ฝุ่นควัน ภัยที่ต้องระวัง

วิธีการป้องกันฝุ่นควัน ส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากากอนามัย “หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นสินค้าขายดีขึ้นมาทันที กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน โดยมีวิธีเลือกหน้ากากอนามัยดังนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ สถานพยาบาล และ ร้านขายยาทั่วไป

บทความโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบางโพ

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพ
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital

สัญญาณ บ่งบอกว่าเรามีปัญหาการได้ยิน

เข้าใจในปัญหาการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยินอาจเกิดขึ้นได้อย่างฉับพลันหากได้รับเสียงดังมากจนเกินไป เช่น เสียงระเบิด เสียงประทัด หรือ เสียงปืน เป็นต้น และ การสูญเสียการได้ยินสามารถเกิดขึ้นได้อย่างช้าๆ อันเนื่องมาจากอายุ, กรรมพันธุ์ , โรคบางชนิด รวมถึงการใช้ยายาบางชนิดเป็นระยะเวลานาน

 

สัญญานที่บ่งบอกว่าเรามีปัญหาการได้ยิน

  • รู้สึกเหมือนว่าทุกๆ คนรอบๆ ตัวคุณ พูดงึมงำฟังไม่ค่อยเข้าใจ บางครั้งต้องขอให้อีกฝ่ายพูดซ้ำ
  • ประสบกับความยากลำบากในการพยามทำความเข้าใจคู่สนทนา  ในสถานที่ๆ ที่มีเสียงจอแจ เช่น ตลาด, สถานีรถไฟ, ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • ได้ยินเสียงสนทนา แต่ไม่สามารถเข้าใจในคำสนทนาได้โดยเฉพาะหากผู้พูดเป็น เด็ก หรือ ผู้หญิงที่มีเสียงเล็กแหลม เสียงของตัวอักษร  เช่น ส, ฟ, S, H, F, TH เป็นต้น
  • คุณไม่ได้ยินเสียงในธรรมชาติบางอย่าง มานานมากแล้ว เช่น เสียงนกร้อง เสียงฝนตก

อาการเหล่านี้เป็นสัญญานบ่งบอกว่ามีการสูญเสียการได้ยิน

การสูญเสียการได้ยิน แบ่งออกเป็น/ ประเภทของการสูญเสียการได้ยิน

  1. การนำเสียงบกพร่อง (Conductive hearing loss) มีพยาธิสภาพที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลาง หรือทั้งสอง ทำให้เสียงไม่สามารถผ่านไปยังหูชั้นในได้อย่างปกติ
  2. ประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง ( Sensorineural hearing loss) มีพยาธิสภาพที่หูชั้นในหรือเส้นประสาทเสียง
  3. การรับฟังเสียงบกพร่องแบบผสม (Mixed hearing loss) มีพยาธิสภาพที่เกิดร่วมกันทั้งการนำเสียงบกพร่องและประสาทรับฟังเสียงบกพร่อง มีปัญหาที่หูชั้นนอกหรือหูชั้นกลางและหูชั้นในร่วมกัน

ระดับการสูญเสียการได้ยิน

ค่าเฉลี่ย  PTA 500-2000 Hz(db)        ระดับการได้ยิน                                                     ความสามารถในการฟัง

-10 – 25                    การได้ยินปกติ( Normal hearing.)                                   ได้ยินเสียงพูดชัดเจน

26 – 40                      หูตึงเล็กน้อย (Mild hearing loss.)                                   มีปัญหาไม่ได้ยินเสียงพูดเบาๆ

41 – 55                      หูตึงปานกลาง( Moderate hearing loss.)                        เข้าใจคำพูดในระดับความดังปกติในระยะ 3-5 ฟุต

56 – 70                      หูตึงมาก (Moderately severe hearing loss.)                  ต้องพูดเสียงดังๆ จึงจะเข้าใจ และฟังเสียงพูดในสถานทีมีเสียงจอแจไม่เข้าใจ

71 – 90                      หูตึงรุนแรง (Severe hearing loss.)                                  ได้ยินเสียงตะโกนในระยะ 1 ฟุต แต่ไม่เข้าใจความหมาย

90  ขึ้นไป                   หูหนวก (Profound hearing loss.)                                   ไม่ได้ยินเสียงตะโกน

 

เครื่องช่วยฟัง คือเครื่องขยายเสียงขนาดเล็ก ทำหน้าที่ขยายเสียงคำพูดและเสีย­­­­­­­งสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ฟังเสียงชัดเจนดีขึ้น

ประโยชน์ของเครื่องช่วยฟัง

1  ช่วยให้ได้ยินดีขึ้น และเข้าใจความหมายของเสียงพูดได้ดีมากขึ้น

2  ช่วยรักษาหน้าที่เซลล์หูให้คงสภาพ เพราะเสียงจากเครื่องช่วยฟังเข้าไปกระตุ้นให้เซลล์ในหูชั้นในให้ทำงานอยู่ตลอด ไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพ

3  ช่วยให้สามารถแยกแยะทิศทางของเสียงได้ดีขึ้น

 

เครื่องช่วยฟังมี 3 ประเภท ได้แก่

  1. แบบกล่อง (Body Aid) ลักษณะตัวเครื่องเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีสายหูฟังต่อเข้ากับตัวเครื่อง
  2. แบบทัดหลังหู (Behind the ear hearing aid) เป็นเครื่องช่วยฟังแบบทัดหลังหู ลักษณะตัวเครื่องจะเกี่ยวอยู่ด้านหลังใบหู มีท่อต่อกับพิมพ์หูใส่ไว้รูหู

3. แบบในช่องหู (Custom made hearing aid) เป็นเครื่องขนาดเล็ก ใส่เข้าไปในช่องหู แบ่งออกเป็น ITE (In the ear) แบบใหญ่เต็มช่อง/เบ้าหู ITC (In the canal) แบบกลาง CIC (Complete in the canal) แบบเล็ก

ปัจจุบันเครื่องช่วยฟังมีคุณสมบัติพิเศษ ดังต่อไปนี้

  • ระบบตัดเสียงลม และเสียงหวีดรบกวนขณะสวมใส่เครื่องช่วยฟัง
  • ระบบช่วยลดเสียงดังในหู Tinnitus Masker
  • ป้องกันฝุ่นและกันน้ำ
  • รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth
  • เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ ปรับระดับความดังผ่าน Application บนมือถือได้ เป็นต้น

และคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ขึ้นอยู่กับรุ่นของเครื่องช่วยฟัง ควรเลือกให้เหมาะสมและสะดวกสบายกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่ใส่เครื่องช่วยฟัง

สอบถามและปรึกษา ได้ที่
คลินิก หู คอ จมูก  ชั้น 2 อาคาร 2 โรงพยาบาลบางโพ
โทร.02 587 0144  ต่อ 2220