ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน Emergency Center

ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน Emergency Center

         

ด้วยความตระหนักถึงความพร้อมและความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนและทันท่วงที  โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ป่วย จึงได้จัดให้มีแพทย์ที่มีประสบการณ์หลายสาขา และ ทีมสหวิชาชีพ พร้อมดูแลผู้ป่วยในเวลาฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ มีบริการรถพยาบาลฉุกเฉินรับ-ส่งผู้ป่วยมาโรงพยาบาลบางโพ (Pre-hospital care) ได้จัดแพทย์เฉพาะประจำที่ศูนย์อุบัติเหตุ-ฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ท่านได้รับการแก้ไขภาวะฉุกเฉินอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม

โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางโรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตันเฉียบพลัน จะสามารถเข้าถึงบริการการตรวจวินิจฉัยและรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางได้อย่างรวดเร็ว สามารถลดอัตราการเสียชีวิตและความพิการ

การบริการ
–  การตรวจรักษา ปฐมพยาบาลเบื้องต้น ในภาวะฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
–  การบริการรถพยาบาลฉุกเฉิน (Ambulance) พร้อมบุคลากรทางการแพทย์และอุปกรณ์ที่ทันสมัย
–  การตรวจรักษาภาวะอุบัติเหตุจราจร รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ
–  การตรวจรักษาภาวะอุบัติเหตุทั่วไป เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ไฟดูด หกล้ม มีบาดแผล สัตว์กัด
–  ภาวะฉุกเฉินทางศัลยกรรม เช่น ปวดท้องรุนแรง ไม่ทราบสาเหตุ ไส้ติ่งอักเสบ ลำไส้อุดตัน
–  ภาวะฉุกเฉินทางอายุรกรรม เช่น ภาวะช๊อค หัวใจขาดเลือด ภาวะชัก หอบ สมองขาดเลือด
–  ภาวะฉุกเฉินในเด็ก เช่น  ภาวะไข้สูง ชัก อาเจียน ท้องเสีย ช๊อค
–  ภาวะฉุกเฉินอื่นๆ

ศูนย์อุบัติเหตุ – ฉุกเฉิน  โรงพยาบาลบางโพ

โทร. 02 587 0144  ต่อ 20

ศูนย์ตรวจสุขภาพและอาชีวอนามัย Wellness & Occupational Health Center

ศูนย์ตรวจสุขภาพและอาชีวอนามัย  Wellness & Occupational Health Center

     ตั้งอยู่ชั้น 3 อาคารศูนย์การแพทย์  ให้บริการตรวจสุขภาพในพื้นที่ที่เป็นสัดส่วน กว้างขวาง สะดวก สบาย รวดเร็ว ได้ผลการตรวจแม่นยำศให้บริการตรวจสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและนอกสถานที่ มีบริการด้านอาชีวอนามัยแบบครบวงจร (Occupational Health Service) ตามสถานประกอบการต่าง ๆ โดยทีมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

  1. บริการ wellness (ตรวจสุขภาพ) ตรวจสุขภาพประจำปี ตรวจ (การทำประกันชีวิต) ตรวจสุขภาพเพื่อศึกษาต่อในประเทศ และต่างประเทศ  ตรวจก่อนเดินทางไปทำงานต่างประเทศ บริการวัคซีนป้องกันโรค โดยจัดโปรแกรมการตรวจที่สามารถเลือกได้ตามความต้องการและความเหมาะสมของแต่ละบุคคล 
  2. บริการ Occupational(อบรมด้านอาชีวอนามัย) ตรวจสุขภาพตามความเสี่ยง หู-ตา-ปอด ตามโปรแกรมอาชีวอนามัย , ตรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ , ตรวจผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สูง , ตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน
  3. บริการตรวจสุขภาพ ณ สถานประกอบการ  ตรวจสุขภาพนอกสถานที่  (Mobile check up) 
  4. บริการตรวจสุขภาพ Check up ในสถานที่

ตรวจสุขภาพ

  • ก่อนเริ่มงาน
  • ประจำปี (ในและนอกสถานที่)
  • ตรวจเพื่อทำประกันชีวิต
  • ตรวจเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
  • บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • ตรวจตามปัจจัยเสี่ยง
  • ใบรับรองแพทย์  (ศึกษาต่อในและต่างประเทศ / จัดตั้งร้านอาหาร /ต่ออายุใบอนุญาต แรงงานต่างชาติ

       โรคทั่วไป General Diseases

       เป็นโรคทั่วไปที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไข้หวัด เป็นต้น
โรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงาน Work Related Diseases เป็นโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการทำงานโดยตรง แต่การทำงานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดโรค หรืออาจส่งผลให้โรคที่เป็นรุนแรงมากขึ้น เช่น โรคความดันโลหิตสูงจากความเครียด จากการทำงาน โรคกระเพราะอาหารจากการทำงานกะ เป็นต้น
โรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพ Occupational Diseases เป็นโรคที่เกิดจากการสัมผัสสิ่งคุกคามโดยตรงจากการทำงาน เช่น โรคพิษตะกั่ว โรคซิลิโคซิสจากการสัมผัสฝุ่นหิน เป็นต้น
       สำหรับผู้ที่ทำงานนั้น ไม่ว่าจะทำงานในอาชีพไหนก็ล้านมีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดขึ้นจากการทำงานอันเนื่องมากจากการสัมผัสสิ่งคุกคามในที่ทำงานทั้งสิ้น โดยสิ่งคุกคามในที่ทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ อาจแบ่งได้เป็น

  1. สิ่งคุกคามด้านกายภาพ Physical Hazards ได้แก่การทำงานในที่เสียงดัง แสงสว่างน้อยหรือจ้าจนเกินไป การทำงานกับรังสี ความร้อน ความเย็นและการสั่นสะเทือน เป็นต้น
  2. สิ่งคุกคามด้านเคมี Chemical Hazards ได้แก่ การทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารต่าง ๆ เช่น สารโลหะหนัก สารตัวทำละลาย กรด-ด่าง ก๊าซพิษ สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น
  3. สิ่งคุกคามด้านชีวภาพ Biological Hazards ได้แก่ การทำงานที่ต้องสัมผัสกับเชื้อโรคต่างๆ เช่น เบื้อ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปรสิต
    ต่าง ๆ 
  4. สิ่งคุกคามด้านการยศาสตร์ Ergonomics ได้แก่ การทำงานด้วยท่าทางที่ผิดธรรมชาติ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงสถานีทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระและกายวิภาคของผู้ที่ทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคทางระบบกล้ามเนื้อและสิ่งคุกคามด้านจิตวิทยาสังคม Psychosocial ได้แก่ความเครียดจากการทำงาน เป็นต้น


อาชีวอนามัย (Occupational Health) คืออะไร

        อาชีวอนามัยเป็นการดำเนินการที่เกี่ยวกับ การป้องกันโรค การส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการ
จัดการเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพสามารถประกอบอาชีพได้อย่างปลอดโรค ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน มีสภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล

องค์การอนามัยโลก(WHO) กำหนดว่า งานอาชีวอนามัยควรมีองค์ประกอบดังนี้
  1. ส่งเสริม(promotion)และธำรงรักษา(maintenance)ให้คนทำงานมีสุขภาพร่างกาย(physical)จิตใจ(mental)ที่สมบูรณ์ และมีความเป็น
อยู่ที่ดีในสังคม(social well being)
  2. ป้องกัน (prevention)คนทำงานมิให้มีสุขภาพเสื่อมโทรม  อันมีสาเหตุมาจากการทำงาน
  3. ปกป้อง (protection)คนทำงาน มิให้ทำงานเสี่ยงต่ออันตราย
  4. บรรจุ (placing)คนทำงาน ให้ทำงานในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
  5. การปรับคนให้เข้ากับงานและปรับงานให้เข้ากับคน (Adaptation)
       ดังนั้นการที่จะทำให้ผู้ประกอบอาชีพทั้งหลาย มีสุขอนามัยที่ดีทั้งร่างกาย และจิตใจ  จึงจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัย     
(Occupational Health Service) ขึ้นในสถานประกอบการ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น จากการสัมผัสกับสิ่งคุกคามต่างๆในสถานประกอบการ เช่น การทำงานที่ต้องสัมผัสเสียงดัง การทำงานที่ต้องสัมผัสสารเคมี และเชื้อโรคต่างๆ ตลอดจนท่าทางการทำงานที่ไม่ถูกต้อง โดยศูนย์lสุขภาพและอาชีว อนามัย (Wellness &Occupational Health Service Center) ของโรงพยาบาลบางโพ  ได้จัดให้มีบริการด้านอาชีวอนามัยแบบครบวงจร (Occupational Health Service) ตามสถานประกอบการต่างๆ โดยทีมแพทย์วุฒิบัตรอาชีวเวชศาสตร์และพยาบาลอาชีวอนามัย ซึ่งการให้บริการประกอบด้วย
1. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ (Health Risk Assessment)  ซึ่งทำได้โดยการเดินสำรวจสถานประกอบการ (Walk Through
       Survey) เพื่อค้นหาความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และหามาตรการในการดำเนินการเพื่อควบคุมความเสี่ยงต่างๆที่พบ
2. การเฝ้าระวังทางสุขภาพ (Medical Surveillance) ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสุขภาพก่อนเข้างานเพื่อวางคนให้เหมาะสมกับงาน (Fit For
Work) และการตรวจสุขภาพประจำปี (Annual Health Examination)ซึ่งจะเป็นการตรวจสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน
3. การจัดบริการทางการแพทย์ (Medical Service)  เช่น การจัดบริการที่ห้องพยาบาล เพื่อดูแลสุขภาพของพนักงานในเบื้องต้น
4. การส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion) เช่น การให้ภูมิคุ้มกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการส่งเสริมให้พนักงานมีสุขภาพที่แข็ง
แรงด้วยวิธีต่างๆ

สนใจการตรวจสุขภาพขององค์กร แบบอาชีวอนามัย ติดต่อได้ที่
แผนกการตลาด-ตรวจสุขภาพ  0-2587-0144 ต่อ 2110-2113
ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ 8.00-17.00 น.

ข้อมูลโดย นพ.ณัฐพล ประจวบพันธ์ศรี
แพทย์ที่ปรึกษาด้านอาชีวเวชศาสตร์ รพ.บางโพ
– แพทยศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับ 1 จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2543
– ประกาศนียบัตร อบรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หลักสูตร 2 เดือน จากกรมการแพทย์กระทรวงสาธารสุข ปี พ.ศ. 2549
– ปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาอาชีวเวชศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี พ.ศ.2551
-วุฒิบัตรสาขาอาชีวเวชศาสตร์ จากโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี ปี พ.ศ.2552

โปรโมชั่น ชิลล์ ชิลล์ “ผิวสวยใส สุขภาพดี”

โปรโมชั่น ชิลล์ ชิลล์ “ผิวสวยใส สุขภาพดี”

ดูแลผิวหน้า

ดูแลรอบดวงตา

ดูแลใต้วงแขน รักแร้

โปรโมชั่น ชิลล์ ชิลล์ "ผิวสวยใส สุขภาพดี"

โปรแกรมดูแลผิวพรรณด้วย 4 เทคโนโลยี เพื่อฟื้นฟูผิวพรรณคืนความสดใสอ่อนเยาว์

Elight : ปรับสภาพฟื้นฟูผิวพรรณ
HELIOS III : รบรอยด่างดำ รอยแดง รอยสัก
Infusion : ผลักสารเข้าสู่ชั้นผิวหน้าโดย IONWAVE
Diamond Peel : ผลัดเซลล์ผิวให้อ่อนเยาว์

สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-587-0144 ต่อ 2302
แผนกผิวหนัง อาคาร 2 ชั้น 3 : โรงพยาบาลบางโพ
ติดตามข่าวสารของเราได้ที่ : facebook.com/BangpoHospital

การรักษา คลินิค คอหูจมูก

การให้บริการตรวจรักษา แผนก หู คอ จมูก

ให้การบริการตรวจโรคต่างๆดังนี้

1.ตรวจรักษา วินิจฉัยโรค ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคทาง หู จมูก คอ  ทั่วไป

2.ตรวจรักษาโรคทางด้านหู

หูอักเสบ ซีสต์ที่ใบหู ขี้หูอุดตัน สิ่งแปลกปลอมเข้าหู แก้วหูทะลุ ฝีที่หู มะเร็งในหู ประสาทหูเสื่อม เสียงในหู น้ำในหูไม่เท่ากัน เวียนศีรษะบ้านหมุน

หัตถการที่ทำกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางหู

1.การผ่าตัดปะแก้วหู  Tympanoplasty

2.การผ่าตัดฝังท่อที่แก้วหู

3.การเจาะอาหนองที่หูออก เพื่อระบายหนองที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ

4.การผ่าตัดก้อนซีสต์ที่หู

5.การทำความสะอาดหู แคะหู ผ่านกล้อง Microscope

6.การเขี่ยเอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู

7.เย็บซ่อมแซมใบหู

3.ตรวจรักษาโรคทางคอ

เจ็บคอ ทอนซิลเป็นหนอง แผลร้อนใน  มะเร็งที่ลิ้น  นอนกรน ไทรอยด์ สิ่งแปลกปลอมเข้าคอ

หัตถการที่ทำกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางคอ

1.ผ่าตัดทอนซิล

2.จี้แผลร้อนใน

3.ดึงกรามให้เข้าที่ในรายที่ข้างกรรไกรค้าง

3.ผ่าพังผืดใต้ลิ้น

4.เจาะฝีบริเวณรอบคอด้านนอก

5.ผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนและลิ้นไก่

6.เจาะคอ เปลี่ยน Tube

7.ผ่าตัดไทรอยด์

8.ผ่าตัดก้อนที่สายเสียง

9.การทำ FNA ที่คอที่ก้อนไทรอยด์ ก้อนที่ต่อมน้ำลาย

10.เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากคอ เช่น ก้างปลา กระดูกติดคอ

4.ตรวจรักษาโรคทางจมูก

คัดจมูก ภูมิแพ้  เลือดกำเดาไหล ริดสีดวงจมูก ดั้งจมูกหัก  ไซนัส

หัตถการที่ทำกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางจมูก

1.ผ่าตัดไซนัส

2.ผ่าตัดริดสีดวงจมูก

3.ผ่าตัดแก้ไขผนังจมูกคด

4.จี้ไฟฟ้าห้ามเลือด กรณีเลือดกำเดาไหล

5.แก้ไขดั้งจมูกหัก

6.ห้ามเลือดโดยการPacking ในจมูก

ความสำคัญของการทำผ่าตัดและหัตถการ จะเป็นเป็น 2 กรณี มีดังนี้

1.ผู้ป่วยนอก OPD CASE เป็นการตรวจรักษา การทำผ่าตัดและหัตถการเสร็จแล้วกลับบ้านได้ เช่น การตรวจโรคทั่วไป  ผ่าตัดก้อนที่ใบหู การเจาะFNA  เจาะระบายหนอง

2.ผู้ป่วยใน IPD CASE ผู้ป่วยจะต้องนอนโรงพยาบาล เพื่อทำหัตถการในห้องผ่าตัด เช่นการผ่าตัดทอนซิล ผ่าตัดปะแก้วหูผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน ผ่าตัดไซนัส

 

โรคภูมิเเพ้

โรคภูมิแพ้

        โรคภูมิแพ้ คือ โรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารกระตุ้นที่ในภาวะปกติแล้วจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรพืชแต่ในโรคภูมิแพ้ร่างกายจะเกิดการตอบสนองอย่างมากผิดปกติต่อสารเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) นั้น เช่น

– ถ้าเป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกเมื่อเราหายใจเข้าไปทางจมูกสารก่อภูมิแพ้จะไปสัมผัสกับเยื่อบุโพรงจมูกแล้วทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก    เกิดอาการคัดจมูก จาม มีน้ำมูกใสๆ และคันจมูก

– ถ้าเป็นโรคหืด เมื่อหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไปถึงหลอดลมก็จะทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม แล้วหลอดลมก็จะตอบสนองด้วยการหดเกร็ง เกิดอาการของหลอดลมตีบขึ้น

ทั้งนี้ อาจใช้เวลาก่อนเกิดอาการเป็นนาที หรือเป็นชั่วโมงก็ได้หลังสัมผัสสารก่อภูมิแพ้

ในคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ ยังมักมีแนวโน้มที่จะเกิดการตอบสนองไวกว่าปกติต่อสิ่งกระตุ้นที่ไม่ ใช่สารก่อภูมิแพ้ได้ เช่น ความเย็น ความร้อน ความกดอากาศต่ำ ฝน และ/หรือความชื้น ซึ่งภาวะนี้อาจอยู่นานเป็นวัน หรือเป็นเดือนก็ได้ และสามารถเกิดอาการได้โดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้

สาเหตุ                                                                 

      โรคภูมิแพ้ เกิดจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าถ้าบิดาหรือมารดาเป็นโรคภูมิแพ้ จะทำให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณ 30-50% แต่ถ้าทั้งบิดาและมารดาเป็นโรคภูมิแพ้จะมีผลให้บุตรมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงประมาณ 50-70% ในขณะที่เด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลยมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงประมาณ 10%เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่สา มารถแก้ไขปัจจัยทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นการกำจัดและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารระคายเคืองต่างๆ เช่น ควันบุหรี่ ไรฝุ่น ในผู้ป่วยและครอบครัวที่เป็นโรคภูมิแพ้ (ซึ่งมีความเสี่ยงสูง) จะสามารถลดอาการของโรค หรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้ขึ้นได้แบ่งออกเป็น 5 ชนิด

ชนิดของโรคภูมิแพ้ อาจแบ่งตามระบบของร่างกาย ออกได้เป็น 5 กลุ่มคือ

1.โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ได้แก่โรคหืด (Asthma)

2.โรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้หรือโรคแพ้อากาศ (Allergic rhinitis)

3.โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง(Allergic skin disease)

4.โรคภูมิแพ้ทางตา(Eye allergy)

5.โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ (Anaphylaxis)