อาหารโซเดียมสูง รู้ไว้ไม่เสี่ยงไตวาย

รู้หรือไม่? “เกลือ” ไม่ใช่สาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดภาวะไตวาย อาหารที่เรารับประทานในทุกมื้อ มีส่วนประกอบที่ก่อให้เกิดภาวะไตวายหรือไม่ สามารถไขข้อข้องใจ จากคลิปนี้ได้เลยค่ะ

#โรงพยาบาลบางโพ #ไตวาย #เค็ม #สุขภาพ

ระวังภัย ต้องใส่ใจยามปิดเทอม (การจมน้ำ)

“จากสถิติการเสียชีวิตของเด็กช่วงปิดเทอมพบว่า
มีสาเหตุมาจากการจมน้ำมากที่สุดในทุกปี”

• ดูแลเด็กไม่ให้เล่นใกล้แหล่งน้ำ
• ถ้าเล่นน้ำต้องอยู่ในสายตาอย่างใกล้ชิด
• จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย รั่วกันบ่อน้ำ ไม่ทิ้งถังน้ำ กาละมังน้ำ เพราะเด็กเล็กจมได้
• สอนเด็กเอาตัวรอดโดยการลอยตัว
• ย้ำกับเด็กเสมอว่า ห้ามกระโดดน้ำลงไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำโดยเด็ดขาด แต่ควรรีบเรียกผู้ใหญ่ให้มาช่วยแทน ตะโกน โยน ยื่น
• ปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเพียงร้อยละ 15.2 นอกจากนั้น เป็นการช่วยเหลือด้วยการจับเด็กอุ้มพาดบ่ากระโดดหรือกระแทก หรือเขย่าเพื่อเอาน้ำออก ซึ่งเป็นวิธีการ ปฐมพยาบาลที่ผิด **เรียนรู้BLS
• การจมน้ำจะแบ่งเป็นเด็กเล็กและเด็กโต ถ้าเป็นเด็กโต อายุระหว่าง 5-6 ปี จะจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง สระว่ายน้ำ ในชุมชนหรือหมู่บ้าน ซึ่งบางกลุ่มไม่ได้จงใจไปเล่นน้ำแต่ไปวิ่งเล่นบริเวณ
ใกล้แหล่งน้ำเกิดพลัดตกและจมน้ำเสียชีวิต สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพ่อแม่ปล่อย คิดว่าลูกดูแลตัวเองได้ สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุ 1-4 ขวบ จะจมน้ำเสียชีวิตใกล้บ้าน เช่น บ้านอยู่ติดแหล่งน้ำ
• วิธีป้องกัน พ่อแม่ควรตระหนักในความเสี่ยง ถ้าเป็นกลุ่มเด็กโต โดยเฉพาะช่วงอายุ 6-7 ขวบ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะจมน้ำเสียชีวิตมากที่สุด ฉะนั้นเราควรตั้งเป้าไว้ว่าเด็กประถมศึกษาปีที่ 1 ต้องสามารถว่ายน้ำได้ โดยสอนทักษะให้เขาอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ชั่วโมง ซึ่งทางโรงเรียนควรมีส่วนร่วมช่วยด้วย นอกจากนี้ยังต้องสอนให้เรียนรู้ด้านความเสี่ยง การประเมินแหล่งน้ำว่าเป็นอย่างไร และการช่วยเหลือผู้อื่นจาก การจมน้ำ สำหรับกลุ่มเด็กเล็กอย่าลืมว่าเด็ก 5 ขวบ สามารถวิ่งเล่นนอกบ้านได้แล้ว หรือถ้าต่ำกว่า 5 ขวบ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมรอบบ้านว่าเป็นอย่างไรหากอยู่ใกล้แหล่งน้ำควรทำรั้วกั้นรวมทั้งหาคนดูแลที่ไว้ใจได้

คําแนะนํา
• 1. สํารวจแหล่งน้ำเสี่ยงรอบบ้าน ข้างบ้าน และในชุมชน (แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร อ่างเก็บน้ำ หนอง บึง แม่น้ำ คลอง ฯลฯ)
• 2. จัดการแหล่งน้ำเสี่ยงเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่เด็ก เช่น – ปักป้ายเตือน บอกถึงระดับความลึกของน้ำ หรือบอกถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นแล้ว (แหล่งน้ำ ที่เคยมีเด็กจมน้ำ) หรือสร้างรั้ว หรือฝังกลบหลุม/บ่อที่ไม่ได้ใช้ – จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำที่หาได้ง่ายในชุมชนไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยง เช่น ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า ไม้ เชือก
• 3. สอดส่องดูแลและแจ้งเตือนภัยในชุมชน เช่น ประกาศเตือนผ่านเสียงตามสายในชุมชน คอยตักเตือน เมื่อเห็นเด็กเล่นน้ำตามลําพัง
• 4. สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
• 5. สอนให้เด็กรู้จักใช้อุปกรณ์ลอยน้ำได้ที่หาได้ง่าย เพื่อช่วยตนเองหรือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุ และนำติดตัว ไปด้วยหากต้องเดินทางไปใกล้แหล่งน้ำ
• 6. สอนให้เด็กรู้จักใช้ชูชีพเมื่อต้องโดยสารเรือ
• 7. ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กต้องดูแลเด็กตลอดเวลา เด็กเล็กต้องอยู่ในระยะที่ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มองเห็น และสามารถเข้าถึง และคว้าถึงได้
• 8. ชุมชน/ท้องถิ่น/สถานศึกษา ควรจัดให้เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปได้เรียนวิธีการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด เช่น การลอยตัวในน้ำ การใช้อุปกรณ์ช่วยในการลอยตัว และรู้วิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง
• 9. เน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำที่ถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย ให้ยึดหลัก “ตะโกน โยน ยื่น” โดยการตะโกนเรียกผู้ใหญ่ หรือใช้อุปกรณ์โยนหรือยื่นให้ผู้ประสบภัย

แผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?

นพ. เกียรติศักดิ์ ทัศนวิภาส
ศัลยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์หลอดเลือด
จะมาช่วยไขข้อสงสัยที่ว่าแผลเรื้อรังที่เท้าเป็นโรคเบาหวานหรือไม่?
#โรงพยาบาลบางโพ #แผลเรื้อรัง #แผลกดทับ #แผลเบาหวาน

อาหารบำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่หลังคลอด

อาหารบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่หลังคลอด คุณแม่หลายท่านที่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพราะนมแม่คืออาหารที่มีประโยชน์และดีที่สุดสำหรับทารก หากอยากมีน้ำนมไหลออกมามากเพียงพอเพื่อทารกน้อย มาดูกันนะคะว่าคุณแม่ควรกินอาหารประเภทใดบ้าง #โรงพยาบาลบางโพ #คุณแม่มือใหม่ #รักลูก #นมแม่

 

ฝุ่นควัน ภัยที่ต้องระวัง

วิธีการป้องกันฝุ่นควัน ส่วนบุคคลนั่นคือการใส่หน้ากากอนามัย “หน้ากากอนามัย” จึงกลายเป็นสินค้าขายดีขึ้นมาทันที กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกจากบ้าน โดยมีวิธีเลือกหน้ากากอนามัยดังนี้ สามารถหาซื้อได้ที่ สถานพยาบาล และ ร้านขายยาทั่วไป

บทความโดย
นายแพทย์วรวัฒน์ โนหล้า
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ Occupational Medicine
แพทย์ประจำศูนย์สุขภาพและอาชีวอนามัย โรงพยาบาลบางโพ

#ฝุ่น #ควัน #ฝุ่นละอองกรุงเทพ #มลพิษทางอากาศ #สุขภาพ
#หน้ากากอนามัย #วิธีการป้องกันฝุ่นควัน #Bangpohospital

RSV ภัยร้ายของลูกรัก

ไวรัส RSV ภัยร้ายของลูกรัก

RSV Virus

ไวรัส RSV (RSV Virus) คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งจำนวนมาก เช่น เสมหะ เป็นต้น เชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายผ่านการไอหรือจาม ผู้ป่วยมีอาการเบื้องต้นคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ จาม น้ำมูกไหล พบผู้ที่ติดเชื้อไวรัส RSV ได้ในทุกวัย แต่พบมากในเด็กและทารก ซึ่งเป็นวัยที่มักเกิดอาการรุนแรงและภาวะแทรกซ้อนได้
พญ.ขวัญจันทร์ ขัมพานนท์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลบางโพ จะให้คำแนะนำ และการป้องกันโรคนี้ค่ะ

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนและยารักษาโรค RSV โดยตรง การรักษาเป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การดูดเสมหะ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทดแทนให้เพียงพอ การรักษขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หายได้ภายในประมาณ 1-2 สัปดาห์ การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำหคัญ หากมีอาการแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับเด็ก

โปรแกรมตรวจสุขภาพสำห […]

วัคซีนปัองกันโรคมือ เท้า ปาก (EV71)

วัคซีนป้องกันโรคมือเ […]

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

โรคอุจจาระร่วงในเด็ก

Disease

 
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลวจำนวน 3 ครั้ง หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมากกว่า 1 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหาร และน้ำที่มีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วง

อาการของโรคอุจจาระร่วง
  • ถ่ายเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้งขึ้นไป
  • ถ่ายมีมูกเลือดปน
  • ปวดท้อง
  • อ่อนเพลีย ซึม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • อาการขั้นรุนแรง ถ้าร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อาจทำให้เสียชีวิตได้

การป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง
เนื่องจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเทคโนโลยีนี้ มีผลอยู่ในวงจากัดที่แคบมาก เพียง 1-3เซนติเมตรจากหัวกระตุ้น จึงไม่มีผลกระทบที่อันตรายต่ออวัยวะของร่างกาย มีเพียงข้อห้ามใช้ผู้ป่วยบางรายดังต่อไปนี้
  1. ดื่มน้ำสะอาด ถ้าเป็นน้ำต้มสุกจะดีที่สุด
  2. ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารและหลังการใช้ห้องน้ำ
  3. จาน ช้อน ถ้วย ชาม ล้างให้สะอาดก่อนใช้
  4. เลือกรับประทานอาหารที่สุกใหม่ๆ ไม่มีแมลงวันตอม และงดอาหารสุกๆ ดิบๆ
  5. รับประทานผักสด ควรล้างผักหลายๆ ครั้ง ให้สะอาดก่อนรับประทาน
  6. ระวังไม่ให้แมลงวันตอมอาหาร ควรใช้ฝาชีครอบ หรือนำอาหารใส่ตู้กับข้าวให้มิดชิด
  7. อาหารสำเร็จรูปที่ซื้อไว้ หรืออาหารที่เหลือค้างก่อนนำมารับประทาน ต้องอุ่นก่อนรับประทาน
  8. ถ่ายอุจจาระลงในโถส้วม
  9. กำจัดขยะมูลฝอย เศษอาหาร และมูลสัตว์ต่างๆ รักษาบริเวณบ้านให้สะอาดอยู่เสมอ

ข้อควรปฏิบัติเมื่อตัวเล็กอุจจาระร่วง
  • ถ้ามีอาหารอุจจาระร่วงให้ดื่มเกลือแร่และยาตามแพทย์สั่ง
  • รับประทานอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น น้ำข้าว น้ำแกงจืด โจ๊ก น้ำซุป เด็กที่กินนมแม่ให้กินต่อไปได้ โดยไม่ต้องหยุดนม
  • กรณีนมผสม เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง เช่น เคยผสมนม 4 ออนซ์ต่อน้ำ 4 ออนซ์ ให้ผสมเป็นนม 4 ช้อนต่อน้ำ 4 ออนซ์ และให้กินต่อไปได้ตามปกติ
  • เด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ให้ชงนมแบบเจือจาง แต่กินเพียงครึ่งเดียวของปริมาณที่เคยกินและให้สารละลายน้ำเกลือแร่ กินสลับกันไป (ถ้าปกติกินนม 8 ออนซ์ให้กิน อีก 4 ออนซ์ ให้เป็นน้ำเกลือแร่แทนนม)
  • ไม่ควรกินยาหยุดถ่าย เพราะเชื้อโรคอุจจาระร่วงจะยังค้างอยู่ในร่างกาย ทำให้เกิดอันตรายได้จึงควรให้กินน้ำเกลือแร่และอาหารเหลวทดแทน

การทำน้ำตาลเกลือแร่ใช้เอง
ส่วนผสม
  1. น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
  2. เกลือป่น ½ ช้อนชา
  3. น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 ขวด (น้ำ 1 ขวดเท่ากับปริมาณ 750 ซีซี)
วิธีทำ
  1. นำน้ำตาลทรายและเกลือป่นที่กำหนดใส่แก้วเทน้ำจาดขวดที่เตรียมไว้
  2. ผสมน้ำตาลและเกลือคนให้ละลายทั่วกัน แล้วเทกลับคืนขวด เขย่าให้เข้ากัน

การใช้ผงน้ำตาลเกลือแร่ชนิดสำเร็จรูป
ส่วนผสม
  1. ผงน้ำตาลเกลือแร่ 1 ซอง
  2. น้ำดื่มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้ว (150 ซีซี)
วิธีทำ
  1. เทน้ำตาลเกลือแร่ใส่แก้วให้หมดซอง
  2. เทน้ำที่เตรียมไว้ คนให้ละลายทั่วกัน

ควรดื่มบ่อยๆ และดื่มให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์ทันที

โปรแกรมและแพ็คเกจ

โรค G6PD 

โรค G6PD  คืออะไร

จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอมไซม์ กลูโคส-ซี-ฟอสเฟตดีไฮไดรจิเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการทำลายของเม็ดเลือดแดง จากยาหรือสารเคมีบางชนิด และทำให้เซลล์ต่างๆในร่ายกาย รวมทั้งทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง

การขาดเอ็นไซม์ G6PD

                G6PD คือโรคขาดเอ็นไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยตำแหน่งยีนที่ผิดปกติบนโครโมโซม ซึ่งอยู่บนโครโมโซมเพศ ดังนั้น โรคนี้จึงอยู่ติดตัว ไปตลอดชีวิต และอาจถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การขาดเอ็นไซน์นี้ จึงทำให้เกิด  “ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่ายขึ้นเนื่องจากปัจจัยดังนี้ 

ปัจจัยเลี่ยง

  1. การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัส เช่น การเป็น หวัด ไข้ ไอ
  2. การได้รับยา และสารเคมีบางชนิด ที่เป็นข้อห้ามในผู้ป่วยขาดเอ็นไซม์ G6PD

อาการภาวะเม็ดเลือดแดงแตก

เมื่อได้รับ ยา อาหารและสารเคมีบางอย่างที่เป็นข้อห้าม อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก  ที่พบบ่อยคือ

  • เม็ดเลือดแดงแตกเฉียบพลัน ซึ่งเกิดใน24-48 ชั่วโมง หลังได้รับปัจจัยเลี่ยง
  • ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว มีไข้ต่ำๆ ปวดหลัง  และต่อมาอาจมีมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง  ซีดและปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโค้ก
  • เหนื่อย อ่อนเพลีย

ทั้งนี้ ในผู้ป่วยแต่ละราย จะมีอาการรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภาวการณ์ขาดเอ็มไซม์ G6PD และอาหาร ยา สารเคมีที่ได้รับดังนั้นผู้ป่วยควรทราบรายชื่อยา อาหารและสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

 

  • ถั่วปากอ้า
  • พืชตระกูลถั่วที่มีผลเป็นฝัก เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วฝักยาว
  • ไวน์แดง
  • บลูเบอร์รี่
  • การบูรและพิมเสน
  • โทนิค (Tonic Water) เครื่องดื่มที่มีรสชาติ ค่อนข้างขมที่มีส่วนประกอบของ Quinine (คิวนิน)
  • สารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย พบในสมุนไพรรสขม

สารเคมี

  • ลูกเหม็น
  • สารหนู
  • สาร Toluidine Blue (สารช่วยวินิจฉัย)

 

ยา

  • กลุ่มลดความดันโลหิต
  • ยารักษาโรคพาร์กินสัน
  • ยารักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ยารักษาโรคเก๊าท์
  • ยาฮอร์โมน
  • ยารักษาโรคมาลาเรีย
  • ยาเคมีบำบัด
  • ยาแก้ปวดทางเดินปัสสาวะ
  • ยาต้านพิษ
  • ยาปฏิชีวนะ (ยาต้านจุลชีพ)
  • วิตามิน

ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคขาดเอ็มไซม์ G6PD ทางโรงพยาบาลจะมีสมุดประจำตัวผู้ป่วยให้

การปฏิบัติตัว

  1. แจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งที่ป่วยมาโรงพยาบาลว่าเป็นโรคนี้
  2. เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยารับประทานเอง
  3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรรีบมาโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาทันที
  4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจทำให้เกิดอาการ
  5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ เรื่องการถ่ายทอดไปยังบุตร เพื่อประโยชน์ในการวางแผนครอบครัว