสองสาเหตุ ก็จะทำเกิดการเจ็บป่วยหรือโรคที่เกิดจากการทำงานได้ ดังนั้นเราควรป้องกันการเกิดสาเหตุทั้งสุขภาพส่วนตัวของคนทำงานและสาเหตุจากสิ่งคุกคาม เพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเจ็บป่วยหรือโรคจากการทำงาน  ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งคุกคามทางสารเคมีซึ่งเป็นสิ่งคุกคามจากการทำงานชนิดหนึ่งที่คนทำงานหากสัมผัสเป็นเวลานานๆโดยไม่มีการป้องกัน ส่งผลทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้

สารเคมีอันตราย หมายถึง สารเคมีที่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผลกระทบอย่างฉับพลัน หรือเรื้อรัง มักรวมถึงสารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen) สารพิษ สารพิษที่ก่อให้เกิดผลต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxins) สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง (Irritants) สารที่ส่งผลต่อระบบเลือด ระบบประสาท เป็นต้นและสารเคมีมี 2 คุณสมบัติที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคนทำงานที่ไปสัมผัสได้แก่

1.มีคุณสมบัติสิ่งคุกคามอันตราย (Hazard) คือ มีโอกาสที่สารเคมีจะก่อให้เกิดผลอันไม่พึงประสงค์ต่อสุขภาพร่างกาย

2.ความเป็นพิษ ( Toxicity) คือ มีศักยภาพของสารเคมีที่เกิดให้เกิดพิษ หรือความเป็นพิษ

ในหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย ถือว่าการที่ไม่รับสัมผัสสารย่อมไม่เกิดอันตราย ( No exposure-No hazard) สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง อาจเป็นสารที่มีอันตรายสูงหรือต่ำก็ได้ขึ้นกับโอกาส และสภาพการใช้สารนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น การใช้สารยาฆ่าแมลงจะสัมพันธ์ต่อการสัมผัสสาร CO ได้สูง เป็นต้น

หลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี

ดังที่กล่าวไว้ว่า “No exposure-No hazard” เป็นหลักการป้องกันทางอาชีวอนามัย แต่ถ้าหากจำเป็นต้องสัมผัสจริงๆ ก็ควรมีการป้องกันให้ดีหรือมีการสัมผัสให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี โดยอะไรที่ควรทำเพื่อลดการบาดเจ็บ ลดอุบัติเหตุ ลดการรับสัมผัสสารเคมี ป้องกันการหกรั่วไหล และการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ให้เกิดน้อยที่สุด ทั้งหมดนี้จะอยู่ในหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมี 4 ประการสำคัญได้แก่

  1. ป้องกันที่ต้นเหตุ

การลดใช้สารเคมี หรือ การใช้สารเคมีที่มีพิษกว่าทดแทน เมื่อลดการใช้สารเคมีที่มีความเป็นพิษสูง ก็จะทำให้โอกาสเกิดการเจ็บป่วยหรือรับสัมพิษจากสารเคมีน้อยลง

 

  1. ป้องกันด้วยเครื่องใช้

การปรับเปลี่ยนเครื่องใช้ที่เหมาะสมกับงาน ซึ่งจะสามารถลดการสัมผัสสารเคมีโดยตรงได้เป็นอย่างดี เช่น มีระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation) ระบบการทำงานแบบปิด (Close system) การปิดคลุม (Enclosure)

 

ระบบระบายอากาศเฉพาะที่(Local Exhaust Ventilation)

ระบบการทำงานแบบปิด (Close system)

  1. ป้องกันด้วยหลักการทำงาน

การทำงานที่ได้มาตรฐาน โดยมีหลักการคือ เพื่อลดเวลาการสัมผัสสารเคมี เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างสารเคมีกับคนทำงาน เพื่อปรับวิธีการให้เหมาะเอื้อต่อความปลอดภัยของคนทำงาน และเพื่อเพิ่มความชำนาณของคนทำงาน เมื่อคนทำงานมีความชำนาณในงานนั้น ก็จะลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ ความเจ็บป่วยจากการทำงานได้

  1. ป้องกันด้วยเครื่องมือส่วนบุคคล

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment; PPE) เช่น ถุงมือ หมวก และรองเท้า เป็นต้น ทั้งนี้ชนิดและการออกแบบของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลขึ้นกับชนิด ปริมาณ ความเข้มข้น และระยะเวลาของสารเคมีที่จะไปสัมผัส ดังนั้นควรเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงาน และศึกษาวิธีการใช้และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้ถูกต้องทุกครั้ง

เมื่อมีหลักการป้องกันการสัมผัสสารเคมีที่เหมาะสมแล้ว ก็ควรมีการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยจากการสัมผัสสารเคมีนั่นคือ การประเมินการสัมผัสสารเคมีเป็นระยะ เมื่อเกิดความผิดปกติจากการประเมิน เราก็สามารถแก้ไขได้ทันท่วงทีและลดโอกาสอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีนั้นได้

การประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้น มีวิธีการประเมินว่า คนทำงานมีการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี (Chemical hazards) มีหลายวิธีดังต่อไปนี้

  1. การซักประวัติสอบถามจากคนทำงานโดยตรง เช่น หาอาการที่ผิดปกติหรือสงสัยว่าน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมี เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจากการทำงาน ผื่นแพ้อักเสบหลังเลิกงาน เป็นต้น
  2. การตรวจร่างกายคนทำงาน เช่น หาภาวะซีด ภาวะตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต ม้ามโต เป็นต้น
  3. การตรวจวัดระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม (Environment monitoring) เพื่อดูว่ามีระดับสารเคมีเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่ หากมีระดับสารเคมีที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ ย่อมส่งผลเพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คนทำงานจะได้รับอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีมากขึ้น
  4. การตรวจระดับสารเคมีในร่างกายของคนทำงาน (Biological monitoring) เพื่อดูว่าคนทำงานได้รับสารเคมีที่อยู่ในสถานที่ทำงานหรือสิ่งแวดล้อมหรือไม่

หนึ่งในสี่วิธีนี้สามารถใช้มาประเมินร่วมกันได้ โดยวิธีการตรวจระดับสารเคมีในร่างกายคนทำงานเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เพราะสามารถบอกได้โดยตรงว่าคนทำงานไปสัมผัสสารเคมีมากหรือน้อย

ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

Biological marker (Biomarker) คือสารเคมีหรือค่าจากการตรวจใดๆก็ตามที่เราตรวจวัดจากร่างกายของคนทำงาน เพื่อดูว่า คนทำงานได้รับการสัมผัสสารเคมีที่อยู่ในที่ทำงานแล้วหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น โรงงานทำแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้สารตะกั่วในการทำบัคกรี ถ้าต้องการดูว่าคนทำงานมีการสัมผัสตะกั่วมากน้อยเพียงใด ก็สามารถตรวจสารตะกั่วในเลือด นั่นหมายความว่า สารตะกั่วในเลือด เป็นสารตัวบ่งชี้ทางชีวภาพของตะกั่ว เป็นต้น

ชนิดของ Biomarker มีอยู่ 3 ชนิดได้แก่

  1. Biomarker of exposure หรือ Direct biomarker ตัวสารนั้น หรือ metobolite ของสารนั้น(สารเคมีที่ถูกเปลี่ยนสภาพโดยกระบวนการของร่างกาย) ที่วัดได้ในตัวอย่างชีวภาพของคนทำงาน เช่น ตรวจจากเลือด ปัสสาวะ อากาศที่หายใจ เส้นผล เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นการตรวจสาร Syrene เมื่อเข้าไปร่างกายจะเปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการทางเคมีในร่างกายจนกลายเป็น mandelic acid ซึ่งถือว่า การตรวจระดับ mandelic acid ในปัสสาวะ เป็นการตรวจ biomarker of exposure ของสาร Syrene เป้นต้น
  2. Biomarker of effect หรือ Indirect biomarker คือ การตรวจผลเปลี่ยนแปลงทางเคมี,ชีวภาพ,สรีรวิทยา หรือในระดับโมเลกุล ที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกายเมื่อได้รับสารพิษนั้นๆ เช่น เราทราบว่า การสัมผัส n-hexane จะทำให้เกิดอัมภาพที่เส้นประสาทได้ การตรวจการนำกระแสไฟฟ้าของเส้นประสาท(Nerve ConductionVelocety;NCV) เพื่อดูว่าเส้นประสาทเป็นอัมภาพไปหรือไม่ ก็ถือว่าเป็น Biomarker of effect ของสาร n-hexane
  3. Biomarker of susceptibility คือ การวัดระดับความไวรับ (Susceptibility) ในการเจ็บป่วยจากสารเคมีในแต่ละคน การตรวจนี้จะทำให้คาดการณ์ได้ว่า คนทำงานสัมผัสสารเคมีตัวที่พิจรณาแล้ว จะมีโอกาสเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด และเป็นการตรวจตั้งแต่ยังไม่ได้รับการสัมผัส (pre-exposure) และส่วนใหญ่เป็นการตรวจทางพันธุกรรม(genetic tesing) มักใช้ในทางการงานวิจัย ไม่ได้ใช้ในทางเวชปฏิบัติ

ซึ่งในทางเวชปฏิบัติจริงๆจะใช้ biomarker of exposure และ biomarker of effect เท่านั้น และbiomarker ในการหาสาเคมีตัวหนึ่งนั้น อาจมี biomarker of exposure หลายตัวได้ เช่น การตรวจหาสาร toluene มี biomarker ได้แก่ hipuric acid in Urine , Toluene in Urine,Toluene in Blood หรืออีกกรณีหนึ่งคือ สารเคมีหลายตัวก็อาจมี Biomarker of Exposure เป็นตัวเดียวกันได้ เช่น การตรวจหา acetone,isopropyl alcohol มี biomarker ตัวเดียวกันคือ acetone in Urine สำหรับการตรวจ biomarker นั้นทำเพื่อดูว่าคนทำงานมีการสัมผัส (exposure) กับสารเคมีแล้วดูดซึมเข้าไปในร่างกายหรือไม่ มากน้อยเพียงใด (Biological monitoring) ดังนั้นจึงมักมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าสารเคมีในสิ่งแวดล้อมจากการทำงาน (Environment monitoring) เสมอ

ในการประเมินการสัมผัสสารเคมีนั้นควรทำการตรวจวัดทั้งระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงาน(environment monitoring) และระดับสารเคมีในร่างกาย (biological monitoring) ควบคู่ กันไปด้วยเสมอ

เมื่อไหร่จึงควรสั่งตรวจ biomarker

เหตุผลหลัก คือ ตรวจเมื่อต้องการประเมินการสัมผัสสารเคมีในร่างกายคนทำงาน  ส่วนเหตุผลรองลงมา คือ ตรวจเมื่อค่าตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อมมีระดับสูงเกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือเมื่อมีอาการพิษเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยอิงจากกฎหมายที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานระดับสารเคมีในสถานที่ทำงานของกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ.2552

ในส่วนค่ามาตรฐานของ biomarker จะถูกกำหนดโดยองค์กรACGIH(American Conference of Government Industrial Hygienists) เป็นองค์กรที่กำหนดค่ามาตรฐานที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมากที่สุด โดยค่าที่กำหนดเรียกว่าค่า BEI ซึ่งแนะนำให้ใช้ค่า BEI ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ประเมินการสัมผัสทางผิวหนัง (Skin absorption) และการกิน (Ingestion)
  • ประเมินขนาดการสัมผัสสะสมในร่างกาย (body burden)
  • คาดคะเนการสัมผัสในอดีต (past exposure) ในกรณีที่ไม่มีข้อมูลทางอื่น
  • ประเมินการสัมผัสสารเคมีนอกงาน (non-occupational exposure)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของการควบคุมทางวิศวกรรม (engineering control)
  • ทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Protective equipment)
  • ตรวจสอบวินัยด้านความปลอดภัยในการทำงาน (work practice)

นอกจากยังมีปัจจัยที่มีผลต่อค่า BEI ที่ทำให้เปลี่ยนแปลงสูงหรือต่ำมากเกินความเป็นจริงได้อันได้แก่

  • ความอ้วน-ผอม
  • ระดับเมตาบอลิซึมของแต่ละคน
  • อายุ เพศการตั้งครรภ์ โรคที่เป็นเช่น โรคตับโรคไต
  • อาหารหรือยาที่รับประทาน
  • การสัมผัสสารเคมีนอกงาน
  • วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
  • วิธีการเก็บตัวอย่าง การรักษาสภาพตัวอย่าง
  • การปนเปื้อนระหว่างเก็บตัวอย่าง

และ BEI ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ควรระลึกไว้เสมอ คือ biomarker เอาไว้ประเมินการสัมผัส (Exposure) ต่อสารเคมี ซึ่งถ้าค่าเกินมาตรฐานนั่นแปลว่า คนทำงาน อาจมีการสัมผัสสารเคมีนั้น แต่ไม่ใช่เป็นการตัดตายหรือ cut point เพื่อวินิจฉัยโรคพิษจากสารเคมี  ไม่ได้เอาไว้ทดแทนการตรวจระดับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม และไม่ได้เอาไว้ยืนยันว่าถ้าที่ตรวจวัดได้ต่ำแล้วโรคจะไม่ได้เกิดขึ้น

คำแนะนำเมื่อตรวจพบ Biomarker สูงกว่ามาตรฐาน

  1. พิจรณาตรวจยืนยัน และดูปัจจัยความแปรปรวนต่างๆ
  2. ย้อนกลับไปดูผลตรวจ environment monitoring
  3. ซักประวัติเพิ่มเติม ตรวจร่าวงกาย หาอาการพิษ ถ้ามีให้ทำการรักษาโดยแพทย์
  4. ถ้าประเมินแล้วน่าจะมาจากการสัมผัสสารเคมีจริงๆ ให้พิจรณาว่าปัญหาเกิดจากแหล่งใดใน 3 แหล่งได้แก่

หาสาเหตุจากแหล่งกำเนิดของสารเคมี (Source)

หาสาเหตุหนทาง (Pathway) และช่องทางการสัมผัส (Route)

หาสาเหตุและหาวิธีลดการสัมผัสของตัวบุคคลทำงาน (Person)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ biomarker

           แร่ธาตุอื่นๆที่ตรวจ biomarker สามารถตรวจได้ถ้ามีการสัมผัส และมีค่ามาตรฐานที่องค์กร ACGIH-BEI กำหนดไว้ เช่น Cadmium Chromium (VI) Cobalt Fluoride Mercury Uranium เป็นต้น แต่แร่ธาตุที่เป็น Essential elements มีอยู่ในร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะไม่สามารถส่งตรวจ biomarker ได้เพราะไม่มีค่ามาตรฐานให้แปลผลและพบได้ในร่างกายคนทั่วไปอยู่แล้ว เช่น Copper Chromium (III) Iron Magnesium Selenium Zinc เป็นต้น

หากมีข้อสงสัยเรื่องการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพว่าจะตรวจตัวไหนบ้างไม่ต้องตรวจตัวไหนบ้าง สามารถปรึกษากับแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อจะได้รับคำแนะนำและการตรวจสารบ่งชีทางชีวภาพที่ถูกต้อง

 

ข้อมูลโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย
โรงพยาบาลบางโพ

 

 

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพคนเมือง #สุขภาพคนทำงาน
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital #ศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอด

เส้นเลือดขอดหมายถึงภาวะที่มีการขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดดำในผิวหนังชั้นตื้นของขา ผู้ป่วยที่มีปัญหาเส้นเลือดขอดจะมีอาการแสดงได้หลากหลายตั้งแต่เห็นหลอดเลือดโป่งนูนที่ขาเล็กน้อย จนถึงมีแผลเส้นเลือดขอดเรื้อรังที่ขาซึ่งรักษาให้หายได้ยากในผู้ป่วยที่เป็นเส้นเลือดขอดแบบรุนแรง

รูปแสดงหลอดเลือดดำในผิวหนังชั้นตื้นของขา

สาเหตุของเส้นเลือดขอด

ส่วนใหญ่เกิดจากผนังของหลอดเลือดและลิ้นกั้นเลือดในหลอดเลือดดำผิดปกติก่อให้เกิดการไหลกลับของเลือดในหลอดเลือดดำ และภาวะเส้นเลือดขอดนี้อาจเกิดตามหลังการอุดตันของหลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดดำอักเสบ(phlebitis)หรือ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ(deep vein thrombosis)

การวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอด

การตรวจวินิจฉัยภาวะเส้นเลือดขอดให้มีความแม่นยำนั้นจำเป็นต้องมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วยการทำอัลตราซาวน์หลอดเลือดดำที่บริเวณขาโดยศัลยแพทย์หลอดเลือดหรือรังสีแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินว่าสาเหตุของเส้นเลือดขอดอยุ่ตำแหน่งใด และมีสาเหตุร่วมอื่นหรือไม่

การรักษาเส้นเลือดขอด

การรักษาด้วยยากลุ่ม flavonoid หรือสารสกัดจากพืชกลุ่ม horse chestnut จะช่วยให้ผู้ป่วยเส้นเลือดขอด ลดอาการบวมของขา และลดการอักเสบของผิวหนัง ทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นได้

อาการของเส้นเลือดขอด

อาการที่พบในผู้ป่วยเส้นเลือดขอดได้แก่ ปวดน่อง คัน รู้สึกแสบร้อนหรือเป็นตะคริวที่น่อง หนักขาเป็นต้น พบร่วมกับมีขาบวมหลังยืนหรือห้อยขาเป็นเวลานาน มีหลอดเลือดฝอย และเส้นเลือดขอดที่ปลายเท้า และหากอาการรุนแรงมากขึ้นจะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่ขา โดยผิวหนังจะแข็งตึง และดำคล้ำร่วมกับเกิดแผลเรื้อรังที่บริเวณข้อเท้าได้

รูปแสดงเส้นเลือดขอดที่ขา

การรักษาด้วยการใช้ถุงน่องป้องกันเส้นเลือดขอด(compression stockings) ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดของศัลยแพทย์หลอดเลือดเพื่อเลือกแรงรัดที่เหมาะสมของถุงน่องกับอาการผู้ป่วยจะช่วยลดอาการปวดบวมขา และช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีแผลจากเส้นเลือดขอดหายได้ง่ายขึ้น

การรักษาด้วยการผ่าตัด มีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีอาการผิดปกติจากเส้นเลือดขอดร่วมกับตรวจพบว่ามีลิ้นกั้นเลือดในหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ เกิดมีการไหลย้อนทางของเลือดในหลอดเลือดดำที่ขา การรักษาด้วยการผ่าตัดปัจจุบันมีการรักษา 2 แบบคือ

  1. รักษาด้วยการผ่าตัดเปิด เป็นการผ่าตัดเปิดแผลเพื่อนำหลอดเลือดดำของขาที่มีปัญหาออก (high ligation with venous stripping)
  2. รักษาแบบ minimal invasive surgery เป็นการรักษาเส้นเลือดขอดวิธีใหม่ด้วยการเจาะรูบริเวณขาที่มีอาการเพื่อใส่อุปกรณ์เข้าไปทำการรักษาหลอดเลือดที่มีปัญหาให้อุดตันไปโดยไม่ต้องผ่าตัดนำหลอดเลือดออกมาจากผู้ป่วย (endovenous treatment) ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีนี้จะมีสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าและมีอาการปวดหลังผ่าตัดน้อยกว่าวิธีผ่าตัดเปิด

รูปแสดง การผ่าตัดเส้นเลือดขอดด้วยวิธีการเจาะรูใช้คลื่นวิทยุ (endovenous radiofrequency radiation)

ข้อมูลโดย
นพ. เกียรติศักดิ์   ทัศนวิภาส
แพทย์ศัลยกรรมทั่วไป , ศัลยศาสตร์หลอดเลือด ประจำโรงพยาบาลบางโพ

สัญญาณ บ่งบอกว่าเรามีปัญหาการได้ยิน

เข้าใจในปัญหาการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลันหากได้รับเสียงดังมากจนเกินไป เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือ เสียงปืน เป็นต้น และ การสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆ อันเนื่องมาจากอายุ, กรรมพันธุ์ , โรคบางชนิด รวมถึงการใช้ยายาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน

 

สัญญานที่บ่งบอกว่าเรามีปัญหาการได้ยิน

  • รู้สึกเหมือนว่าทุกๆ คนรอบๆ ตัวคุณ พูดงึมงำฟังไม่ค่อยเข้าใจ บางครั้งต้องขอให้อีกฝ่ายพูดซ้ำ
  • ประสบกับความยากลำบากในการพยามทำความเข้าใจคู่สนทนา  ในสถานที่ๆ ที่มีเสียงจอแจ เช่น ตลาด, สถานีรถไฟ, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • ได้ยินเสียงสนทนา แต่ไม่สามารถเข้าใจในคำสนทนาได้โดยเฉพาะหากผู้พูดเป็น เด็ก หรือ ผู้หญิงที่มีเสียงเล็กแหลม เสียงของตัวอักษร  เช่น ส, ฟ, S, H, F, TH เป็นต้น
  • คุณไม่ได้ยินเสียงในธรรมชาติบางอย่าง มานานมากแล้ว เช่น เสียงนกร้อง เสียงฝนตก

อาการเหล่านี้เป็นสัญญานบ่งบอกว่ามีการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น/ ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

  1. การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) มีพยาธิสภาพที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง หรือทั้งสอง ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านไปยังหูชั้นในได้อย่างปกติ
  2. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง ( Sensorineural hearing loss) มีพยาธิสภาพที่หูชั้นในหรือเส้นประสาทเสียง
  3. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) มีพยาธิสภาพที่เกิดร่วมกันทั้งการนำเสียงบกพร่องและประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง มีปัญหาที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางและหูชั้นในร่วมกัน

ระดับการสูญเสียการได้ยิน

ค่าเฉลี่ย  PTA 500-2000 Hz(db)        ระดับการได้ยิน                                                     ความสามารถในการฟัง

-10 – 25                    การได้ยินปกติ( Normal hearing.)                                   ได้ยินเสียงพูดชัดเจน

26 – 40                      หูตึงเล็กน้อย (Mild hearing loss.)                                   มีปัญหาไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ

41 – 55                      หูตึงปานกลาง( Moderate hearing loss.)                        เข้าใจคำพูดในระดับความดังปกติในระยะ 3-5 ฟุต

56 – 70                      หูตึงมาก (Moderately severe hearing loss.)                  ต้องพูดเสียงดังๆ จึงจะเข้าใจ และฟังเสียงพูดในสถานทีมีเสียงจอแจไม่เข้าใจ

71 – 90                      หูตึงรุนแรง (Severe hearing loss.)                                  ได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต แต่ไม่เข้าใจความหมาย

90  ขึ้นไป                   หูหนวก (Profound hearing loss.)                                   ไม่ได้ยินเสียงตะโกน

 

เครื่องช่วยฟัง คือเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ทำหน้าที่ขยายเสียงคำพูดและเสีย­­­­­­­งสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ฟังเสียงชัดเจนดีขึ้น

ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง

1  ช่วยให้ได้ยินดีขึ้น และเข้าใจความหมายของเสียงพูดได้ดีมากขึ้น

2  ช่วยรักษาหน้าที่เซลล์หูให้คงสภาพ เพราะเสียงจากเครื่องช่วยฟังเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์ในหูชั้นในให้ทำงานอยู่ตลอด ไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ

3  ช่วยให้สามารถแยกแยะทิศทางของเสียงได้ดีขึ้น

 

เครื่องช่วยฟังมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. แบบกล่อง (Body Aid) ลักษณะตัวเครื่องเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีสายหูฟังต่อเข้ากับตัวเครื่อง
  2. แบบทัดหลังหู (Behind the ear hearing aid) เป็นเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู ลักษณะตัวเครื่องจะเกี่ยวอยู่ด้านหลังใบหู มีท่อต่อกับพิมพ์หูใส่ไว้รูหู

3. แบบในช่องหู (Custom made hearing aid) เป็นเครื่องขนาดเล็ก ใส่เข้าไปในช่องหู แบ่งออกเป็น ITE (In the ear) แบบใหญ่เต็มช่อง/เบ้าหู ITC (In the canal) แบบกลาง CIC (Complete in the canal) แบบเล็ก

ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีคุณสมบัติพิเศษ ดังต่อไปนี้

  • ระบบตัดเสียงลม และเสียงหวีดรบกวนขณะสวมใส่เครื่องช่วยฟัง
  • ระบบช่วยลดเสียงดังในหู Tinnitus Masker
  • ป้องกันฝุ่นและกันน้ำ
  • รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth
  • เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ ปรับระดับความดังผ่าน Application บนมือถือได้ เป็นต้น

และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องช่วยฟัง ควรเลือกให้เหมาะสมและสะดวกสบายกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง

สอบถามและปรึกษา ได้ที่
คลินิก หู คอ จมูก  ชั้น 2 อาคาร 2 โรงพยาบาลบางโพ
โทร.02 587 0144  ต่อ 2220