เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

เตรียมสูงวัย..อย่างมีสุขภาพดี

Older Good Health
1 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุสากล (International Day of Older Persons) โดยองค์การสหประชาชาติ กำหนดขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1991 หรือ พ.ศ. 2534 จัดขึ้นเพื่อแสดงให้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของผู้สูงอายุ ที่ได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ให้กับสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน "บุคลากรสำคัญผู้สร้างคุณงามความดี และคุณประโยชน์ไว้ให้คนรุ่นหลัง “ผู้สูงอายุ” มีความหมายว่า คือบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
  1. ผู้สูงอายุตอนต้น (Young old) คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี
  2. ผู้สูงอายุตอนกลาง (Middle old) คือ บุคคลที่มีอายุ 70-80 ปี
  3. ผู้สูงอายุตอนปลาย (Very old) คือ บุคคลที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2567 หรืออีก 2 ปีข้างหน้า กรมกิจการผู้สูงอายุ เปิดเผยสถิติผู้สูงอายุ สัญชาติไทย และ มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน มกราคม 2565 โดยมีประชากรผู้สูงอายุในปี 2565 จำนวน 12,116,199 คน แบ่งเป็นเพศชาย 5,339,610 คน เพศหญิง 6,776,589 คน
  1. ระหว่างอายุ 60-69 ปี จำนวน จำนวน 6,843,300 คน คิดเป็น 56.5% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  2. ระหว่างอายุ 70-79 ปี มีจำนวน 3,522,778 คน คิดเป็น 29.1% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
  3. ระหว่างอายุ 80 ปีขึ้นไป จำนวน 1,750,121 คน คิดเป็น 14.4% ของผู้สูงอายุทั้งหมด
ผู้สูงอายุที่คิดว่าตัวเองเป็นภาระให้กับผู้อื่นอาจจะรู้สึกว่าชีวิตของตนเองนั้นด้อยค่าตามไปด้วย อาจส่งผลให้เผชิญความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าและแยกตัวจากสังคม ผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงลบจะมีอายุยืนยาวน้อยกว่าผู้สูงอายุที่มีทัศนคติต่อความชราภาพไปในเชิงบวกถึง 7.5 ปี การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีโอกาสทำงาน ช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีค่า สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข ผู้สูงอายุแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ไม่เท่ากัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดความแตกต่าง คือ ประสบการณ์ที่ผ่านมาตลอดชีวิต หากได้รับการฝึกอบรมทักษะต่างๆ การศึกษาเรียนรู้หรือทำงานมาหลากหลายรูปแบบ คนเหล่านี้เป็นผู้สูงอายุที่มีประสบการณ์ ซึ่งจะช่วยให้อยู่ได้อย่างมีคุณค่า
ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคจอประสาทตา เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุ คือการทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด
การเตรียมความพร้อมสู่ความสูงวัย
  • ทางร่างกายการมีสภาพร่างกายที่ดีอวัยวะต่างๆอยู่ในสภาพที่ดีมีความแข็งแรง สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติมีความสัมพันธ์กับทุกส่วน และมีประสิทธิภาพที่ดีในการทำงาน
    1. การรับประทานอาหาร
      - เลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องรับประทานอาหารครบ 3 มื้อ ครบทั้ง 5 หมู่ เป็นอาหารที่เหมาะกับวัย
      - รับประทานผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง หวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
      - ดื่มน้ำสะอาดอย ่างน้อยวันละ 10 แก้วดื่มนำ้หลังจากตื่นนอนวันละ 3-5 แก้ว ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อให้น้ำย่อยย่อยอาหารได้เต็มที่
        การออกกำลังกาย
        - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละอย่างน้อย 20 - 30 นาที ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัย
        - เลือกวิธีการบริหารร ่างกายที่เหมาะสมกับวัยให้อวัยวะทุกส่วนได้เคลื่อนไหว
        - ออกกำลังกายในที่ที่ปลอดภัย
          การตรวจสุขภาพ
          - การรักษาสุขภาพในช่องปาก พบทันตแพทย์อย่างน้อยทุก 6 เดือน
          - การตรวจวัดสายตาปีละครั้ง
          - การตรวจวัดมวลกระดูก ดัชนีมวลกายเพื่อทราบสุขภาวะตามวัย
          - การตรวจสุขภาพตามช่วงวัย การวัดสายตา การฉีดวัคซีน
          - การตรวจสุขภาพประจำ ปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือทุก 6 เดือน
          - ตรวจสุขภาพกับแพทย์ประจำตัวเพื่อสร้างความคุ้นเคยและสะดวกในการติดตามสุขภาพ
      1. ทางจิตใจปรับตัวเข้ากับสังคม สิ่งแวดล้อม มีความสุข มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์
      2. ทางปัญญารู้เท่าทันสังคม เรียนรู้ นำความรู้มาปรับใช้ในชีวิต
      3. ทางสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคมได้
      การดูแลผู้สูงอายุให้มีสุขภาพดี
      การดูแลผู้สูงอายุ มีความจำเป็นและสำคัญมาก เราควรเอาใจใส่ในด้านสุขภาพและสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผู้สูงอายุหลายคนมักรู้สึกเหนื่อยง่ายและเคลื่อนไหวได้ช้าลง บางคนอาจรู้สึกอ่อนเพลียและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบากขึ้น อาการเหล่านี้เป็นปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เรียกว่า ภาวะแบบนี้ว่า ภาวะเปราะบางในผู้สูงอายุ หรือเฟรลตี้ (Frailty) ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะนี้จะรู้สึกอ่อนแรง เหนื่อย ไม่มีแรง รวมทั้งน้ำหนักลดลงเอง บุคคลในครอบครัวต้องหมั่นสังเกตว่าญาติผู้ใหญ่ของเราเกิดอาการภาวะเปราะบางหรือไม่ หากเกิดอาการ 3 อย่างขึ้นไป อาจหมายถึง ผุ้สูงอายนั้นๆ กำลังประสบภาวะดังกล่าวอยู่ ควรให้ความสำคัญเพื่อจะได้มีสุขภาพดีขึ้น
      1. รูปร่างผอมลง น้ำหนักตัวลดลงประมาณ 5 กิโลกรัมหรือมากกว่านั้น
      2. เกิดอาการอ่อนเพลีย ยืนเองไม่ค่อยได้หรือไม่มีแรงที่จะถือสิ่งของ
      3. รู้สึกเหนื่อยง่ายมาก ทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ ทำเพียงนิดหน่อยก็จะมีอาการเหนื่อย
      4. สมรรถภาพในการทำกิจกรรมลดลง อาทิ ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เคยชอบ แต่ทำไม่ได้เหมือนแต่ก่อน
      5. เดินช้าลง โดยใช้เวลาเดินในระยะทาง 5 เมตร มากกว่า 6-7 วินาที
      ดังนั้น ลูกหลานควรเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุ ด้วยความรักและความเข้าใจ จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ พึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด การดูแลเรื่องสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรได้รับตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี และพบแพทย์หากมีโรคประจำตัว เพื่อเป็นการประเมินภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุอย่างใกล้ชิด

      โปรแกรมและแพ็คเกจ

      DM Care ตรวจคัดกรองเบาหวานโปรแกรมตรวจสุขภาพ ”สมองและระบบประสาท"