ระวังภัย ต้องใส่ใจยามปิดเทอม (การจมน้ำ)

“จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กช่วงปิดเทอมพบว่า
มีสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุดในทุกปี”

• ดูแลเด็กไม่ให้เล่นใกล้แหล่งน้ำ
• ถ้าเล่นน้ำต้องอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด
• จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย รั่วกันบ่อน้ำ ไม่ทิ้งถังน้ำ กาละมังน้ำ เพราะเด็กเล็กจมได้
• สอนเด็กเอาตัวรอดโดยการลอยตัว
• ย้ำกับเด็กเสมอว่า ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำโดยเด็ดขาด แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน ตะโกน โยน ยื่น
• ปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15.2 นอกจากนั้น เป็นการช่วยเหลือด้วยการจับเด็กอุ้มพาดบ่ากระโดดหรือกระแทก หรือเขย่าเพื่อเอาน้ำออก ซึ่งเป็นวิธีการ ปฐมพยาบาลที่ผิด **เรียนรู้BLS
• การจมน้ำจะแบ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กโต อายุระหว่าง 5-6 ปี จะจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง สระว่ายน้ำ ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้จงใจไปเล่นน้ำแต่ไปวิ่งเล่นบริเวณ
ใกล้แหล่งน้ำเกิดพลัดตกและจมน้ำเสียชีวิต สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ปล่อย คิดว่าลูกดูแลตัวเองได้ สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 1-4 ขวบ จะจมน้ำเสียชีวิตใกล้บ้าน เช่น บ้านอยู่ติดแหล่งน้ำ
• วิธีป้องกัน พ่อแม่ควรตระหนักในความเสี่ยง ถ้าเป็นกลุ่มเด็กโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-7 ขวบ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าไว้ว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสามารถว่ายน้ำได้ โดยสอนทักษะให้เขาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ซึ่งทางโรงเรียนควรมีส่วนร่วมช่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เรียนรู้ด้านความเสี่ยง การประเมินแหล่งน้ำว่าเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือผู้อื่นจาก การจมน้ำ สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอย่าลืมว่าเด็ก 5 ขวบ สามารถวิ่งเล่นนอกบ้านได้แล้ว หรือถ้าต่ำกว่า 5 ขวบ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรทำรั้วกั้นรวมทั้งหาคนดูแลที่ไว้ใจได้

คําแนะนํา
• 1. สํารวจแหล่งน้ำเสี่ยงรอบบ้าน ข้างบ้าน และในชุมชน (แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ คลอง ฯลฯ)
• 2. จัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น – ปักป้ายเตือน บอกถึงระดับความลึกของน้ำ หรือบอกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว (แหล่งน้ำ ที่เคยมีเด็กจมน้ำ) หรือสร้างรั้ว หรือฝังกลบหลุม/บ่อที่ไม่ได้ใช้ – จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก
• 3. สอดส่องดูแลและแจ้งเตือนภัยในชุมชน เช่น ประกาศเตือนผ่านเสียงตามสายในชุมชน คอยตักเตือน เมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลําพัง
• 4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
• 5. สอนให้เด็กรู้จักใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้ที่หาได้ง่าย เพื่อช่วยตนเองหรือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุ และนำติดตัว ไปด้วยหากต้องเดินทางไปใกล้แหล่งน้ำ
• 6. สอนให้เด็กรู้จักใช้ชูชีพเมื่อต้องโดยสารเรือ
• 7. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กตลอดเวลา เด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มองเห็น และสามารถเข้าถึง และคว้าถึงได้
• 8. ชุมชน/ท้องถิ่น/สถานศึกษา ควรจัดให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปได้เรียนวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การลอยตัวในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว และรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
• 9. เน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” โดยการตะโกนเรียกผู้ใหญ่ หรือใช้อุปกรณ์โยนหรือยื่นให้ผู้ประสบภัย