โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease
 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง
อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจากัดที่แคบมาก เพียง 1-3เซนติเมตรจากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ผู้ป่วยบางรายดังต่อไปนี้
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ
ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน
การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน
การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรค G6PD 

โรค G6PD  คืออะไร

จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากยาหรือสารเคมีบางชนิด และทำให้เซลล์ต่างๆในร่ายกาย รวมทั้งทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง

การขาดเอ็นไซม์ G6PD

                G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด  “ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายขึ้นเนื่องจากปัจจัยดังนี้ 

ปัจจัยเลี่ยง

  1. การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ
  2. การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD

อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก

เมื่อได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก  ที่พบบ่อยคือ

  • เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
  • ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ ปวดหลัง  และต่อมาอาจมีมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง  ซีดและปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโค้ก
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย

ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ถั่วปากอ้า
  • พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
  • ไวน์แดง
  • บลูเบอร์รี่
  • การบูรและพิมเสน
  • โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
  • สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม

สารเคมี

  • ลูกเหม็น
  • สารหนู
  • สาร Toluidine Blue (สารช่วยวินิจฉัย)

 

ยา

  • กลุ่มลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ยารักษาโรคเก๊าท์
  • ยาฮอร์โมน
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย
  • ยาเคมีบำบัด
  • ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
  • ยาต้านพิษ
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
  • วิตามิน

ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้

การปฏิบัติตัว

  1. แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
  2. เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยารับประทานเอง
  3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
  4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
  5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนครอบครัว