บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองมี 2 ประเภทคือ
- โรคหลอดเลือด สมองหลักตีบ
- อุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด
ปัจจัยเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดสมอง
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน โรคหัวใจ อายุที่มากขึ้น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ บุหรี่ แอลกอฮอล์ โคเคน แอมเฟตามีน การดำเนินชีวิต ที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนที่ หรือออกกำลังกาย
อาการของโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน
- แขนขา ชา อ่อนแรงหรือชาครึ่งซีกข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
- พูดตะกุดตะกัก พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ นึกคำพูดไม่ออก หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด
- ตามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือมองไม่เห็นข้างใดข้างหนึ่งทันทีทันใด
- ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลันชนิดไม่เคยเป็นมาก่อน
- เวียนศีรษะบ้านหมุน เดินเซ เสียการทรงตัว
กรณีพบผู้ป่วยมีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ให้รีบพบแพทย์โดยด่วน ถึงแม้อาการจะดีขึ้นได้เอง แต่การไปพบแพทย์ก็มีความจำเป็นเพื่อจะได้ รับการรักษาทันท่วงที และจะได้ฟื้นฟูสภาพร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น
การรักษา
ขึ้นอยู่กับชนิด ความรุนแรง และระยะเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการ โดยเฉพาะถ้าผู้ป่วยมารับการรักษาเร็วเท่าใดก็จะมีโอกาสรอดชีวิต และฟื้นฟูจนสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติได้มากเท่านั้น หลักการรักษาประกอบด้วย
- การรักษาทางยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน แพทย์จะให้ยาในกลุ่มยาละลายลิ่มเลือดยาต้าน เกร็ดเลือด โดยทั่วไปผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ และ จะต้องมาตรวจ สม่ำเสมอ เพื่อปรับขนาดของยา ตามแผนการรักษา
- การรักษาโดยการผ่าตัดในบางราย โดยเฉพาะ ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจากการปริแตกหรือฉีกขาด ของหลอดเลือดสมอง
- การรักษาทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู
- การรักษาโดยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองโรคหลอดเลือดสมอง
เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักให้เหมาะสมอย่าให้อ้วน
- งดสูบบุหรี่
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง
- ในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้วหรือเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อยู่แล้วต้องรักษาและพบแพทย์ อย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาหรือปรับยาเองโดยเด็ดขาด
- รับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 / Fish Oil สามารถลดความ เสี่ยงต่อการเกิด thrombosis stroke ได้
บทบาทของญาติ / ผู้ดูแล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันให้มากที่สุด เช่น อาบน้ำ แปรงฟัน ขับถ่าย ทานอาหาร แต่งตัว และให้ความช่วยเหลือถ้า จำเป็น
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยใช้ร่างกายข้างที่อ่อนแรง เท่าที่สามารถจะทำได้
- ช่วยเหลือกิจกรรมที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
- ให้กำลังใจและส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจในตนเอง
- ช่วยทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย
- ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
- ช่วยควบคุมปัจจัยเสี่ยงอย่างเคร่งครัด ห้ามขาดยา และมาพบตามแพทย์นัด
- ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำและสารอาหารอย่างเพียงพอ ในรายที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้สามารถให้อาหาร ทางสายยางได้อย่างถูกวิธี ในรายที่รับประทานอาหารเองได้ ให้ระวังการสูดสำลัก