โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease)
โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Allergic skin disease)
โดยผู้ป่วยที่เป็นลมพิษจะเริ่มด้วยอาการคัน หลังจากนั้นจะมีอาการบวม เป็นได้ทั้งตัวโดยเฉพาะที่ถูกเกาหรือกดรัด มักเป็นๆหายๆ อาการบวมอาจจะเป็นแบบตุ่มนูนที่มีขนาดแตกต่างกัน ส่วนใหญ่อาจดูคล้ายตุ่มยุงกัด แต่บางแห่งจะดูคล้ายแผนที่ โดยตรงกลางผื่นสีจะจางและไม่นูน ผื่นลมพิษนี้ อาจมีลักษณะแตกต่างไป ในบางครั้งจะรวมกันเป็นปื้นหนา หรือ อาจมีจุดขาวซีดๆ ตรงกลาง ขณะที่ขอบโดยรอบจะหนานูนแดง ผื่นลมพิษจะเห่อเร็วและผื่นนั้นมักจะหายภายใน 4-6 ชั่วโมงโดยไม่มีร่องรอยหลงเหลือ แล้วก็จะย้ายไปขึ้นบริเวณอื่นได้อีก โดยมากผื่นจะหายไปใน 24 ชั่วโมง ถ้าเป็นนานเกิน 24 ชั่วโมงให้นึกว่าอาจจะเป็นโรคอื่น ในรายที่เป็นมากอาจมีอาการบวมของหนังตา ริมฝีปาก อวัยวะเพศ และทางเดินหายใจ ร่วมด้วย
ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ มักเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุขวบปีแรก โดยประ มาณ 80-90% ของเด็กที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการก่อนอายุ 7 ปี โดยผู้ป่วยจะมีอาการผื่นคันตามลำ ตัวและหน้า เป็นๆหายๆ ผิวแห้ง อักเสบ และมีอาการกำเริบเป็นระยะๆเมื่อได้รับสารกระตุ้น ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ จะมีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคหืดเมื่อเด็กโตขึ้น
สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังในเด็ก ได้แก่ แพ้อาหาร โดยอาหารที่พบว่าแพ้ได้บ่อยในเด็กไทยคือ ไข่ นมวัวอาหารทะเล และแป้งสาลี
โรคภูมิแพ้ทางดวงตา(Eye allergy)
เป็นการอักเสบที่เยื่อตาขาว และใต้หนังตา ผู้ ป่วยจะมีอาการ คันตา ตาแดง น้ำตาไหล แสบตาและมีขี้ตา โดยมักมีอาการช่วงได้รับสารกระตุ้น เช่น ฝุ่น ละอองเกสรหญ้า หรือขนสัตว์ ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ทางดวงตามักพบร่วมกับอาการโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้
โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ(Anaphylaxis)
เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อาการแพ้จะเกิดขึ้นรุนแรง รวดเร็วและมีอาการหลายระบบ โดยผู้ป่วยอาจมีอาการคัน ลมพิษ บวมที่หน้า ปาก แน่นในลำคอ จาม น้ำมูกไหล หายใจลำบาก บางรายอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียนท้องเสีย ความดันโลหิตลดต่ำลง หมดความรู้สึก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในรายที่เป็นโรคหืดอยู่เดิมอาจไปกระตุ้นให้โรคหืดกำเริบได้
สาเหตุที่สำคัญของโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงคือ ภาวะแพ้ อาหาร ยา แมลงต่อย (ผึ้ง ต่อ มด กัดต่อย: การปฐมพยาบาล การรักษาและการป้องกัน) ซึ่งผู้ป่วยที่มีภาวะแพ้ชนิดนี้ควรหลีก เลี่ยงสารที่แพ้ และในรายที่เคยเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง เช่นช็อก ผู้ป่วยควรมียาฉีด Adrenaline/ Epinephrine (ยารักษาโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง ที่ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ และช่วยเพิ่มความดันโลหิต) พกติดตัวไว้ด้วยเพื่อป้องกันการเสียชีวิตก่อนที่จะพบแพทย์
การวินิจฉัย
แพทย์วินิจฉัยโรคภูมิแพ้ โดยสังเกตจากอาการที่เข้ากันได้กับโรคนี้ ดังได้กล่าวแล้วในหัว ข้อ ชนิดของโรคภูมิแพ้ การมีอาการเรื้อรังเป็นๆหายๆ การมักมีประวัติครอบครัวร่วมด้วย และอาจทำการตรวจเพิ่มเติม เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุของอาการที่แพ้ หรือกรณีที่เป็นโรคหืดก็ทำการทดสอบสมรรถภาพปอด เป็นต้น
การรักษา
หลักการดูแลผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีหลักการทั่วไปคือ
- ควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้
- ให้การรักษาด้วยยา
การควบคุมสิ่งแวดล้อมและสารก่อภูมิแพ้ ได้มีการสำรวจผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ในประเทศไทยพบว่า มักจะแพ้ไรฝุ่น ฝุ่นบ้าน เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ แมลงสาบ ละอองเกสรพืช และขนสัตว์ ถ้าทำได้ แนะนำให้ทำการทดสอบผิวหนังในผู้เป็นโรคภูมิแพ้ทุกคน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าแพ้อะไร จะได้หลีกเลี่ยงได้ถูกต้อง และยังใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาทำการรักษาด้วยการฉีดวัคซีนอีกด้วย ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้รับการทดสอบผิว หนัง หรือไม่สามารถทำการทดสอบได้ก็ควรหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งที่พบบ่อย คือ
- ไรฝุ่น
- จัดห้องนอนให้โล่ง ไม่ควรมี พรม ตุ๊กตา และผ้าม่าน
- ซัก ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้าห่มด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
- คลุมที่นอน หมอน หมอนข้างด้วยผ้าใยสังเคราะห์ชนิดพิเศษซึ่งสามารถกันไม่ให้ตัวไรฝุ่นลอดผ่านขึ้นมาได้
- แมลงสาบ
- ขจัดแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยทิ้งขยะและเศษอาหารในถุงหรือถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด
- ใช้ยาฆ่าแมลงสาบและกับดักแมลงสาบ
- สัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรเลี้ยงสัตว์มีขน เช่น สุนัข แมว นก กระต่าย
- ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ควรให้สัตว์เลี้ยงอยู่นอกบ้าน และอาบน้ำให้ทุกสัปดาห์
- ใช้เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องกรองอากาศ
- เกสรหญ้า
- ควรตัดหญ้าและวัชพืชบริเวณบ้านบ่อยๆ เพื่อลดจำนวนเกสร
- ไม่ควรนำต้นไม้ ดอกไม้สด หรือแห้ง ไว้ในบ้าน
- ในช่วงที่มีละอองเกสรมาก ควรปิดประตู หน้าต่าง และใช้เครื่องปรับอากาศ หรือเครื่องฟออากาศ
- ทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงเช้า เพราะละอองเกสรจะปลิวมากช่วงตอนเย็น
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงสารระคายเคืองต่างๆ ที่อาจทำให้อาการภูมิแพ้กำเริบ ได้แก่ ควันบุหรี่ ควันท่อไอเสีย กลิ่นฉุน น้ำหอม ควันธูป และฝุ่นละอองจากแหล่งต่างๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก็มีความสำคัญ โดยพบว่าผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ มักมีอา การแย่ลงเมื่อมีภาวะเครียด และอดนอน ดังนั้นควรดูแลสุขภาพตัวเองไม่ให้เครียดมากและควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ในกรณีมีอาการโรคหืดกำเริบจากการออกกำลังกาย การพ่นยาขยายหลอดลมก่อนการออกกำลังกาย 15-30 นาทีจะช่วยป้องกันการหอบระหว่างออกกำลังกายได้
การให้การรักษาด้วยยา
เราอาจแบ่งการรักษาโรคภูมิแพ้ออกได้เป็น 3 ระดับเพื่อความเข้าใจง่ายๆดังนี้
- ยาบรรเทาอาการต่างๆ เช่นยาแก้แพ้ หรือยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) และยาขยายหลอดลม
- ยาต้านการอักเสบเช่น ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือสูดทางปาก
- การใช้วัคซีนภูมิแพ้เป็นการรักษาโดยการฉีดสารก่อภูมิแพ้เข้าไปในร่างกายเริ่มจากปริมาณน้อยๆ และเพิ่มปริมาณขึ้นเรื่อยๆจนร่างกายเกิดความชินต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ซึ่งผู้ป่วยที่ควรรับการรักษาโดยวิธีฉีดวัคซีนภูมิแพ้คือ ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้น หรือมีผลข้างเคียงจากยา โดยก่อนจะเลือกรักษาด้วยการฉีดวัคซีน จำเป็นต้องทราบก่อนว่าแพ้อะไร เพื่อจะได้นำสารที่แพ้มาฉีดเป็นวัคซีน ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และผู้ป่วยต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำอย่างน้อย 3-5 ปี
คลินิกผิวหนังและคอสเมติด
โรงพยาบาลบางโพ ชั้น 3 อาคาร 2
โทร. 025870144 ต่อ 2302