โรคยอดฮิตในเด็กที่มาพร้อมหน้าหนาว
โรคยอดฮิตในเด็กที่มาพร้อมหน้าหนาว
1. ไข้หวัด
- พบได้ทุกฤดู แต่ฤดูหนาวจะเป็นได้ง่ายและบ่อยขึ้นกว่า 2 เท่า
- ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ติดต่อจากการสูดละอองฝอยจากการไอจาม
- อาการ ไอ จาม น้ำมูกใส คัดจมูก ไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตามตัว
- รักษา นอนพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ กินยาตามอาการ สวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
- ป้องกัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ล้างมือบ่อยๆ ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย
2. ไข้หวัดใหญ่
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
- อาการเหมือนไข้หวัดแต่รุนแรงกว่า ได้แก่ ไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะรุนแรง ไอ น้ำมูก เจ็บคอ อาเจียน ถ่ายเหลว
- รักษา ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและรับยาฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ กินยาตามอาการ เช็ดตัวลดไข้ นอนพักผ่อนมากๆ
- ป้องกัน กลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเรื้อรัง ควรได้รับวัคซีนไข้หวัด ใหญ่ทุกปี ไม่คลุกคลีหรือใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรง
3. โรคปอดบวม
- เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ถุงลมปอด จนเกิดการอักเสบเป็นหนอง
- อาการ ไข้สูง ไอมีเสมหะมาก หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก มักเกิดหลังไข้หวัดเรื้อรัง หรือในผู้ที่เป็นโรคหอบหืด
- รักษา ควรพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อที่เหมาะสม ให้สารน้ำที่เพียงพอ ให้ยาตามอาการ เช็ดตัวลดไข้ อาจพ่นยาขยายหลอดลมเพื่อบรรเทาอาการ
- ป้องกัน เมื่อเริ่มเป็นไข้หวัดให้รีบรักษา ดื่มน้ำมากๆ ในเด็กเล็กและผู้สูงอายุควรได้รับวัคซีนป้องกันปอดบวม ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดควรใช้ยาควบคุมอาการสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
4. โรคหัด
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัด มักพบมากในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน
- อาการคล้ายไข้หวัด คือมีไข้ น้ำมูกไหล ตาแดง ไอแห้งๆ หลังมีไข้3-4วัน มีผื่นแดงขั้นที่หลังใบหู ใบหน้า ลาม มายังลำตัว แขนขา อาจพบตุ่มที่กระพุ้งแก้มและฟันกราม หลังผื่นขึ้น2-3วันไข้จะเริ่มลง แต่ต้องระวังอาการแทรกซ้อนที่สำคัญ เช่น หูชั้นกลางอักสบ ปอดบวม สมองอักเสบ ถ่ายเหลว
- รักษา กินยาลดไข้ รักษาตามอาการ ไปพบแพทย์ตามนัด
- ป้องกัน เด็กควรได้รับวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม ตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากเชื้อสามารถติดได้ง่าย
- ทางการหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยและหลีกเลี่ยงการไปในที่มีคนพลุกพล่าน หมั่นล้างมือบ่อยๆ
5. โรคอีสุกอีใส
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอีสุกอีใส มักพบในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียน ติดต่อทางการสัมผัสตุ่มน้ำโดยตรงหรือทางการหายใจ
- อาการ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นแดงขึ้นทีใบหน้าและลำตัว ต่อมาเป็นตุ่มน้ำใส อาจเป็นตุ่มหนอง แตกและตกสะเก็ด ใช้เวลารวม 7-10 วัน
- รักษา รักษาตามอาการ กินยาลดไข้ งดการแกะเกาตุ่มเพื่อไม่ให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากไม่จำเป็นต้องมาพบแพทย์ยกเว้นมีอาการแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม
- ป้องกัน ในผู้ที่ไม่เคยเป็นมาก่อนควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
6. โรคอุจจาระร่วง
- โรคอุจจาระร่วงในฤดูหนาวมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น โรต้าไวรัส มักพบในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
- อาการ ถ่ายเหลว ก้นแดง อาเจียน กินได้น้อย ไข้สูง อ่อนเพลีย
- รักษา ให้จิบน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนการเสียน้ำ เปลี่ยนอาหารและนมให้ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาลแลดโตส หากกินไม่ได้และมีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อยลง ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือด
- ป้องกัน หมั่นล้างมือบ่อยๆด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ทำความสะอาดสถานที่และของเล่นบ่อยๆ ในเด็กก่อนอายุ 4 เดือนมีวัคซีนป้องกันไวรัสโรต้าชนิดหยอดซึ่งลดโอกาสการเกิดโรคอุจาระร่วงรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้วยความปรารถนาดีจาก
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์
กุมารแพทย์
แผนกกุมารเวชกรรม 025870144 ต่อ 2400