“วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)
“วันผู้บริจาคโลหิตโลก”(World Blood Donor Day)
World Blood Donor Day
“วันผู้บริจาคโลหิตโลก” (World Blood Donor Day) จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2547 ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน ซึ่งวันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดของ ดร.คาร์ล แลนด์สไตเนอร์ (Karl Landsteiner) แพทย์ชาวออสเตรีย-อเมริกัน ผู้ค้นพบการจำแนกหมู่โลหิต A, B และ O ถือว่าเป็นการค้นพบที่มีความสำคัญยิ่งต่องานบริการโลหิตทั่วโลก จนได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยา หรือแพทยศาสตร์ ในปี ค.ศ. 1930 อีกทั้งยังพบว่าการถ่ายเลือดให้กับผู้ที่มีหมู่เลือดเดียวกันไม่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดถูกทำลาย การค้นพบเหล่านี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการต่อยอดในวงการแพทย์มาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ยังสามารถช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ได้อีกเป็นจำนวนมาก
องค์การอนามัยโลก (WHO), สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC), สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ (ISBT) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต รวมถึงเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก
องค์การอนามัยโลก (WHO), สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ(IFRC), สหพันธ์ผู้บริจาคโลหิตระหว่างประเทศ (FIODS) และสมาคมบริการโลหิตระหว่างประเทศ (ISBT) จึงได้ขอความร่วมมือให้สภากาชาดทั่วโลก จัดกิจกรรมเพื่อให้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการบริจาคโลหิต รวมถึงเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้บริจาคโลหิต และส่งเสริมงานบริการโลหิตให้เป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก
เพราะ “เลือด” ทุกหมู่มีความสำคัญ จะหมู่เลือดไหน ก็สำคัญต่อชีวิตของผู้ป่วย
ร่วมแบ่งปัน “เลือด?” ที่เป็นเสมือน “ยาวิเศษ” ให้กับผู้ป่วย
ร่วมแบ่งปัน “เลือด?” ที่เป็นเสมือน “ยาวิเศษ” ให้กับผู้ป่วย
อ้างอิง
ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย