ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารศูนย์การแพทย์ (อาคาร 2) โดยโลหิตทั้งหมดมอบให้สภากาชาดไทย
กำหนดการบริจาคโลหิตปี 2568
ครั้งที่ กำหนดการ
1 วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568
2 วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2568
3 วันอังคารที่ 5 สิงหาคม 2568
4 วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2568
ผู้บริจาคโลหิตรายใหม่ได้คัดกรองตนเองก่อนบริจาคโลหิต ดังนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ หรือเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 งดบริจาคโลหิต 4 เดือน
  1. ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 งดบริจาคโลหิต 4 เดือน
  2. ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัส โควิด-19 นับตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ และหายป่วยโดยไม่มีอาการใดๆ หลงเหลืออยู่ งดบริจาคโลหิต 4 สัปดาห์
  3. ภายหลังบริจาคโลหิต หากผู้บริจาคโลหิตได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ให้แจ้งหน่วยงานที่รับ บริจาคโลหิตทันที
  4. ผู้บริจาคโลหิตจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับสุขภาพตนเอง โดยให้ข้อมูลตรงตามความเป็นจริง
คุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต
    1. อายุระหว่าง 17 - 70 ปีบริบูรณ์ ผู้ที่มีอายุระหว่าง 17 ปี ไม่เกิน 18 ปี ต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
    2. ผู้บริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ถ้าอายุเกิน 55 – 60 ปี และให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์ และ พยาบาล
    3. ผู้บริจาคโลหิตอายุระหว่าง 60 ไม่เกิน 70 ปี แบ่งเกณฑ์การคัดเลือกตามาอายุ 2 ช่วง ดังนี้
      • การคัดเลือกผู้บริจาคโลหิตอายมากกว่า 60 จนถึง 65 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)
        1. เป็นผู้บริจาคโลหิตประจำมาโดยตลอดจนกระทั่งอายุ 60 ปี
        2. บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 4 ครั้ง คือทุก 3 เดือน
        3. ตรวจ Complete Blood Count (CBC),Serum Ferritin (SF) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อประกอบการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพทั่วไป และสำหรับแพทย์ใช้ผลการตรวจ SF ในการติดตามและ
          ปรับการให้ธาตุเหล็กทดแทน
      • ผู้บริจาคโลหิตอายุมากกว่า 65 - 70 ปี (ไม่รับบริจาคในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่)
        1. เป็นผู้บริจาคโลหิตต่อเนื่องสม่ำเสมอในช่วงอายุระหว่าง 60 ปี จนถึง 65 ปี
        2. บริจาคโลหิตได้ไม่เกินปีละ 2 ครั้ง คือ ทุก 6 เดือน
        3. ต้องได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพโดยแพทย์ หรือพยาบาลของธนาคารเลือดหรือหน่วยงานรับบริจาคโลหิตซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจคัดกรองสุขภาพผู้บริจาคโลหิต
        4. ตรวจ CBC และ SF ปีละ 1 ครั้ง
ทั้งสองช่วงอายุให้ดูผล hemoglobin ่จาก CBC ที่เจาะในวันเดียวกันกับที่จะบริจาคโลหิต หรือจากการเจาะปลายนิ้ว ถ้าอยู่ในเกณฑ์กำหนด อนุญาตให้บริจาคโลหิตได้ สำหรับผลการตรวจอื่น ๆ ที่ไม่ได้ผลทันที ให้เก็บไว้ประกอบการให้คำปรึกษาหลังจากการบริจาคโลหิตครั้งนี้ ในโอกาสที่มาบริจาคโลหิตครั้งต่อไป หรือแจ้งผลโดยวิธีอื่นๆตามความเหมาะสม ผู้บริจาคโลหิตในช่วงอายุ 60 ปี ถึง 70 ปี ที่บริจาคโลหิตไม่สม่ำเสมอ มีการหยุดบริจาคทิ้งช่วงเกิน 1 ปี ให้เจาะเลือดตรวจตามที่ระบุไว้และนัดให้ผู้บริจาคมาฟังผลเพื่อพิจารณาการรับบริจาคโลหิต
ภายใน 1-2 สัปดาห์ และต้องเจาะเลือดจากปลายนิ้วตรวจฮีโมโกลบินซ้ำตามขั้นตอนการรับบริจาคโลหิต ในวันที่บริจาคโลหิตผู้ที่มีอายุเกิน 55 ปีจนถึง 60 ปี ที่ต้องการบริจาคโลหิตเป็นครั้งแรก ให้อยู่ในดุลพินิจของแพทย์/พยาบาล ไม่ควรรับบริจาคโลหิตจากผู้ที่อายุเกิน 60 ปี ในหน่วยรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่
  1. น้ำหนักตั้งแต่ 45 กิโลกรัม ขึ้นไป
  2. สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมที่จะบริจาคโลหิต
  3. นอนหลับพักผ่อนเพียงพอในเวลาปกติของตนเอง ในคืนก่อนวันที่มาบริจาคโลหิต
  4. ไม่มีประวัติการเจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ, โรคตับ, โรคปอด, โรคเลือด, โรคมะเร็ง, หรือมีภาวะโลหิตออกง่ายและหยุดยาก
  5. ไม่มีอาการท้องเสีย ท้องร่วง ใน 7 วันที่ผ่านมา
  6. สตรีไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และไม่มีการคลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือน ที่ผ่านมา
  7. น้ำหนักต้องไม่ลดผิดปกติในระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา โดยไม่ทราบสาเหตุ
  8. หากรับประทานยาแอสไพริน, ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาแก้ปวดอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 3 วัน ถ้าเป็นยาแก้อักเสบหรือยาอื่นๆ ต้องหยุดยามาแล้ว 7 วัน
  9. ไม่เป็นโรคหอบหืด, ผิวหนังเรื้อรัง, วัณโรค หรือภูมิแพ้อื่นๆ
  10. ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจ, ตับ, ไต, มะเร็ง, ไทรอยด์,โลหิตออกง่าย-หยุดยาก หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
  11. หากถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนหรือรักษารากฟัน ต้องทิ้งระยะอย่างน้อย 3 วัน กรณีผ่าฟันคุด ให้เว้นอย่างน้อย 7 วัน จนกว่าแผลจะหายสนิทไม่มีอาการอักเสบ
  12. หากเคยได้รับการผ่าตัดใหญ่ต้องเกิน 6 เดือน, ผ่าตัดเล็ก ต้องเกิน 7 วัน
  13. ท่านหรือคู่ครองของท่านต้องไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์
  14. ต้องไม่มีประวัติยาเสพติด หรือเพิ่งพ้นโทษ ต้องเกิน 3 ปี และมีสุขภาพดี
  15. หากเจาะหู, สัก, ลบรอยสักหรือฝังเข็มในการรักษา โดยใช้เครื่อมือร่วมกัน หรือในสถานที่ที่มีคุณภาพความสะอาดต่ำ อาจติดเชื้อโรคทางกระแสโลหิต จึงควรงดบริจาคอย่างน้อย 1 ปี แต่หากกระทำด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่สะอาดปราศจากเชื้อ โดยผู้ชำนาญ และเป็นวัสดุที่ใช้ครั้งเดียวเฉพาะตัว เว้นระยะเวลาให้แผลอักเสบหายสนิทอย่างน้อย 7 วัน
  16. หากมีประวัติเจ็บป่วยและได้รับโลหิตของผู้อื่น ต้องเกิน 1 ปี
  17. หากมีประวัติเป็นมาลาเรีย ถ้าเคยเป็นต้องหายมาแล้วเกิน 3 ปี หากเคยเข้าไปในพื้นที่ ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุม ต้องทิ้งระยะอย่างน้อยเกิน 1 ปี จึงบริจาคโลหิตได้
  18. หากเคยเจ็บป่วยต้องรับโลหิตของผู้อื่นที่ประเทศอังกฤษในระหว่างปีพ.ศ.2523-2539 งดรับบริจาคโลหิตถาวร
  19. หากเคยพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษรวมระยะเวลา 3 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.2523-2539 หรือ เคยพำนักในยุโรปรวมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2523-ปัจจุบัน งดรับบริจาคโลหิตถาวร
  20. หากเคยได้รับวัคซีน เพื่อป้องกันโรค หรือเคยรับเซรุ่ม ระยะเวลาที่งดรับบริจาคโลหิตขึ้นกับชนิดขอบวัคซีน หรือ เซรุ่ม
  21. สตรีอยู่ระหว่างมีรอบเดือน ไม่เป็นข้อห้ามในการบริจาคโลหิต ถ้าขณะนั้นสุขภาพแข็งแรง มีโลหิตประจำเดือนไม่มากกว่าปกติ ไม่มีอาการอ่อนเพลียใดๆ ตรวจความเข้มข้นโลหิตผ่านก็สามารถบริจาคโลหิตได้
  22. ก่อนบริจาคโลหิต ควรงดอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวข้าวหมู ของทอด ของหวาน แกงกะทิต่าง ๆ เป็นต้น